อ่านบทความคุณเปลวแล้วจะเข้าใจ....👇👇👇👇👇
https://www.thaipost.net/columnist-people/131369/
อ่านฉบับเต็มทึ่ไทยโพสต์นะคะ....
คงเห็นใกล้สิงหา........
ก็เชื่อไอ้พวกมือกฎหมายรับใช้.....ใน......นั่นแหละว่า จะครบ ๘ ปี ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน มาตรา ๑๕๘ แล้ว ที่บอกว่า "นายกฯ จะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน ๘ ปี ไม่ได้"
ฉะนั้น สิงหาที่จะถึงนี้
"ประยุทธ์ต้องลงจากเก้าอี้นายกฯ" เป็นต่อไม่ได้แล้ว!
ทักษิณจึงหยิบเรื่อง ๘ ปี ของนายกฯ มา......เมื่อวานซืน ให้........หน้าคลับเฮาส์......รับ
อพิโธ่-อพิถัง แม้วเอ้ย....ก็สมแล้ว ที่ฉลาดจนไม่มีแผ่นดินอยู่ ถูกมือกฎหมายใน........หลอก......." อีกแล้ว
เรื่องกฎหมายน่ะนะ นักกฎหมายสำนักดอนหอยหลอดจะบอกให้เอาบุญ
จะหยิบเฉพาะคำ-เฉพาะประโยค ในวรรค ในบรรทัดใดบรรทัดหนึ่ง มาทึกทักสรุปเอาตามที่ใจต้องการ มันไม่ใช่ และอย่างนั้น มันไม่ได้หรอก
จะต้องย้อนไปดูมาตั้งแต่ว่าความเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ คืออะไร คือการมีอำนาจอธิปไตยสูงสุด ทั้งอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการใช่มั้ย?
ต้องไปดูคำพิพากษาศาลฎีกา เมื่อปี ๒๔๙๖ ที่องค์คณะมีคำวินิจฉัยประเด็นรัฏฐาธิปัตย์เป็นบรรทัดฐานไว้ และคำพิพากษาฎีกาต่อๆ มา ก็ยึดตามแนวนั้นตลอด
และต้องไปดูคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ฝ่ายค้านไปยื่นให้ "ตีความคุณสมบัติ" พลเอกประยุทธ์ ที่ว่าไม่สามารถเป็นนายกฯ ได้
เพราะหัวหน้า คสช.ถือเป็น "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" นั่นด้วย เพราะฝ่ายค้านอ้างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐(๖)
ที่ระบุว่า "รัฐมนตรีจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๘" ซึ่งในมาตรา ๙๘(๑๕) เขียนไว้ว่า
"ต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ"
และศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาเป็นเอกฉันท์ สรุปประเด็นได้ว่า
".......ตำแหน่งหัวหน้า คสช.มาจากการยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๒๒ พ.ค.๕๗ และต่อมา ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหัวหน้า คสช. เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน
เห็นได้ว่า การแต่งตั้งตำแหน่ง หัวหน้า คสช.เป็นผลสืบเนื่องมาจากการยึดอำนาจและเป็นตำแหน่งที่ใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
โดยเห็นได้จากการออกประกาศและคำสั่งหลายฉบับ หัวหน้า คสช.ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือการกำกับดูแลของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐใด
ทั้งเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยกฎหมาย ไม่มีกฎหมายกำหนดกระบวนการวิธีได้มาหรือการเข้าสู่การดำรงตำแหน่ง
โดยมีอำนาจหน้าที่เป็นการเฉพาะชั่วคราว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและประชาชน
ดังนั้น ..........
ตำแหน่งหัวหน้า คสช.จึงไม่มีสถานะตำแหน่งหน้าที่หรือลักษณะงานทำนองเดียวกันกับพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และไม่ใช่เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามมาตรา ๙๘(๑๕)
ผู้ถูกร้อง จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐(๖๐) ประกอบมาตรา ๙๘(๑๕)
อาศัยเหตุผลดังกล่าว
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เพราะเหตุที่เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๐ วรรค ๑(๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐(๖) และมาตรา ๙๘(๑๕)"
เนี่ย....
