แวบแรกที่ดูอาจเข้าใจว่านี่คือหนังที่พูดถึงคนเลว ทำความเลวและพบจุดจบอย่างสาสม นั่นคงเป็น cliché ที่น่าเบื่อ เหล้าเก่าในขวดใหม่ที่ใครก็รู้ แต่...หากมองให้ใกล้เข้าไปอีกนิด กลับกลายเป็นว่านี่คือหนังที่ดีที่สุดในปี 2021 สำหรับผมเลยทีเดียว
กีเยโม เดล โทโร (Guillermo del Toro) ผู้กำกับร่างหมีคนนี้โลดแล่นในวงการมาอย่างยาวนาน สร้างผลงานอย่าง Cronos(1993), Mimic(1997), Blade II(2002), Hellboy(2004), Hellboy II(2008), Pan's Labyrinth(2006), Pacific Rim(2015) มาสุดที่ The Shape of Water(2017) จนถึง Nightmare Alley ก็ตอกฝาโลงสนิทเลยว่านี่คือหนึ่งในอัฉริยะของวงการภาพยนต์ยุคปัจจุบันอย่างไม่ต้องสงสัย
หนังถูกดัดแปลงจากนิยาย(1946) ชื่อเดียวกันของ William Lindsay Greysham ว่าด้วยเรื่องของชายหนุ่มปริศนา ที่บังเอิญได้เข้าไปชมการแสดงในคาร์นิวัลหนึ่ง มีโอกาสได้ทำงาน ได้ฝึกฝนเทคนิคมายากลต่างๆจากผู้คนในคณะ แต่เขามีความทะเยอทะยานที่ไกลกว่านั้น ด้วยการนำทักษะที่มีไปเปิดการแสดงในสังคมชั้นสูง สร้างรายได้และความร่ำรวยให้กับชีวิต แต่เมื่อความโลภคือเส้นทางที่ไม่เคยสิ้นสุด สุดท้ายชีวิตจึงจบลงด้วยโศกนาฏกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เดล โทโรคือผู้กำกับที่รู้ดีว่าตัวเองต้องการอะไร เขากำหนดทิศทางของหนังให้ไปในแนวที่ต้องการได้อย่างอยู่หมัด ธีมที่นำเสนอคือปริศนาและความพิศวงที่เดล โทโรพาเราไปค้นหาความจริงทีละขั้น ก็ไม่รู้ว่าใช้วิธีซ้ำกับ The Shape of Water หรือเปล่าถึงชวดเข้าชิงผู้กำกับยอดเยี่ยมออสการ์อย่างน่าเสียดาย
จากธีมหลักนำไปสู่การถ่ายภาพของ Dan Laustsen ที่ตามมาจาก The Shape of Water โดดเด่นและน่าสนใจอย่างมาก การแพนภาพใบหน้าแต่ละคนอย่างช้าๆด้วยแสงที่ลงตัวช่วยขับปริศนาที่ซ่อนอยู่ในใจแต่ละคนได้อย่างน่าประหลาด โทนสีที่ให้ภาพสวย สวยมากจนตัวละครดูหล่อสวยไปหมดแต่กลับแฝงด้วยความน่าเคลือบแคลง เช่นเดียวกับโปรดักชั่นดีไซน์ก็ถ่ายทอดอารมณ์ของความพิศวงได้แบบเดียวกัน คือ ต้องบอกว่าช่วงครึ่งแรกของหนังที่เป็นคาร์นิวัลองค์ประกอบต่างๆทำได้โดดเด่นมากเสียจนกลบครึ่งหลังของหนังให้ดร็อปไปเลย แต่ถ้าเฉลี่ยโดยรวมก็ถือว่าทำได้ดี
ทางด้านการแสดงทุกคนทำหน้าที่ได้ดีแต่ที่โดดออกมาอย่างเห็นได้ชัด คือ แบรดลี่ คูเปอร์ (Bradley Cooper) ที่รับบทเป็นตัวเอก แสตน Stanton Carlisle โดยเฉพาะการแสดงทางสีหน้าและแววตาที่เห็นถึง ปริศนา ความลังเล ความแปลกใจและความสมเพชตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม แต่ก็หลุดเข้าชิงดารานำชายไปอีกหนึ่ง
