เพื่อไทย ปลุกถึงเวลารื้อถอนวัฒนธรรมข่มขืน ชี้ ต้องเปลี่ยนแม้แต่บทละคร ฉากข่มขืนต้องไม่ใช่เรื่องปกติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3302094
เมื่อวันที่ 22 เมษายน
อรุณี กาสยานนท์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เขียนบทความเรื่อง
รื้อถอนวัฒนธรรมข่มขืน รื้อฟื้นสังคมที่ปลอดภัย เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับข่าวดังและวัฒนธรรมการข่มขืนล่วงละเมิดทางเพศโดยระบุว่า
หลายคนคงเห็นข่าวที่น่าสะเทือนใจจากกรณีนักการเมืองชื่อดังท่านหนึ่งมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ เรื่องนี้เกิดขึ้นแม้กระทั่งกับเด็กอายุ 18 ปี และ ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ มีผู้เสียหายที่เคยถูกกระทำจากบุคคลคนเดียวกันนี้ตั้งแต่การลวนลามไปจนถึงขั้นที่เรียกว่าเป็นการ “ข่มขืน” ผู้ถูกกระทำหลายรายต่างทยอยมาเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจมากถึง 15 ราย ซึ่งหญิงคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราในฐานะผู้หญิงด้วยกัน หรือ ในฐานะเพื่อนมนุษย์ไม่ควรนิ่งนอนใจหรือวางเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อนักการเมืองคนนี้จากทั่วทุกสารทิศ กลับมีข้อความจำนวนมากจาก “คนบางกลุ่ม” ที่ต่างออกมา “ให้กำลังใจ” นักการเมืองคนดังกล่าวอย่างไม่สนใจความถูกผิด หนำซ้ำบางคนยังหลับหูหลับตาเชียร์โดยไม่สนใจอะไร กลับออกมาแสดงความคิดเห็นมากมายในทำนองว่ากล่าวหาและลดทอนคุณค่าความเป็นคนของผู้ถูกกระทำ ไม่ว่าจะเป็น
“ถูกล่วงละเมิดมาตั้งหลายปี พึ่งนึกออกว่าถูกละเมิด ความรู้สึกช้าจังนะ”
“ตอนเขาลากขืนใจไม่ยอมโวยวาย หรือพึ่งคิดได้ว่าค่าตัวน้อยเกินไปหรอ”
“ไปยั่วเขาเอง ไปหาเขาเอง พอเอาแล้วไม่รับรัก ก็มาโวยวาย”
“พวกหิวแสง อยากได้เงิน เรื่องผ่านมาตั้งหลายปี พึ่งมานึกได้”
“หมดเงินแล้วสิท่า เลยต้องมาเรียกขอเงินเพิ่ม”
“กล่าวหาลมๆ แล้งๆ เพื่อขู่ขอเงินและทำลายชื่อเสียงมากกว่า เป็นกำลังใจให้นะคะ”
นี่เป็นเพียงคำกล่าวบางส่วนจากกลุ่มกองเชียร์คุณภาพกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพอหญิงเข้าไปอ่านแล้ว หญิงเลยเข้าใจได้ว่าแม้ว่านี่จะเป็นปี 2022 แม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม แม้ว่าต่างประเทศจะพูดถึงความเท่าเทียมทางเพศขนาดไหนก็ตาม แม้ว่าการต่อสู้ของสิทธิพลเมืองโลกเขาจะไปไกลขนาดไหนก็ตาม แต่เรากลับยังคงมี สิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมข่มขืน” อยู่ในดินแดนสารขัณฑ์แห่งนี้
วัฒนธรรมข่มขืน (Rape Culture) คือ การอธิบายปรากฎการณ์ที่สังคมพยายามปฏิเสธการมีอยู่ของการข่มขืน หรือทำให้การข่มขืนดูเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่มีค่าควรที่จะสนใจทั้งในทางกฎหมาย ทางศีลธรรม หรือการเยียวยาผู้ถูกกระทำ ในทางกลับกันสังคมกลับดูถูกและเหยียดหยามผู้เป็นเหยื่อว่าสมยอม และเห็นอกเห็นใจผู้กระทำ
