ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็นโมเดล 41 ผลิตใหม่ หลังจากเว้นว่างไปช่วงปี 1992– 1994 ตัวปืนยังเป็นเหล็กล้วน รมดำเงา ใช้ด้ามไม้จริงเหมือนของเดิมทุกประการ ชิ้นส่วนฟิตแน่น น้ำหนักสมดุลดี
กีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ จัดแข่งครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1896 และจัดทุกๆ สี่ปีเรื่อยมา มีเว้นด้วยความจำเป็นในช่วงสงครามโลก (1916, 1940, 1944) จำได้ง่ายว่าจัดทุกปีที่เลข ค.ศ. หารด้วยสี่ลงตัว กีฬายิงปืนได้รับการบรรจุเข้าในประเภทการแข่งขันทุกครั้งตั้งแต่แรก ยกเว้นปี 1904 และ 1928 ช่วงแรกกติกาแล้วแต่เจ้าภาพจะกำหนด จนกระทั่งมีการก่อตั้ง “สมาพันธ์กีฬายิงปืนนานาชาติ” เมื่อปี 1907 (ปัจจุบันคือ ISSF) และตั้งแต่ปี 1908 เป็นต้นมา ISSF เป็นองค์กรกำหนดกติกาและประเภทการแข่งขันยิงปืนในโอลิมปิก
ปืนยิงเป้าแข่งขันช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่โดดเด่นคือ โคลท์ วูดส์แมน ผลงานออกแบบของ จอห์น เบรานิงก์ ออกขายในปี 1915 ครองแชมป์โอลิมปิกตั้งแต่ 1920 ถึง 1932 มาเสียแชมป์ในปี 1936 ให้ วอลเธอร์ “โอลิมเปีย” ที่ออกแบบใหม่เพื่อการแข่งขันยิงเป้าโดยเฉพาะ จุดเด่นของวอลเธอร์รุ่นนี้ คือสปริงลำเลื่อนอยู่ด้านหน้าใต้ลำกล้อง ทำลำเลื่อนส่วนล่างยื่นไปเป็นตัวคุมสปริง ช่วยให้จุดศูนย์ต่ำ น้ำหนักสมดุลดีขึ้น และจุดที่รับแรงกระแทกเมื่อลำเลื่อนถอยหลังสุดมาชนโครงอยู่ต่ำกว่าง่ามมือ ลดอาการลำกล้องกระดก ยิงซ้ำได้เร็ว
สมิธ ที่กำลังต้องการปืนลูกกรดระดับยิงเป้าไว้คู่กับลูกโม่ตระกูล “มาสเตอร์พีส” นำวอลเธอร์ไปศึกษา แล้วพัฒนาโดยมุ่งให้เหนือกว่าปืนทุกแบบในตลาด จุดสำคัญคือลำกล้องหนาพิเศษ ปาดด้านข้างแบน ดูคล้ายปืน 1911, ศูนย์หน้าเป็นเนื้อเดียวกับลำกล้อง, สันลำกล้องทำยื่นมาด้านหลังรับศูนย์ปรับได้ ข้อนี้มีความสำคัญคือศูนย์จะไม่วิ่งไปมาตามลำเลื่อน ที่เหลือเป็นการปรับให้ตรงกับรสนิยมของนักยิงปืนอเมริกัน คือจัดมุมด้ามและวางตำแหน่งปุ่มปลดซองกระสุนกับห้ามไกให้เหมือนกับปืน 1911 มีที่เหมือนวอลเธอร์เดิมคือใช้โกร่งไกเป็นตัวคุมการถอดทำความสะอาดและเปลี่ยนลำกล้อง ใช้ตัวเลขเป็นชื่อรุ่นว่า โมเดล 41 เริ่มวางขายในปี 1957 หลังจากนั้นสิบปี แฮมเมอร์ลี ของสวิส จึงผลิตรุ่น 208 ที่ใช้วอลเธอร์โอลิมเปียเป็นต้นแบบเช่นเดียวกัน สมิธและแฮมเมอร์ลีคู่นี้ เป็นปืนที่ ISSF ใช้กำหนดกติกา “ปืนสั้นมาตรฐาน 25 เมตร” ในปี 1970
