กระแสการมองพม่าในแง่บวกของสังคมไทยเริ่มขึ้นช่วงใด และมีที่มาจากอะไร

อย่างที่หลายท่านทราบกันว่า ในตำราเรียนประวัติศาสตร์กระแสหลักของไทย ชาติที่มักถูกมองว่าเป็นศัตรูกับไทยคือพม่า ซึ่งขับเคี่ยวกันมาหลายยุคหลายสมัย จนกระทั่งพม่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษ การศึกกับพม่าจึงลดน้อยลงไป ซึ่งเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์มีการนำมาผลิตซ้ำและดัดแปลงเป็นสื่อทั้งนวนิยาย ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์อยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งในบางช่วงของไทย เช่นทศวรรษที่ 1990 ก็นเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์กับพม่ามีความตึงเครียดสูงที่สุด จากข้อพิพาทด้านพรมแดน การปราบปรามผู้ประท้วงและชนกลุ่มน้อยจนทำให้มีการตั้งค่ายผู้ลี้ภัยในแถบชายแดนไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ หลายท่านอาจจำได้ว่า ช่วงนั้นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับไทย พม่า เช่น สายโลหิต ญาติกา บางระจัน อตีตา ขุนศึก สุริโยทัย เป็นต้น หรือละครแนวที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยเรียกร้องอิสรภาพ เช่น เก็บแผ่นดิน เมืองดาหลา เป็นต้น ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก

ในเวลาต่อมา กระแสสังคมในช่วงหลัง เท่าที่สังเกตจากการพูดคุยกับหลายๆ ท่าน และอ่านความเห็นจากสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เห็นว่า ความเห็นเกี่ยวกับพม่าของชาวไทยเป็นไปในทางบวกมากกว่าในอดีตค่อนข้างมาก หลายคนมองว่าพม่าเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับไทยมากที่สุดเป็นอันดับสองในอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย ในด้านสื่อ ก็มีหลายเรื่องที่นำเสนอไทยกับพม่าในรูปแบบที่ต่างออกไป (ที่จริงเริ่มมาตั้งแต่ละครเรื่องญาติกาแล้ว ทว่าในช่วงนั้นไทยกับพม่ายังมีความสัมพันธ์ที่อาจไม่ดีนัก) เช่น ภาพยนตร์เรื่องถึงคนที่ไม่คิดถึง (จำชื่อผิดขออภัยครับ) และละครเรื่องจากเจ้าพระยาสู่อิรวดี เลยอยากทราบว่า กระแสการมองพม่าในแง่บวกของสังคมไทยเริ่มขึ้นช่วงใด และมีที่มาจากอะไร คหสต. เดาว่าเป็นผลมาจากความแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตในไทยช่วงประมาณทศวรรษที่ 2010 ที่ทำให้ประวัติศาสตร์กระแสรองแพร่หลายมากขึ้น และได้เห็นความเห็นของชาวพม่าที่มีต่อไทย อีกทั้งหลังกระแส AEC ปี 2015 ก็ทำให้มีการทำสื่อเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เมื่อรู้และเข้าใจมากขึ้น ก็ทำให้มองในแง่บวกมากขึ้น

ลองแสดงความเห็นกันดูครับ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่