ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 8
ระบบศาลในสมัยอยุทธยามาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ก่อนรัชกาลที่ 5 มีเจ้าพนักงานตระลาการสองประเภท คือ
1. ลูกขุน ณ ศาลหลวง เป็นพราหมณ์ชาวต่างประเทศผู้ชำนาญนิติศาสตร์ มี 12 คน มีหัวหน้าคือ "พระมหาราชครูพระครูมหิธร" กับ "พระมหาราชครูพระราชประโรหิตาจารย์" เป็นเจ้ากรมลูกขุน ถือศักดินา 10,000 ไร่ เทียบเท่าเสนาบดีผู้ใหญ่ มีหน้าที่ชี้ตัวบทกฎหมายเหมือนเป็นผู้พิพากษาชี้ความผิดความชอบ แต่ไม่มีอำนาจเป็นผู้พิจารณาคดีไต่สวน
2. เจ้าพนักงานตระลาการผู้ใช้อำนาจผู้พิจารณาคดีไต่สวน
เหตุที่ระบบตระลาการในสมัยอยุทธยาใช้พราหมณ์เป็นลูกขุน เพราะระบบกฎหมายของอยุทธยาประยุกต์มาจากกฎหมายพระธรรมศาสตร์ของอินเดีย จึงอาศัยพราหมณ์ปุโรหิตผู้มีความรู้ทางนิติศาสตร์ในการพิจารณาตัวบทกฎหมาย เช่น เดียวกับที่ใช้พราหมณ์ประกอบพระราชพิธีในราชสำนัก
กรมลูกขุนมีอำนาจพิจารณาคดีความทั้งแผ่นดิน เดิมสันนิษฐานว่าศาลต่างๆ อยู่ในอำนาจกรมลูกขุนหมด แต่ภายหลังเมื่อระบบราชการของอยุทธยาซับซ้อนมากขึ้น ลูกขุนดูแลได้ไม่ทั่วถึง จึงได้แบ่งการศาลไปอยู่ในสังกัดกรมราชการต่างๆ ให้เสนาบดีและอธิบดีเจ้ากรมช่วยบังคับบัญชาว่ากล่าวเพื่อให้ราษฎรเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เหลือแต่ศาลแพ่งเกษม ศาลแพ่งกลาง ยังคงอยู่ในกรมลูกขุน
อ้างอิงจากพระราชกำหนดสมัยอยุทธยา เมื่อจะมีเหตุฟ้องร้องคดีความ ราษฎรจะต้องมีทำหนังสือฟ้องมายื่นต่อ ลูกขุน ณ ศาลา จ่าศาลารับคำฟ้อง หัวพันมหาดไทยและหัวพันกลาโหมเอาหนังสือฟ้องเสนอแก่ลูกขุน ณ ศาลา แล้วยื่นต่อศาลหลวง จ่าศาลรับคำฟ้อง ในกรณีที่เป็นเนื้อความใหญ่ให้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน แต่ถ้าเป็นเนื้อความเบาก็ให้ขุนราชพินิจใจราชปลัดถือพระธรรมนูญในกรมมหาดไทยจะตรวจสอบพระธรรมนูญว่าคำฟ้องนั้นเป็นเนื้อความ "กระทรวง" (หรือตระทรวง เป็นภาษากฎหมายสมัยโบราณ ตรงกับคำว่า 'มูลคดี' หรือ cause of action) ของศาลใดที่จะต้องพิจารณา แล้วอ่านเสนอต่อลูกขุน แล้วเจ้าพนักงานจะประทับตราของศาลที่มีอำนาจพิจารณาตามคำฟ้องเรื่องนั้นลงในคำฟ้อง แล้วส่งคำฟ้องกับตัวโจทก์ไปยังศาลนั้นให้เจ้ากระทรวงพิจารณาต่อไป และมีการคัดลอกคำฟ้องเพื่อไปเรียกตัวคู่ความ ในขั้นตอนเหล่านี้จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นชั้นๆ
ระบบศาลสมัยนั้นแบ่งแยกอยู่ในกรมต่างๆ มีขุนนางตำแหน่ง "ปลัดนั่งศาล" เป็นตระลาการทำหน้านี้พิจารณาคดีความกระทรวงต่างๆ (ตัวอธิบดีเจ้ากรมอาจเป็นตระลาการเองก็ได้) ตระลาการศาลนั้นหมายเรียกตัวจำเลยมาถามคำให้การ แล้วส่งคำให้การไปปรึกษาลูกขุนให้ชี้สองสถาน คือว่า ข้อใดรับกันในสำนวน และข้อใดจะต้องสืบพยาน ตระลาการจึงไปสืบพยานตามคำลูกขุน เมื่อสืบเสร็จแล้วจะส่งสำนวนไปยังลูกขุน ลูกขุนจะเป็นผู้พิพากษาชี้ขาดว่าฝ่ายไหนแพ้หรือชนะคดี ฝ่ายที่แพ้ตระลาการก็นำคำพิพากษาไปส่งผู้ปรับ ผู้ปรับวางโทษว่าควรจะปรับโทษเท่าใดก็ส่งให้ตระลาการไปบังคับ ถ้าคู่ความไม่พอใจในคำพิพากษา อาจอุทธรณ์ต่อศาลหลวง หรือถวายฎีกาถึงพระมหากษัตริย์ได้
