J-1 ต้องยื่นภาษีหรือไม่?
ยื่นเองได้ไหม?
แต่ละบริษัทที่รับยื่นแตกต่างยังไง?
จากที่มีน้อง J-1 สอบถามเข้ามา และติดต่อเข้ามาที่บริษัทผู้สอบบัญชี พี่รวบรวมสิ่งที่น้องๆ โครงการ J-1 ที่เข้ามาทำงานในอเมริกาต้องรู้ และต้องทำให้ถูกต้อง เพราะการติดกระดุมผิดเม็ดแรก จะยุ่งยากในการมาแก้ไขทีหลัง การทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกดีที่สุดครับ
ทุกคนที่ทำงานในอเมริกา มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ส่วนเมื่อจ่ายไปแล้ว ค่อยมาขอคืนทีหลังได้ หากยอดภาษีที่ถูกหักไว้เกินจากที่ควรจะจ่าย ดังนั้นคนอเมริกันทุกคนต้องจ่ายภาษี และทุกสิ้นปีก็จะยื่นภาษีประจำปี Tax Return และคนส่วนใหญ่จะใช้ Standard Deduction เช่นปี 2021 คือ $12,550 หากคนอเมริกันที่มีรายได้น้อยกว่า $12,550 ก็จะสามารถขอเงินภาษีที่จ่ายไปคืนได้ ที่เรามักเรียกกันว่า Tax Refund
พอน้องเข้าใจหลักการเบื้องต้นของคนอเมริกันในการจ่ายและยื่นภาษีแล้ว คำถามที่ว่า เด็ก J-1 ต้องจ่ายภาษีไหม คำตอบ คือ ต้องยื่นภาษี Tax Return ส่วนจะได้เงินคืน หรือ จ่ายเพิ่ม ต้องคำนวณรายได้อีกครั้ง ถ้าไม่ยื่น Tax Return ตามกฏหมายสรรพากร IRC 26 U.S. Code § 6651 เมื่อยื่นช้ามากกว่า 60 วัน จากวันที่กำหนดในแต่ละปี จะมีค่าปรับ$435 หรือ 100% ของยอดภาษีค้างจ่าย โดยเฉพาะน้อง J-1 Aupair ที่ไม่ได้รับ W-2 แต่ได้รับเงินจาก Host Family แทน มักจะคิดว่าตัวเองไม่ต้องยื่น Tax Return และเสียภาษีเงินได้ ตรงนี้ชัดเจนว่าผิดกฏหมายอเมริกา ซึ่งมีผลกระทบแน่นอนในการยื่นขอวีซ่า หรือเข้ามาอเมริกา หรือ การจะยื่นขอกรีนการ์ดในอนาคต ส่วนน้อง J-1 Summer Work/Travel บางคนกลับมาแล้วไม่ได้ยื่น Tax Return เพราะไม่ได้อยากได้เงินคืน หรือ กลัวยื่นแล้วต้องจ่ายเพิ่ม หรือลืม? ซึ่งผลที่เกิดขึ้นได้ในหลายกรณี คือ ถ้ายอดภาษีที่น้องจ่ายไปเกิน แล้วไม่ขอเงินคืน การไม่ยื่น Tax Return ไม่มีค่าปรับใด ๆ ถือว่ายกเงินให้ลุงแซม แต่ถ้าเมื่อคำนวณแล้ว น้องมียอดค้างจ่ายกับ Federal รัฐบาลกลาง ซึ่งหน่วยงานจัดเก็บ คือ สรรพากร หรือ IRS อย่างน้อยหนึ่งเหรียญ ก็จะเข้าข้อกฏหมายที่ยื่นช้าและเสียค่าปรับ นับย้อนหลังทุกปี หลายคนบอกไม่ได้ยื่นและไม่ได้โดนเรียกอะไร เลยใจเย็น พี่อยากจะบอกว่าตามกฏหมาย IRS สามารถตามย้อนหลังได้ไม่จำกัด หากเรายื่นภาษีผิด หรือไม่ยื่นภาษี เข้าข่ายเลี่ยงภาษี คดีอาญา ส่วนน้องบางคนที่ไม่ยื่น Tax Return อาจเข้าข่ายไม่มียอดค้างจ่าย มีแต่ยอดเงินคืน แต่ไม่ขอคืน กรณีนี้น้องปลอดภัยไม่โดนตามแน่นอน แต่ถ้าอยากยื่น สามารถยื่นได้ภายใน 3 ปีย้อนหลังครับ ส่วน State Tax ต้องยื่นไหม คำตอบ คือ ต้องยื่นและใช้หลักการเดียวกันกับ IRS หลายคนไม่ยื่น และปล่อยผ่าน ซึ่งอาจมีผลในอนาคตหากเราจะไปอยู่ในรัฐนั้นๆ ซึ่งอาจไม่แรงเท่า IRS ดังนั้นทุกคนที่ทำงานในอเมริกามีหน้าที่ต้องยื่นภาษีทั้ง Federal และ State Tax ตามกฏหมาย ส่วน 9 รัฐ Alaska, Florida, Nevada, New Hampshire, South Dakota, Tennessee, Texas, Washington and Wyoming ที่ไม่มี State Income Tax ไม่ต้องยื่น