ในสังคมที่มีวัฒนธรรมข่มขืน มองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องของอารมณ์ทางเพศ หรือ “กำหนัด” และมองว่า กำหนัดเกิดจากการถูกกระตุ้น ถ้าไม่ถูกกระตุ้น ก็จะไม่เกิดความกำหนัด เมื่อไม่เกิดความกำหนัดก็จะไม่เกิดการข่มขืน จึงกลายเป็นคำอธิบายว่า ทำไมคนในสังคมที่มีวัฒนธรรมข่มขืนจึงมองว่า เหยื่อที่ถูกข่มขืนเพราะไปยั่วหรือกระตุ้นความกำหนัดของผู้กระทำ กลายเป็นว่า เพราะไปยั่วเขาก่อนไงเลยถูกข่มขืน เพราะแต่งตัวโป๊ไงเลยถูกทำอนาจาร เพราะไม่ดูแลเนื้อตัวร่างกายของตัวเองไงเลยถูกลวนลาม
ถ้อยคำเหล่านี้ คือ การประณามเหยื่อ (Victim Blaming) ทำให้เหยื่อผู้ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากผู้ที่ข่มขืน ยังต้องมาถูกทำร้ายจิตใจจากคำพูดของสังคมอีก ทำให้เหยื่อหลายรายเลือกที่จะไม่แจ้งความเอาผิดผู้ข่มขืน เพราะกลัวถูกประณามจากสังคมและคนรอบตัว เหยื่อเหล่านั้นเลือกที่จะเก็บกดความเจ็บช้ำที่ขื่นขมไว้กับตัวเอง จนเหยื่อหลายรายกลายเป็นโรคซึมเศร้า และหลายคนต้องจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย
การประณามเหยื่อและทำให้เหยื่อไม่กล้าแจ้งความเอาผิด กลายเป็นใบอนุญาตให้การข่มขืนหรืออนาจาร เป็นเรื่องที่ “ทำได้และไม่เสียหาย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีอำนาจ มีสถานะทางสังคมดี มีฐานะทางเศรษฐกิจร่ำรวย ก็ยิ่งมีความชอบธรรมที่จะข่มขืนได้มากขึ้น เนื่องจากเหยื่อจะยิ่งไม่กล้าเอาผิดเพราะเกรงกลัวในอิทธิพลอำนาจและไม่เชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมจะบังเกิดแก่พวกเขาที่เป็นเพียงคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคม
หนำซ้ำสื่อบันเทิงจำนวนมาก กลับเลือกที่จะสร้างบทหนังบทละครที่พระเอกข่มขืนนางเอก และพระเอกกับนางเอกก็รักกันในท้ายที่สุด บทเหล่านี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำภาพจำที่มองว่า การข่มขืนเป็นเรื่องเล็กน้อย ไหนจะกระบวนการยุติธรรมในประเทศที่ถูกตั้งคำถามมากมายถึงความเที่ยงตรง จนทำให้เหยื่อไม่เชื่อมั่นว่า เขาจะได้รับความเป็นธรรม
ทั้งการประณามเหยื่อจากสังคม ทั้งกระบวนการยุติธรรมที่ไม่น่าไว้ใจ ทั้งสื่อที่สร้างความปกติให้แก่การข่มขืน ทั้งผู้กระทำที่มีอิทธิพลอำนาจมาก ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่กดทับไม่ให้เหยื่อออกมาร้องขอความเป็นธรรมและทั้งหมดนี้ คือ สิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมข่มขืน”
Karla Jackson จึงกล่าวว่า “…มันไม่ใช่เรื่องของความกำหนัด แต่จริงๆ แล้ว มันเป็นเรื่องของอำนาจ การใช้อำนาจข่มเหง ความก้าวร้าว และความรุนแรง…”
คำถามที่สำคัญคือ เราจะอยู่ในสังคมที่มีวัฒนธรรมข่มขืนแบบนี้ต่อไปหรือ?
