คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
+ รายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆแนะนำปรึกษาทางโบสถ์ครับ จะขอให้แนวทางแบบภาพรวม
+ แนวปฏิบัติเมื่อร่วมงานศพพี่น้องชาวพุทธ ร่วมสวดพระอภิธรรมงานศพและวันฌาปนกิจ
1. การจุดธูปเทียนโต๊ะหมู่บูชา
1.1 เมื่อไปร่วมสวดพระอภิธรรม หากได้รับเชิญจุดธูปเทียน ซี่งมีอยู่ 3 ที่ โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธ พระธรรม และหน้าศพ ควรบอกเจ้าภาพให้จุดธูปเทียนที่หน้าศพ ส่วนวิธีการเคารพศพ ปฏิบัติเหมือนเมื่อผู้ตายยังมีชีวิตอยู่
1.2 กรณีเป็นผู้มีหน้าที่ทางสังคม (ฆราวาส) และได้รับเชิญให้จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธหรือพระธรรม ควรแจ้งให้เจ้าภาพทราบก่อนเริ่มงาน ว่าคาทอลิกไม่เหมาะสมในการปฏิบัติดังกล่าว เพื่อหาผู้แทนจุดธูปเทียนแทน แต่หากได้รับเชิญอย่างกะทันหันและหาผู้แทนไม่ได้ ควรทำด้วยความตั้งใจ จุดธูปเทียนแล้ว ควรไหว้ หรือ กราบหนึ่งครั้งโดยไม่แบมือ...(คาทอลิกกราบแบบแบมือ เฉพาะพระเจ้าเท่านั้น)
เหตุผลที่คาทอลิกไม่ควรจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธ และพระธรรม
• ชาวพุทธกราบพระพุทธและพระธรรม ในฐานะเป็นที่พึ่งสูงสุดของชีวิต อันนำไปสู่นิพพาน ผู้ปฏิบัติดังกล่าวจึงควรเป็นชาวพุทธเท่านั้น
• คาทอลิกนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในฐานะท่านเป็นอาจารย์ผู้ทรงศีลที่น่าเคารพ แต่ไม่ใช่ในฐานะเป็นพระเจ้า
• ด้วยเหตุดังกล่าว คาทอลิกจึงไม่เหมาะสมในการจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธ และพระธรรม เพราะไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์
• ในทางกลับกันงานสวดศพของคาทอลิก ก็ไม่ควรเชิญพี่น้องพุทธเป็นประธานจุดเทียนหน้ากางเขนตอนเริ่มต้นวจนพิธีกรรมสวดศพ เพราะพี่น้องพุทธไม่เชื่อเรื่องพระเยซูเป็นพระเจ้าพระผู้ไถ่ ส่วนการจุดธูปหน้าศพพึ่งกระทำได้
2. ถวายเครื่องไทยทาน ปัจจัย และทอดผ้าบังสุกุล
หากคาทอลิกถูกเชิญให้ประเคนของให้พระภิกษุ หลังการสวดพระอภิธรรม ควรทำด้วยความสุภาพ และหลังจากการประเคนแล้ว ให้ไหว้ หรือ กราบหนึ่งครั้งโดยไม่แบมือ (เราปฏิบัติในฐานะเราเป็นคาทอลิก จึงควรไหว้และกราบแบบคาทอลิก พระภิกษุคือผู้ทรงศีลที่น่าเคารพแต่ท่านไม่ใช้พระเจ้าตามความเชื่อของเราคาทอลิก และคาทอลิกกราบแบบแบมือ เฉพาะพระเจ้าเท่านั้น) ส่วนคาทอลิกท่านใดที่ยังไม่มีความพร้อม ทั้งปฏิบัติไม่เป็น และไม่สบายใจด้านมโนธรรม ก็ควรให้ผู้อื่นปฏิบัติแทน
3. การกรวดน้ำ ไม่ควรทำ (เกี่ยวพันถึงเรื่องความเชื่อ)
3.1 เหตุผลทางความเชื่อ ที่ไม่ควรทำการกรวดน้ำ
