การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ถ้าพูดถึงเรื่องข้อ เรื่องเข่า หลาย ๆ คนคงจะคุ้นเคย อาจจะเคยมีปัญหา มีอาการปวดกับตัวเอง หรือเกิดกับญาติผู้ใหญ่ของพวกเรา ลุกก็ร้องโอย นั่งก็ร้องโอย ยิ่งคนที่มีอาการเจ็บหรือปวดแบบเรื้อรังมานาน กินยาก็แล้ว กายภาพบำบัดก็แล้ว อาการก็ยังไม่ดีขึ้น สุดท้าย คุณหมอก็จะแนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้นสามารถเลือกทำได้ในหลากหลายช่วงอายุ แต่ละช่วงอายุ มีการใช้เทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรง อาการของโรค รวมถึงปัจจัยอื่นๆ
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะช่วยไม่ให้เกิดความผิดปกติของร่างกายในส่วนอื่นๆ และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย อย่างที่พี่หมอบอกไปครับว่ามันมีหลายแบบหลายวิธี การจะเลือกว่าต้องผ่าตัดแบบใดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และข้อบ่งชี้ต่างๆ ของผู้ป่วย วันนี้พี่หมอจะมาอธิบายให้ฟังถึง “การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด” ตามพี่หมอมาเลยครับ 👇
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty: TKA/TKR)
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด หรือเรียกสั้นๆ ว่า TKA หรือ TKR คือการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าส่วนที่เสียหรือเสื่อมสภาพออกทั้งหมด ทั้งส่วนปลายของกระดูกต้นขา (Femur) และส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) ทั้งฝั่งด้านในและด้านนอก (Medial and Lateral Compartment) แล้วแทนที่ด้วยผิวข้อเข่าเทียมที่ทำจากโลหะอัลลอยด์ครอบหรือคลุมกระดูกส่วนที่เฉือนออกไป โดยมีแผ่นโพลีเอทิลีนชนิดพิเศษกั้นระหว่างโลหะ การผ่าตัดวิธีนี้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่กระดูกอ่อนและเอ็นภายในข้อเข่าถูกทำลายไปเยอะแล้ว รวมถึงมีการผิดรูปของแนวขาร่วมด้วย ซี่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในคราวเดียว 🙂
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดเหมาะกับใคร?
✅ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่ามากจนทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หรืออาการปวดที่เกิดขึ้นแม้อยู่ในขณะพัก
✅ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดข้อเข่าไม่มากนัก หรือไม่ได้ปวดตลอดเวลา แต่อาการปวดนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่อยากเดินขึ้นลงบันได ช่วยเหลือตัวเองได้ลำบาก ไม่สามารถยืนเองได้ต้องมีคนคอยพยุง
✅ ผู้ป่วยที่รักษาโดยวิธีอื่น เช่น รับประทานยา การรักษาทางชีวภาพ ทำกายภาพบำบัด แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือดีขึ้นด้วยการรับประทานยาลดการอักเสบอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่ออวัยวะสำคัญอื่น เช่น ไต และตับ เป็นต้น
✅ โรคอยู่ในระยะรุนแรง มีการทำลายของกระดูก กระดูกอ่อน และเนื้อเยื่อรอบข้อเข่าไปมากกว่า 1 ส่วน
✅ ผู้ป่วยมีลักษณะขาโก่งมาก ข้อเข่าติด เคลื่อนไหวได้ลดลง เหยียดเข่าได้ไม่สุด และงอเข่าได้น้อยกว่า 90 องศา
✅ สามารถทำได้ในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 50-60 ปีขึ้นไป ร่วมกับมีปัจจัยดังกล่าวข้างต้นร่วมด้วย โดยที่ผู้ป่วยต้องไม่กลับไปทำกิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่ามากๆ เล่นกีฬาที่มีแรงปะทะ หรือยกของหนัก
✅ การผ่าตัดวิธีนี้ ไม่เหมาะกับคนที่ยังอายุน้อยมากๆ เพราะอุปกรณ์มีการสึกหรอไปตามกาลเวลา โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15-20 ปี จึงอาจต้องมีการผ่าตัดซ้ำ