เราจะปล่อยให้ลูกเราหลานเรา เกิดและเติบโตในสังคมที่มีวัฒนธรรมข่มขืนอย่างนั้นหรือ?
หากไม่ หญิงว่า เราต้องรื้อถอนวัฒนธรรมข่มขืนนี้ออกจากสังคมไทยให้ได้
เราต้องระดมทุกช่องทางเพื่อรื้อถอนวัฒนธรรมข่มขืนนี้ทิ้งไป ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องและกระบวนการยุติธรรม เพราะกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเราออกแบบมาเพื่อคนข่มขืนไม่ใช่เหยื่อ ตั้งแต่การสอบปากคำ การให้เหยื่อต้องรวบรวมพยานหลักฐาน การใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด รวมไปถึงการสร้างความมั่นใจในความยุติธรรมของหน่วยงานตั้งแต่ตำรวจไปจนถึงศาล ว่าจะไม่มีใครหน้าไหนเข้ามาแทรกแซงและใช้อำนาจอิทธิพลเหนือกระบวนการยุติธรรมได้
สื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าว หนังหรือละคร จะต้องช่วยเสริมสร้างพลังของเหยื่อมากกว่าจะออกแบบฉากข่มขืนให้เป็นสิ่งชอบธรรมของผู้กระทำ ต้องช่วยตอกย้ำถึงความเป็นธรรมที่เหยื่อควรได้รับ
และที่สำคัญ คือ ต้องสร้างพลังและกำลังใจให้กับเหยื่อ ให้เขาสามารถออกมาพูด ออกมาร้องทุกข์กล่าวโทษ ออกมาแจ้งความดำเนินคดี เหมือนกระแส #Metoo ที่เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่คนทั้งโลกให้ความสนใจ และร่วมกันออกมาแสดงความเห็นว่า “ฉันเองก็เคยถูกกระทำหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศเช่นกัน” เพื่อหนุนหลังและให้กำลังใจกับถูกหญิงหรือแม้แต่ผู้ชายเองที่ถูกกระทำการล่วงละเมิดทางเพศ แทนที่จะประณามหยามเหยียด ทำให้เหยื่อรู้สึกว่า เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วที่จะมาร้องเรียกหาความเป็นธรรมให้กับตัวเอง #หยุดประณามเหยื่อ หยุด victim blaming หยุดด้อยค่าการออกมาร้องขอความเป็นธรรม
หญิงเชื่อว่าการหยุดประณามเหยื่อไม่ใช่สิ่งที่ยากเลยหากใช้สามัญสำนึกพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงมี เลิกเชียร์อย่างหลับหูหลับตาจนไม่เงยหน้ามองชะตากรรมที่เหยื่อต้องรับจากการถูกข่มขืน ใช้หัวใจ ใช้ความเห็นอกเห็นใจให้มาก แล้วความเป็นมนุษย์ของคุณจะมีมากขึ้นตาม
สิ่งนี้เหล่านี้เราต้องทำอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดกรณีอย่างนี้ขึ้นอีก วัฒนธรรมข่มขืนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่เราต้องทำทุกวิธีเพื่อรื้อถอนวัฒนธรรมนี้ทิ้งไป เพื่อยุติการข่มขืน เพื่อให้ความเป็นธรรมกับเหยื่อ เพื่อประกาศสร้างสังคมที่ปลอดภัย ที่ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะเป็นใคร จะเป็นผู้มีอำนาจวาสนาเพียงไหน ไม่ว่าจะ “ยิ่งใหญ่คับฟ้า” หรือ “คนธรรมดาเดินดิน” ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือคนทั่วไป ไม่ว่าใครหน้าไหน
“จะต้องไม่มีใครได้รับใบอนุญาตให้ข่มขืนอย่างชอบธรรมอีกต่อไป”
มาร่วมรื้อถอนวัฒนธรรมข่มขืนให้หมดไปจากสังคม
มาร่วมคืนความยุติธรรม เสริมพลังและกำลังใจให้กับเหยื่อทุกราย
มาร่วมสร้างสังคมที่ปราศจากการข่มขืน การลวนลาม และการคุกคามทางเพศทุกกรณี
และ มาร่วมรื้อฟื้นสังคมที่ปลอดภัยสำหรับพวกเราและลูกหลานของเราทุกคน