เมื่อรู้ว่าต้องยื่นภาษี Tax Return ทุกปีภายใน 15 เมย บวก 1-3 วันขึ้นอยู่กับแต่ละปี หลายคนไม่อยากจ่ายค่ายื่นอยากทำเอง สามารถทำได้ครับ ถ้าสามารถกรอกและเข้าใจแบบฟอร์ม 1040-NR และ ถ้าน้องจะเคลม Treaty ก็ต้องเข้าใจในการกรอกแบบฟอร์ม 8833 แต่ที่พี่เห็นมีน้องบางคนแนะนำใน YouTube ยื่นผ่าน TurboTax, H&R Block และอื่นๆ ซึ่งในโปรแกรมออนไลน์เหล่านี้ ใช้กับคนอเมริกัน หรือ คนผ่านคุณสมบัติ Green Card Test/Substantial Presence Test ซึ่งการยื่นแบบฟอร์ม 1040 น้องที่มาโครงการ J-1 ใช้ไม่ได้ กลายเป็นแนะนำเพื่อนๆ ให้ยื่นผิดตามเพิ่มคนทำผิดกฏหมายเฉยเลย ถ้า IRS ตามเจอวันไหน วันนั้นลำบากครับ ส่วนเหตุผลง่ายๆ คือ คนอเมริกันได้Stardard Deduction $12,550 แปลว่า ถ้าน้องยื่นแบบฟอร์ม 1040 และน้องมีรายได้ $10,000 น้องจะสามารถขอคืนภาษีทั้งหมดที่จ่ายไปได้ แต่ประเด็นคือน้องไม่ใช่คนอเมริกันและไม่ผ่านคุณสมบัติ สิ่งที่น้องเคลมได้ คือ Tax Treaty ที่อเมริกาและไทยลงนามกันไว้ปี 1998 ซึ่งมีสิทธิ์ในการเคลม Article 22(1) ยกเว้นรายได้ $3,000 ส่วนเกินก็ต้องไปคำนวณจ่ายภาษี 10%-12% ตามสัดส่วนภาษี แล้วสามารถ deduction (ลดหย่อน) ในส่วนของ State and local income taxes, เงินบริจาค, ของหายหรือโดนขโมย เท่านั้น อย่างอื่นไม่สามารถนำมา deduction ได้ หลายคนไปแจ้งว่าตัวเองบริจาคเงิน ทั้งๆ ที่ไม่ได้บริจาค ถ้าโดนตรวจสอบ ถือเป็นแจ้งรายการเท็จ เป็นคดีอาญา ดังนั้นต้องทำให้ถูกต้องและตรงความจริง มีหลักฐานยืนยันได้
ทำไมมีหลายบริษัทรับยื่น และคำนวณยอดภาษีไม่ตรงกัน พี่บอกได้เลยว่า Thailand Only เพราะการคำนวณภาษีในอเมริกา ถึงแม้จะซับซ้อน แต่มีความชัดเจนอยู่ในตัวเอง ดังนั้นการที่แต่ละบริษัทคำนวณได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าคำนวณถูกต้องตามกฏหรือไม่ ใช้แบบฟอร์มผิด หรือ deduction ผิดประเภท หรือ เคลม treaty ผิดข้อ ถ้าคำนวณถูกต้อง ทุกที่ต้องได้ตัวเลขเดียวกันครับ
หลายคนสงสัยว่าทำไมมีหลายบริษัทรับยื่นขอคืนภาษี แต่ไม่ค่อยเห็นที่ไหนเป็นตัวแทนให้น้องๆ ตอนมีปัญหา น้องๆต้องโทรไป IRS เอง (เห็นใจและสงสารมากจากการอ่านรีวิว กว่าจะได้คุยกับเจ้าหน้าที่ IRS รู้เรื่อง คิดว่าได้ฝึกภาษาไปในตัว) หรือบางทีตามแล้วก็ช่วยอะไรไม่ได้ คำตอบ คือ บริษัท หรือ ผู้ที่เป็นตัวแทนยื่นภาษีมีหลายระดับ พี่แบ่งง่าย ๆเป็น 4 ระดับ