มาถึงแก่นของเรื่องตีความได้สามอย่าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แนวทางแรก หนังพูดถึงคนดีที่ก้าวขาผิดไปในโลกมืด ถ้าเป็นเช่นนั้นเราคงได้ลุ้นเอาใจช่วยให้พระเอกกลับตัวกลับใจ หนังเปิดเรื่องให้เราเห็นว่าพระเอกเป็นชายปริศนาที่เราไม่รู้อะไรเลย แต่ปล่อยข้อมูลออกมาว่าดูมีน้ำใจให้กับ geek เป็นห่วงที่ geek คนนั้นต้องตากฝน มีความเคารพกับ Pete ที่เขาได้เรียนวิชาอ่านใจ ความรักที่เขามีต่อนางเอก Molly Cahill(Rooney Mara) ก็ดูบริสุทธิ์ แต่เมื่อหนังเฉลยในตอนท้าย Stan ไม่ได้บริสุทธิ์ขนาดนั้น
แนวที่สอง คนเลว ทำความเลวและพบจุดจบอย่างสาสม กลายเป็น cliché ที่น่าเบื่อ ทำไมเราต้องเสียเวลาสองชั่วโมงครึ่งดูหนังของคนเลวคนหนึ่ง แต่ดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่และนักวิจารณ์บางส่วนเข้าใจว่าแนวหนังเป็นเช่นนั้น นั่นทำให้หนังเรื่องนี้ไม่ปังอย่างที่คิด รู้สึกว่าก็งั้นๆ หนังความดีความเลวอีกรอบ
แนวที่สาม ความดีความเลวมีเส้นบางๆกั้นบนโลกที่ทุกคนเป็นเทา หนังเพิ่มมิติให้กับแสตนว่าเขาก็คือคนแบบเราที่มีทั้งดีและเลวในตัว บางอย่างในชีวิตจงเลือกให้ดีเพราะการก้าวผิดเราอาจอยู่บนทางเดิน(alley) ที่เป็นฝันร้าย (nightmare) อย่างไม่คาดคิด
แสตนเป็นคนที่เชื่อมั่นและถือดีในตัว เมื่อนำไปใช้ในทางที่ถูกถือเป็นสี่งดี จะเห็นว่าความทะเยอทะยานในชีวิต คำมั่นที่ให้ชีวิตที่ดีกว่ากับคนรักเขาทำได้จริง ความเด็ดเดี่ยวที่ไม่กินเหล้า แต่เมื่อเอาความถือดี ความมั่น ไปใช้กับความลวงนั่นเท่ากับปิดหูปิดตาตัวเองโดยไม่ฟังคำเตือนของใครอย่างที่พีท Pete เคยพูดไว้
มันทำให้ผมนึกถึงความมั่นของคนยุคนี้ที่ออกตัวแรงเหลือเกินในโซเชียล นึกถึงสารพัดแชร์ที่ดังสุดคงเป็นฟอเร็กซ์ นึกถึงผู้กำกับสารวัตรไฟแรงใช้ถุงดำคลุมหัว นึกถึงอิทธิพลมืดที่แทรกเข้าไปในคดีดังทั้งหลายแหล่ คนเหล่านี้มักถือดีในอำนาจของตัวเองและคิดว่าเอาอยู่ แต่เหนือฟ้ายังมี Dr.Lillith Ritter(Cate Branchett) เหนือฟ้ายังมีมาเฟีย Ezra Grindle(Richard Jenkins) และในวันที่คุณเอาไม่อยู่ก็ลองคิดดูว่าจะเหลือทางใดให้คุณเดิน
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะสถานการณ์โควิด หรือแก่นของเรื่องที่ซับซ้อนเกินไป หรือความหม่นและดาร์คที่จำเพาะกลุ่มคนดู ทำให้รายได้ของหนังเรื่องนี้ขาดทุนยับเยิน รางวัลและคำวิจารณ์ถือว่าดีแต่ก็ไม่ปังอย่างที่ควรเป็น
ทุกอย่างคงมีเหตุผลของมัน สิ่งสำคัญกว่าคือผู้สร้างมีความภูมิใจในผลงาน คนดูเฉพาะกลุ่มเห็นคุณค่า และนั่นก็อาจจะเพียงพอแล้ว
[CR] รีวิว Nightmare Alley หนังเยี่ยมในปี 2021