ถ้าเป็นศาลหัวเมือง ให้ที่ประชุมกรมการเมืองทำหน้าที่แทนลูกขุน เพราะอยู่ไกลจะเข้ามาปรึกษาหารือที่ราชธานีไม่สะดวก กรมการเมืองตำแหน่งต่างๆ แยกพิจารณาคดีตามกระทรวง ในการปรับโทษผู้แพ้คดี ให้ส่งคำพิพากษาไปให้เมืองที่ใกล้เคียงกันเป็นผู้ปรับ ถ้าคู่ความไม่พอใจคำพิพากษา อาจอุทธรณ์เข้ามาได้ถึงเจ้ากระทรวงผู้บังคับบัญชาหัวเมืองนั้นๆ
อ้างอิงจากกฎหมายพระธรรมนูญว่าด้วยลักษณะมูลคดีตระลาการ ที่บัญญัติใน พ.ศ. 2165 รัชกาลพระเจ้าทรงธรรม ได้แบ่งประเภทแห่งมูลคดีเป็นกระทรวงความทั้งหมด 14 ประเภท แยกพิจารณาตามศาลกรมต่างๆ ต่อมาในและพระราชกำหนดเก่าเรื่องพระธรรมนูญศาล พ.ศ. 2297 รัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีรายละเอียดเพิ่มเติมอีก พอสรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงอุทธรณ์ เป็นหน้าที่ศาลหลวง พิจารณาคดีความเกี่ยวกับการฟ้องร้องว่าตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือ สำนวน พยานที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำมิชอบหรือไม่ยุติธรรมในคดี เช่น ฟ้องว่าตระลาการเป็นใจกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทำชู้กับคู่ความ เจ้าหน้าที่ในศาลรับสินบนหรือฟ้องว่าพยานเบิกความเท็จ ขุนบุรินธรปลัดนั่งศาลกรมมหาดไทยนั่งศาลหลวงพิจารณา ถ้าเป็นความอุทธรณ์ในหัวเมือง เป็นกระทรวงศาลหน้าโรงผู้รักษาเมืองได้เป็นผู้พิจารณา
2. กระทรวงอาชญาราษฎร์ เป็นหน้าที่ศาลราษฎร พิจารณาคดีความอาญาประเภทข่มเหงรังแกกัน เช่น เกาะกุมคุมขังบุคคลโดยมิชอบ บังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน เป็นต้น หากจำเลยเป็นตระลาการ ขุนเทพอาชญาปลัดนั่งศาลกรมมหาดไทยพิจารณา หากจำเลยเป็นราษฎรไม่ใช่ตระลาการ ขุนประชาเสพปลัดนั่งศาลกรมพระกลาโหมเป็นผู้พิจารณา (เพราะจำเลยความอาญามักเป็นผู้มีอำนาจมาก จึงให้กรมพระกลาโหมรับผิดชอบเพราะมีอำนาจจับกุมครอบครองผู้คนได้) แต่ถ้าจำเลยเป็นสมใน ขุนอินอาชญากรมวังเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความอาชญาในหัวเมือง ขุนปลัด รองปลัด เป็นผู้พิจารณา
3. กระทรวงอาชญาจักร เป็นหน้าที่ศาลสำรวจของกรมมหาดไทย ว่าด้วยคดีความการว่าความแทนกัน เช่น อ้างว่าเป็นญาติพี่น้องแล้วว่าความแทนกัน หรือแต่งสำนวนให้ผู้อื่นฟ้องร้อง เป็นต้น หรือพิจารณาคดียุยงให้เขาเป็นความกัน ขุนอาชญาจักรปลัดนั่งศาลกรมมหาดไทยพิจารณาตรวจเนื้อความปลอม หากความอาชญาดังกล่าวเกิดในหัวเมือง ศาลอาชญาเป็นผู้พิจารณา
4. กระทรวงนครบาล เป็นหน้าที่กรมพระนครบาลหรือกรมเมือง พิจารณาความมหันตโทษที่มีคนถึงตาย เช่น โจรผู้ร้ายปล้นสะดมลักทรัพย์ลักผู้คนฆ่าเจ้าเรือนตาย ทำชู้ฆ่าฟันกันตาย กล่าวหาว่าเป็นกระสือกระหัง ทำคุณไสยทำยาแฝดยาเมารีดลูกทำแท้งจนตาย ขุนงำเมือง ปลัดนั่งศาลกรมพระนครบาลพิจารณา แต่ถ้าคดีความไม่ถึงตายและจำเลยเป็นสมใน ขุนพรหมสุภานครบาลวังพิจารณา หากความนครบาลเกิดในหัวเมือง ขุนแขวง หมื่นแขวงได้พิจารณาเฉพาะคดีที่เบี้ยปรับต่ำกว่าแสน