1) เป็นคนเตรียมและยื่นให้บุคคลทั่วไป โดยไม่ลงทะเบียน ผู้เตรียมภาษีกับ IRS ถ้ารับเงินค่าจ้างในการเตรียมและยื่น ถือว่าผิดกฏหมาย แบบนี้เสี่ยงมาก เพราะไม่มีอะไรรองรับ ถ้าเกิดอะไรขึ้น ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งมีหลายบริษัท หรือ คนยื่นในไทยรับทำอยู่ในกลุ่มนี้เยอะ
2) ผู้เตรียมภาษีขึ้นทะเบียนกับ IRS มีหน้าที่จำกัดในการเตรียมให้น้องๆ แต่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฏหมายภาษี ใครก็ลงทะเบียนได้ แต่ไม่สามารถเป็นตัวแทนผู้เสียภาษีได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เตรียมภาษีทำงานในบริษัทผู้สอบ แต่คนไทยหลายคนที่รับทำ จะเริ่มพัฒนามาอยู่ในส่วนนี้ เพราะมีเงิน $35.95 ก็สามารถลงทะเบียนเป็นผู้เตรียมภาษีขอเลข PTIN ได้แล้ว ยิ่งง่ายถ้าเป็นคนอเมริกัน หรือ ถือกรีนการ์ดอยู่ในอเมริกา
3) ผู้สอบบัญชีขึ้นทะเบียนกับ IRS สามารถเป็นตัวแทนผู้เสียภาษีได้ทุกประเภท ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในทุกเรื่องเกี่ยวกับภาษี ซึ่งน้องๆ J-1 ส่วนใหญ่จะไม่เจอและยื่นภาษีผ่านบริษัทผู้สอบบัญชี เหตุผล น้องคงคิดว่าแพง ซึ่งไม่จริงเสมอไป หรือ ยังหาไม่เจอกันแน่?
4) ทนายความด้านภาษีขึ้นทะเบียนกับ IRS เป็นตัวแทนผู้เสียภาษีได้ทุกประเภท ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลส่วนใหญ่ใช้กรณีฟ้องร้องในชั้นศาล
ถ้าอยากรู้ว่าตัวแทนที่ยื่นภาษีคนไหน อยู่ในข้อ 2-4 บ้าง เช็คกับระบบฐานข้อมูลของ IRS ได้ที่
https://irs.treasury.gov/rpo/rpo.jsf
ส่วนใหญ่บริษัทผู้สอบบัญชีจะยื่น e-file ในการยื่นภาษีไปยัง IRS ทำให้รวดเร็วและปลอดภัย ที่สำคัญน้องๆ บางคนส่งเอกสาร ถ่ายรูปผ่าน Line, FB หรือ ข้อความ หรืออีเมล ซึ่งปกติน้องๆ ไม่ควรทำแบบนั้น เพราะข้อมูลอาจหลุดไปให้ผู้ไม่หวังดีเข้าไปใช้ในทางที่ผิดได้ ในส่วนของบริษัทผู้สอบบัญชีต้องใช้ระบบไฟล์ข้อมูลผู้เสียภาษีที่ขึ้นทะเบียนกับ IRS และข้อมูลของน้องๆ จะไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ สำหรับหลายเพจเอาชื่อน้องๆ เลข SSN และยอดเงินภาษีไปโพสเพื่อโปรโมทนั้นผิดกฏหมาย IRS Publication 1, Taxpayer Bill of Rights: The Right to Privacy น้องสามารถฟ้องร้องคนที่เอาข้อมูลภาษีเราไปเปิดเผย ดำเนินคดีในอเมริกาได้ โทษติดคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน $250,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ามีน้องคนไหนแจ้งมาที่บริษัทอยากจะฟ้องร้องในชั้นศาลกับเพจเหล่านี้ที่เป็นผู้รับยื่นภาษีในอเมริกาอาจจะทำให้คนที่รับยื่นภาษีกลุ่มนี้เคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฏหมายมากขึ้น