https://www.facebook.com/kasayanond/posts/547050773455295
นพ.ธีระ เตือน นโยบายคุมระบาด ข้อมูลต้องเพียงพอ-เป็นสากล มิฉะนั้นคงไม่ต่างกับเอาคนเป็นหนูทดลอง
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3302157
นพ.ธีระ โพสต์เตือนสติ นโยบายคุมระบาด ไม่ว่าเรื่องใด ข้อมูลต้องเพียงพอ-เป็นสากล มิฉะนั้นคงไม่ต่างกับเอาคนเป็นหนูทดลอง
เมื่อวันที่ 22 เมษายน รศ.นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนข้อความทางเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด โดยระบุว่า
การตัดสินใจเชิงนโยบายยามเกิดการระบาดทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ รวมถึงยา และวัคซีน ณ จุดเวลาของการตัดสินใจนั้น จำเป็นต้องสร้างนโยบายที่ใช้ข้อมูลวิชาการที่ดี มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับ รวมถึงหากเป็นงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการสากลที่ผ่านการตรวจสอบจากหลายฝ่ายแล้ว ก็ยิ่งทำให้มั่นใจมากขึ้นด้วย
แต่หากการตัดสินใจ ณ จุดเวลานั้น มีข้อมูลสากลชัดเจน ทั้งชนิดที่ใช้ วิธีที่ใช้ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น แต่นโยบายในสังคมนั้นถูกผลักดัน ถูกชง ด้วยกิเลส ความเชื่อส่วนตัว สมมติฐานส่วนตัว ความงมงายเฉพาะกลุ่ม โดยไม่มีข้อมูลหลักฐานเพียงพอ แล้วนำไปใช้เป็นนโยบายสำหรับสาธารณะ การตัดสินเช่นนั้นย่อมไม่ต่างอะไรกับการนำคนในสังคมไปเป็นหนูทดลอง โดยไม่เป็นธรรม
แม้ตอนหลังจะนำผลที่เกิดขึ้นจากนโยบายที่ชง ไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ก็ไม่ได้หักล้างประเด็นความไม่เป็นธรรมของการตัดสินใจนโยบาย ณ จุดเวลาอดีตที่ผ่านมา
ในอดีตมีบทเรียนมากมาย ที่นักวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พยายามช่วงชิงโอกาสในการศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้ หรือเพื่อแสวงหาคำตอบสมมติฐานในใจของตน แต่เป็นการละเมิดชีวิตของคนอื่น เช่น เชลยศึก คนที่ด้อยโอกาสทางสังคม หรืออื่นๆ จนเป็นที่มาของการเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรม จริยธรรมในการศึกษาวิจัยในมนุษย์
บทเรียนอันเจ็บปวด และน่าเสียใจในอดีตนั้น ล้วนสะท้อนให้สังคมปัจจุบันเฝ้าติดตาม กำกับ ตรวจสอบ การกระทำในลักษณะข้างต้น ไม่ให้เกิดขึ้น เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่กระทำไปนั้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง และผลกระทบทั้งต่อร่างกาย จิตใจ ของผู้ที่เป็นเหยื่อรวมถึงสมาชิกในครอบครัว และสังคมโดยรวมทั้งหมด
การทำการวิจัย จึงไม่ใช่แค่ยึดตามปัญญา แต่ต้องมีจริยธรรมเป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง มิใช่องค์ความรู้ที่แลกมาด้วยชีวิตและความสูญเสียอย่างไม่เป็นธรรม
หลักการข้างต้นคือหลักการสำคัญสำหรับทุกประเทศทั่วโลก และสำหรับทุกคนในสังคมโลก ที่ควรรู้เท่าทันและช่วยกันจัดการดูแลสังคมของตนให้ดี
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10224206784869801
JJNY : พท.ปลุกรื้อถอนวัฒนธรรมข่มขืน│นพ.ธีระเตือนนโยบายคุมระบาด│อนามัยโลกแนะใช้ยา‘แพกซ์โลวิด’│แนะขยายภาษีดีเซล3บ.อีก3ด.