องค์ประกอบทางกฎหมายเพียงคร่าวๆ ที่ผมยกมาให้เข้าใจว่า อย่าอ่านรัฐธรรมนูญเฉพาะวรรค-เฉพาะตอน แล้วสรุปฟันธง ไปทางที่ตัวเองต้องการ
ต้องอ่านให้หมด ให้จบ ให้ครบความ เพราะแต่ละคำในกฎหมายมีความหมายเชื่อมโยงต่อติดไปยังมาตราอื่นๆ อีกมากที่ต้องนำมาประมวล ประกอบความ สู่การวินิจฉัยสรุป
อย่างเรื่อง ๘ ปีของนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๘ มีตั้ง ๔ วรรค และเขาก็เขียนไว้ชัดเจน
แต่พวกนักกฎหมายในคอก กลับหยิบเฉพาะวรรคเดียวที่ว่า.......
"นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่..."
แล้วตีขลุมเอาเฉพาะตรงนี้ ป่าวร้องชี้นำ อ้างรัฐธรรมนูญโน้มน้าวให้คนเชื่อ
"เห็นมั้ย...ประยุทธ์เป็นนายกฯ มาตั้งแต่สิงหา ๕๗ จะครบ ๘ ปี สิงหานี่แล้ว เป็นต่อไม่ได้แล้ว ต้องลง"
คนอ่านกฎหมายเฉพาะวรรคที่ยกมาให้ดูก็ร้อง...เออ จริงด้วย!
แต่ไม่ใช่หรอกครับ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๘ ทั้ง ๔ วรรค มีดังนี้
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
-นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙
-ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
-นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดํารงตําแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตําแหน่ง
ก็จะต้องร้องอ๋อทันที......
คือ ๘ ปี ของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้และมาตรานี้ระบุถึง ต้องอยู่ในข่าย ว่า
นายกรัฐมนตรีคนนั้น....
"ต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙"
และ "ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี"
แล้วช่วงปี ๕๗ จนถึง ปี ๖๒ คนที่เป็น "นายกฯ คสช." คือพลเอกประยุทธ์ ได้รับแต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙ หรือเปล่าล่ะ?
ก็ไม่ใช่!
แล้วมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ คสช.หรือเปล่าล่ะ?
ก็ไม่มี ไม่ใช่!
ก็ชัดเจนตามตัวอักษรเลยทีเดียวว่า นายกฯ ตามมาตรา ๑๕๘ นี้ หมายถึงนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน
นายกฯ คนนั้น สภาผู้แทนราษฎรต้องให้ความเห็นชอบ คือต้องมาจาก "นายกฯ ตามบัญชีเลือกตั้ง" ของพรรคเสนอ
และนายกฯ คนที่ว่านี้ ประธานสภาผู้แทนฯ ต้องเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
นั่นคือ พลเอกประยุทธ์ ตอนเป็นนายกฯ คสช.นับเป็น "นายกฯ นอกรัฐธรรมนูญ" ปรับเข้าตามมาตรา ๑๕๘ ไม่ได้
ต่อเมื่อเลือกตั้งแล้ว สภาผู้แทนฯ โหวตให้เป็นนายกฯ ประธานสภาผู้แทนฯ รับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ เมื่อ ปี ๒๕๖๒ แล้วนั้นแหละ
พลเอกประยุทธ์ เพิ่งเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ อยู่ในกรอบกฎหมายมาตรา ๑๕๘ และ ๑๕๙ จะครบ ๔ ปี เดือนสิงหานี่เอง
สรุป........
"ตู่ ตลาดแตก" เป็นต่อได้อีก ๔ ปี จนถึง ๒๕๗๐ โน่นเลย
ผมพูดผิดตรงไหน เอาปากกามาวง!