เมื่อบริษัท หรือ คนที่รับยื่นภาษี ทำการยื่น Tax Return น้องๆ ต้องได้แบบฟอร์ม 1040-NR และ 8833 ซึ่งน้องต้องเซ็นต์ (ถ้าผู้ยื่นเซ็นต์แทนน้อง โดยไม่ได้กรอกแบบฟอร์ม 2848 Power of Attorney คนที่เซ็นต์แทนทำผิดกฏหมาย) ก่อนที่จะยื่นไปที่ IRS สำหรับส่งเอกสารทางไปรษณีย์ หรือ แบบฟอร์ม 8879 สำหรับ e-file โดยบริษัทผู้สอบบัญชี ซึ่งการส่งทางไปรษณีย์ก็รอหลายเดือนกว่าจะเข้าระบบ ส่วนการยื่นผ่าน e-file ทาง IRS ได้รับข้อมูลทันที เอกสารไม่มีหล่นหาย ซึ่งเป็นข้อแตกต่างระหว่างการยื่นกับบริษัทผู้สอบบัญชี น้องอาจแย้งว่า J-1 ไปยื่น e-file ไม่ได้ ซึ่งหลายบริษัทจะบอกแบบนั้น แล้วบอกต่อว่า มีคนยื่นอยู่ในอเมริกา ยื่นได้เร็วกว่า ซึ่งก็ถูกครับ เพราะบริษัทเหล่านี้ ไม่ใช่บริษัทผู้สอบ ยื่น e-file กันไม่ได้อยู่แล้ว ส่วนบริษัทผู้สอบบัญชีสามารถยื่น e-file แบบฟอร์ม 1040-NR ได้ถูกต้อง รวดเร็วและได้ภาษีคืนเร็วกว่าการยื่นทางไปรษณีย์แน่นอนครับ อีกอย่างที่แปลกของคนที่รับยื่นที่ไทย คือ จะคิดค่าบริการแยกยื่น Federal, State, Deduction ในราคาแตกต่างกัน สำหรับ 1040-NR แบบง่าย ซึ่งปกติแบบนี้ไม่ค่อยเจอในบริษัทผู้สอบบัญชีที่อเมริกา เพราะส่วนใหญ่จะคิด Rate เดียว โดยตามหลักแล้ว ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบและยื่นภาษีTax Return ให้ครบและถูกต้อง ถ้าพลาดมาอาจโดน IRS ตรวจสอบได้และมีบทลงโทษ จะสังเกตได้ว่า หากยื่นภาษีTax Return ผ่านบริษัทผู้สอบบัญชีจะรวดเร็วกว่า และหากมีปัญหากับ IRS น้องๆ สามารถกรอกและเซ็นต์แบบฟอร์ม2848 Power of Attorney ให้ผู้สอบบัญชีเจรจากับ IRS โดยที่น้องๆ ไม่ต้องมาใช้เวลาลุ้นโทรหา IRS ทุกวัน ที่สำคัญที่สุด คือ ตัวแทนยื่นภาษีมีหน้าที่ต้องส่ง copy แบบฟอร์มการยื่นภาษีให้น้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน หากบริษัทหรือผู้ยื่นภาษีให้น้องไม่ได้ส่งเอกสาร Tax Return ที่ยื่นกับ IRS มาให้น้องเก็บไว้ด้วย บริษัทที่ยื่นทำผิดกฏหมาย IRC 26 CFR § 1.6695-1 ต้องจ่ายค่าปรับ $50 ต่อครั้ง สูงสุดไม่เกิน $25,000 ต่อคน
พอน้องๆ ได้รู้ข้อมูลที่ถูกต้อง จะทำให้น้องๆ ที่มาทำงานในอเมริกา ยื่นภาษีได้ถูกต้อง และติดตามกับบริษัท หรือผู้ที่รับยื่นภาษี ให้ปฏิบัติตามกฏหมาย หากไม่ปฏิบัติตาม น้องติดต่อบริษัทผู้สอบบัญชีมาขอคำปรึกษาได้ และหากบริษัทหรือ ผู้ยื่น Tax Return ให้กับน้อง อยู่ในอเมริกา ไม่จะว่าจะมีที่ตั้งอยู่รัฐไหน น้องๆ มีสิทธิ์ตั้งแต่งทนายความยื่นฟ้องร้องศาลกับบริษัทหรือผู้ยื่นเหล่านี้ได้
การมาหาประสบการณ์ในอเมริกา ไม่ใช่แค่สนุก ได้เงินกลับไทย แต่ต้องรู้หน้าที่และกฏหมายด้วย การให้เหตุผลว่าไม่รู้กฏหมาย หากมีปัญหาเกิดขึ้น ไม่มีน้ำหนักพอในการแย้ง เราจึงควรทำให้ถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ว่าจะทำอะไรชีวิตก็ง่ายและสบายครับ
K.S
Disclaimer: ผู้เขียนบทความทำงานที่บริษัทผู้สอบบัญชี CarolinasWise.com
ยื่นขอคืนภาษี J-1 Tax Refund
ยื่นเองได้ไหม?