3.1.1 การกรวดน้ำ ผู้กรวดน้ำเชื่อว่าตนเองตัดส่วนบุญ หรือยกส่วนบุญของตนอุทิศให้กับผู้อื่นทั้งผู้ล่วงหลับ และผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ อาศัยการตั้งจิตปรารถนาของตน หลังจากทำบุญทำกุศลแล้ว ถือเป็นความเชื่อและวิถีชีวิต เฉพาะของผู้นับถือศาสนาพุทธ และพิธีของพราหมณ์ ที่มีมาตั้งแต่พุทธกาล (เน้นตัวเรา เป็นผู้ยกส่วนบุญให้ผู้อื่น หลังจากทำบุญทำกุศลแล้ว)
3.1.2 คาทอลิกเชื่อว่า เราส่งส่วนบุญให้คนอื่นโดยตรงมิได้ เพราะคาทอลิกต้องพึ่งบุญจากพระเจ้าเท่านั้น พระเจ้าแต่องค์เดียวเป็นผู้ประทานพระพรแก่เราทุกคนทั้งผู้เป็นและผู้ตายเช่น ขอพระอวยพรให้มีความสุขความเจริญ หรือการสวดภาวนาขอพรเพื่อผู้ล่วงหลับตลอดจนการขอมิสซา ก็เพื่อขอให้พระเจ้าประทานพรแก่ผู้นั้นหรือแม้แต่นักบุญและแม่พระ ก็เป็นผู้เสนอคำภาวนาเพื่อเรา ท่านมิได้อวยพรแก่เราโดยตรง ดังเช่นในบทวันทามารีย์ “สันตะมารีย์ พระมารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลายผู้เป็นคนบาป บัดนี้และเมื่อจะตาย อาแมน”
ด้วยเหตุผลทางความเชื่อดังกล่าว คาทอลิกจึงไม่ควรทำการกรวดน้ำ
3.2 เหตุผลของการมีญาติพี่น้องนับถือศาสนาพุทธ (หรือผู้ที่เป็นคาทอลิกใหม่)ในกรณีที่มีญาติพี่น้องนับถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่น้อง ภรรยา หรือสามี เมื่อมีการกรวดน้ำ เช่น งานศพ งานทำบุญบ้าน ฯลฯ คาทอลิก ถือเป็นคนในครอบครัว ควรแสดงความรักด้วยการอยู่ร่วมในพิธีกรวดน้ำ แต่ไม่ต้องเป็นผู้ปฏิบัติการเทน้ำด้วยตนเอง ระหว่างอยู่ร่วมการกรวดน้ำ ควรสำรวมด้วยอาการสงบ และถือเป็นโอกาสอันดี ในการภาวนาต่อพระเจ้า เพื่อพระองค์จะได้อวยพระพรตามวัตถุประสงค์ของงานนั้น ๆ (เพราะนี้คือจุดยืนของเราคาทอลิก พระพรทุกอย่างมาจากพระเจ้าเท่านั้น)เหตุผลในฐานะเป็นญาติพี่น้อง อยู่ร่วมได้ แต่ไม่ต้องเป็นผู้เทน้ำ
4. ระหว่างการฟังพระสวดพระอภิธรรม
ควรอยู่ในอาการที่สำรวม จะพนมมือหรือไม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจและมโนธรรมของแต่ละคน การพนมมือตามธรรมเนียมของชาวไทย หมายถึง การให้ความเคารพและความตั้งใจ
5. การทอดผ้าบังสุกุลบนเมรุ
เนื่องจากเจ้าภาพมีเจตนาให้ความเคารพ และให้เกียรติแก่ผู้ทอดผ้าบังสุกุล ดังนั้น มุมมองของคาทอลิกในเรื่องนี้ ถือเป็นการแสดงออกทางด้านสังคม มากกว่าเป็นความเชื่อทางศาสนา จึงควรให้เกียรติแก่เจ้าภาพเมื่อได้รับเชิญในการทอดผ้าบังสุกุลนี้ (หากคาทอลิกท่านใดยังไม่มีความพร้อม ก็ควรให้ผู้อื่นปฏิบัติแทน)
6. การวางดอกไม้จันทน์ และการรดน้ำศพ
ถือเป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติต่อกัน การวางดอกไม้จันทน์ตามธรรมเนียมไทย ผู้วางดอกไม้ควรหยิบดอกไม้ด้วยตนเอง ไม่ควรหยิบมาเพื่อส่งต่อให้ผู้อื่น ส่วนการรดน้ำศพเป็นการกระทำตามประเพณี เมื่อคนรู้จักสิ้นชีวิตลง ในความรู้จักคุ้นเคยนั้นเราอาจมีการล่วงล้ำกล้ำเกินกันไป ก็จะต้องไปรดน้ำศพเป็นการขอขมาลาโทษ ที่เคยล่วงเกินต่อกันทั้งเป็นการให้เกียรติแก่ผู้สิ้นใจด้วย