คนปลายซอ
คงเข้าใจแล้วนะคะ นายกฯ8ปี ของลุงตู่ต้องนับไปถึงพ.ศ.2570 ยาวไป
ถึงแม้ว่าเลือกตั้งใหม่ พรรคที่ได้เสียงมากกว่าพรรคร่วมรัฐบาลก็คงจะมีพรรคที่เสนอลุงตู่เป็นแคนดิเดตนายกฯนี่แหละ
ยิ่งอยู่นานประชาชนยิ่งเห็นความดี ความซื่อสัตย์
โควิดลดลง เศรษฐกิจกระเตื้อง ท่องเที่ยวพุ่งส่งออกขยายตัวปีหน้าคงคึกคัก งานใหญ่รออยู่ ใครก็อิจฉาลุงตู่อยากมาทำหน้าที่แทน
แต่คนไม่ใช่แฟนคลับประชาชนอย่างลุงตู่ หายากที่จะมีประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับ
ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้
หากลุงทำเศรษฐกิจฟื้นคืนมา อะไรหรือใครจะมาขวางลุง
น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ จะหาว่าไม่บอกนะคะ
💜มาลาริน/ดิฉันเห็นด้วยกับคุณเปลว สื่ออาวุโสค่ะ.."ตู่ ตลาดแตก"เป็นต่อได้อีก๔ ปีจนถึง๒๕๗๐โน่นเลย พูดผิดตรงไหนเอาปากกามาวง
อ่านบทความคุณเปลวแล้วจะเข้าใจ....👇👇👇👇👇
https://www.thaipost.net/columnist-people/131369/
อ่านฉบับเต็มทึ่ไทยโพสต์นะคะ....
คงเห็นใกล้สิงหา........
ก็เชื่อไอ้พวกมือกฎหมายรับใช้.....ใน......นั่นแหละว่า จะครบ ๘ ปี ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน มาตรา ๑๕๘ แล้ว ที่บอกว่า "นายกฯ จะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน ๘ ปี ไม่ได้"
ฉะนั้น สิงหาที่จะถึงนี้
"ประยุทธ์ต้องลงจากเก้าอี้นายกฯ" เป็นต่อไม่ได้แล้ว!
ทักษิณจึงหยิบเรื่อง ๘ ปี ของนายกฯ มา......เมื่อวานซืน ให้........หน้าคลับเฮาส์......รับ
อพิโธ่-อพิถัง แม้วเอ้ย....ก็สมแล้ว ที่ฉลาดจนไม่มีแผ่นดินอยู่ ถูกมือกฎหมายใน........หลอก......." อีกแล้ว
เรื่องกฎหมายน่ะนะ นักกฎหมายสำนักดอนหอยหลอดจะบอกให้เอาบุญ
จะหยิบเฉพาะคำ-เฉพาะประโยค ในวรรค ในบรรทัดใดบรรทัดหนึ่ง มาทึกทักสรุปเอาตามที่ใจต้องการ มันไม่ใช่ และอย่างนั้น มันไม่ได้หรอก
จะต้องย้อนไปดูมาตั้งแต่ว่าความเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ คืออะไร คือการมีอำนาจอธิปไตยสูงสุด ทั้งอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการใช่มั้ย?
ต้องไปดูคำพิพากษาศาลฎีกา เมื่อปี ๒๔๙๖ ที่องค์คณะมีคำวินิจฉัยประเด็นรัฏฐาธิปัตย์เป็นบรรทัดฐานไว้ และคำพิพากษาฎีกาต่อๆ มา ก็ยึดตามแนวนั้นตลอด
และต้องไปดูคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ฝ่ายค้านไปยื่นให้ "ตีความคุณสมบัติ" พลเอกประยุทธ์ ที่ว่าไม่สามารถเป็นนายกฯ ได้
เพราะหัวหน้า คสช.ถือเป็น "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" นั่นด้วย เพราะฝ่ายค้านอ้างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐(๖)
ที่ระบุว่า "รัฐมนตรีจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๘" ซึ่งในมาตรา ๙๘(๑๕) เขียนไว้ว่า
"ต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ"
และศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาเป็นเอกฉันท์ สรุปประเด็นได้ว่า
".......ตำแหน่งหัวหน้า คสช.มาจากการยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๒๒ พ.ค.๕๗ และต่อมา ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหัวหน้า คสช. เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน
เห็นได้ว่า การแต่งตั้งตำแหน่ง หัวหน้า คสช.เป็นผลสืบเนื่องมาจากการยึดอำนาจและเป็นตำแหน่งที่ใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
โดยเห็นได้จากการออกประกาศและคำสั่งหลายฉบับ หัวหน้า คสช.ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือการกำกับดูแลของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐใด
ทั้งเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยกฎหมาย ไม่มีกฎหมายกำหนดกระบวนการวิธีได้มาหรือการเข้าสู่การดำรงตำแหน่ง
โดยมีอำนาจหน้าที่เป็นการเฉพาะชั่วคราว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและประชาชน
ดังนั้น ..........
