ผมเชื่อว่าหลายคนสงสัยว่าชาติตะวันตกจะอยู่ได้อย่างไรโดยไม่มีน้ำมันจากรัสเซีย
จะแข็งขืนอยู่ได้สักกี่วันเชียว สุดท้ายก็จะต้องยอมอ่อนข้อให้กับรัสเซีย
สงครามยูเครน-รัสเซียเกิดขึ้นในตอนที่ชาวโลกมีน้ำมันสำรองอยู่ในคลังเก็บเยอะมาก เพราะโควิดระบาดมีผลกระทบต่อกิจกรรมสังคม ทำให้อัตราการใช้น้ำมันลดลง ช่วงเวลาที่ผ่านมาโลกจึงมีน้ำมันเหลือใช้ แทบทุกประเทศตุนน้ำมันไว้ตอนที่น้ำมันล้นตลาดและมีราคาถูก จนเกิดมีช่วงหนึ่งที่ถึงขั้นล้นคลังทุกแห่งจนไม่มีที่จะเก็บ ต้องแย่งกันซื้อเรือน้ำมันปลดระวางมาทำเป็นที่เก็บน้ำมันกัน
โดยปกติประเทศต่างๆจะมีแผนความมั่นคงทางพลังงาน โดยจะต้องมีน้ำมันเก็บสำรองอยู่ในคลังให้พอใช้แบบไม่ต้องซื้อเพิ่ม เผื่อเกิดเหตุเส้นทางขนส่งน้ำมันถูกตัดขาด มาตรฐานทั่วไปคือ 90 วัน ประเทศอุตสาหกรรมที่รวยหน่อยก็อาจจะมีมากกว่านั้น (เช่นญี่ปุ่นมีถึง 225 วัน) ส่วนสหรัฐรวยมาก นอกจากน้ำมันที่เก็บอยู่ในแท้งค์ฟาร์มเทียบเท่าหลายร้อยวันแล้ว ยังมีน้ำมันดิบสำรองทางยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่เก็บอยู่ในเหมืองเกลือใต้ดินมากกว่า 700 ล้านบาเรล โดยรวมแล้วโลกสามารถเก็บน้ำมันสำรองไว้ในถังตามที่ต่างๆประมาณ 4.1 พันล้านบาเรล ดังนั้นเมื่อเอามาเทียบกับรัสเซียที่ส่งออกน้ำมันประมาณวันละ 4 ล้านบาเรล โลกน่าจะสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องมีน้ำมันจากรัสเซียนานประมาณสามปี
ถ้ามองเจาะจงมาที่ยุโรป ทางยุโรปประมาณว่าเขาสามารถทนการตัดขาดจากน้ำมันรัสเซียได้นานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ซึ่งตอนนั้นเรื่องราวน่าจะคลี่คลาย หรือถ้าไม่คลี่คลายก็น่าจะปรับตัวได้ โดยทางหนึ่งเพิ่มการผลิตจากแหล่งอื่น รวมทั้งหันไปใช้พลังงานทดแทน แล้วก็ตัดรัสเซียออกจากวงการพลังงานไปเลย
แม้ยุโรปจะมีน้ำมันสำรองมากพอที่จะตัดขาดกับรัสเซียได้ทันที แต่ก็ยังมีส่วนที่อ่อนไหวคือกาซธรรมชาติเพื่อการผลิตไฟฟ้า ยุโรปพึ่งพากาซจากรัสเซียเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นปอร์เซนต์สูงมาก ทำให้ยังไม่ค่อยกล้าขัดใจกับรัสเซียมากนัก เพราะกลัวจะถูกตัดกาซ ซึ่งอาจจะทำให้ไฟฟ้าไม่พอใช้ แต่ตอนนี้ยุโรปได้สั่งกาซธรรมชาติเหลวมาจากที่ต่างๆ แบบไปไล่ขอซื้อต่อจากกาซที่มีผู้ซื้อไปแล้ว ที่อยู่บนเรือบรรทุกกาซที่กำลังแล่นไปส่งลูกค้า พอตกลงซื้อต่อได้ก็ให้เปลี่ยนเส้นทางมายุโรปแทน โดยตอนนี้มีเรือหลายสิบลำกำลังเดินทางมา ถ้ากาซเหลวจากที่อื่นมาเทียบท่าอย่างเพียงพอเมื่อไร ท่าทีของยุโรปก็อาจจะเปลี่ยนไปในทางแข็งกร้าวมากขึ้น
ชาติยุโรปอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งน้ำมันจากรัสเซีย
จะแข็งขืนอยู่ได้สักกี่วันเชียว สุดท้ายก็จะต้องยอมอ่อนข้อให้กับรัสเซีย
สงครามยูเครน-รัสเซียเกิดขึ้นในตอนที่ชาวโลกมีน้ำมันสำรองอยู่ในคลังเก็บเยอะมาก เพราะโควิดระบาดมีผลกระทบต่อกิจกรรมสังคม ทำให้อัตราการใช้น้ำมันลดลง ช่วงเวลาที่ผ่านมาโลกจึงมีน้ำมันเหลือใช้ แทบทุกประเทศตุนน้ำมันไว้ตอนที่น้ำมันล้นตลาดและมีราคาถูก จนเกิดมีช่วงหนึ่งที่ถึงขั้นล้นคลังทุกแห่งจนไม่มีที่จะเก็บ ต้องแย่งกันซื้อเรือน้ำมันปลดระวางมาทำเป็นที่เก็บน้ำมันกัน
โดยปกติประเทศต่างๆจะมีแผนความมั่นคงทางพลังงาน โดยจะต้องมีน้ำมันเก็บสำรองอยู่ในคลังให้พอใช้แบบไม่ต้องซื้อเพิ่ม เผื่อเกิดเหตุเส้นทางขนส่งน้ำมันถูกตัดขาด มาตรฐานทั่วไปคือ 90 วัน ประเทศอุตสาหกรรมที่รวยหน่อยก็อาจจะมีมากกว่านั้น (เช่นญี่ปุ่นมีถึง 225 วัน) ส่วนสหรัฐรวยมาก นอกจากน้ำมันที่เก็บอยู่ในแท้งค์ฟาร์มเทียบเท่าหลายร้อยวันแล้ว ยังมีน้ำมันดิบสำรองทางยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่เก็บอยู่ในเหมืองเกลือใต้ดินมากกว่า 700 ล้านบาเรล โดยรวมแล้วโลกสามารถเก็บน้ำมันสำรองไว้ในถังตามที่ต่างๆประมาณ 4.1 พันล้านบาเรล ดังนั้นเมื่อเอามาเทียบกับรัสเซียที่ส่งออกน้ำมันประมาณวันละ 4 ล้านบาเรล โลกน่าจะสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องมีน้ำมันจากรัสเซียนานประมาณสามปี
ถ้ามองเจาะจงมาที่ยุโรป ทางยุโรปประมาณว่าเขาสามารถทนการตัดขาดจากน้ำมันรัสเซียได้นานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ซึ่งตอนนั้นเรื่องราวน่าจะคลี่คลาย หรือถ้าไม่คลี่คลายก็น่าจะปรับตัวได้ โดยทางหนึ่งเพิ่มการผลิตจากแหล่งอื่น รวมทั้งหันไปใช้พลังงานทดแทน แล้วก็ตัดรัสเซียออกจากวงการพลังงานไปเลย
แม้ยุโรปจะมีน้ำมันสำรองมากพอที่จะตัดขาดกับรัสเซียได้ทันที แต่ก็ยังมีส่วนที่อ่อนไหวคือกาซธรรมชาติเพื่อการผลิตไฟฟ้า ยุโรปพึ่งพากาซจากรัสเซียเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นปอร์เซนต์สูงมาก ทำให้ยังไม่ค่อยกล้าขัดใจกับรัสเซียมากนัก เพราะกลัวจะถูกตัดกาซ ซึ่งอาจจะทำให้ไฟฟ้าไม่พอใช้ แต่ตอนนี้ยุโรปได้สั่งกาซธรรมชาติเหลวมาจากที่ต่างๆ แบบไปไล่ขอซื้อต่อจากกาซที่มีผู้ซื้อไปแล้ว ที่อยู่บนเรือบรรทุกกาซที่กำลังแล่นไปส่งลูกค้า พอตกลงซื้อต่อได้ก็ให้เปลี่ยนเส้นทางมายุโรปแทน โดยตอนนี้มีเรือหลายสิบลำกำลังเดินทางมา ถ้ากาซเหลวจากที่อื่นมาเทียบท่าอย่างเพียงพอเมื่อไร ท่าทีของยุโรปก็อาจจะเปลี่ยนไปในทางแข็งกร้าวมากขึ้น