5. ศาลกรมวัง พิจารณาคดีความที่เป็นความแพ่ง ความอาญา และความนครบาล ที่เป็นคดีความไม่ถึงตาย และจำเลยเป็น "สมใน" คือเป็นข้าพระเจ้าลูกเธอพระเจ้าหลานเธอที่ไม่ได้ทรงกรม หรือกรมสำคัญในพระราชวัง เช่น กรมฝ่ายใน กรมแสงใน กรมแสงนอก กรมพระคลังใน กรมพระคลังวิเศษ สิบสองพระกำนัลซ้ายขวา ดาบเกยซ้ายขวา ครัวข้าวต้น กรมสนมพลเรือนซ้ายขวา กรมรักษาองค์ซ้ายขวา กรมพระตำรวจในซ้ายขวา กรมสรรพากรในซ้ายขวา กรมมรดก กรมช่าง และข้าวัดต่างๆ คือ พระศรีสรรเพชญ์ วัดเชตุพน วัดรามาวาศ วัดธรรมิกราช วัดวังไชย วัดสวนหลวง วัดพระเมรุ วัดราชประดิษฐาน วัดกะดีทอง วัดโลกสุทธา วัดสบสวรรค์ วัดอินทาราม
กรมวังมีปลัดนั่งศาลคือ ขุนอินอาชญาพิจารณาเนื้อความอาชญาวัง ขุนพรมสุภาพิจารณาเนื้อความนครบาลวัง ขุนเทพสุภาพิจารณาเนื้อความแพ่งวัง ถ้าเป็นความในหัวเมือง ขุนสุพมาตรา รองสุพมาตรา เป็นผู้พิจารณา
6. กระทรวงมรดก เป็นหน้าที่กรมวัง พิจารณาคดีความความมรดกของผู้มีบรรดาศักดิ์ ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป ถ้าเป็นความมรดกของผู้มีบรรดาศักดิ์ต่ำกว่า 400 ลงมาถึง 10 ไร่ ขุนศรีราชบุตรกรมวังเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความมรดกในหัวเมือง กรมมรดกหัวเมืองเป็นผู้พิจารณา
7. กระทรวงต่างประเทศ เป็นหน้าที่กรมพระคลัง (กรมท่าซึ่งทำหน้าที่ดูแลการต่างประเทศ) คดีความระหว่างชาวกรุงกับชาวต่างประเทศหรือระหว่างชาวต่างประเทศด้วยกัน ขุนพินิจใจราชปลัดนั่งศาลกรมพระคลังเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความต่างประเทศในหัวเมือง ยกกระบัตรเป็นผู้พิจารณา โดยชาวต่างประเทศต้องได้รับการพิจารณาตามราชประเพณีจารีตของกรุงศรีอยุทธยา (แต่มีชาวต่างประเทศบางชาติมาเจรจาขอรับสิทธิพิจารณาตามกฎหมายของตนเองได้ เช่น ฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์)
8. กระทรวงกรมนา เป็นหน้าที่กรมนา พิจารณาคดีความเกี่ยวกับการปล่อยช้างม้าโคกระบือไปทำลายพืชผลที่นาคนอื่นจนวิวาทกัน มีกรณีพิพาทเรื่องการบุกรุกที่นา วางเพลิงเผาที่นาต้นข้าว ขโมยข้าว ฯลฯ ขุนโภชนากรปลัดนั่งศาลกรมนาเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความในหัวเมือง ขุนหมื่นกรมนาประจำหัวเมืองพิจารณา
9. กระทรวงพระคลัง เป็นหน้าที่กรมพระคลังมหาสมบัติ พิจารณาคดีความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ เช่น มีผู้กู้หนี้ยืมสินในท้องพระคลัง หรือฟ้องร้องเกี่ยวกับเรื่องอากรขนอนตลาดค่าน้ำเชิงเรือนที่ขึ้นกับท้องพระคลัง หลวงพิพิทสมบัติปลัดนั่งศาลกรมพระคลังมหาสมบัติพิจารณา
10. กระทรวงธรรมการ เป็นหน้าที่กรมธรรมการ พิจารณาคดีความพระภิกษุสามเณรทำผิดศีลผิดวินัยร้ายแรง เช่น เสพเมถุนธรรม ขุนศรีปชานนทปลัดนั่งศาลกรมธรรมการเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความในหัวเมือง ธรรมการหัวเมืองเป็นผู้พิจารณา
11. กระทรวงแพ่งกลาง เป็นหน้าที่กรมแพ่งกลาง พิจารณาคดีความแพ่งที่จำเลยเป็นสมนอกและเป็นคดีที่กล่าวหาในสถานเบา เช่น ด่าสบประมาท แทะโลม ข่มขืน มิได้ถึงชำเรา ทุบถองตบตีด้วยไม้หรือมือไม่ถึงสาหัส กู้หนี้ยืมสิน ขุนราชสุภาและขุนสุภาไชยปลัดนั่งศาลกรมแพ่งกลางเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความในหัวเมือง รองแพ่งเป็นผู้พิจารณา