แต่ละบริษัทที่รับยื่นแตกต่างยังไง?
จากที่มีน้อง J-1 สอบถามเข้ามา และติดต่อเข้ามาที่บริษัทผู้สอบบัญชี พี่รวบรวมสิ่งที่น้องๆ โครงการ J-1 ที่เข้ามาทำงานในอเมริกาต้องรู้ และต้องทำให้ถูกต้อง เพราะการติดกระดุมผิดเม็ดแรก จะยุ่งยากในการมาแก้ไขทีหลัง การทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกดีที่สุดครับ
ทุกคนที่ทำงานในอเมริกา มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ส่วนเมื่อจ่ายไปแล้ว ค่อยมาขอคืนทีหลังได้ หากยอดภาษีที่ถูกหักไว้เกินจากที่ควรจะจ่าย ดังนั้นคนอเมริกันทุกคนต้องจ่ายภาษี และทุกสิ้นปีก็จะยื่นภาษีประจำปี Tax Return และคนส่วนใหญ่จะใช้ Standard Deduction เช่นปี 2021 คือ $12,550 หากคนอเมริกันที่มีรายได้น้อยกว่า $12,550 ก็จะสามารถขอเงินภาษีที่จ่ายไปคืนได้ ที่เรามักเรียกกันว่า Tax Refund
พอน้องเข้าใจหลักการเบื้องต้นของคนอเมริกันในการจ่ายและยื่นภาษีแล้ว คำถามที่ว่า เด็ก J-1 ต้องจ่ายภาษีไหม คำตอบ คือ ต้องยื่นภาษี Tax Return ส่วนจะได้เงินคืน หรือ จ่ายเพิ่ม ต้องคำนวณรายได้อีกครั้ง ถ้าไม่ยื่น Tax Return ตามกฏหมายสรรพากร IRC 26 U.S. Code § 6651 เมื่อยื่นช้ามากกว่า 60 วัน จากวันที่กำหนดในแต่ละปี จะมีค่าปรับ$435 หรือ 100% ของยอดภาษีค้างจ่าย โดยเฉพาะน้อง J-1 Aupair ที่ไม่ได้รับ W-2 แต่ได้รับเงินจาก Host Family แทน มักจะคิดว่าตัวเองไม่ต้องยื่น Tax Return และเสียภาษีเงินได้ ตรงนี้ชัดเจนว่าผิดกฏหมายอเมริกา ซึ่งมีผลกระทบแน่นอนในการยื่นขอวีซ่า หรือเข้ามาอเมริกา หรือ การจะยื่นขอกรีนการ์ดในอนาคต ส่วนน้อง J-1 Summer Work/Travel บางคนกลับมาแล้วไม่ได้ยื่น Tax Return เพราะไม่ได้อยากได้เงินคืน หรือ กลัวยื่นแล้วต้องจ่ายเพิ่ม หรือลืม? ซึ่งผลที่เกิดขึ้นได้ในหลายกรณี คือ ถ้ายอดภาษีที่น้องจ่ายไปเกิน แล้วไม่ขอเงินคืน การไม่ยื่น Tax Return ไม่มีค่าปรับใด ๆ ถือว่ายกเงินให้ลุงแซม แต่ถ้าเมื่อคำนวณแล้ว น้องมียอดค้างจ่ายกับ Federal รัฐบาลกลาง ซึ่งหน่วยงานจัดเก็บ คือ สรรพากร หรือ IRS อย่างน้อยหนึ่งเหรียญ ก็จะเข้าข้อกฏหมายที่ยื่นช้าและเสียค่าปรับ นับย้อนหลังทุกปี หลายคนบอกไม่ได้ยื่นและไม่ได้โดนเรียกอะไร เลยใจเย็น พี่อยากจะบอกว่าตามกฏหมาย IRS สามารถตามย้อนหลังได้ไม่จำกัด หากเรายื่นภาษีผิด หรือไม่ยื่นภาษี เข้าข่ายเลี่ยงภาษี คดีอาญา ส่วนน้องบางคนที่ไม่ยื่น Tax Return อาจเข้าข่ายไม่มียอดค้างจ่าย มีแต่ยอดเงินคืน แต่ไม่ขอคืน กรณีนี้น้องปลอดภัยไม่โดนตามแน่นอน แต่ถ้าอยากยื่น สามารถยื่นได้ภายใน 3 ปีย้อนหลังครับ ส่วน State Tax ต้องยื่นไหม คำตอบ คือ ต้องยื่นและใช้หลักการเดียวกันกับ IRS หลายคนไม่ยื่น และปล่อยผ่าน ซึ่งอาจมีผลในอนาคตหากเราจะไปอยู่ในรัฐนั้นๆ ซึ่งอาจไม่แรงเท่า IRS ดังนั้นทุกคนที่ทำงานในอเมริกามีหน้าที่ต้องยื่นภาษีทั้ง Federal และ State Tax ตามกฏหมาย ส่วน 9 รัฐ Alaska, Florida, Nevada, New Hampshire, South Dakota, Tennessee, Texas, Washington and Wyoming ที่ไม่มี State Income Tax ไม่ต้องยื่น