https://www.matichon.co.th/politics/news_3302094
เมื่อวันที่ 22 เมษายน อรุณี กาสยานนท์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เขียนบทความเรื่อง รื้อถอนวัฒนธรรมข่มขืน รื้อฟื้นสังคมที่ปลอดภัย เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับข่าวดังและวัฒนธรรมการข่มขืนล่วงละเมิดทางเพศโดยระบุว่า
หลายคนคงเห็นข่าวที่น่าสะเทือนใจจากกรณีนักการเมืองชื่อดังท่านหนึ่งมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ เรื่องนี้เกิดขึ้นแม้กระทั่งกับเด็กอายุ 18 ปี และ ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ มีผู้เสียหายที่เคยถูกกระทำจากบุคคลคนเดียวกันนี้ตั้งแต่การลวนลามไปจนถึงขั้นที่เรียกว่าเป็นการ “ข่มขืน” ผู้ถูกกระทำหลายรายต่างทยอยมาเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจมากถึง 15 ราย ซึ่งหญิงคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราในฐานะผู้หญิงด้วยกัน หรือ ในฐานะเพื่อนมนุษย์ไม่ควรนิ่งนอนใจหรือวางเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อนักการเมืองคนนี้จากทั่วทุกสารทิศ กลับมีข้อความจำนวนมากจาก “คนบางกลุ่ม” ที่ต่างออกมา “ให้กำลังใจ” นักการเมืองคนดังกล่าวอย่างไม่สนใจความถูกผิด หนำซ้ำบางคนยังหลับหูหลับตาเชียร์โดยไม่สนใจอะไร กลับออกมาแสดงความคิดเห็นมากมายในทำนองว่ากล่าวหาและลดทอนคุณค่าความเป็นคนของผู้ถูกกระทำ ไม่ว่าจะเป็น
“ถูกล่วงละเมิดมาตั้งหลายปี พึ่งนึกออกว่าถูกละเมิด ความรู้สึกช้าจังนะ”
“ตอนเขาลากขืนใจไม่ยอมโวยวาย หรือพึ่งคิดได้ว่าค่าตัวน้อยเกินไปหรอ”
“ไปยั่วเขาเอง ไปหาเขาเอง พอเอาแล้วไม่รับรัก ก็มาโวยวาย”
“พวกหิวแสง อยากได้เงิน เรื่องผ่านมาตั้งหลายปี พึ่งมานึกได้”
“หมดเงินแล้วสิท่า เลยต้องมาเรียกขอเงินเพิ่ม”
“กล่าวหาลมๆ แล้งๆ เพื่อขู่ขอเงินและทำลายชื่อเสียงมากกว่า เป็นกำลังใจให้นะคะ”
นี่เป็นเพียงคำกล่าวบางส่วนจากกลุ่มกองเชียร์คุณภาพกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพอหญิงเข้าไปอ่านแล้ว หญิงเลยเข้าใจได้ว่าแม้ว่านี่จะเป็นปี 2022 แม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม แม้ว่าต่างประเทศจะพูดถึงความเท่าเทียมทางเพศขนาดไหนก็ตาม แม้ว่าการต่อสู้ของสิทธิพลเมืองโลกเขาจะไปไกลขนาดไหนก็ตาม แต่เรากลับยังคงมี สิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมข่มขืน” อยู่ในดินแดนสารขัณฑ์แห่งนี้
วัฒนธรรมข่มขืน (Rape Culture) คือ การอธิบายปรากฎการณ์ที่สังคมพยายามปฏิเสธการมีอยู่ของการข่มขืน หรือทำให้การข่มขืนดูเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่มีค่าควรที่จะสนใจทั้งในทางกฎหมาย ทางศีลธรรม หรือการเยียวยาผู้ถูกกระทำ ในทางกลับกันสังคมกลับดูถูกและเหยียดหยามผู้เป็นเหยื่อว่าสมยอม และเห็นอกเห็นใจผู้กระทำ
