ขออธิบายข้อเท็จจริงคร่าวๆดังนี้ครับ
กรณีนี้เริ่มต้นจากที่ดิน 1 แปลง( น.ส. 4 ) มีครอบครัวอาศัยอยู่ในที่ดินแปลงเดียวกันหลายครอบครัว(โดยเป็นญาติกัน) จำนวน 6 ครอบครัว แต่ละครอบครัวปลูกบ้านอยู่เป็นสัดส่วน โดยอยู่มาตั้งแต่รุ่นทวด โฉนดที่ดินในรุ่นทวดระบุเป็นชื่อตัวแทนในแต่ละครอบครัว เป็นผู้มีสิทธิในโฉนดที่ดิน
หลังจากนั้นผ่านมาหลายปีเจ้าของชื่อในโฉนดได้ทยอยเสียชีวิตลง
ต่อมาพบว่าที่ดินมีชื่อนาย A ที่เป็นตัวแทน 1 ในครอบครัวเป็นชื่อเจ้าของโฉนด(ข้อเท็จจริงตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุว่า ที่ดินแปลงนี้กลายมาเป็นชื่อของนาย A คนได้อย่างไร ) ส่วนทายาทของตัวแทนบ้านหลังอื่นๆ ไม่พบชื่อในโฉนดที่ดิน
ก่อนนาย A เสียชีวิต(นาย A ไม่แต่งงานและไม่มีบุตร) นาย A ได้ทำพินัยกรรม(ทำที่อำเภอ) ยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่นาง B และตั้งนาง B เป้นผู้จัดการมรดก
หลังจากนั้นนาย A เสียชีวิตลง นาง B ได้ยื่นคำร้องต่อศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก และได้โอนที่ดินทั้งแปลงเป็นชื่อตนเอง ทายาทไม่ได้คัดค้านเพราะมาทราบเรื่องทีหลังว่านาง นาง B ได้นำพินัยกรรมไปยื่นต่อศาลเพื่อใช้โอนที่ดินและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก
ผ่านมาอีก 12 ปี ครอบครัวที่ปลูกบ้านอยู่บนที่ดินแปลงนี้พบว่า นาง B ได้นำที่ดินผืนนี้ไปจำนองไว้กับเพื่อนบ้านและแบ่งขายที่ดินไปบางส่วนเพื่อนำเงินไปใช้
ปัญหาคือ
ครอบครัวที่เป็นญาติกันปลูกบ้านอาศัยอยู่บนที่ดินนี้ กังวลว่าหากที่ดินหลุดจำนองไป หรือ ถูกยึดไป ต่อไปจะไม่มีที่อยู่อาศัย และนาง B ไม่มีสิทธิ์นำที่ดินมรดกไปขายโดยพลการจึงรวมตัวจะดำเนินคดีกับนาง B ส่วน นาง B โต้แย้งว่า ที่ดินแปลงนี้ตนได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายตามพินัยกรรมของนาย A ตนจึงมีสิทธิ์บนที่ดินแปลงนี้ทั้งหมด ครอบครัวอื่นเป็นเพียงผู้อยู่อาศัย และถ้าจะฟ้องขับไล่ครอบครัวใดที่จดำเนินคดีกับตนเอง
คำถาม
1.ถ้าทายาทหรือครอบครัวที่ปลูกบ้านอยู่บนแปลงนี้ต่อสู้ว่า ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินมรดกมาตั้งแต่ต้น โดยมีตัวแทนแต่ละครอบครองแทนทายาททั้งหมด นาง B ไม่มีสิทธิ์นำที่ดินทั้งแปลงนี้ไปขายหรือนำไปจำนอง เพราะ การที่นาย A ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้นาง B ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อต่อสู้นี้ฟังขึ้นไหมครับ
2.นาง B อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินโดยชอบธรรม ทายาทที่ปลูกบ้านบนที่ดินเป็นเพียงผู้อยู่อาศัย เพราะนาง B ได้ที่ดินมาตามพินัยกรรมที่จดทะเบียนไว้ที่อำเภอ และได้โอนเป็นชื่อนาง ฺฺB โดยถูกต้อง ประเด็นนี้พอจะมีข้อต่อสู้ไหมครับ
3.ถ้าเครือญาติแต่ละครอบครัวยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ตนเองอยู่อาศัย เพื่อขออกโฉนด น่าจะมีโอกาสชนะไหมครับ
ขอบคุณครับ
