เมื่อ GULF ซื้อ INTUCH ได้ AIS ไปครอบครอง และ CAT ควบรวม TOT เป็น NT กับความสามารถในการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป ???

หลังจากที่ AIS มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว ได้ GULF เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ทุ่มซื้อหุ้น InTUCH ไปกว่า 4.86 หมื่นล้านบาท ได้หุ้นไปกว่า 42.25% ในขณะเดียวกัน เมื่อต้นปีที่แล้ว ครม. ก็อนุมัติควมรวม TOT และ CAT เปลี่ยนเป็น NT (บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ)  กับบริษัทที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทยกับมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาท

     เรียกได้ว่า ปี 2564 เป็นปีที่โทรคมนาคมไทยมีการปรับตัวอย่างรุนแรง เริ่มต้นจาก CAT และ TOT การควบรวมเป็น NT : บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ  กับบริษัทที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทยกับมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาท, เสาโทรคมนาคมกว่า 25,000 ต้นทั่วประเทศ, เคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศเชื่อมต่อไปยังทุกทวีป,  ถือครองคลื่นความถี่ในการให้บริการรวม 6 ย่านความถี่มีปริมาณกว่า 600 เมกะเฮิรตซ์, ท่อร้อยสายใต้ดินมีระยะทางรวม 4,600 กิโลเมตร, สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง 4 ล้านคอร์กิโลเมตร, Data Center 13 แห่งทั่วประเทศ และ ระบบโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่เข้าถึงจากทุกประเทศในโลก และ สามารถให้บริการผ่าน MVNO ได้มากมาย

     ในขณะที่อันดับ 1 ในตลาดโทรคมนาคมไทย อย่าง AIS ก็มีแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่เช่นกัน  เมื่อ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ของ "คุณสารัชถ์ รัตนาวะดี" มหาเศรษฐีด้านพลังงาน  และมหาเศรษฐีอันดับ 5 ของประเทศไทย เมื่อปี 2564 ขึ้นมาเป็นบริษัท "ผู้ถือหุ้นใหญ่" อันดับ 1 ด้วยมูลค่าในการซื้อกว่า 4.86 หมื่นล้านบาท กับสัดส่วนหุ้นกว่า 42.25% 

ข้อมูล ณ วันที่ 5 พ.ค. 2565

     บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่เข้าไปลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ เทคโนโลยี และดิจิทัล ในบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือที่คนไทยเรารู้จักในนามของ AIS โดยบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ที่ 40.44% และ SINGTEL STRATEGIC INVESTMENTS PTE LTD. ที่ 23.31% จะเห็นได้ว่าเอไอเอสมีความได้เปรียบจากการที่มีบริษัท สิงเทล หรือ สิงคโปร์เทเลคอมมูนิเคชันส์ ที่เป็นผู้นำในบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทำให้จำกัดการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศไทยไว้ด้วย

     จะเห็นได้ว่า เมื่อบริษัทมีการควบรวมกัน ก็จะทำให้การขยายการลงทุนทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศเป็นรูปธรรมมากขึ้น และผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการควบรวมแน่นอน เพราะต่อไปบริษัทโทรคมนาคมจะไม่ได้แข่งขันกันเองอีกต่อไปแล้ว แต่จะต้องแข่งขันกับบริษัทดิจิทัลต่างๆ ทั่วโลก หากบริษัทโทรคมนาคมไทยไม่เริ่มปรับตัวในตอนนี้ คาดว่าบริษัทโทรคมนาคมไทยจะไม่เหลือให้แข่งขันกับต่างประเทศแล้ว

     สำหรับการให้บริการแบบ MVNO หรือ Mobile Virtual Network Operator เป็นลักษณะหนึ่งของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายด้วยตัวเอง แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่นแล้วนำมาจำหน่ายต่อผ่านโปรโมชั่นและช่องทางการตลาดของตัวเอง เช่น 
• บริษัท ไวท์สเปซ จำกัด หรือ ซิมเพนกวิน
• บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ ซิม 168 เป็นต้น
การให้บริการ MVNO ยังคงเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยยังคงให้ความสนใจกันอยู่

     ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การควบรวมไม่ว่าจะเป็นของ Gulf และ Intuch / CAT ควบรวม TOT เป็น NT หรือ การควบรวมที่อาจจะเกิดในเร็วนี้ๆ อย่าง True และ dtac ที่จะเกิดเป็นบริษัทเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมา ก็คาดว่าผู้บริโภคก็จะต้องได้รับประโยชน์ด้วยอย่างแน่นอน  เช่น
1. การเข้าถึงสัญญาณเครือข่ายที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะมีเสาสัญญาณเพิ่มมากขึ้น สัญญาเร็ว แรง และครอบคลุมพื้นที่ใช้งานมากขึ้น
2. คลื่นหลายย่านความถี่ ทำให้ลูกค้าใช้มือถือได้หลากหลายรุ่น หลากหลายยี่ห้อมากขึ้น
3. เพื่อความสะดวกในการติดต่อศูนย์บริการ เพราะมีศูนย์ลองรับกระจายเพิ่มมากขึ้น
4. ลูกค้าได้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีจากทั้ง 2 บริษัทมากขึ้น
5. ขีดการแข่งขันของบริษัทใหม่ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ย้ายค่าย ทำให้ลูกค้าได้รับโปรโมทชั่นที่ถูกลง และมีข้อเสนอทางการตลาดเพื่อดึงดูดที่มากขึ้น
6. ราคาแพคเกจต่างๆ มีการควบคุมราคา โดยการดูแลของหน่วยงาน กสทช. ทำให้มั่นใจได้ว่าราคาจะไม่สูงเกินที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน
7. เมื่อต้นทุนของผู้ให้บริการลดลง ทำให้ลูกค้ามีโอกาสที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากขึ้น เพื่อรักษาลูกค้าให้อยู่นานขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต เป็นต้น 
8. บริษัทโทรคมนาคมไทยต่างต้องปรับตัวเพื่อรองรับการลงทุนใหม่ ในการเพิ่มขีดความสามารถให้สามารถแข่งขันได้ ไม่ใช่กับผู้เล่นในประเทศเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่ต้องเพิ่มความสามารถให้แข่งขันกับผู้เล่นต่างชาติ อย่าง Facebook Twitter Line หรือ NetFlix  เป็นต้น
9. ปัจจุบัน การใช้งานของผู้บริโภคจะเน้นไปที่การใช้งานอินเทอร์เน็ต จะเห็นได้จากแพคเกจต่างๆ เพิ่มจำนวนดาต้าให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้มากขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกันจำนวนนาทีการโทรผ่านโทรศัพท์แบบเดิมๆ ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาคุณภาพด้านเครือข่ายของประเทศไทย ต้องรองรับการเติบโตของผู้ใช้ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีด้วย
10. เมื่อผู้ประกอบการไทยมีการปรับตัว จากบริษัทท้องถิ่นเป็นบริษัทระดับโลกแล้ว ก็จะต้องเพิ่มขีดความสามารถที่จะแข่งขัน ไม่ใช่เฉพาะกับผู้เล่นในประเทศ หรือในภูมิภาคเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่จะต้องปรับตัวเพื่อแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ จากทั่วโลก ทำให้ต้องมีการลงทุนในเรื่องต่างๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน และที่ลูกค้าจะได้เลยก็คือ บริการดิจิทัลที่มากขึ้นจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงคอนเทนต์ของประเทศในภูมิภาค เช่น เพลง  หรือหนังแล้ว  ยังมีคอนเทนต์ระดับโลกให้บริการในราคาที่ถูกลงด้วยเช่นกัน

     ก็ได้แต่หวังว่า เมื่อธุรกิจในประเทศไทยมีการปรับตัวจากการควบรวมธุรกิจกันแล้ว จะให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านเทคโนโลนี ด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ให้มากขึ้น เพื่อสามารถที่จะแข่งขันกับธุรกิจต่างชาติ ที่ไม่มีเสาโทรคมนาคม แต่สามารถกอบโกยกำไรมหาศาลจากประเทศไทยกลับประเทศตนเอง โดยไม่ต้องเสียภาษีเหมือนกับผู้ประกอบการในประเทศไทย ที่โดนกรมสรรพากรกดดันอยู่ จนทำให้ผู้ประกอบการไทยหลายรายไปไม่รอดในที่สุด 

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่