เมื่อรู้ว่าต้องยื่นภาษี Tax Return ทุกปีภายใน 15 เมย บวก 1-3 วันขึ้นอยู่กับแต่ละปี หลายคนไม่อยากจ่ายค่ายื่นอยากทำเอง สามารถทำได้ครับ ถ้าสามารถกรอกและเข้าใจแบบฟอร์ม 1040-NR และ ถ้าน้องจะเคลม Treaty ก็ต้องเข้าใจในการกรอกแบบฟอร์ม 8833 แต่ที่พี่เห็นมีน้องบางคนแนะนำใน YouTube ยื่นผ่าน TurboTax, H&R Block และอื่นๆ ซึ่งในโปรแกรมออนไลน์เหล่านี้ ใช้กับคนอเมริกัน หรือ คนผ่านคุณสมบัติ Green Card Test/Substantial Presence Test ซึ่งการยื่นแบบฟอร์ม 1040 น้องที่มาโครงการ J-1 ใช้ไม่ได้ กลายเป็นแนะนำเพื่อนๆ ให้ยื่นผิดตามเพิ่มคนทำผิดกฏหมายเฉยเลย ถ้า IRS ตามเจอวันไหน วันนั้นลำบากครับ ส่วนเหตุผลง่ายๆ คือ คนอเมริกันได้Stardard Deduction $12,550 แปลว่า ถ้าน้องยื่นแบบฟอร์ม 1040 และน้องมีรายได้ $10,000 น้องจะสามารถขอคืนภาษีทั้งหมดที่จ่ายไปได้ แต่ประเด็นคือน้องไม่ใช่คนอเมริกันและไม่ผ่านคุณสมบัติ สิ่งที่น้องเคลมได้ คือ Tax Treaty ที่อเมริกาและไทยลงนามกันไว้ปี 1998 ซึ่งมีสิทธิ์ในการเคลม Article 22(1) ยกเว้นรายได้ $3,000 ส่วนเกินก็ต้องไปคำนวณจ่ายภาษี 10%-12% ตามสัดส่วนภาษี แล้วสามารถ deduction (ลดหย่อน) ในส่วนของ State and local income taxes, เงินบริจาค, ของหายหรือโดนขโมย เท่านั้น อย่างอื่นไม่สามารถนำมา deduction ได้ หลายคนไปแจ้งว่าตัวเองบริจาคเงิน ทั้งๆ ที่ไม่ได้บริจาค ถ้าโดนตรวจสอบ ถือเป็นแจ้งรายการเท็จ เป็นคดีอาญา ดังนั้นต้องทำให้ถูกต้องและตรงความจริง มีหลักฐานยืนยันได้
ทำไมมีหลายบริษัทรับยื่น และคำนวณยอดภาษีไม่ตรงกัน พี่บอกได้เลยว่า Thailand Only เพราะการคำนวณภาษีในอเมริกา ถึงแม้จะซับซ้อน แต่มีความชัดเจนอยู่ในตัวเอง ดังนั้นการที่แต่ละบริษัทคำนวณได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าคำนวณถูกต้องตามกฏหรือไม่ ใช้แบบฟอร์มผิด หรือ deduction ผิดประเภท หรือ เคลม treaty ผิดข้อ ถ้าคำนวณถูกต้อง ทุกที่ต้องได้ตัวเลขเดียวกันครับ
หลายคนสงสัยว่าทำไมมีหลายบริษัทรับยื่นขอคืนภาษี แต่ไม่ค่อยเห็นที่ไหนเป็นตัวแทนให้น้องๆ ตอนมีปัญหา น้องๆต้องโทรไป IRS เอง (เห็นใจและสงสารมากจากการอ่านรีวิว กว่าจะได้คุยกับเจ้าหน้าที่ IRS รู้เรื่อง คิดว่าได้ฝึกภาษาไปในตัว) หรือบางทีตามแล้วก็ช่วยอะไรไม่ได้ คำตอบ คือ บริษัท หรือ ผู้ที่เป็นตัวแทนยื่นภาษีมีหลายระดับ พี่แบ่งง่าย ๆเป็น 4 ระดับ