ในสังคมที่มีวัฒนธรรมข่มขืน มองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องของอารมณ์ทางเพศ หรือ “กำหนัด” และมองว่า กำหนัดเกิดจากการถูกกระตุ้น ถ้าไม่ถูกกระตุ้น ก็จะไม่เกิดความกำหนัด เมื่อไม่เกิดความกำหนัดก็จะไม่เกิดการข่มขืน จึงกลายเป็นคำอธิบายว่า ทำไมคนในสังคมที่มีวัฒนธรรมข่มขืนจึงมองว่า เหยื่อที่ถูกข่มขืนเพราะไปยั่วหรือกระตุ้นความกำหนัดของผู้กระทำ กลายเป็นว่า เพราะไปยั่วเขาก่อนไงเลยถูกข่มขืน เพราะแต่งตัวโป๊ไงเลยถูกทำอนาจาร เพราะไม่ดูแลเนื้อตัวร่างกายของตัวเองไงเลยถูกลวนลาม
ถ้อยคำเหล่านี้ คือ การประณามเหยื่อ (Victim Blaming) ทำให้เหยื่อผู้ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากผู้ที่ข่มขืน ยังต้องมาถูกทำร้ายจิตใจจากคำพูดของสังคมอีก ทำให้เหยื่อหลายรายเลือกที่จะไม่แจ้งความเอาผิดผู้ข่มขืน เพราะกลัวถูกประณามจากสังคมและคนรอบตัว เหยื่อเหล่านั้นเลือกที่จะเก็บกดความเจ็บช้ำที่ขื่นขมไว้กับตัวเอง จนเหยื่อหลายรายกลายเป็นโรคซึมเศร้า และหลายคนต้องจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย
การประณามเหยื่อและทำให้เหยื่อไม่กล้าแจ้งความเอาผิด กลายเป็นใบอนุญาตให้การข่มขืนหรืออนาจาร เป็นเรื่องที่ “ทำได้และไม่เสียหาย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีอำนาจ มีสถานะทางสังคมดี มีฐานะทางเศรษฐกิจร่ำรวย ก็ยิ่งมีความชอบธรรมที่จะข่มขืนได้มากขึ้น เนื่องจากเหยื่อจะยิ่งไม่กล้าเอาผิดเพราะเกรงกลัวในอิทธิพลอำนาจและไม่เชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมจะบังเกิดแก่พวกเขาที่เป็นเพียงคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคม
หนำซ้ำสื่อบันเทิงจำนวนมาก กลับเลือกที่จะสร้างบทหนังบทละครที่พระเอกข่มขืนนางเอก และพระเอกกับนางเอกก็รักกันในท้ายที่สุด บทเหล่านี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำภาพจำที่มองว่า การข่มขืนเป็นเรื่องเล็กน้อย ไหนจะกระบวนการยุติธรรมในประเทศที่ถูกตั้งคำถามมากมายถึงความเที่ยงตรง จนทำให้เหยื่อไม่เชื่อมั่นว่า เขาจะได้รับความเป็นธรรม
ทั้งการประณามเหยื่อจากสังคม ทั้งกระบวนการยุติธรรมที่ไม่น่าไว้ใจ ทั้งสื่อที่สร้างความปกติให้แก่การข่มขืน ทั้งผู้กระทำที่มีอิทธิพลอำนาจมาก ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่กดทับไม่ให้เหยื่อออกมาร้องขอความเป็นธรรมและทั้งหมดนี้ คือ สิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมข่มขืน”
Karla Jackson จึงกล่าวว่า “…มันไม่ใช่เรื่องของความกำหนัด แต่จริงๆ แล้ว มันเป็นเรื่องของอำนาจ การใช้อำนาจข่มเหง ความก้าวร้าว และความรุนแรง…”
คำถามที่สำคัญคือ เราจะอยู่ในสังคมที่มีวัฒนธรรมข่มขืนแบบนี้ต่อไปหรือ?