✅ หากผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกบางชนิด เช่น มีภาวะกระดูกพรุนขั้นรุนแรง โรครูมาตอยด์ หรือ โรคกระดูกอ่อนไม่แข็งแรง ต้องมีความระมัดระวังในการผ่าตัด รวมถึงขั้นตอนการเตรียมร่างกายทั้งก่อนและหลังผ่าตัดมากขึ้น
ข้อดีและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด
🟢 สามารถช่วยแก้ไขในเรื่องของความเจ็บปวด ความผิดรูปหรือความโก่งของขา และช่วยเพิ่มความมั่นคงให้ข้อเข่าได้ในคราวเดียว
🟢 เนื่องจากต้องมีการวางแผนก่อนการผ่าตัด เพื่อที่จะทำการผ่าตัดและวางตำแหน่งผิวข้อเข่าเทียมได้อย่างถูกต้องและตรงจุด รวมถึงทำการปรับความตึงของเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเข่าให้เหมาะสม เพื่อให้ขาไม่โก่งเหมือนตอนก่อนผ่าตัด จึงจำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด รวมถึงเครื่องมือที่ครบครันและทันสมัย เพื่อให้ผลการผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากที่สุด
🟢 การผ่าตัดวิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่ยังอยากวิ่งหรือเล่นกีฬาที่ใช้ข้อเข่าเยอะๆ เพราะอาจทำให้ข้อเข่าสึกเร็วกว่ากำหนด
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด
ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยใช้ไม้ช่วยพยุงการเดินในช่วงแรกโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ จัดบ้านให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย ออกกำลังกายตามที่แพทย์และนักกายภาพบำบัดแนะนำก่อนกลับบ้าน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและต้นขา และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า และควรมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด
อีกอย่างหนึ่งคือ ควรหมั่นสังเกตภาวะติดเชื้อในข้อเข่าเทียมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายใน 1 ปีหลังการผ่าตัด เช่น แผลผ่าตัดมีลักษณะปวดบวมแดงร้อน การมีไข้สูงนานๆ หรือปวดเข่าข้างที่ผ่าตัดมาก หากมีอาการเหล่านี้แนะนำให้ผู้ป่วยรีบติดต่อแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดโดยเร็วที่สุดนะครับ
ผ่าตัดแล้ว สามารถกลับมาเดินได้ปกติเมื่อไหร่??
ผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง สามารถเดินลงน้ำหนักขาข้างที่ผ่าตัดได้เต็มที่โดยใช้ไม้พยุงหรือวอล์กเกอร์ได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด หรือวันรุ่งขึ้น หากไม่สามารถทำได้ก็มักจะให้ลงเดินภายใน 1-2 วัน ขึ้นอยู่กับอาการ โดยทั่วไปจะสามารถกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติภายใน 6 เดือน – 1 ปี หลังจากผ่าตัด แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่สามารถกลับไปดำเนินชีวิตปกติได้ ภายใน 3 เดือนหลังการผ่าตัดครับ
อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียม
คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้ป่วยมักถามคุณหมออยู่เสมอเลยครับ จริงๆ แล้วอายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การผ่าตัดนั้นทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ การเลือกเทคนิคการผ่าตัดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับความรุนแรงของโรคหรือไม่ หรือมีการใช้งานข้อเข่าหลังผ่าตัดอย่างไร ใช้งานข้อเข่าหนักหน่วงมากแค่ไหน มีงานวิจัย พบว่า ในผู้ป่วยมากกว่า 55,000 คน ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า มีเพียง 3.9% เท่านั้นที่เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขในช่วง 10 ปี และ 10.3% เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขในช่วง 20 ปีหลังการผ่าตัดครั้งแรก และยังมีอีกหลากหลายการศึกษาที่พบว่า มากกว่า 90-95% ของผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด ยังสามารถใช้ข้อเข่าเทียมได้ดีถึงแม้ว่าจะผ่าตัดมาแล้วมากกว่า 10 ปีก็ตาม จึงสามารถบอกได้ว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 10-20 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะใช้ได้ข้อเข่าเทียมได้ยาวนานแค่ไหนก็ขึ้นกับอีกหลากหลายปัจจัยข้างต้นด้วยเช่นกันครับ 😊
