🏀 ย้อนอดีตตอน Grizzlies ยังอยู่เเคนาดา

Grizzlies อาจดูประสบความสําเร็จหลังจากที่ draft ได้ดาวรุ่งเก่งๆ อย่าง Jaren Jackson Jr., Ja Morant, Desmond Bane ในปีหลังๆ เเต่พวกเขาก็ยังเป็นเเค่ทีมตลาดล่างที่มีมูลค่าอยู่อันดับบ๊วยของลีกรวม $1.5 พันล้านทิ้งห่าง Knicks ที่อยู่อันดับ 1 ที่ $5.8 พันล้านเเบบไม่เห็นฝุ่น

Grizzlies เพิ่งถูกก่อตั้งในปี 1995 โดยใช้ชื่อว่า Vancouver Grizzlies ในปีเดียวกับที่มีการก่อตั้ง Toronto Raptors โดยตอนนั้นลีก NBA ต้องการขยายตลาดไปที่ประเทศเเคนาดาเลยอนุมัติให้มีการก่อตั้ง 2 franchise ใหม่ที่นั่นเเต่ Grizzlies ปักหลักอยู่ที่เเคนาดาได้เเค่ 6 ปีก็ทนขาดทุนไม่ไหวเลยหนีตายมาอยู่ที่เมือง Memphis รัฐ Tennessee ในอเมริกาเมื่อปี 2001

สาเหตุขาดทุนหนักเพราะคนดูในสนามมีน้อย ยอดขายสินค้าก็น้อยทําให้ขาดทุนปีละ $40 ล้าน อีกทั้งตอนนั้นมีกฎว่าทีมในเเคนาดาจะไม่มีสิทธิ์จับ lottery ได้ top picks ใน 3 ฤดูกาลเเรกหลังก่อตั้ง franchise ทําให้ทีมหมีได้เเต่ผู้เล่นกากๆ เข้าทีมมา ในขณะที่ Raptors โชคดีกว่าเพราะได้ Vince Carter ที่ pick #5 มาในปีที่ 4 ทีมเลยประสบความสําเร็จมากกกว่า คนเเห่กันเข้ามาดูจนตั๋วขายเกลี้ยง

ปัญหาอีกอย่างคือการที่ค่าเงินเเคนาดาตกตํ่าเเต่ Grizzlies ต้องจ่ายค่าจ้างให้ผู้เล่นเเละโค้ชเป็นดอลล่าร์สหรัฐเลยขาดทุนหนักจากการเเปลงสกุลเงินด้วย การ lockout ประท้วงไม่เเข่งบาสเมื่อปี 1997 ก็มีส่วนทําให้ขาดสภาพคล่องมากขึ้น นี่เป็นฟางเส้นสุดท้ายที่นําไปสู่การย้ายที่ตั้งโดยเมืองที่ได้รับการพิจารณาก็มี Louisville, New Orlean, Anaheim, Buffalo เเละ Memphis ซึ่งสุดท้ายเป็น Memphis ที่เเซงเข้าป้ายไปเพราะข้าราชการท้องถิ่นดูจะให้การสนับสนุนดีเเละมีสนามเเข่งที่พร้อมรองรับการย้ายได้ทันที

หลังจากที่ย้ายมาอเมริกา ทีมหมีก็ยังมีปัญหาทางการเงินอยู่เเละมียอดขาดทุนสะสมเกิน $100 ล้านเเล้ว คนดูก็ยังน้อยพอๆ กับตอนอยู่เเคนาดา ผู้บริหารเก่าเลยตัดสินใจขายทีมให้ Robert Pera ในปี 2012 ซึ่งหลังจากที่ Pera เข้ามาบริหารก็พาทีมก็เข้า playoff ได้ติดกัน 5 ครั้งในยุคของ Pau Gasol ทําให้ทีมพอลืมตาอ้าปากได้ ถึงเเม้จะยังไม่มีกําไรก็ตาม

ก่อนหน้าที่ฤดูกาลนี้จะเปิดฉาก มีข่าวว่า Pera อยากย้ายเมืองอีกครั้งเเต่การที่ทีมหมีประสบความสําเร็จในฤดูกาลนี้ทําให้ Pera ต้องพับเเผนนี้ไว้ชั่วคราวเเล้วค่อยกลับมาคิดเรื่องนี้อีกทีในอนาคต

Credit: SportCasting
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่