JJNY : ฮือฮา!"ทักษิณ"ปล่อยซิงเกิลแรกรอบ10ปี│หารือร่วม ขึ้นราคาปุ๋ย│ราคาอาหารโลกพุ่ง22%│ยูเครนโวย รัสเซียยึดรพ.จับคน 400

ฮือฮา! "ทักษิณ" ปล่อยเพลง "เกิดมาเป็นนักสู้" ซิงเกิลแรกรอบ 10 ปี
https://www.nationtv.tv/news/378866876
 
 
แฟนคลับชอบใจมั้ย! "ทักษิณ" ปล่อยเพลงใหม่ "เกิดมาเป็นนักสู้" ซึ่งเป็นซิงเกิลแรกรอบ 10 ปี เนื้อเพลงเป็นการต่อสู้อุปสรรค เพื่อขอตอบแทนคุณแผ่นดิน
 
สร้างความฮือฮาให้บรรดาแฟนคลับอีกครั้ง เมื่อ “พี่โทนี่” ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โชว์ผลงานเพลงซิงเกิลแรก ผ่านคลับเฮาส์ของกลุ่มแคร์ ตอน “CareTALK : มานี่…พี่จะบอก!! ประยุทธ์ทำแพง ประชาชนจะหมดแรงแล้ว แม๊!” โดยเจ้าตัวระบุว่า เป็นซิงเกิลแรกในรอบ 10 ปี
 
โดยเพลงดังกล่าวมีชื่อว่า “เกิดมาเป็นนักสู้” มีความยาว 4.33 นาที เนื้อเพลงกล่าวถึงการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เพื่อขอตอบแทนคุณแผ่นดิน ที่มีการนำรูป “ทักษิณ” ในแต่ละยุค ช่วงที่สมัยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำเป็นมิวสิคประกอบบทเพลง

ซึ่งเนื้อร้องทั้งหมดมีดังนี้
 
สายตายังจับจ้องมองที่ดวงดาว สองเท้ายังคงเดินดินเหมือนกับวันนั้น
ทุกข์และสุขหลั่งไหลผ่านชีวิตฉัน ผ่านพบเจอประสบการณ์ไม่ซ้ำใคร
ถามว่ามันเหนื่อยไหมกับที่ผ่านมา ทุกทุกก้าวมันมีราคาที่ต้องจ่ายไป
รักและเกลียด ก้อนหินกับช่อดอกไม้ สุดท้ายจะเป็นยังไงก็ช่างมัน
 
*จะต้องทำทุกอย่าง บนหนทางข้างหน้า ต้องฟันฝ่าไม่ว่าจะเจอสิ่งไหน
  
**ตราบในวันที่ฉันยังหายใจอยู่ เกิดมาเป็นนักสู้ก็สู้กันไป
ขอแทนคุณแผ่นดิน สุดความหวังและความตั้งใจ
เมื้อมีฝันก็ต้องเดินไปให้สุดทาง
  
ยุติธรรมจะหาฉันเจอบ้างไหม ฉันสู้ก็เพื่อคนไทยที่ฝากความหวัง
ถึงจะเจ็บปวดใจอยู่ในบางครั้ง ได้รับน้ำใจรายทางก็ชื่นใจ
 
(ซ้ำ *, **)
 
(ท่อนพูด) เขาเนี่ย ไม่รู้จนหรือรวยไม่รู้ แต่เขาวาง 30 บาท มาซื้อบริการสาธารณสุขจากโรงพยาบาลของคุณ ฉะนั้นคนจนหรือคนรวยคุณไม่รู้หรอก รู้ว่าเขาจ่าย 30 บาทเท่ากัน คุณก็มีหน้าที่ดูแลเขาเท่ากัน นี่คือสิ่งที่ผม นี่คือหัวใจของประชาธิปไตย
  
**ตราบใดชีวิตฉันนั้นยังคงอยู่ เกิดมาเป็นนักสู้ สู้เพื่อคนไทย
ขอแทนคุณแผ่นดิน สุดความหวังและความตั้งใจ
เมื้อมีฝันก็ต้องเดินไปให้สุดทาง
  
ฉันจะเคียงข้างเธอ มอบความหวังสร้างชีวิตใหม่ นี่คือฝันยิ่งใหญ่ของฉัน
 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 

  
เกษตรฯ - พาณิชย์ หารือร่วม ให้ขึ้นราคาปุ๋ยได้ แต่ไม่ให้แพงเกินสมควร
https://ch3plus.com/news/economy/morning/283005
 
วานนี้ (15 มี.ค. 65) นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ถึงแนวทางการดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ราคาและการนำเข้า/ส่งออก ทั้งในส่วนของปุ๋ย อาหารสัตว์ และผลไม้ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  
หลังจากจบการประชุม บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ได้บอกว่า เบื้องต้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาปุ๋ยเคมีสูงขึ้น และปริมาณไม่เพียงพอ จึงมีแนวทางต่างๆ ดังนี้
 
1. ให้ปรับราคาปุ๋ยได้ ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ให้มีการขึ้นราคาเกินสมควร
 