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็นโมเดล 41 ผลิตใหม่ หลังจากเว้นว่างไปช่วงปี 1992– 1994 ตัวปืนยังเป็นเหล็กล้วน รมดำเงา ใช้ด้ามไม้จริงเหมือนของเดิมทุกประการ ชิ้นส่วนฟิตแน่น น้ำหนักสมดุลดี ชั่งได้ 1,320 กรัม ใกล้เคียงกับปืน 1911 เหล็กล้วนรางเต็ม แรงเหนี่ยวไกวัดได้ 2.5 ปอนด์ ทั้งน้ำหนักปืนและแรงเหนี่ยวไก ตลอดจนมิติตัวปืน ยาวxสูงxหนา, ความยาวลำกล้อง และระยะระหว่างศูนย์ สอดคล้องกับข้อกำหนดของ ISSF สำหรับปืนแข่งสั้นมาตรฐาน เพราะเป็นตัวต้นแบบมาแต่แรก มีจุดที่แตกต่างจากปืนแข่งสมัยใหม่คือ โรงงานไม่ทำสกรูปรับแต่งไกภายนอก ตามปรัชญาของการผลิตปืนของยุค 1950 คือให้ช่างเป็นผู้ปรับแต่งไก นักกีฬาสมัยใหม่อาจไม่ค่อยชอบ แต่ก็มีข้อดีคือปืนไม่ช้ำ ลดโอกาสปืนชำรุดพิการจากการปรับแต่งที่ผิดพลาด
โดยรวม สมิธ 41 เป็นปืนคลาสสิกน่าสะสมกระบอกหนึ่ง ความแม่นยำระดับยิงเป้าแข่งขัน และผู้ผลิตเน้นความสวยงามทนทานด้วยการใช้วัสดุเหล็กล้วน แต่งผิวอย่างดี หาได้ยากในหมู่ปืนผลิตใหม่ของทุกวันนี้ เทียบกับปืนแข่งยุคใหม่อาจจะดูโบราณ แต่จุดขายคือคุณภาพและฝีมือผลิต เป็นปืนลูกกรดที่ดีที่สุดของสมิธแอนด์เวสสัน.
https://d.dailynews.co.th/article/606633/
......................................
ดร. ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 1299 สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล41 ปืนแข่งคลาสสิก.22
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็นโมเดล 41 ผลิตใหม่ หลังจากเว้นว่างไปช่วงปี 1992– 1994 ตัวปืนยังเป็นเหล็กล้วน รมดำเงา ใช้ด้ามไม้จริงเหมือนของเดิมทุกประการ ชิ้นส่วนฟิตแน่น น้ำหนักสมดุลดี
กีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ จัดแข่งครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1896 และจัดทุกๆ สี่ปีเรื่อยมา มีเว้นด้วยความจำเป็นในช่วงสงครามโลก (1916, 1940, 1944) จำได้ง่ายว่าจัดทุกปีที่เลข ค.ศ. หารด้วยสี่ลงตัว กีฬายิงปืนได้รับการบรรจุเข้าในประเภทการแข่งขันทุกครั้งตั้งแต่แรก ยกเว้นปี 1904 และ 1928 ช่วงแรกกติกาแล้วแต่เจ้าภาพจะกำหนด จนกระทั่งมีการก่อตั้ง “สมาพันธ์กีฬายิงปืนนานาชาติ” เมื่อปี 1907 (ปัจจุบันคือ ISSF) และตั้งแต่ปี 1908 เป็นต้นมา ISSF เป็นองค์กรกำหนดกติกาและประเภทการแข่งขันยิงปืนในโอลิมปิก