12. กระทรวงแพ่งเกษม เป็นหน้าที่กรมแพ่งเกษม พิจารณาคดีความแพ่งที่จำเลยเป็นสมนอก และเป็นคดีที่กล่าวหาในสถานหนัก เช่น บุกรุกที่ดินเรือกสวน ทำชู้หรือข่มขืนกอดจูบเมียหรือลูกหลานผู้อื่นถึงชำเรา ขุนสุภาเทพและขุนสุภาภารปลัดนั่งศาลกรมแพ่งเกษมเป็นผู้พิจารณา หากความแพ่งสถานหนักและจำเลยเป็นสมนอกเกิดในหัวเมือง ขุนแพ่งเป็นผู้พิจารณา
13. กระทรวงสัสดี เป็นหน้าที่กรมพระสุรัสวดี (สัสดี) พิจารณาคดีความพิพาทเกี่ยวกับหมู่หมายของบ่าวไพร่ การลูกปันหมู่ ปลัดนั่งศาลกรมสัสดีเป็นผู้พิจารรณา หากความเกิดในหัวเมือง ขุนสัสดีและรองสัสดีเป็นผู้พิจารณา
14. กระทรวงแพทยา เป็นหน้าที่กรมแพทยา พิจารณาคดีความกล่าวหาว่าเป็นกระสือกระหัง ทำคุณไสยกฤติยาคม ใส่ว่านยา ทำเสน่ห์ยาแฝดยาเมา รีดลูก โดยผู้เสียหายไม่ถึงตาย หรือคดีพราหมณ์โยคีเป็นโจทก์จำเลยหาความกัน ขุนพรมเกวีปลัดนั่งศาลกรมแพทยาเป็นผู้พิจารณา หากความเกิดในหัวเมือง ขุนหมื่นกรมแพทยาหัวเมืองเป็นผู้พิจารณา
พระราชกำหนดสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศยังเพิ่มศาลของกรมสรรพากรขึ้นมาด้วย โดยกรมสรรพากรใน มีขุนวิสูทโกษาพิจารณา "นายรวางกำนันพันที่เชิงเรือนสมภักษรขนอนตลาดชิงที่วิวาทแก่กัน" กับกรมสรรพากรนอก มีขุนศรีสาครพิจารณา "เสนากำนันเบาะแสแลเบียดบังขนอนตลาดดูสัจแส"
พระมหากษัตริย์สามารถพิพากษาคดีด้วยพระองค์เอง โดยทรงตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการ (มักเป็นตำรวจหลวง) เป็นผู้รับสั่งพิจารณาคดีแทนพระองค์โดยเฉพาะ โดยไม่เกี่ยวข้องกับลูกขุน คดีความประเภทนี้จะเรียกว่า "ความรับสั่ง" หรือ "ความศาลรับสั่ง" ตระลาการผู้ชำระอาจเรียกว่า "ศาลรับสั่ง" โดยอาจเป็นคดีที่สำคัญหรือคดีที่พระมหากษัตริย์ต้องการให้จัดการเป็นการเร็ว คดีความในศาลต่างๆ บ้างก็ถูกโอนมาเป็นความรับสั่ง ทั้งนี้ตระลาการก็ต้องพิจารณาว่าคำฟ้องด้วยพระธรรมนูญว่าเป็นกระทรวงใด แล้วให้มีหมายเอาเจ้ากระทรวงมานั่งกำกับด้วย ค่าปรับให้ส่งกรมพระคลังมหาสมบัติ
ในสมัยโบราณไม่ได้มีอาคารราชการเป็นหลักแหล่ง เสนาบดีตั้งจวนอยู่ที่ไหนก็ว่าราชการของตนที่นั่น ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่หรือผู้มีกิจธุระในกระทรวงใด ต้องไปทำการและประกอบกิจธุระที่จวนเสนาบดีนั้น ศาลก็ตั้งที่บ้านเสนาบดีเช่นกันครับ เรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า "ถึงกระทรวงอื่นๆ แต่ก่อนก็มีหน้าที่ทางตุลาการต้องชำระคดีอันเนื่องต่อกระทรวงนั้นๆ แต่ตั้งทั้งศาลและสำนักงานกระทรวงที่บ้านเสนาบดีด้วยกัน เพราะฉะนั้นแต่ก่อนมา เสนาบดีจึงบัญชาการกระทรวงที่บ้าน แม้มีสำนักงานอยู่ที่อื่น เช่นกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม ก็ไม่ไปนั่งบัญชาการที่สำนักงาน เจ้าหน้าที่ในกระทรวงต้องไปเสนอราชการและรับคำสั่งเสนาบดีที่บ้านเป็นนิจ"
สำหรับที่ตั้งของศาลหลวงในสมัยอยุทธยา กับศาลาลูกขุนในซึ่งเป็นที่ประชุมขุนนาง จากการขุดค้นของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) พบว่าอยู่ในกำแพงพระราชวังชั้นนอกด้านตะวันออกครับ