1) เป็นคนเตรียมและยื่นให้บุคคลทั่วไป โดยไม่ลงทะเบียน ผู้เตรียมภาษีกับ IRS ถ้ารับเงินค่าจ้างในการเตรียมและยื่น ถือว่าผิดกฏหมาย แบบนี้เสี่ยงมาก เพราะไม่มีอะไรรองรับ ถ้าเกิดอะไรขึ้น ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งมีหลายบริษัท หรือ คนยื่นในไทยรับทำอยู่ในกลุ่มนี้เยอะ
2) ผู้เตรียมภาษีขึ้นทะเบียนกับ IRS มีหน้าที่จำกัดในการเตรียมให้น้องๆ แต่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฏหมายภาษี ใครก็ลงทะเบียนได้ แต่ไม่สามารถเป็นตัวแทนผู้เสียภาษีได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เตรียมภาษีทำงานในบริษัทผู้สอบ แต่คนไทยหลายคนที่รับทำ จะเริ่มพัฒนามาอยู่ในส่วนนี้ เพราะมีเงิน $35.95 ก็สามารถลงทะเบียนเป็นผู้เตรียมภาษีขอเลข PTIN ได้แล้ว ยิ่งง่ายถ้าเป็นคนอเมริกัน หรือ ถือกรีนการ์ดอยู่ในอเมริกา
3) ผู้สอบบัญชีขึ้นทะเบียนกับ IRS สามารถเป็นตัวแทนผู้เสียภาษีได้ทุกประเภท ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในทุกเรื่องเกี่ยวกับภาษี ซึ่งน้องๆ J-1 ส่วนใหญ่จะไม่เจอและยื่นภาษีผ่านบริษัทผู้สอบบัญชี เหตุผล น้องคงคิดว่าแพง ซึ่งไม่จริงเสมอไป หรือ ยังหาไม่เจอกันแน่?
4) ทนายความด้านภาษีขึ้นทะเบียนกับ IRS เป็นตัวแทนผู้เสียภาษีได้ทุกประเภท ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลส่วนใหญ่ใช้กรณีฟ้องร้องในชั้นศาล
ถ้าอยากรู้ว่าตัวแทนที่ยื่นภาษีคนไหน อยู่ในข้อ 2-4 บ้าง เช็คกับระบบฐานข้อมูลของ IRS ได้ที่https://irs.treasury.gov/rpo/rpo.jsf
ส่วนใหญ่บริษัทผู้สอบบัญชีจะยื่น e-file ในการยื่นภาษีไปยัง IRS ทำให้รวดเร็วและปลอดภัย ที่สำคัญน้องๆ บางคนส่งเอกสาร ถ่ายรูปผ่าน Line, FB หรือ ข้อความ หรืออีเมล ซึ่งปกติน้องๆ ไม่ควรทำแบบนั้น เพราะข้อมูลอาจหลุดไปให้ผู้ไม่หวังดีเข้าไปใช้ในทางที่ผิดได้ ในส่วนของบริษัทผู้สอบบัญชีต้องใช้ระบบไฟล์ข้อมูลผู้เสียภาษีที่ขึ้นทะเบียนกับ IRS และข้อมูลของน้องๆ จะไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ สำหรับหลายเพจเอาชื่อน้องๆ เลข SSN และยอดเงินภาษีไปโพสเพื่อโปรโมทนั้นผิดกฏหมาย IRS Publication 1, Taxpayer Bill of Rights: The Right to Privacy น้องสามารถฟ้องร้องคนที่เอาข้อมูลภาษีเราไปเปิดเผย ดำเนินคดีในอเมริกาได้ โทษติดคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน $250,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ามีน้องคนไหนแจ้งมาที่บริษัทอยากจะฟ้องร้องในชั้นศาลกับเพจเหล่านี้ที่เป็นผู้รับยื่นภาษีในอเมริกาอาจจะทำให้คนที่รับยื่นภาษีกลุ่มนี้เคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฏหมายมากขึ้น