2. กระทรวงเกษตรฯ จะมีโครงการลดราคาปุ๋ยเคมี ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้ได้ 5 ล้านตัน (ปัจจุบันมีการผลิต 3.2 ล้านตัน) และได้แนะนำให้เกษตรใช้ปุ๋ยอย่างถูกที่และเวลา รวมถึงการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน เพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี โดยมอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลัก
 
รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/sENEDlXhLwU
  
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 

  
วิกฤต “รัสเซีย-ยูเครน” กระทบราคาอาหารโลกพุ่ง 22%
https://www.prachachat.net/world-news/news-887297

สถานการณ์สู้รบระหว่าง “รัสเซีย-ยูเครน” ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ราคา “น้ำมันดิบโลก” ที่พุ่งสูงเท่านั้น แต่ยังทำให้ราคาอาหารทั่วโลกมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 22% และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารทั่วโลก ซึ่งมีความเสี่ยงที่ผู้คนจะประสบภาวะอดอยากเพิ่มมากขึ้น
 
บลูมเบิร์กรายงานว่า องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ออกรายงานฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2022 ระบุว่า สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนกำลังส่งผลกระทบในวงกว้างต่อระบบอาหารทั่วโลก และคาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะยาวนานไปจนถึงปี 2023

การปะทะกันระหว่างสองชาติทำให้การส่งออกสินค้าอาหารและการเกษตรของทั้งสองประเทศต้องหยุดชะงักลง จากระบบการขนส่งที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ พื้นที่ทางการเกษตรของยูเครนที่ถูกทำลายหรือไม่สามารถเพาะปลูกได้ รวมถึงข้อจำกัดการส่งออกของรัสเซีย
 
“ฉู ตงหยู” ผู้อำนวยการเอฟเอโอ ระบุว่า “รัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่ยูเครนก็เป็นรายใหญ่อันดับที่ 5 ของโลก โดยทั้งสองประเทศส่งออกข้าวบาร์เลย์รวมกันคิดเป็น 19% ของการส่งออกทั่วโลก ขณะที่ข้าวสาลีคิดเป็น 14% และข้าวโพด 4% ซึ่งโดยรวมแล้วการส่งออกธัญพืชของสองชาติมีสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของการส่งออกทั่วโลก”
 
นอกจากนี้ รัสเซียและยูเครนยังเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าการเกษตรอื่น ๆ อย่างน้ำมันดอกทานตะวันและน้ำมันเรปซีด (rapeseed) รวมถึงปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตรที่รัสเซียเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ โดยมียุโรปและเอเชียกลางเป็นผู้นำเข้าหลัก
 
เอฟเอโอประเมินว่า สถานการณ์การสู้รบจะทำให้ยูเครนสูญเสียผลผลิตจากพื้นที่เพาะปลูกราว 20-30% ทั่วประเทศในปีนี้ ทั้งจากที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้หรือไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งการอพยพหนีภัยสงครามของชาวยูเครนยังทำให้ภาคเกษตรขาดแคลนแรงงานอีกด้วย
  
ขณะที่ภาคเกษตรของรัสเซียแม้ไม่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ แต่ก็ไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก เนื่องจากมาตรการแซงก์ชั่นที่หลายประเทศประกาศ ส่วนภาคเกษตรทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลมายังราคาอาหารที่ต้องปรับตัวขึ้นตาม
ทั้งนี้ การส่งออกข้าวสาลีและข้าวโพดของรัสเซียและยูเครนรวมกันคาดว่าจะลดลงถึง 25 ล้านตัน ขณะที่การส่งออกเมล็ดพืชน้ำมันลดลงราว 3 ล้านตัน ทำให้ปริมาณอาหารในตลาดโลกลดลงอย่างฉับพลัน โดยที่หลายประเทศไม่สามารถหาแหล่งอาหารทดแทนได้ในทันที และมีส่วนทำให้ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น

รายงานของเอฟเอโอระบุว่า ราคาอาหารทั่วโลก รวมถึงสินค้าทางการเกษตรและอาหารสัตว์มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นถึง 22% ในช่วงปี 2022-2023 โดยความรุนแรงของปัญหาก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สู้รบที่หากยืดเยื้อต่อไปก็จะยิ่งทำให้ช่องว่างอุปสงค์-อุปทานในตลาดอาหารโลกขยายตัวมากขึ้น ด้วยปริมาณอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
 
ฉู ตงหยู ระบุเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีประเทศยากจนในแอฟริกาเหนือ เอเชีย และตะวันออกใกล้กว่า 50 ประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าธัญพืช โดยเฉพาะข้าวสาลีจากรัสเซียและยูเครนเป็นหลัก
 
เอฟเอโอประมาณการว่า ในกรณีที่ปริมาณอาหารลดลงในระดับปานกลางจะส่งผลให้มีผู้คนประสบภาวะอดอยากราว 8 ล้านคน แต่หากสถานการณ์รุนแรงในกรณีที่เลวร้ายที่สุด อาจมีผู้คนขาดแคลนอาหารมากถึง 13.1 ล้านคนภายในปี 2023
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่