1. ลูกขุน ณ ศาลหลวง เป็นพราหมณ์ชาวต่างประเทศผู้ชำนาญนิติศาสตร์ มี 12 คน มีหัวหน้าคือ "พระมหาราชครูพระครูมหิธร" กับ "พระมหาราชครูพระราชประโรหิตาจารย์" เป็นเจ้ากรมลูกขุน ถือศักดินา 10,000 ไร่ เทียบเท่าเสนาบดีผู้ใหญ่ มีหน้าที่ชี้ตัวบทกฎหมายเหมือนเป็นผู้พิพากษาชี้ความผิดความชอบ แต่ไม่มีอำนาจเป็นผู้พิจารณาคดีไต่สวน
2. เจ้าพนักงานตระลาการผู้ใช้อำนาจผู้พิจารณาคดีไต่สวน
เหตุที่ระบบตระลาการในสมัยอยุทธยาใช้พราหมณ์เป็นลูกขุน เพราะระบบกฎหมายของอยุทธยาประยุกต์มาจากกฎหมายพระธรรมศาสตร์ของอินเดีย จึงอาศัยพราหมณ์ปุโรหิตผู้มีความรู้ทางนิติศาสตร์ในการพิจารณาตัวบทกฎหมาย เช่น เดียวกับที่ใช้พราหมณ์ประกอบพระราชพิธีในราชสำนัก
กรมลูกขุนมีอำนาจพิจารณาคดีความทั้งแผ่นดิน เดิมสันนิษฐานว่าศาลต่างๆ อยู่ในอำนาจกรมลูกขุนหมด แต่ภายหลังเมื่อระบบราชการของอยุทธยาซับซ้อนมากขึ้น ลูกขุนดูแลได้ไม่ทั่วถึง จึงได้แบ่งการศาลไปอยู่ในสังกัดกรมราชการต่างๆ ให้เสนาบดีและอธิบดีเจ้ากรมช่วยบังคับบัญชาว่ากล่าวเพื่อให้ราษฎรเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เหลือแต่ศาลแพ่งเกษม ศาลแพ่งกลาง ยังคงอยู่ในกรมลูกขุน
อ้างอิงจากพระราชกำหนดสมัยอยุทธยา เมื่อจะมีเหตุฟ้องร้องคดีความ ราษฎรจะต้องมีทำหนังสือฟ้องมายื่นต่อ ลูกขุน ณ ศาลา จ่าศาลารับคำฟ้อง หัวพันมหาดไทยและหัวพันกลาโหมเอาหนังสือฟ้องเสนอแก่ลูกขุน ณ ศาลา แล้วยื่นต่อศาลหลวง จ่าศาลรับคำฟ้อง ในกรณีที่เป็นเนื้อความใหญ่ให้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน แต่ถ้าเป็นเนื้อความเบาก็ให้ขุนราชพินิจใจราชปลัดถือพระธรรมนูญในกรมมหาดไทยจะตรวจสอบพระธรรมนูญว่าคำฟ้องนั้นเป็นเนื้อความ "กระทรวง" (หรือตระทรวง เป็นภาษากฎหมายสมัยโบราณ ตรงกับคำว่า 'มูลคดี' หรือ cause of action) ของศาลใดที่จะต้องพิจารณา แล้วอ่านเสนอต่อลูกขุน แล้วเจ้าพนักงานจะประทับตราของศาลที่มีอำนาจพิจารณาตามคำฟ้องเรื่องนั้นลงในคำฟ้อง แล้วส่งคำฟ้องกับตัวโจทก์ไปยังศาลนั้นให้เจ้ากระทรวงพิจารณาต่อไป และมีการคัดลอกคำฟ้องเพื่อไปเรียกตัวคู่ความ ในขั้นตอนเหล่านี้จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นชั้นๆ
ระบบศาลสมัยนั้นแบ่งแยกอยู่ในกรมต่างๆ มีขุนนางตำแหน่ง "ปลัดนั่งศาล" เป็นตระลาการทำหน้านี้พิจารณาคดีความกระทรวงต่างๆ (ตัวอธิบดีเจ้ากรมอาจเป็นตระลาการเองก็ได้) ตระลาการศาลนั้นหมายเรียกตัวจำเลยมาถามคำให้การ แล้วส่งคำให้การไปปรึกษาลูกขุนให้ชี้สองสถาน คือว่า ข้อใดรับกันในสำนวน และข้อใดจะต้องสืบพยาน ตระลาการจึงไปสืบพยานตามคำลูกขุน เมื่อสืบเสร็จแล้วจะส่งสำนวนไปยังลูกขุน ลูกขุนจะเป็นผู้พิพากษาชี้ขาดว่าฝ่ายไหนแพ้หรือชนะคดี ฝ่ายที่แพ้ตระลาการก็นำคำพิพากษาไปส่งผู้ปรับ ผู้ปรับวางโทษว่าควรจะปรับโทษเท่าใดก็ส่งให้ตระลาการไปบังคับ ถ้าคู่ความไม่พอใจในคำพิพากษา อาจอุทธรณ์ต่อศาลหลวง หรือถวายฎีกาถึงพระมหากษัตริย์ได้