CR. : http://www.ratchaburidio.or.th/main/rbd-catholic-church/119-article/interreligious/1457-interreligious-001
+
+
+ ศาสนสัมพันธ์ที่คาทอลิกสนับสนุน ก็เพื่อการเข้าใจในศาสนาอื่นๆอย่างถูกต้องและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ใช่การให้เป็นพหุเทวนิยมหรือนับถือหลายศาสนา
+ คลับเฮ้าส์ สนทนาคาทอลิก
"ศาสนสัมพันธ์ VS การปรับสู่วัฒนธรรมท้องถิ่น VS ซูแปร์ติซัง"
ร่วมพูดคุยกับ คุณพ่อ บัญชา อภิชาติวรกุล ผู้แพร่ธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย และ เจ้าอาวาสวัด นักบุญฟรังซิส เซเวียร์ แม่สาย
ร่วมดำเนินรายการโดย
-Yotsathon Hantaweeeattana
-แอดมิน ยูทูปร่วมคริสต์ร่วมธรรม
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2022 2ทุ่มครึ่ง
ขอพระเจ้าอวยพรนะครับ
+ แนวปฏิบัติเมื่อร่วมงานศพพี่น้องชาวพุทธ ร่วมสวดพระอภิธรรมงานศพและวันฌาปนกิจ
1. การจุดธูปเทียนโต๊ะหมู่บูชา
1.1 เมื่อไปร่วมสวดพระอภิธรรม หากได้รับเชิญจุดธูปเทียน ซี่งมีอยู่ 3 ที่ โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธ พระธรรม และหน้าศพ ควรบอกเจ้าภาพให้จุดธูปเทียนที่หน้าศพ ส่วนวิธีการเคารพศพ ปฏิบัติเหมือนเมื่อผู้ตายยังมีชีวิตอยู่
1.2 กรณีเป็นผู้มีหน้าที่ทางสังคม (ฆราวาส) และได้รับเชิญให้จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธหรือพระธรรม ควรแจ้งให้เจ้าภาพทราบก่อนเริ่มงาน ว่าคาทอลิกไม่เหมาะสมในการปฏิบัติดังกล่าว เพื่อหาผู้แทนจุดธูปเทียนแทน แต่หากได้รับเชิญอย่างกะทันหันและหาผู้แทนไม่ได้ ควรทำด้วยความตั้งใจ จุดธูปเทียนแล้ว ควรไหว้ หรือ กราบหนึ่งครั้งโดยไม่แบมือ...(คาทอลิกกราบแบบแบมือ เฉพาะพระเจ้าเท่านั้น)
เหตุผลที่คาทอลิกไม่ควรจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธ และพระธรรม
• ชาวพุทธกราบพระพุทธและพระธรรม ในฐานะเป็นที่พึ่งสูงสุดของชีวิต อันนำไปสู่นิพพาน ผู้ปฏิบัติดังกล่าวจึงควรเป็นชาวพุทธเท่านั้น
• คาทอลิกนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในฐานะท่านเป็นอาจารย์ผู้ทรงศีลที่น่าเคารพ แต่ไม่ใช่ในฐานะเป็นพระเจ้า
• ด้วยเหตุดังกล่าว คาทอลิกจึงไม่เหมาะสมในการจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธ และพระธรรม เพราะไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์
• ในทางกลับกันงานสวดศพของคาทอลิก ก็ไม่ควรเชิญพี่น้องพุทธเป็นประธานจุดเทียนหน้ากางเขนตอนเริ่มต้นวจนพิธีกรรมสวดศพ เพราะพี่น้องพุทธไม่เชื่อเรื่องพระเยซูเป็นพระเจ้าพระผู้ไถ่ ส่วนการจุดธูปหน้าศพพึ่งกระทำได้