ตำแหน่งหัวหน้า คสช.จึงไม่มีสถานะตำแหน่งหน้าที่หรือลักษณะงานทำนองเดียวกันกับพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และไม่ใช่เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามมาตรา ๙๘(๑๕)
ผู้ถูกร้อง จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐(๖๐) ประกอบมาตรา ๙๘(๑๕)
อาศัยเหตุผลดังกล่าว
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เพราะเหตุที่เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๐ วรรค ๑(๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐(๖) และมาตรา ๙๘(๑๕)"
เนี่ย....
องค์ประกอบทางกฎหมายเพียงคร่าวๆ ที่ผมยกมาให้เข้าใจว่า อย่าอ่านรัฐธรรมนูญเฉพาะวรรค-เฉพาะตอน แล้วสรุปฟันธง ไปทางที่ตัวเองต้องการ
ต้องอ่านให้หมด ให้จบ ให้ครบความ เพราะแต่ละคำในกฎหมายมีความหมายเชื่อมโยงต่อติดไปยังมาตราอื่นๆ อีกมากที่ต้องนำมาประมวล ประกอบความ สู่การวินิจฉัยสรุป
อย่างเรื่อง ๘ ปีของนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๘ มีตั้ง ๔ วรรค และเขาก็เขียนไว้ชัดเจน
แต่พวกนักกฎหมายในคอก กลับหยิบเฉพาะวรรคเดียวที่ว่า.......
"นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่..."
แล้วตีขลุมเอาเฉพาะตรงนี้ ป่าวร้องชี้นำ อ้างรัฐธรรมนูญโน้มน้าวให้คนเชื่อ
"เห็นมั้ย...ประยุทธ์เป็นนายกฯ มาตั้งแต่สิงหา ๕๗ จะครบ ๘ ปี สิงหานี่แล้ว เป็นต่อไม่ได้แล้ว ต้องลง"
คนอ่านกฎหมายเฉพาะวรรคที่ยกมาให้ดูก็ร้อง...เออ จริงด้วย!
แต่ไม่ใช่หรอกครับ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๘ ทั้ง ๔ วรรค มีดังนี้
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
-นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙
-ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
-นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดํารงตําแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตําแหน่ง
ก็จะต้องร้องอ๋อทันที......
คือ ๘ ปี ของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้และมาตรานี้ระบุถึง ต้องอยู่ในข่าย ว่า
นายกรัฐมนตรีคนนั้น....
"ต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙"
และ "ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี"
แล้วช่วงปี ๕๗ จนถึง ปี ๖๒ คนที่เป็น "นายกฯ คสช." คือพลเอกประยุทธ์ ได้รับแต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙ หรือเปล่าล่ะ?
ก็ไม่ใช่!
แล้วมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ คสช.หรือเปล่าล่ะ?
ก็ไม่มี ไม่ใช่!
ก็ชัดเจนตามตัวอักษรเลยทีเดียวว่า นายกฯ ตามมาตรา ๑๕๘ นี้ หมายถึงนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน
นายกฯ คนนั้น สภาผู้แทนราษฎรต้องให้ความเห็นชอบ คือต้องมาจาก "นายกฯ ตามบัญชีเลือกตั้ง" ของพรรคเสนอ
และนายกฯ คนที่ว่านี้ ประธานสภาผู้แทนฯ ต้องเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
นั่นคือ พลเอกประยุทธ์ ตอนเป็นนายกฯ คสช.นับเป็น "นายกฯ นอกรัฐธรรมนูญ" ปรับเข้าตามมาตรา ๑๕๘ ไม่ได้
ต่อเมื่อเลือกตั้งแล้ว สภาผู้แทนฯ โหวตให้เป็นนายกฯ ประธานสภาผู้แทนฯ รับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ เมื่อ ปี ๒๕๖๒ แล้วนั้นแหละ
พลเอกประยุทธ์ เพิ่งเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ อยู่ในกรอบกฎหมายมาตรา ๑๕๘ และ ๑๕๙ จะครบ ๔ ปี เดือนสิงหานี่เอง
สรุป........
"ตู่ ตลาดแตก" เป็นต่อได้อีก ๔ ปี จนถึง ๒๕๗๐ โน่นเลย
ผมพูดผิดตรงไหน เอาปากกามาวง!
คนปลายซอ