ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 4
...ตามข้อกำหนด ความสูงขั้นหรือระยะตั้งห้ามมีค่าเกินกว่า 200 mm
ดังนั้น 230 mm จึงมีค่าที่สูงเกินไปมาก และก่อให้เกิดอันตรายในการใช้งาน เพราะ
-ทำให้ความชันบันไดสูงกว่าขั้นอื่นมาก
-ค่าการย่างก้าวมีค่าสูงกว่าขั้นอื่นๆไม่น้อยกว่า 60 mm ซึ่งถือว่าสูงมาก เพราะในข้อกำหนดในอารยะประเทศ(ประเทศไทยไม่มีข้อกำหนดนี้) ความสูงขั้นหรือระยะตั้ง ห้ามมีค่ามากกว่าขั้นก่อนหน้าหลัง หรือขั้นที่มีค่าต่ำสุดได้ไม่เกิน 3/8" (9.525 mm)
จากการที่ความชันและค่าการย่างก้าวสูงกว่าขั้นอื่นๆ มีค่าไม่คงที่ มีผลการในการเดินใช้งานที่อาจก้าวเกี่ยวเท้าหรือหน้าคะมำในการเดินลงได้ง่าย
ตามรูป ไม่แน่ใจว่าเป็นขั้นชานพักหรือขั้นพื้นชั้นบน (น่าจะเป็นอาคารมากกว่า 2 ชั้น มีบันไดขึ้นต่อไปและถัดลงล่าง) ซึ่งถ้าขั้นนี้ปรับระดับผิดมีค่าสูง จะส่งผลที่ขั้นอื่นที่ถัดจากขั้นนี้ไปหรือขั้นอื่นอีก อาจรวมขั้นถัดลงมา ดังนั้นถ้าจะให้ถูกหลักการต้องวัดค่าในระยะต่างๆของบันไดทั้งหมดที่เป็นอยู่ นำมาหาค่า ปรับทำระดับและระยะขั้นใหม่ ให้มีขนาดขั้นบันไดเท่ากันทุกขั้น
การแก้ไขแบบพอได้
โดยการปรับระดับขั้นใหม่โดยเอาค่า 30 mm เฉลี่ยไปที่ขั้นก่อนหน้า ก็ขึ้นกับจำนวนขั้นและความสูงขั้นเดิมที่เฉลี่ยไป
ถ้าความสูงขั้นอื่นๆที่จะเฉลี่ยค่าไปมีค่า 200 mm การเพิ่มค่าที่เฉลี่ยไป ย่อมส่งผลให้มีค่าเลยข้อกำหนด ถ้าจำนวนขั้นมาก จะเลยไปไม่มากจนพอยอมรับได้ ดีกว่าค่าสูงที่ขั้นใดขั้นหนึ่ง เช่น ความสูงระหว่างชั้น 3,000 mm มีขั้นบันได 15 ขั้น ได้ความสูงขั้น 3,000/15=200 mm เฉลี่ยปรับความสูงขั้นใหม่เป็นขั้นละ (3,000+30)/15=202 mm ทุกขั้นมีความสูงขั้นเพิ่ม 30/15= 2 mm
ถ้าความสูงขั้นอื่นๆที่จะเฉลี่ยค่าไปมีค่าต่ำกว่า 200 mm เพิ่มค่าเฉลี่ยไปรวมได้ไม่ถึง 200 mm ถือว่ารับได้กับการแก้ไขนี้ ที่ไม่ต้องทุบสร้างใหม่ เช่นที่ความสูงระหว่างชั้น 3,000 mm มีขั้นบันได 16 ขั้น ได้ความสูงขั้น 3,000/16= 187.5 mm เฉลี่ยปรับความสูงขั้นใหม่เป็นขั้นละ (3,000+30)/16=189.375 mm ทุกขั้นมีความสูงขั้นเพิ่ม 30/16= 1.875 mm
จุดสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ ระดับที่ปรับใหม่แต่ละขั้นนั้นเป็นการสะสมค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น(ปรับหนาขึ้นเรื่อยๆ) แต่ช่างควรใช้เส้นระดับขั้นใหม่จะถูกต้องกว่า
และยังขึ้นกับฝีมือวิธีการทำงานและความละเอียดของช่าง(ปกติก็ผิดเพี้ยนอยู่แล้ว)
ดังนั้น 230 mm จึงมีค่าที่สูงเกินไปมาก และก่อให้เกิดอันตรายในการใช้งาน เพราะ