สิ่งควรทำ และ ควรหลีกเลี่ยง หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด
✔️ ผู้ป่วยสามารถเลือกการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือดและกล้ามเนื้อให้สูงขึ้นได้ เช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน การออกกำลังกายในน้ำ การออกกำลังกายที่ไม่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่าจะช่วยยืดอายุข้อเข่าเทียมให้ใช้งานได้นานขึ้นด้วยนะครับ
❌ ส่วนของกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ได้แก่ กีฬาที่มีแรงกระแทกรุนแรงต่อข้อเข่า หรือมีการกระโดด เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล แบดมินตัน วิ่ง เทนนิส เพราะแรงกระแทกจะทำให้ส่วนที่เป็นพลาสติกโพลีเอทิลีนในข้อเข่าเทียมเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรือแม้แต่การยกของหนักเป็นประจำ รวมถึงกิจกรรมที่มีการพับงอข้อเข่ามากๆ เช่น การนั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ ในส่วนของห้องน้ำ แนะนำว่าควรเปลี่ยนเป็นชักโครกแทนการนั่งยองๆ จะดีที่สุดครับ
แน่นอนว่าข้อเข่าและกระดูกของเราย่อมมีวันที่จะเสื่อมไปตามอายุและวัยของเรา หากมีอาการของภาวะข้อเข่าเสื่อมและยังไม่อยากผ่าตัด ก็สามารถเริ่มดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่สมดุล ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ รู้ศักยภาพของตัวเอง ข้อเข่าจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ นะครับ
👉 แต่หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น รักษาด้วยวิธีไหนๆ ก็ไม่หาย หรือมีความผิดรูปเกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานๆ เพราะการผ่าตัดอาจจะซับซ้อนมากขึ้น และผลลัพธ์หลังการผ่าตัดอาจไม่ดีเท่าที่ควร พี่หมอแนะนำให้มาพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมให้เร็วที่สุดครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จากลิงก์นี้ครับ
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/tka-total-knee-arthroplasty
https://www.samitivejhospitals.com/th/package/detail/total-knee-replacement-bdms
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty: TKA/TKR)
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด หรือเรียกสั้นๆ ว่า TKA หรือ TKR คือการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าส่วนที่เสียหรือเสื่อมสภาพออกทั้งหมด ทั้งส่วนปลายของกระดูกต้นขา (Femur) และส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) ทั้งฝั่งด้านในและด้านนอก (Medial and Lateral Compartment) แล้วแทนที่ด้วยผิวข้อเข่าเทียมที่ทำจากโลหะอัลลอยด์ครอบหรือคลุมกระดูกส่วนที่เฉือนออกไป โดยมีแผ่นโพลีเอทิลีนชนิดพิเศษกั้นระหว่างโลหะ การผ่าตัดวิธีนี้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่กระดูกอ่อนและเอ็นภายในข้อเข่าถูกทำลายไปเยอะแล้ว รวมถึงมีการผิดรูปของแนวขาร่วมด้วย ซี่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในคราวเดียว 🙂
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดเหมาะกับใคร?
