ในวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ก่อให้เกิดผลกระทบที่เสียหายต่อผู้คนและระบบนิเทศเป็นวงกว้าง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลก ทั้งยังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทั่วโลกมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ซึ่งเป็นวาระสำคัญของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26
ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี (Hydro-floating Solar Hybrid) หรือโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร ขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์แล้ว วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ช่วยเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 47,000 ตัน/ปี ตอบโจทย์พลังงานสะอาดช่วยลดภาวะโลกร้อน
การผลิตไฟฟ้าระบบไฮบริด
การผลิตไฟฟ้าระบบไฮบริด (Hybrid) ของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ คือ การผสมผสานระหว่าง “พลังงานแสงอาทิตย์” ร่วมกับ “พลังน้ำ” โดยนำโซล่าเซลล์มาผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวันที่มีปริมาณความเข้มของแสงเพียงพอ และนำพลังน้ำมาเสริมในช่วงที่ความเข้มแสงไม่เพียงพอ ในช่วงเวลากลางคืน รวมถึงช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก โดยได้นำระบบควบคุมและบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาควบคุมการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยลดความไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียน ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยเสริมความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
พลังงานหมุนเวียนนับเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างในการนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ เนื่องจากขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศที่มีความผันผวน ประเทศไทยจึงได้มีการทำโครงโซล่าเซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรขึ้น
อีกทั้งการเลือกติดตั้งในเขื่อนสิรินธรนั้น ยังเป็นการช่วยลดต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมเพราะไม่ต้องรบกวนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรมของชุมชน การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนผิวน้ำของเขื่อนสิริธร นั้นถือเป็นการใช้พืนที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะใช้พื้นที่ไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำ แต่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 45 เมกะวัตต์ หรือสามารถจ่ายไฟให้กับบ้านครัวเรือนปกติได้ถึง 70 ครัวเรือน (เทียบการใช้ไฟฟ้าบ้าน 1 หลัง 2,400 บาท/เดือน)
จุดเด่น
โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีจุดเด่นที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และพลังน้ำจากเขื่อนที่มีอยู่เดิม มาผลิตไฟฟ้าในช่วงที่ไม่มีแสง หรือเสริมความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงค่ำ โดยระบบ EMS (Energy Management System) ร่วมกับระบบพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System) มาควบคุมและบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น ลดข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียนได้อย่างคุ้มค่า
ดังนั้น โรงงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำจึงไม่กระทบกับระบบนิเวศใต้น้ำ และการนำแผงโซลาร์เซลล์วางบนผิวน้ำ จะช่วยลดความร้อนของแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าดีกว่าการติดตั้งบนบกถึงร้อยละ 10-15 ทั้งยังช่วยลดการระเหยของน้ำในเขื่อนได้ประมาณ 460,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี
และที่สำคัญ กฟผ.ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน โดยเตรียมเปิดตัวโรงไฟฟ้าแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของ จ.อุบลราชธานี เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งจะสามารถช่วยสร้างอาชีพ เสริมรายได้ ให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดในภาพรวมอีกด้วย
ส่งผลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของ จ.อุบลราชธานี รับนักท่องเที่ยวต้นปี’65 พร้อมลุยต่อโครงการใหม่อีก 15 แห่งทั่วประเทศ รวม 2,725 เมกะวัตต์ ตอกย้ำผู้นำพลังงานสะอาด ร่วมผลักดันประเทศมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
ขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติ
ทำความรู้จักกับ โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่อุบลราชธานีบ้านเรานี่เอง
ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี (Hydro-floating Solar Hybrid) หรือโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร ขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์แล้ว วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ช่วยเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 47,000 ตัน/ปี ตอบโจทย์พลังงานสะอาดช่วยลดภาวะโลกร้อน