เราจะปล่อยให้ลูกเราหลานเรา เกิดและเติบโตในสังคมที่มีวัฒนธรรมข่มขืนอย่างนั้นหรือ?
หากไม่ หญิงว่า เราต้องรื้อถอนวัฒนธรรมข่มขืนนี้ออกจากสังคมไทยให้ได้
เราต้องระดมทุกช่องทางเพื่อรื้อถอนวัฒนธรรมข่มขืนนี้ทิ้งไป ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องและกระบวนการยุติธรรม เพราะกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเราออกแบบมาเพื่อคนข่มขืนไม่ใช่เหยื่อ ตั้งแต่การสอบปากคำ การให้เหยื่อต้องรวบรวมพยานหลักฐาน การใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด รวมไปถึงการสร้างความมั่นใจในความยุติธรรมของหน่วยงานตั้งแต่ตำรวจไปจนถึงศาล ว่าจะไม่มีใครหน้าไหนเข้ามาแทรกแซงและใช้อำนาจอิทธิพลเหนือกระบวนการยุติธรรมได้
สื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าว หนังหรือละคร จะต้องช่วยเสริมสร้างพลังของเหยื่อมากกว่าจะออกแบบฉากข่มขืนให้เป็นสิ่งชอบธรรมของผู้กระทำ ต้องช่วยตอกย้ำถึงความเป็นธรรมที่เหยื่อควรได้รับ
และที่สำคัญ คือ ต้องสร้างพลังและกำลังใจให้กับเหยื่อ ให้เขาสามารถออกมาพูด ออกมาร้องทุกข์กล่าวโทษ ออกมาแจ้งความดำเนินคดี เหมือนกระแส #Metoo ที่เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่คนทั้งโลกให้ความสนใจ และร่วมกันออกมาแสดงความเห็นว่า “ฉันเองก็เคยถูกกระทำหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศเช่นกัน” เพื่อหนุนหลังและให้กำลังใจกับถูกหญิงหรือแม้แต่ผู้ชายเองที่ถูกกระทำการล่วงละเมิดทางเพศ แทนที่จะประณามหยามเหยียด ทำให้เหยื่อรู้สึกว่า เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วที่จะมาร้องเรียกหาความเป็นธรรมให้กับตัวเอง #หยุดประณามเหยื่อ หยุด victim blaming หยุดด้อยค่าการออกมาร้องขอความเป็นธรรม
หญิงเชื่อว่าการหยุดประณามเหยื่อไม่ใช่สิ่งที่ยากเลยหากใช้สามัญสำนึกพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงมี เลิกเชียร์อย่างหลับหูหลับตาจนไม่เงยหน้ามองชะตากรรมที่เหยื่อต้องรับจากการถูกข่มขืน ใช้หัวใจ ใช้ความเห็นอกเห็นใจให้มาก แล้วความเป็นมนุษย์ของคุณจะมีมากขึ้นตาม
สิ่งนี้เหล่านี้เราต้องทำอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดกรณีอย่างนี้ขึ้นอีก วัฒนธรรมข่มขืนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่เราต้องทำทุกวิธีเพื่อรื้อถอนวัฒนธรรมนี้ทิ้งไป เพื่อยุติการข่มขืน เพื่อให้ความเป็นธรรมกับเหยื่อ เพื่อประกาศสร้างสังคมที่ปลอดภัย ที่ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะเป็นใคร จะเป็นผู้มีอำนาจวาสนาเพียงไหน ไม่ว่าจะ “ยิ่งใหญ่คับฟ้า” หรือ “คนธรรมดาเดินดิน” ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือคนทั่วไป ไม่ว่าใครหน้าไหน
“จะต้องไม่มีใครได้รับใบอนุญาตให้ข่มขืนอย่างชอบธรรมอีกต่อไป”
มาร่วมรื้อถอนวัฒนธรรมข่มขืนให้หมดไปจากสังคม
มาร่วมคืนความยุติธรรม เสริมพลังและกำลังใจให้กับเหยื่อทุกราย
มาร่วมสร้างสังคมที่ปราศจากการข่มขืน การลวนลาม และการคุกคามทางเพศทุกกรณี