ถ้าเป็นศาลหัวเมือง ให้ที่ประชุมกรมการเมืองทำหน้าที่แทนลูกขุน เพราะอยู่ไกลจะเข้ามาปรึกษาหารือที่ราชธานีไม่สะดวก กรมการเมืองตำแหน่งต่างๆ แยกพิจารณาคดีตามกระทรวง ในการปรับโทษผู้แพ้คดี ให้ส่งคำพิพากษาไปให้เมืองที่ใกล้เคียงกันเป็นผู้ปรับ ถ้าคู่ความไม่พอใจคำพิพากษา อาจอุทธรณ์เข้ามาได้ถึงเจ้ากระทรวงผู้บังคับบัญชาหัวเมืองนั้นๆ
อ้างอิงจากกฎหมายพระธรรมนูญว่าด้วยลักษณะมูลคดีตระลาการ ที่บัญญัติใน พ.ศ. 2165 รัชกาลพระเจ้าทรงธรรม ได้แบ่งประเภทแห่งมูลคดีเป็นกระทรวงความทั้งหมด 14 ประเภท แยกพิจารณาตามศาลกรมต่างๆ ต่อมาในและพระราชกำหนดเก่าเรื่องพระธรรมนูญศาล พ.ศ. 2297 รัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีรายละเอียดเพิ่มเติมอีก พอสรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงอุทธรณ์ เป็นหน้าที่ศาลหลวง พิจารณาคดีความเกี่ยวกับการฟ้องร้องว่าตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือ สำนวน พยานที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำมิชอบหรือไม่ยุติธรรมในคดี เช่น ฟ้องว่าตระลาการเป็นใจกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทำชู้กับคู่ความ เจ้าหน้าที่ในศาลรับสินบนหรือฟ้องว่าพยานเบิกความเท็จ ขุนบุรินธรปลัดนั่งศาลกรมมหาดไทยนั่งศาลหลวงพิจารณา ถ้าเป็นความอุทธรณ์ในหัวเมือง เป็นกระทรวงศาลหน้าโรงผู้รักษาเมืองได้เป็นผู้พิจารณา
2. กระทรวงอาชญาราษฎร์ เป็นหน้าที่ศาลราษฎร พิจารณาคดีความอาญาประเภทข่มเหงรังแกกัน เช่น เกาะกุมคุมขังบุคคลโดยมิชอบ บังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน เป็นต้น หากจำเลยเป็นตระลาการ ขุนเทพอาชญาปลัดนั่งศาลกรมมหาดไทยพิจารณา หากจำเลยเป็นราษฎรไม่ใช่ตระลาการ ขุนประชาเสพปลัดนั่งศาลกรมพระกลาโหมเป็นผู้พิจารณา (เพราะจำเลยความอาญามักเป็นผู้มีอำนาจมาก จึงให้กรมพระกลาโหมรับผิดชอบเพราะมีอำนาจจับกุมครอบครองผู้คนได้) แต่ถ้าจำเลยเป็นสมใน ขุนอินอาชญากรมวังเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความอาชญาในหัวเมือง ขุนปลัด รองปลัด เป็นผู้พิจารณา
3. กระทรวงอาชญาจักร เป็นหน้าที่ศาลสำรวจของกรมมหาดไทย ว่าด้วยคดีความการว่าความแทนกัน เช่น อ้างว่าเป็นญาติพี่น้องแล้วว่าความแทนกัน หรือแต่งสำนวนให้ผู้อื่นฟ้องร้อง เป็นต้น หรือพิจารณาคดียุยงให้เขาเป็นความกัน ขุนอาชญาจักรปลัดนั่งศาลกรมมหาดไทยพิจารณาตรวจเนื้อความปลอม หากความอาชญาดังกล่าวเกิดในหัวเมือง ศาลอาชญาเป็นผู้พิจารณา
4. กระทรวงนครบาล เป็นหน้าที่กรมพระนครบาลหรือกรมเมือง พิจารณาความมหันตโทษที่มีคนถึงตาย เช่น โจรผู้ร้ายปล้นสะดมลักทรัพย์ลักผู้คนฆ่าเจ้าเรือนตาย ทำชู้ฆ่าฟันกันตาย กล่าวหาว่าเป็นกระสือกระหัง ทำคุณไสยทำยาแฝดยาเมารีดลูกทำแท้งจนตาย ขุนงำเมือง ปลัดนั่งศาลกรมพระนครบาลพิจารณา แต่ถ้าคดีความไม่ถึงตายและจำเลยเป็นสมใน ขุนพรหมสุภานครบาลวังพิจารณา หากความนครบาลเกิดในหัวเมือง ขุนแขวง หมื่นแขวงได้พิจารณาเฉพาะคดีที่เบี้ยปรับต่ำกว่าแสน