กีเยโม เดล โทโร (Guillermo del Toro) ผู้กำกับร่างหมีคนนี้โลดแล่นในวงการมาอย่างยาวนาน สร้างผลงานอย่าง Cronos(1993), Mimic(1997), Blade II(2002), Hellboy(2004), Hellboy II(2008), Pan's Labyrinth(2006), Pacific Rim(2015) มาสุดที่ The Shape of Water(2017) จนถึง Nightmare Alley ก็ตอกฝาโลงสนิทเลยว่านี่คือหนึ่งในอัฉริยะของวงการภาพยนต์ยุคปัจจุบันอย่างไม่ต้องสงสัย
หนังถูกดัดแปลงจากนิยาย(1946) ชื่อเดียวกันของ William Lindsay Greysham ว่าด้วยเรื่องของชายหนุ่มปริศนา ที่บังเอิญได้เข้าไปชมการแสดงในคาร์นิวัลหนึ่ง มีโอกาสได้ทำงาน ได้ฝึกฝนเทคนิคมายากลต่างๆจากผู้คนในคณะ แต่เขามีความทะเยอทะยานที่ไกลกว่านั้น ด้วยการนำทักษะที่มีไปเปิดการแสดงในสังคมชั้นสูง สร้างรายได้และความร่ำรวยให้กับชีวิต แต่เมื่อความโลภคือเส้นทางที่ไม่เคยสิ้นสุด สุดท้ายชีวิตจึงจบลงด้วยโศกนาฏกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เดล โทโรคือผู้กำกับที่รู้ดีว่าตัวเองต้องการอะไร เขากำหนดทิศทางของหนังให้ไปในแนวที่ต้องการได้อย่างอยู่หมัด ธีมที่นำเสนอคือปริศนาและความพิศวงที่เดล โทโรพาเราไปค้นหาความจริงทีละขั้น ก็ไม่รู้ว่าใช้วิธีซ้ำกับ The Shape of Water หรือเปล่าถึงชวดเข้าชิงผู้กำกับยอดเยี่ยมออสการ์อย่างน่าเสียดาย
จากธีมหลักนำไปสู่การถ่ายภาพของ Dan Laustsen ที่ตามมาจาก The Shape of Water โดดเด่นและน่าสนใจอย่างมาก การแพนภาพใบหน้าแต่ละคนอย่างช้าๆด้วยแสงที่ลงตัวช่วยขับปริศนาที่ซ่อนอยู่ในใจแต่ละคนได้อย่างน่าประหลาด โทนสีที่ให้ภาพสวย สวยมากจนตัวละครดูหล่อสวยไปหมดแต่กลับแฝงด้วยความน่าเคลือบแคลง เช่นเดียวกับโปรดักชั่นดีไซน์ก็ถ่ายทอดอารมณ์ของความพิศวงได้แบบเดียวกัน คือ ต้องบอกว่าช่วงครึ่งแรกของหนังที่เป็นคาร์นิวัลองค์ประกอบต่างๆทำได้โดดเด่นมากเสียจนกลบครึ่งหลังของหนังให้ดร็อปไปเลย แต่ถ้าเฉลี่ยโดยรวมก็ถือว่าทำได้ดี
ทางด้านการแสดงทุกคนทำหน้าที่ได้ดีแต่ที่โดดออกมาอย่างเห็นได้ชัด คือ แบรดลี่ คูเปอร์ (Bradley Cooper) ที่รับบทเป็นตัวเอก แสตน Stanton Carlisle โดยเฉพาะการแสดงทางสีหน้าและแววตาที่เห็นถึง ปริศนา ความลังเล ความแปลกใจและความสมเพชตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม แต่ก็หลุดเข้าชิงดารานำชายไปอีกหนึ่ง
มาถึงแก่นของเรื่องตีความได้สามอย่าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะสถานการณ์โควิด หรือแก่นของเรื่องที่ซับซ้อนเกินไป หรือความหม่นและดาร์คที่จำเพาะกลุ่มคนดู ทำให้รายได้ของหนังเรื่องนี้ขาดทุนยับเยิน รางวัลและคำวิจารณ์ถือว่าดีแต่ก็ไม่ปังอย่างที่ควรเป็น
ทุกอย่างคงมีเหตุผลของมัน สิ่งสำคัญกว่าคือผู้สร้างมีความภูมิใจในผลงาน คนดูเฉพาะกลุ่มเห็นคุณค่า และนั่นก็อาจจะเพียงพอแล้ว
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้