และ มาร่วมรื้อฟื้นสังคมที่ปลอดภัยสำหรับพวกเราและลูกหลานของเราทุกคน
https://www.facebook.com/kasayanond/posts/547050773455295
นพ.ธีระ เตือน นโยบายคุมระบาด ข้อมูลต้องเพียงพอ-เป็นสากล มิฉะนั้นคงไม่ต่างกับเอาคนเป็นหนูทดลอง
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3302157
นพ.ธีระ โพสต์เตือนสติ นโยบายคุมระบาด ไม่ว่าเรื่องใด ข้อมูลต้องเพียงพอ-เป็นสากล มิฉะนั้นคงไม่ต่างกับเอาคนเป็นหนูทดลอง
เมื่อวันที่ 22 เมษายน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนข้อความทางเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด โดยระบุว่า
การตัดสินใจเชิงนโยบายยามเกิดการระบาดทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ รวมถึงยา และวัคซีน ณ จุดเวลาของการตัดสินใจนั้น จำเป็นต้องสร้างนโยบายที่ใช้ข้อมูลวิชาการที่ดี มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับ รวมถึงหากเป็นงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการสากลที่ผ่านการตรวจสอบจากหลายฝ่ายแล้ว ก็ยิ่งทำให้มั่นใจมากขึ้นด้วย
แต่หากการตัดสินใจ ณ จุดเวลานั้น มีข้อมูลสากลชัดเจน ทั้งชนิดที่ใช้ วิธีที่ใช้ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น แต่นโยบายในสังคมนั้นถูกผลักดัน ถูกชง ด้วยกิเลส ความเชื่อส่วนตัว สมมติฐานส่วนตัว ความงมงายเฉพาะกลุ่ม โดยไม่มีข้อมูลหลักฐานเพียงพอ แล้วนำไปใช้เป็นนโยบายสำหรับสาธารณะ การตัดสินเช่นนั้นย่อมไม่ต่างอะไรกับการนำคนในสังคมไปเป็นหนูทดลอง โดยไม่เป็นธรรม
แม้ตอนหลังจะนำผลที่เกิดขึ้นจากนโยบายที่ชง ไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ก็ไม่ได้หักล้างประเด็นความไม่เป็นธรรมของการตัดสินใจนโยบาย ณ จุดเวลาอดีตที่ผ่านมา
ในอดีตมีบทเรียนมากมาย ที่นักวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พยายามช่วงชิงโอกาสในการศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้ หรือเพื่อแสวงหาคำตอบสมมติฐานในใจของตน แต่เป็นการละเมิดชีวิตของคนอื่น เช่น เชลยศึก คนที่ด้อยโอกาสทางสังคม หรืออื่นๆ จนเป็นที่มาของการเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรม จริยธรรมในการศึกษาวิจัยในมนุษย์
บทเรียนอันเจ็บปวด และน่าเสียใจในอดีตนั้น ล้วนสะท้อนให้สังคมปัจจุบันเฝ้าติดตาม กำกับ ตรวจสอบ การกระทำในลักษณะข้างต้น ไม่ให้เกิดขึ้น เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่กระทำไปนั้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง และผลกระทบทั้งต่อร่างกาย จิตใจ ของผู้ที่เป็นเหยื่อรวมถึงสมาชิกในครอบครัว และสังคมโดยรวมทั้งหมด
การทำการวิจัย จึงไม่ใช่แค่ยึดตามปัญญา แต่ต้องมีจริยธรรมเป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง มิใช่องค์ความรู้ที่แลกมาด้วยชีวิตและความสูญเสียอย่างไม่เป็นธรรม
หลักการข้างต้นคือหลักการสำคัญสำหรับทุกประเทศทั่วโลก และสำหรับทุกคนในสังคมโลก ที่ควรรู้เท่าทันและช่วยกันจัดการดูแลสังคมของตนให้ดี
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10224206784869801