5. ศาลกรมวัง พิจารณาคดีความที่เป็นความแพ่ง ความอาญา และความนครบาล ที่เป็นคดีความไม่ถึงตาย และจำเลยเป็น "สมใน" คือเป็นข้าพระเจ้าลูกเธอพระเจ้าหลานเธอที่ไม่ได้ทรงกรม หรือกรมสำคัญในพระราชวัง เช่น กรมฝ่ายใน กรมแสงใน กรมแสงนอก กรมพระคลังใน กรมพระคลังวิเศษ สิบสองพระกำนัลซ้ายขวา ดาบเกยซ้ายขวา ครัวข้าวต้น กรมสนมพลเรือนซ้ายขวา กรมรักษาองค์ซ้ายขวา กรมพระตำรวจในซ้ายขวา กรมสรรพากรในซ้ายขวา กรมมรดก กรมช่าง และข้าวัดต่างๆ คือ พระศรีสรรเพชญ์ วัดเชตุพน วัดรามาวาศ วัดธรรมิกราช วัดวังไชย วัดสวนหลวง วัดพระเมรุ วัดราชประดิษฐาน วัดกะดีทอง วัดโลกสุทธา วัดสบสวรรค์ วัดอินทาราม
กรมวังมีปลัดนั่งศาลคือ ขุนอินอาชญาพิจารณาเนื้อความอาชญาวัง ขุนพรมสุภาพิจารณาเนื้อความนครบาลวัง ขุนเทพสุภาพิจารณาเนื้อความแพ่งวัง ถ้าเป็นความในหัวเมือง ขุนสุพมาตรา รองสุพมาตรา เป็นผู้พิจารณา
6. กระทรวงมรดก เป็นหน้าที่กรมวัง พิจารณาคดีความความมรดกของผู้มีบรรดาศักดิ์ ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป ถ้าเป็นความมรดกของผู้มีบรรดาศักดิ์ต่ำกว่า 400 ลงมาถึง 10 ไร่ ขุนศรีราชบุตรกรมวังเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความมรดกในหัวเมือง กรมมรดกหัวเมืองเป็นผู้พิจารณา
7. กระทรวงต่างประเทศ เป็นหน้าที่กรมพระคลัง (กรมท่าซึ่งทำหน้าที่ดูแลการต่างประเทศ) คดีความระหว่างชาวกรุงกับชาวต่างประเทศหรือระหว่างชาวต่างประเทศด้วยกัน ขุนพินิจใจราชปลัดนั่งศาลกรมพระคลังเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความต่างประเทศในหัวเมือง ยกกระบัตรเป็นผู้พิจารณา โดยชาวต่างประเทศต้องได้รับการพิจารณาตามราชประเพณีจารีตของกรุงศรีอยุทธยา (แต่มีชาวต่างประเทศบางชาติมาเจรจาขอรับสิทธิพิจารณาตามกฎหมายของตนเองได้ เช่น ฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์)
8. กระทรวงกรมนา เป็นหน้าที่กรมนา พิจารณาคดีความเกี่ยวกับการปล่อยช้างม้าโคกระบือไปทำลายพืชผลที่นาคนอื่นจนวิวาทกัน มีกรณีพิพาทเรื่องการบุกรุกที่นา วางเพลิงเผาที่นาต้นข้าว ขโมยข้าว ฯลฯ ขุนโภชนากรปลัดนั่งศาลกรมนาเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความในหัวเมือง ขุนหมื่นกรมนาประจำหัวเมืองพิจารณา
9. กระทรวงพระคลัง เป็นหน้าที่กรมพระคลังมหาสมบัติ พิจารณาคดีความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ เช่น มีผู้กู้หนี้ยืมสินในท้องพระคลัง หรือฟ้องร้องเกี่ยวกับเรื่องอากรขนอนตลาดค่าน้ำเชิงเรือนที่ขึ้นกับท้องพระคลัง หลวงพิพิทสมบัติปลัดนั่งศาลกรมพระคลังมหาสมบัติพิจารณา
10. กระทรวงธรรมการ เป็นหน้าที่กรมธรรมการ พิจารณาคดีความพระภิกษุสามเณรทำผิดศีลผิดวินัยร้ายแรง เช่น เสพเมถุนธรรม ขุนศรีปชานนทปลัดนั่งศาลกรมธรรมการเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความในหัวเมือง ธรรมการหัวเมืองเป็นผู้พิจารณา
11. กระทรวงแพ่งกลาง เป็นหน้าที่กรมแพ่งกลาง พิจารณาคดีความแพ่งที่จำเลยเป็นสมนอกและเป็นคดีที่กล่าวหาในสถานเบา เช่น ด่าสบประมาท แทะโลม ข่มขืน มิได้ถึงชำเรา ทุบถองตบตีด้วยไม้หรือมือไม่ถึงสาหัส กู้หนี้ยืมสิน ขุนราชสุภาและขุนสุภาไชยปลัดนั่งศาลกรมแพ่งกลางเป็นผู้พิจารณา หากเป็นความในหัวเมือง รองแพ่งเป็นผู้พิจารณา