2. ถวายเครื่องไทยทาน ปัจจัย และทอดผ้าบังสุกุล
หากคาทอลิกถูกเชิญให้ประเคนของให้พระภิกษุ หลังการสวดพระอภิธรรม ควรทำด้วยความสุภาพ และหลังจากการประเคนแล้ว ให้ไหว้ หรือ กราบหนึ่งครั้งโดยไม่แบมือ (เราปฏิบัติในฐานะเราเป็นคาทอลิก จึงควรไหว้และกราบแบบคาทอลิก พระภิกษุคือผู้ทรงศีลที่น่าเคารพแต่ท่านไม่ใช้พระเจ้าตามความเชื่อของเราคาทอลิก และคาทอลิกกราบแบบแบมือ เฉพาะพระเจ้าเท่านั้น) ส่วนคาทอลิกท่านใดที่ยังไม่มีความพร้อม ทั้งปฏิบัติไม่เป็น และไม่สบายใจด้านมโนธรรม ก็ควรให้ผู้อื่นปฏิบัติแทน
3. การกรวดน้ำ ไม่ควรทำ (เกี่ยวพันถึงเรื่องความเชื่อ)
3.1 เหตุผลทางความเชื่อ ที่ไม่ควรทำการกรวดน้ำ
3.1.1 การกรวดน้ำ ผู้กรวดน้ำเชื่อว่าตนเองตัดส่วนบุญ หรือยกส่วนบุญของตนอุทิศให้กับผู้อื่นทั้งผู้ล่วงหลับ และผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ อาศัยการตั้งจิตปรารถนาของตน หลังจากทำบุญทำกุศลแล้ว ถือเป็นความเชื่อและวิถีชีวิต เฉพาะของผู้นับถือศาสนาพุทธ และพิธีของพราหมณ์ ที่มีมาตั้งแต่พุทธกาล (เน้นตัวเรา เป็นผู้ยกส่วนบุญให้ผู้อื่น หลังจากทำบุญทำกุศลแล้ว)
3.1.2 คาทอลิกเชื่อว่า เราส่งส่วนบุญให้คนอื่นโดยตรงมิได้ เพราะคาทอลิกต้องพึ่งบุญจากพระเจ้าเท่านั้น พระเจ้าแต่องค์เดียวเป็นผู้ประทานพระพรแก่เราทุกคนทั้งผู้เป็นและผู้ตายเช่น ขอพระอวยพรให้มีความสุขความเจริญ หรือการสวดภาวนาขอพรเพื่อผู้ล่วงหลับตลอดจนการขอมิสซา ก็เพื่อขอให้พระเจ้าประทานพรแก่ผู้นั้นหรือแม้แต่นักบุญและแม่พระ ก็เป็นผู้เสนอคำภาวนาเพื่อเรา ท่านมิได้อวยพรแก่เราโดยตรง ดังเช่นในบทวันทามารีย์ “สันตะมารีย์ พระมารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลายผู้เป็นคนบาป บัดนี้และเมื่อจะตาย อาแมน”
ด้วยเหตุผลทางความเชื่อดังกล่าว คาทอลิกจึงไม่ควรทำการกรวดน้ำ
3.2 เหตุผลของการมีญาติพี่น้องนับถือศาสนาพุทธ (หรือผู้ที่เป็นคาทอลิกใหม่)ในกรณีที่มีญาติพี่น้องนับถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่น้อง ภรรยา หรือสามี เมื่อมีการกรวดน้ำ เช่น งานศพ งานทำบุญบ้าน ฯลฯ คาทอลิก ถือเป็นคนในครอบครัว ควรแสดงความรักด้วยการอยู่ร่วมในพิธีกรวดน้ำ แต่ไม่ต้องเป็นผู้ปฏิบัติการเทน้ำด้วยตนเอง ระหว่างอยู่ร่วมการกรวดน้ำ ควรสำรวมด้วยอาการสงบ และถือเป็นโอกาสอันดี ในการภาวนาต่อพระเจ้า เพื่อพระองค์จะได้อวยพระพรตามวัตถุประสงค์ของงานนั้น ๆ (เพราะนี้คือจุดยืนของเราคาทอลิก พระพรทุกอย่างมาจากพระเจ้าเท่านั้น)เหตุผลในฐานะเป็นญาติพี่น้อง อยู่ร่วมได้ แต่ไม่ต้องเป็นผู้เทน้ำ
4. ระหว่างการฟังพระสวดพระอภิธรรม
ควรอยู่ในอาการที่สำรวม จะพนมมือหรือไม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจและมโนธรรมของแต่ละคน การพนมมือตามธรรมเนียมของชาวไทย หมายถึง การให้ความเคารพและความตั้งใจ