ปืนยิงเป้าแข่งขันช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่โดดเด่นคือ โคลท์ วูดส์แมน ผลงานออกแบบของ จอห์น เบรานิงก์ ออกขายในปี 1915 ครองแชมป์โอลิมปิกตั้งแต่ 1920 ถึง 1932 มาเสียแชมป์ในปี 1936 ให้ วอลเธอร์ “โอลิมเปีย” ที่ออกแบบใหม่เพื่อการแข่งขันยิงเป้าโดยเฉพาะ จุดเด่นของวอลเธอร์รุ่นนี้ คือสปริงลำเลื่อนอยู่ด้านหน้าใต้ลำกล้อง ทำลำเลื่อนส่วนล่างยื่นไปเป็นตัวคุมสปริง ช่วยให้จุดศูนย์ต่ำ น้ำหนักสมดุลดีขึ้น และจุดที่รับแรงกระแทกเมื่อลำเลื่อนถอยหลังสุดมาชนโครงอยู่ต่ำกว่าง่ามมือ ลดอาการลำกล้องกระดก ยิงซ้ำได้เร็ว
สมิธ ที่กำลังต้องการปืนลูกกรดระดับยิงเป้าไว้คู่กับลูกโม่ตระกูล “มาสเตอร์พีส” นำวอลเธอร์ไปศึกษา แล้วพัฒนาโดยมุ่งให้เหนือกว่าปืนทุกแบบในตลาด จุดสำคัญคือลำกล้องหนาพิเศษ ปาดด้านข้างแบน ดูคล้ายปืน 1911, ศูนย์หน้าเป็นเนื้อเดียวกับลำกล้อง, สันลำกล้องทำยื่นมาด้านหลังรับศูนย์ปรับได้ ข้อนี้มีความสำคัญคือศูนย์จะไม่วิ่งไปมาตามลำเลื่อน ที่เหลือเป็นการปรับให้ตรงกับรสนิยมของนักยิงปืนอเมริกัน คือจัดมุมด้ามและวางตำแหน่งปุ่มปลดซองกระสุนกับห้ามไกให้เหมือนกับปืน 1911 มีที่เหมือนวอลเธอร์เดิมคือใช้โกร่งไกเป็นตัวคุมการถอดทำความสะอาดและเปลี่ยนลำกล้อง ใช้ตัวเลขเป็นชื่อรุ่นว่า โมเดล 41 เริ่มวางขายในปี 1957 หลังจากนั้นสิบปี แฮมเมอร์ลี ของสวิส จึงผลิตรุ่น 208 ที่ใช้วอลเธอร์โอลิมเปียเป็นต้นแบบเช่นเดียวกัน สมิธและแฮมเมอร์ลีคู่นี้ เป็นปืนที่ ISSF ใช้กำหนดกติกา “ปืนสั้นมาตรฐาน 25 เมตร” ในปี 1970
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็นโมเดล 41 ผลิตใหม่ หลังจากเว้นว่างไปช่วงปี 1992– 1994 ตัวปืนยังเป็นเหล็กล้วน รมดำเงา ใช้ด้ามไม้จริงเหมือนของเดิมทุกประการ ชิ้นส่วนฟิตแน่น น้ำหนักสมดุลดี ชั่งได้ 1,320 กรัม ใกล้เคียงกับปืน 1911 เหล็กล้วนรางเต็ม แรงเหนี่ยวไกวัดได้ 2.5 ปอนด์ ทั้งน้ำหนักปืนและแรงเหนี่ยวไก ตลอดจนมิติตัวปืน ยาวxสูงxหนา, ความยาวลำกล้อง และระยะระหว่างศูนย์ สอดคล้องกับข้อกำหนดของ ISSF สำหรับปืนแข่งสั้นมาตรฐาน เพราะเป็นตัวต้นแบบมาแต่แรก มีจุดที่แตกต่างจากปืนแข่งสมัยใหม่คือ โรงงานไม่ทำสกรูปรับแต่งไกภายนอก ตามปรัชญาของการผลิตปืนของยุค 1950 คือให้ช่างเป็นผู้ปรับแต่งไก นักกีฬาสมัยใหม่อาจไม่ค่อยชอบ แต่ก็มีข้อดีคือปืนไม่ช้ำ ลดโอกาสปืนชำรุดพิการจากการปรับแต่งที่ผิดพลาด
โดยรวม สมิธ 41 เป็นปืนคลาสสิกน่าสะสมกระบอกหนึ่ง ความแม่นยำระดับยิงเป้าแข่งขัน และผู้ผลิตเน้นความสวยงามทนทานด้วยการใช้วัสดุเหล็กล้วน แต่งผิวอย่างดี หาได้ยากในหมู่ปืนผลิตใหม่ของทุกวันนี้ เทียบกับปืนแข่งยุคใหม่อาจจะดูโบราณ แต่จุดขายคือคุณภาพและฝีมือผลิต เป็นปืนลูกกรดที่ดีที่สุดของสมิธแอนด์เวสสัน.
https://d.dailynews.co.th/article/606633/
......................................
ดร. ผณิศวร ชำนาญเวช