การตัดกรรม" ก็คือหยุดทำความชั่ว ความบาป "การตัดเวร" ก็คือหยุดการพยาบาทอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน คือ ไม่แก้แค้นซึ่งกันและกัน รู้จักคำว่าให้อภัยซึ่งกันและกันผู้ทำผิดก็ให้รู้จักคำว่าขอโทษ ผู้ถูกขอโทษก็ควรรู้จักคำว่าให้อภัย ไม่เป็นไรหรอก อันนี้เป็นอุบายตัดกรรมตัดเวร
พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ใครทำกรรมใดไว้ ได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไปทำพิธีตัดกรรมก็เป็นการลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า กรรมใดใครก่อลงไปแล้ว ใจเป็นผู้จงใจคือเจตนาทำลงไป พอทำลงไปแล้วกรรมอันเป็นบาป ภายหลังเรามานึกว่าเราไม่ต้องการผลของบาป มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้ เพราะ “ใจ” เป็นผู้สั่งให้กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป “ใจ” ตัวนี้ต้องรับผิดชอบโดยความเป็นธรรม โดยหลักของธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการที่เราไปทำพิธีตัดกรรมนี่ หมายถึง ตัดผลของบาป มันตัดไม่ได้ อย่าไปเข้าใจผิด
ขอให้พุทธบริษัททั้งหลายจงปลูกฝังนิสัยให้เด็กของเราในข้อนี้ เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญที่สุด ถ้าเด็กๆ ของเราไปนี่เข้าใจว่า ทำบาปทำกรรมแล้วไปทำพิธีล้างบาป ทำพิธีตัดกรรมแล้วมันหมดบาป ประเดี๋ยวเด็กๆ มันไปทำบาปแล้วไปหาหลวงพ่อ หลวงพี่ตัดบาปตัดกรรมให้ มันก็ไม่เกิดความกลัวต่อบาป เพราะฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่า ทำกรรมอันเป็นบาป แล้วตัดกรรมให้มันหมดไป มันเป็นไปไม่ได้
แต่ตัดเวรนี่มีทาง... เวร หมายถึง การผูกพยาบาท คอยแก้แค้นกันอยู่ตลอดเวลา เช่น เราฆ่าเขาตาย บางทีนึกถึงบาปกรรมกลัวว่าเขาจะอาฆาตจองเวร เราทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เขา ถ้าหากว่าเขาได้รับส่วนกุศลจากเรา เขาได้รับความสุข เขาเลื่อนฐานะจากภาวะทึ่ทุกข์ทรมานไปสู่ฐานะที่มีความสุข เขานึกถึงคุณงามความดี นึกถึงบุญคุณของเรา เขาก็อโหสิกรรมให้เรา ไม่ตามล้างตามผลาญกันอีกต่อไป อันนี้ตัดเวรนี่ตัดได้
...............................................
คัดลอกเนื้อหามาจากหนังสือมรดกธรรม สุขสงบด้วยศีล พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีอายุครบ ๗๗ ปี, หน้า ๓๘) ขอบคุณลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=39575
https://www.naewna.com/likesara/643739
อุบายตัดกรรมตัดเวร'...หยุดทำความชั่ว หยุดการอาฆาตพยาบาท : หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ใครทำกรรมใดไว้ ได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไปทำพิธีตัดกรรมก็เป็นการลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า กรรมใดใครก่อลงไปแล้ว ใจเป็นผู้จงใจคือเจตนาทำลงไป พอทำลงไปแล้วกรรมอันเป็นบาป ภายหลังเรามานึกว่าเราไม่ต้องการผลของบาป มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้ เพราะ “ใจ” เป็นผู้สั่งให้กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป “ใจ” ตัวนี้ต้องรับผิดชอบโดยความเป็นธรรม โดยหลักของธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการที่เราไปทำพิธีตัดกรรมนี่ หมายถึง ตัดผลของบาป มันตัดไม่ได้ อย่าไปเข้าใจผิด
ขอให้พุทธบริษัททั้งหลายจงปลูกฝังนิสัยให้เด็กของเราในข้อนี้ เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญที่สุด ถ้าเด็กๆ ของเราไปนี่เข้าใจว่า ทำบาปทำกรรมแล้วไปทำพิธีล้างบาป ทำพิธีตัดกรรมแล้วมันหมดบาป ประเดี๋ยวเด็กๆ มันไปทำบาปแล้วไปหาหลวงพ่อ หลวงพี่ตัดบาปตัดกรรมให้ มันก็ไม่เกิดความกลัวต่อบาป เพราะฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่า ทำกรรมอันเป็นบาป แล้วตัดกรรมให้มันหมดไป มันเป็นไปไม่ได้
แต่ตัดเวรนี่มีทาง... เวร หมายถึง การผูกพยาบาท คอยแก้แค้นกันอยู่ตลอดเวลา เช่น เราฆ่าเขาตาย บางทีนึกถึงบาปกรรมกลัวว่าเขาจะอาฆาตจองเวร เราทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เขา ถ้าหากว่าเขาได้รับส่วนกุศลจากเรา เขาได้รับความสุข เขาเลื่อนฐานะจากภาวะทึ่ทุกข์ทรมานไปสู่ฐานะที่มีความสุข เขานึกถึงคุณงามความดี นึกถึงบุญคุณของเรา เขาก็อโหสิกรรมให้เรา ไม่ตามล้างตามผลาญกันอีกต่อไป อันนี้ตัดเวรนี่ตัดได้
...............................................
คัดลอกเนื้อหามาจากหนังสือมรดกธรรม สุขสงบด้วยศีล พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีอายุครบ ๗๗ ปี, หน้า ๓๘) ขอบคุณลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=39575
https://www.naewna.com/likesara/643739