ขออนุญาตปรึกษากรณีที่ดินมรดกและผู้จัดการมรดกครับ
กรณีนี้เริ่มต้นจากที่ดิน 1 แปลง( น.ส. 4 ) มีครอบครัวอาศัยอยู่ในที่ดินแปลงเดียวกันหลายครอบครัว(โดยเป็นญาติกัน) จำนวน 6 ครอบครัว แต่ละครอบครัวปลูกบ้านอยู่เป็นสัดส่วน โดยอยู่มาตั้งแต่รุ่นทวด โฉนดที่ดินในรุ่นทวดระบุเป็นชื่อตัวแทนในแต่ละครอบครัว เป็นผู้มีสิทธิในโฉนดที่ดิน
หลังจากนั้นผ่านมาหลายปีเจ้าของชื่อในโฉนดได้ทยอยเสียชีวิตลง
ต่อมาพบว่าที่ดินมีชื่อนาย A ที่เป็นตัวแทน 1 ในครอบครัวเป็นชื่อเจ้าของโฉนด(ข้อเท็จจริงตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุว่า ที่ดินแปลงนี้กลายมาเป็นชื่อของนาย A คนได้อย่างไร ) ส่วนทายาทของตัวแทนบ้านหลังอื่นๆ ไม่พบชื่อในโฉนดที่ดิน
ก่อนนาย A เสียชีวิต(นาย A ไม่แต่งงานและไม่มีบุตร) นาย A ได้ทำพินัยกรรม(ทำที่อำเภอ) ยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่นาง B และตั้งนาง B เป้นผู้จัดการมรดก
หลังจากนั้นนาย A เสียชีวิตลง นาง B ได้ยื่นคำร้องต่อศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก และได้โอนที่ดินทั้งแปลงเป็นชื่อตนเอง ทายาทไม่ได้คัดค้านเพราะมาทราบเรื่องทีหลังว่านาง นาง B ได้นำพินัยกรรมไปยื่นต่อศาลเพื่อใช้โอนที่ดินและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก
ผ่านมาอีก 12 ปี ครอบครัวที่ปลูกบ้านอยู่บนที่ดินแปลงนี้พบว่า นาง B ได้นำที่ดินผืนนี้ไปจำนองไว้กับเพื่อนบ้านและแบ่งขายที่ดินไปบางส่วนเพื่อนำเงินไปใช้
ปัญหาคือ
ครอบครัวที่เป็นญาติกันปลูกบ้านอาศัยอยู่บนที่ดินนี้ กังวลว่าหากที่ดินหลุดจำนองไป หรือ ถูกยึดไป ต่อไปจะไม่มีที่อยู่อาศัย และนาง B ไม่มีสิทธิ์นำที่ดินมรดกไปขายโดยพลการจึงรวมตัวจะดำเนินคดีกับนาง B ส่วน นาง B โต้แย้งว่า ที่ดินแปลงนี้ตนได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายตามพินัยกรรมของนาย A ตนจึงมีสิทธิ์บนที่ดินแปลงนี้ทั้งหมด ครอบครัวอื่นเป็นเพียงผู้อยู่อาศัย และถ้าจะฟ้องขับไล่ครอบครัวใดที่จดำเนินคดีกับตนเอง
คำถาม
1.ถ้าทายาทหรือครอบครัวที่ปลูกบ้านอยู่บนแปลงนี้ต่อสู้ว่า ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินมรดกมาตั้งแต่ต้น โดยมีตัวแทนแต่ละครอบครองแทนทายาททั้งหมด นาง B ไม่มีสิทธิ์นำที่ดินทั้งแปลงนี้ไปขายหรือนำไปจำนอง เพราะ การที่นาย A ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้นาง B ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อต่อสู้นี้ฟังขึ้นไหมครับ
2.นาง B อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินโดยชอบธรรม ทายาทที่ปลูกบ้านบนที่ดินเป็นเพียงผู้อยู่อาศัย เพราะนาง B ได้ที่ดินมาตามพินัยกรรมที่จดทะเบียนไว้ที่อำเภอ และได้โอนเป็นชื่อนาง ฺฺB โดยถูกต้อง ประเด็นนี้พอจะมีข้อต่อสู้ไหมครับ
3.ถ้าเครือญาติแต่ละครอบครัวยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ตนเองอยู่อาศัย เพื่อขออกโฉนด น่าจะมีโอกาสชนะไหมครับ
ขอบคุณครับ