เมื่อบริษัท หรือ คนที่รับยื่นภาษี ทำการยื่น Tax Return น้องๆ ต้องได้แบบฟอร์ม 1040-NR และ 8833 ซึ่งน้องต้องเซ็นต์ (ถ้าผู้ยื่นเซ็นต์แทนน้อง โดยไม่ได้กรอกแบบฟอร์ม 2848 Power of Attorney คนที่เซ็นต์แทนทำผิดกฏหมาย) ก่อนที่จะยื่นไปที่ IRS สำหรับส่งเอกสารทางไปรษณีย์ หรือ แบบฟอร์ม 8879 สำหรับ e-file โดยบริษัทผู้สอบบัญชี ซึ่งการส่งทางไปรษณีย์ก็รอหลายเดือนกว่าจะเข้าระบบ ส่วนการยื่นผ่าน e-file ทาง IRS ได้รับข้อมูลทันที เอกสารไม่มีหล่นหาย ซึ่งเป็นข้อแตกต่างระหว่างการยื่นกับบริษัทผู้สอบบัญชี น้องอาจแย้งว่า J-1 ไปยื่น e-file ไม่ได้ ซึ่งหลายบริษัทจะบอกแบบนั้น แล้วบอกต่อว่า มีคนยื่นอยู่ในอเมริกา ยื่นได้เร็วกว่า ซึ่งก็ถูกครับ เพราะบริษัทเหล่านี้ ไม่ใช่บริษัทผู้สอบ ยื่น e-file กันไม่ได้อยู่แล้ว ส่วนบริษัทผู้สอบบัญชีสามารถยื่น e-file แบบฟอร์ม 1040-NR ได้ถูกต้อง รวดเร็วและได้ภาษีคืนเร็วกว่าการยื่นทางไปรษณีย์แน่นอนครับ อีกอย่างที่แปลกของคนที่รับยื่นที่ไทย คือ จะคิดค่าบริการแยกยื่น Federal, State, Deduction ในราคาแตกต่างกัน สำหรับ 1040-NR แบบง่าย ซึ่งปกติแบบนี้ไม่ค่อยเจอในบริษัทผู้สอบบัญชีที่อเมริกา เพราะส่วนใหญ่จะคิด Rate เดียว โดยตามหลักแล้ว ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบและยื่นภาษีTax Return ให้ครบและถูกต้อง ถ้าพลาดมาอาจโดน IRS ตรวจสอบได้และมีบทลงโทษ จะสังเกตได้ว่า หากยื่นภาษีTax Return ผ่านบริษัทผู้สอบบัญชีจะรวดเร็วกว่า และหากมีปัญหากับ IRS น้องๆ สามารถกรอกและเซ็นต์แบบฟอร์ม2848 Power of Attorney ให้ผู้สอบบัญชีเจรจากับ IRS โดยที่น้องๆ ไม่ต้องมาใช้เวลาลุ้นโทรหา IRS ทุกวัน ที่สำคัญที่สุด คือ ตัวแทนยื่นภาษีมีหน้าที่ต้องส่ง copy แบบฟอร์มการยื่นภาษีให้น้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน หากบริษัทหรือผู้ยื่นภาษีให้น้องไม่ได้ส่งเอกสาร Tax Return ที่ยื่นกับ IRS มาให้น้องเก็บไว้ด้วย บริษัทที่ยื่นทำผิดกฏหมาย IRC 26 CFR § 1.6695-1 ต้องจ่ายค่าปรับ $50 ต่อครั้ง สูงสุดไม่เกิน $25,000 ต่อคน
พอน้องๆ ได้รู้ข้อมูลที่ถูกต้อง จะทำให้น้องๆ ที่มาทำงานในอเมริกา ยื่นภาษีได้ถูกต้อง และติดตามกับบริษัท หรือผู้ที่รับยื่นภาษี ให้ปฏิบัติตามกฏหมาย หากไม่ปฏิบัติตาม น้องติดต่อบริษัทผู้สอบบัญชีมาขอคำปรึกษาได้ และหากบริษัทหรือ ผู้ยื่น Tax Return ให้กับน้อง อยู่ในอเมริกา ไม่จะว่าจะมีที่ตั้งอยู่รัฐไหน น้องๆ มีสิทธิ์ตั้งแต่งทนายความยื่นฟ้องร้องศาลกับบริษัทหรือผู้ยื่นเหล่านี้ได้
การมาหาประสบการณ์ในอเมริกา ไม่ใช่แค่สนุก ได้เงินกลับไทย แต่ต้องรู้หน้าที่และกฏหมายด้วย การให้เหตุผลว่าไม่รู้กฏหมาย หากมีปัญหาเกิดขึ้น ไม่มีน้ำหนักพอในการแย้ง เราจึงควรทำให้ถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ว่าจะทำอะไรชีวิตก็ง่ายและสบายครับ
K.S
Disclaimer: ผู้เขียนบทความทำงานที่บริษัทผู้สอบบัญชี CarolinasWise.com