5. การทอดผ้าบังสุกุลบนเมรุ
เนื่องจากเจ้าภาพมีเจตนาให้ความเคารพ และให้เกียรติแก่ผู้ทอดผ้าบังสุกุล ดังนั้น มุมมองของคาทอลิกในเรื่องนี้ ถือเป็นการแสดงออกทางด้านสังคม มากกว่าเป็นความเชื่อทางศาสนา จึงควรให้เกียรติแก่เจ้าภาพเมื่อได้รับเชิญในการทอดผ้าบังสุกุลนี้ (หากคาทอลิกท่านใดยังไม่มีความพร้อม ก็ควรให้ผู้อื่นปฏิบัติแทน)
6. การวางดอกไม้จันทน์ และการรดน้ำศพ
ถือเป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติต่อกัน การวางดอกไม้จันทน์ตามธรรมเนียมไทย ผู้วางดอกไม้ควรหยิบดอกไม้ด้วยตนเอง ไม่ควรหยิบมาเพื่อส่งต่อให้ผู้อื่น ส่วนการรดน้ำศพเป็นการกระทำตามประเพณี เมื่อคนรู้จักสิ้นชีวิตลง ในความรู้จักคุ้นเคยนั้นเราอาจมีการล่วงล้ำกล้ำเกินกันไป ก็จะต้องไปรดน้ำศพเป็นการขอขมาลาโทษ ที่เคยล่วงเกินต่อกันทั้งเป็นการให้เกียรติแก่ผู้สิ้นใจด้วย
CR. : http://www.ratchaburidio.or.th/main/rbd-catholic-church/119-article/interreligious/1457-interreligious-001
+
+
+ ศาสนสัมพันธ์ที่คาทอลิกสนับสนุน ก็เพื่อการเข้าใจในศาสนาอื่นๆอย่างถูกต้องและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ใช่การให้เป็นพหุเทวนิยมหรือนับถือหลายศาสนา
+ คลับเฮ้าส์ สนทนาคาทอลิก
"ศาสนสัมพันธ์ VS การปรับสู่วัฒนธรรมท้องถิ่น VS ซูแปร์ติซัง"
ร่วมพูดคุยกับ คุณพ่อ บัญชา อภิชาติวรกุล ผู้แพร่ธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย และ เจ้าอาวาสวัด นักบุญฟรังซิส เซเวียร์ แม่สาย
ร่วมดำเนินรายการโดย
-Yotsathon Hantaweeeattana
-แอดมิน ยูทูปร่วมคริสต์ร่วมธรรม
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2022 2ทุ่มครึ่ง
ขอพระเจ้าอวยพรนะครับ
แสดงความคิดเห็น
การจัดงานศพหรือพิธีกรรมทางศาสนาให้กับญาตที่นับถือศาสนาพุธของชาวคริสต์
ผมเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในศาสนาคริสต์เพราะค้นพบตัวเองว่าเชื่อในพระเจ้า
โดยกำลังเริ่มอ่านคัมภีร์ไบเบิ้ลที่ซื้อมาด้วยตนเองแต่ว่ายังไม่ได้เข้ารับพิธีใดๆ
ผมมีคำถามอยากจะรบกวนสอบถามสอบถามทางคริสต์ศาสนิกชนดังนี้ครับ
หากคริสต์ศาสนิกชนมีญาตหรือคนในครอบครัวที่นับถือศาสนาพุทธถึงแก่กรรม
ในการจัดงานศพแบบพุทธ , ทำบุญเจ็ดวัน , ทำบุญร้อยวัน , ลอยอังคาร , ทำบุญกระดูก ฯลฯ
จะสามารถทำได้หรือไม่หรือมีข้อปฏิบัติอย่างไรเป็นพิเศษหรือไม่ครับ
ปล หากท่านมีข้อคิดหรือแนวทางปฏิบัติในการอยู่ร่วมกับคนในครอบครัวที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์
ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและไม่ขัดแย้งก็รบกวนขอคำแนะนำด้วยเช่นกันครับ
ขอบพระคุณทุกท่านครับ