-ทำให้ความชันบันไดสูงกว่าขั้นอื่นมาก
-ค่าการย่างก้าวมีค่าสูงกว่าขั้นอื่นๆไม่น้อยกว่า 60 mm ซึ่งถือว่าสูงมาก เพราะในข้อกำหนดในอารยะประเทศ(ประเทศไทยไม่มีข้อกำหนดนี้) ความสูงขั้นหรือระยะตั้ง ห้ามมีค่ามากกว่าขั้นก่อนหน้าหลัง หรือขั้นที่มีค่าต่ำสุดได้ไม่เกิน 3/8" (9.525 mm)
จากการที่ความชันและค่าการย่างก้าวสูงกว่าขั้นอื่นๆ มีค่าไม่คงที่ มีผลการในการเดินใช้งานที่อาจก้าวเกี่ยวเท้าหรือหน้าคะมำในการเดินลงได้ง่าย
ตามรูป ไม่แน่ใจว่าเป็นขั้นชานพักหรือขั้นพื้นชั้นบน (น่าจะเป็นอาคารมากกว่า 2 ชั้น มีบันไดขึ้นต่อไปและถัดลงล่าง) ซึ่งถ้าขั้นนี้ปรับระดับผิดมีค่าสูง จะส่งผลที่ขั้นอื่นที่ถัดจากขั้นนี้ไปหรือขั้นอื่นอีก อาจรวมขั้นถัดลงมา ดังนั้นถ้าจะให้ถูกหลักการต้องวัดค่าในระยะต่างๆของบันไดทั้งหมดที่เป็นอยู่ นำมาหาค่า ปรับทำระดับและระยะขั้นใหม่ ให้มีขนาดขั้นบันไดเท่ากันทุกขั้น
การแก้ไขแบบพอได้
โดยการปรับระดับขั้นใหม่โดยเอาค่า 30 mm เฉลี่ยไปที่ขั้นก่อนหน้า ก็ขึ้นกับจำนวนขั้นและความสูงขั้นเดิมที่เฉลี่ยไป
ถ้าความสูงขั้นอื่นๆที่จะเฉลี่ยค่าไปมีค่า 200 mm การเพิ่มค่าที่เฉลี่ยไป ย่อมส่งผลให้มีค่าเลยข้อกำหนด ถ้าจำนวนขั้นมาก จะเลยไปไม่มากจนพอยอมรับได้ ดีกว่าค่าสูงที่ขั้นใดขั้นหนึ่ง เช่น ความสูงระหว่างชั้น 3,000 mm มีขั้นบันได 15 ขั้น ได้ความสูงขั้น 3,000/15=200 mm เฉลี่ยปรับความสูงขั้นใหม่เป็นขั้นละ (3,000+30)/15=202 mm ทุกขั้นมีความสูงขั้นเพิ่ม 30/15= 2 mm
ถ้าความสูงขั้นอื่นๆที่จะเฉลี่ยค่าไปมีค่าต่ำกว่า 200 mm เพิ่มค่าเฉลี่ยไปรวมได้ไม่ถึง 200 mm ถือว่ารับได้กับการแก้ไขนี้ ที่ไม่ต้องทุบสร้างใหม่ เช่นที่ความสูงระหว่างชั้น 3,000 mm มีขั้นบันได 16 ขั้น ได้ความสูงขั้น 3,000/16= 187.5 mm เฉลี่ยปรับความสูงขั้นใหม่เป็นขั้นละ (3,000+30)/16=189.375 mm ทุกขั้นมีความสูงขั้นเพิ่ม 30/16= 1.875 mm
จุดสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ ระดับที่ปรับใหม่แต่ละขั้นนั้นเป็นการสะสมค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น(ปรับหนาขึ้นเรื่อยๆ) แต่ช่างควรใช้เส้นระดับขั้นใหม่จะถูกต้องกว่า
และยังขึ้นกับฝีมือวิธีการทำงานและความละเอียดของช่าง(ปกติก็ผิดเพี้ยนอยู่แล้ว)
แสดงความคิดเห็น
บันไดชันขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีการปูกระเบื้องทับ ลูกตั้งบันไดสูง 23 เซนติเมตร คิดว่าสูงไปมั๊ยครับ (มีรูป)
ตามรูป
รบกวนขอคำแนะนำครับ มีแนวทางในการปรับ หรือแก้ไขยังไงได้บ้างครับ