12. กระทรวงแพ่งเกษม เป็นหน้าที่กรมแพ่งเกษม พิจารณาคดีความแพ่งที่จำเลยเป็นสมนอก และเป็นคดีที่กล่าวหาในสถานหนัก เช่น บุกรุกที่ดินเรือกสวน ทำชู้หรือข่มขืนกอดจูบเมียหรือลูกหลานผู้อื่นถึงชำเรา ขุนสุภาเทพและขุนสุภาภารปลัดนั่งศาลกรมแพ่งเกษมเป็นผู้พิจารณา หากความแพ่งสถานหนักและจำเลยเป็นสมนอกเกิดในหัวเมือง ขุนแพ่งเป็นผู้พิจารณา
13. กระทรวงสัสดี เป็นหน้าที่กรมพระสุรัสวดี (สัสดี) พิจารณาคดีความพิพาทเกี่ยวกับหมู่หมายของบ่าวไพร่ การลูกปันหมู่ ปลัดนั่งศาลกรมสัสดีเป็นผู้พิจารรณา หากความเกิดในหัวเมือง ขุนสัสดีและรองสัสดีเป็นผู้พิจารณา
14. กระทรวงแพทยา เป็นหน้าที่กรมแพทยา พิจารณาคดีความกล่าวหาว่าเป็นกระสือกระหัง ทำคุณไสยกฤติยาคม ใส่ว่านยา ทำเสน่ห์ยาแฝดยาเมา รีดลูก โดยผู้เสียหายไม่ถึงตาย หรือคดีพราหมณ์โยคีเป็นโจทก์จำเลยหาความกัน ขุนพรมเกวีปลัดนั่งศาลกรมแพทยาเป็นผู้พิจารณา หากความเกิดในหัวเมือง ขุนหมื่นกรมแพทยาหัวเมืองเป็นผู้พิจารณา
พระราชกำหนดสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศยังเพิ่มศาลของกรมสรรพากรขึ้นมาด้วย โดยกรมสรรพากรใน มีขุนวิสูทโกษาพิจารณา "นายรวางกำนันพันที่เชิงเรือนสมภักษรขนอนตลาดชิงที่วิวาทแก่กัน" กับกรมสรรพากรนอก มีขุนศรีสาครพิจารณา "เสนากำนันเบาะแสแลเบียดบังขนอนตลาดดูสัจแส"
พระมหากษัตริย์สามารถพิพากษาคดีด้วยพระองค์เอง โดยทรงตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการ (มักเป็นตำรวจหลวง) เป็นผู้รับสั่งพิจารณาคดีแทนพระองค์โดยเฉพาะ โดยไม่เกี่ยวข้องกับลูกขุน คดีความประเภทนี้จะเรียกว่า "ความรับสั่ง" หรือ "ความศาลรับสั่ง" ตระลาการผู้ชำระอาจเรียกว่า "ศาลรับสั่ง" โดยอาจเป็นคดีที่สำคัญหรือคดีที่พระมหากษัตริย์ต้องการให้จัดการเป็นการเร็ว คดีความในศาลต่างๆ บ้างก็ถูกโอนมาเป็นความรับสั่ง ทั้งนี้ตระลาการก็ต้องพิจารณาว่าคำฟ้องด้วยพระธรรมนูญว่าเป็นกระทรวงใด แล้วให้มีหมายเอาเจ้ากระทรวงมานั่งกำกับด้วย ค่าปรับให้ส่งกรมพระคลังมหาสมบัติ
ในสมัยโบราณไม่ได้มีอาคารราชการเป็นหลักแหล่ง เสนาบดีตั้งจวนอยู่ที่ไหนก็ว่าราชการของตนที่นั่น ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่หรือผู้มีกิจธุระในกระทรวงใด ต้องไปทำการและประกอบกิจธุระที่จวนเสนาบดีนั้น ศาลก็ตั้งที่บ้านเสนาบดีเช่นกันครับ เรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า "ถึงกระทรวงอื่นๆ แต่ก่อนก็มีหน้าที่ทางตุลาการต้องชำระคดีอันเนื่องต่อกระทรวงนั้นๆ แต่ตั้งทั้งศาลและสำนักงานกระทรวงที่บ้านเสนาบดีด้วยกัน เพราะฉะนั้นแต่ก่อนมา เสนาบดีจึงบัญชาการกระทรวงที่บ้าน แม้มีสำนักงานอยู่ที่อื่น เช่นกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม ก็ไม่ไปนั่งบัญชาการที่สำนักงาน เจ้าหน้าที่ในกระทรวงต้องไปเสนอราชการและรับคำสั่งเสนาบดีที่บ้านเป็นนิจ"
สำหรับที่ตั้งของศาลหลวงในสมัยอยุทธยา กับศาลาลูกขุนในซึ่งเป็นที่ประชุมขุนนาง จากการขุดค้นของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) พบว่าอยู่ในกำแพงพระราชวังชั้นนอกด้านตะวันออกครับ
แสดงความคิดเห็น
สมัยอยุธยาตัดสินคดีกันที่ไหนคะ
ขอบคุณทุกท่านที่เสียสละเวลามาตอบมากๆค่ะ