✅ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่ามากจนทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หรืออาการปวดที่เกิดขึ้นแม้อยู่ในขณะพัก
✅ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดข้อเข่าไม่มากนัก หรือไม่ได้ปวดตลอดเวลา แต่อาการปวดนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่อยากเดินขึ้นลงบันได ช่วยเหลือตัวเองได้ลำบาก ไม่สามารถยืนเองได้ต้องมีคนคอยพยุง
✅ ผู้ป่วยที่รักษาโดยวิธีอื่น เช่น รับประทานยา การรักษาทางชีวภาพ ทำกายภาพบำบัด แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือดีขึ้นด้วยการรับประทานยาลดการอักเสบอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่ออวัยวะสำคัญอื่น เช่น ไต และตับ เป็นต้น
✅ โรคอยู่ในระยะรุนแรง มีการทำลายของกระดูก กระดูกอ่อน และเนื้อเยื่อรอบข้อเข่าไปมากกว่า 1 ส่วน
✅ ผู้ป่วยมีลักษณะขาโก่งมาก ข้อเข่าติด เคลื่อนไหวได้ลดลง เหยียดเข่าได้ไม่สุด และงอเข่าได้น้อยกว่า 90 องศา
✅ สามารถทำได้ในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 50-60 ปีขึ้นไป ร่วมกับมีปัจจัยดังกล่าวข้างต้นร่วมด้วย โดยที่ผู้ป่วยต้องไม่กลับไปทำกิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่ามากๆ เล่นกีฬาที่มีแรงปะทะ หรือยกของหนัก
✅ การผ่าตัดวิธีนี้ ไม่เหมาะกับคนที่ยังอายุน้อยมากๆ เพราะอุปกรณ์มีการสึกหรอไปตามกาลเวลา โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15-20 ปี จึงอาจต้องมีการผ่าตัดซ้ำ
✅ หากผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกบางชนิด เช่น มีภาวะกระดูกพรุนขั้นรุนแรง โรครูมาตอยด์ หรือ โรคกระดูกอ่อนไม่แข็งแรง ต้องมีความระมัดระวังในการผ่าตัด รวมถึงขั้นตอนการเตรียมร่างกายทั้งก่อนและหลังผ่าตัดมากขึ้น
ข้อดีและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด
🟢 สามารถช่วยแก้ไขในเรื่องของความเจ็บปวด ความผิดรูปหรือความโก่งของขา และช่วยเพิ่มความมั่นคงให้ข้อเข่าได้ในคราวเดียว
🟢 เนื่องจากต้องมีการวางแผนก่อนการผ่าตัด เพื่อที่จะทำการผ่าตัดและวางตำแหน่งผิวข้อเข่าเทียมได้อย่างถูกต้องและตรงจุด รวมถึงทำการปรับความตึงของเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเข่าให้เหมาะสม เพื่อให้ขาไม่โก่งเหมือนตอนก่อนผ่าตัด จึงจำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด รวมถึงเครื่องมือที่ครบครันและทันสมัย เพื่อให้ผลการผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากที่สุด
🟢 การผ่าตัดวิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่ยังอยากวิ่งหรือเล่นกีฬาที่ใช้ข้อเข่าเยอะๆ เพราะอาจทำให้ข้อเข่าสึกเร็วกว่ากำหนด
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด
ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยใช้ไม้ช่วยพยุงการเดินในช่วงแรกโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ จัดบ้านให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย ออกกำลังกายตามที่แพทย์และนักกายภาพบำบัดแนะนำก่อนกลับบ้าน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและต้นขา และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า และควรมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด
อีกอย่างหนึ่งคือ ควรหมั่นสังเกตภาวะติดเชื้อในข้อเข่าเทียมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายใน 1 ปีหลังการผ่าตัด เช่น แผลผ่าตัดมีลักษณะปวดบวมแดงร้อน การมีไข้สูงนานๆ หรือปวดเข่าข้างที่ผ่าตัดมาก หากมีอาการเหล่านี้แนะนำให้ผู้ป่วยรีบติดต่อแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดโดยเร็วที่สุดนะครับ
ผ่าตัดแล้ว สามารถกลับมาเดินได้ปกติเมื่อไหร่??
ผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง สามารถเดินลงน้ำหนักขาข้างที่ผ่าตัดได้เต็มที่โดยใช้ไม้พยุงหรือวอล์กเกอร์ได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด หรือวันรุ่งขึ้น หากไม่สามารถทำได้ก็มักจะให้ลงเดินภายใน 1-2 วัน ขึ้นอยู่กับอาการ โดยทั่วไปจะสามารถกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติภายใน 6 เดือน – 1 ปี หลังจากผ่าตัด แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่สามารถกลับไปดำเนินชีวิตปกติได้ ภายใน 3 เดือนหลังการผ่าตัดครับ
อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียม
คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้ป่วยมักถามคุณหมออยู่เสมอเลยครับ จริงๆ แล้วอายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การผ่าตัดนั้นทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ การเลือกเทคนิคการผ่าตัดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับความรุนแรงของโรคหรือไม่ หรือมีการใช้งานข้อเข่าหลังผ่าตัดอย่างไร ใช้งานข้อเข่าหนักหน่วงมากแค่ไหน มีงานวิจัย พบว่า ในผู้ป่วยมากกว่า 55,000 คน ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า มีเพียง 3.9% เท่านั้นที่เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขในช่วง 10 ปี และ 10.3% เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขในช่วง 20 ปีหลังการผ่าตัดครั้งแรก และยังมีอีกหลากหลายการศึกษาที่พบว่า มากกว่า 90-95% ของผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด ยังสามารถใช้ข้อเข่าเทียมได้ดีถึงแม้ว่าจะผ่าตัดมาแล้วมากกว่า 10 ปีก็ตาม จึงสามารถบอกได้ว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 10-20 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะใช้ได้ข้อเข่าเทียมได้ยาวนานแค่ไหนก็ขึ้นกับอีกหลากหลายปัจจัยข้างต้นด้วยเช่นกันครับ 😊
สิ่งควรทำ และ ควรหลีกเลี่ยง หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด
✔️ ผู้ป่วยสามารถเลือกการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือดและกล้ามเนื้อให้สูงขึ้นได้ เช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน การออกกำลังกายในน้ำ การออกกำลังกายที่ไม่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่าจะช่วยยืดอายุข้อเข่าเทียมให้ใช้งานได้นานขึ้นด้วยนะครับ
❌ ส่วนของกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ได้แก่ กีฬาที่มีแรงกระแทกรุนแรงต่อข้อเข่า หรือมีการกระโดด เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล แบดมินตัน วิ่ง เทนนิส เพราะแรงกระแทกจะทำให้ส่วนที่เป็นพลาสติกโพลีเอทิลีนในข้อเข่าเทียมเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรือแม้แต่การยกของหนักเป็นประจำ รวมถึงกิจกรรมที่มีการพับงอข้อเข่ามากๆ เช่น การนั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ ในส่วนของห้องน้ำ แนะนำว่าควรเปลี่ยนเป็นชักโครกแทนการนั่งยองๆ จะดีที่สุดครับ
แน่นอนว่าข้อเข่าและกระดูกของเราย่อมมีวันที่จะเสื่อมไปตามอายุและวัยของเรา หากมีอาการของภาวะข้อเข่าเสื่อมและยังไม่อยากผ่าตัด ก็สามารถเริ่มดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่สมดุล ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ รู้ศักยภาพของตัวเอง ข้อเข่าจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ นะครับ
👉 แต่หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น รักษาด้วยวิธีไหนๆ ก็ไม่หาย หรือมีความผิดรูปเกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานๆ เพราะการผ่าตัดอาจจะซับซ้อนมากขึ้น และผลลัพธ์หลังการผ่าตัดอาจไม่ดีเท่าที่ควร พี่หมอแนะนำให้มาพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมให้เร็วที่สุดครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้