เชลซี ยังลงสนามฟาดแข้งได้ตามปกติแม้ โรมัน อบราโมวิช เจ้าของสโมสรชาวรัสเซียจะถูกรัฐบาล ยูเค ประกาศคว่ำบาตร และอายัดทรัพย์
อย่างไรก็ดี แน่นอนว่ามีเรื่องที่น่าเป็นห่วงแทน สิงห์บลูส์ ไม่น้อย
จากประกาศิตของทางการเมืองผู้ดี ทีมดังแห่งกรุงลอนดอนจึงต้องได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินกิจการต่อในฐานะสโมสรฟุตบอลซึ่งทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
และหากจะมองกันในระยะสั้น นี่คือคำถามที่แชมป์ ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก กำลังเผชิญ ณ นาทีนี้
1.ยังขายสโมสรได้มั้ย?
เชลซี ยังขายสโมสรได้ตราบที่เม็ดเงินไม่ได้ส่งประโยชน์ไปถึง อบราโมวิช หรือเข้ากระเป๋าของ รัสเซีย โดยสโมสรจะต้องเจรจากับรัฐบาล ยูเค สำหรับประเด็นนี้ในอนาคตอันใกล้
"แม้จะมีการห้าม เชลซี ขายสโมสรในระหว่างนี้ แต่รัฐบาลยังเปิดกว้างการขายสโมสร และจะพิจารณาถึงการอนุญาตการขาย" ทางการ ยูเค ระบุ
"เม็ดเงินจากการขายจะต้องไม่ตกอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ถูกคว่ำบาตร"
ทั้งนี้ ก่อนแถลงการณ์ของรัฐบาล ยูเค รายงานข่าวแจ้งว่ามีผู้สนใจซื้อ สิงห์บลูส์ มากถึง 20 เจ้าเป็นอย่างน้อย แม้จะมีเพียงไม่กี่เจ้าที่มั่งคั่งพอจะควักกระเป๋าได้ก็ตาม
แต่หลังทางการเมืองผู้ดีสั่งคว่ำบาตร เชลซี ต้องรอดูกันว่าจะเหลือมหาเศรษฐี หรือกลุ่มทุนสักกี่รายที่สนใจยื่นข้อเสนออย่างจริงจัง
2.บัตรผ่านประตู และเกมการแข่งขัน?
เชลซี ยังลงเล่นได้ตามปกติภายใต้การอนุญาตเป็นกรณีพิเศษซึ่งทำให้พนักงาน และนักเตะของพวกเขารวม 1,400 ชีวิตจะยังคงได้รับค่าจ้างเช่นเดิม
นอกจากเกม พรีเมียร์ลีก แล้ว สิงห์บลูส์ ก็สามารถลงเล่นฟุตบอลถ้วย แชมเปี้ยนส์ลีก ได้เช่นกัน หากแต่จะมีการอนุญาตเฉพาะผู้ที่ถือครองตั๋วปีของสโมสรเท่านั้นที่สามารถเข้าชมเกมนัดเหย้าที่ สแตมฟอร์ด บริดจ์ ได้เนื่องจากทีมดังแห่งกรุงลอนดอนถูกสั่งห้ามจำหน่ายบัตร
3.ยังซื้อ-ขายนักเตะได้มั้ย?
สิงห์บลูส์ ไม่ได้รับอนุญาตให้เซ็นสัญญากับนักเตะใหม่หลังมีมาตรการคว่ำบาตรจากรัฐบาล
จึงเป็นอีกครั้งที่ สิงห์บลูส์ ถูกแบนการซื้อนักเตะมาเสริมทัพเหมือนเมื่อสามปีก่อนที่พวกเขาถูก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ลงดาบข้อหาดึงนักเตะเยาวชนอายุไม่ถึงเกณฑ์มาร่วมทีม
ถึงกระนั้น แม้ เชลซี จะถูกแบนการเซ็นสัญญากับพ่อค้าแข้ง แต่พวกเขายังสามารถรับเงินหรือจ่ายเงินให้กับสโมสรอื่นๆได้สำหรับสัญญาการซื้อหรือขายนักเตะที่กระทำขึ้นก่อนมีคำสั่งประกาศคว่ำบาตรเมื่อวันที่ 10 มี.ค.
4.ต่อสัญญากับนักเตะได้มั้ย?
เชลซี ไม่สามารถต่อสัญญาฉบับใหม่กับนักเตะของทีมตัวเองที่กำลังจะหมดลงได้ไม่ว่าจะเป็น อันโตนิโอ รือดิเกอร์ , เซซาร์ อัซปิลิกวยต้า และ อันเดรียส คริสเตนเซ่น ซึ่งถือเป็นผลเสียอย่างแรง
ทั้งสามพ่อค้าแข้งกำลังจะหมดสัญญากับสโมสรหลังจบซีซั่นนี้ และมันยังรวมถึงการห้ามต่อสัญญากับสตาร์วัยรุ่นของทีมด้วยโดยเฉพาะ ซาเวียร์ ไซม่อนส์ กองกลางอิงลิชวัย 19 ปี
เท่ากับว่า เชลซี ถูกบีบให้ใช้งานเฉพาะนักเตะที่ยังมีสัญญาผูกมัดกันอยู่เท่านั้น แถมกฏข้อนี้ไม่น่าจะได้รับการยกเลิกในอนาคตอันใกล้ด้วย
5.สปอนเซอร์ล่ะ?
หลังจาก เชลซี ถูกรัฐบาลประกาศคว่ำบาตร สปอนเซอร์รายต่างๆของสโมสรก็จำเป็นต้องพิจารณาตัดสัมพันธ์กับสโมสรแห่งลอนดอนเช่นกัน
และในที่สุด "ทรี" บริษัทเทเลคอมซึ่งเป็นสปอนเซอร์คาดหน้าอกเสื้อแข่งของ สิงห์บลูส์ ก็ประกาศแขวนความสัมพันธ์กับสโมสรเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
ด้วยเหตุนี้ เชลซี จึงต้องลงเล่นโดยไม่มีสปอนเซอร์คาดหน้าอกเสื้อ อีกทั้งสังเวียนแข้งของพวกเขาก็จะไม่ปรากฏแบรนด์ของ "ทรี" ในบริเวณสนามแข่งขันเช่นกัน
นอกจาก "ทรี" ซึ่งจ่ายค่าตอบแทนให้ เชลซี ปีละ 40 ล้านปอนด์แล้ว ยังต้องรอดูกันว่า ไนกี้ ซึ่งมีสัญญากับทีมดังของ พรีเมียร์ลีก จนถึงปี 2023 จะมีปฏิกริยาอย่างไร อันรวมถึง ฮุนได และ อูโบลต์ ด้วยแม้สองรายหลังกำลังจะหมดสัญญาในซัมเมอร์นี้ก็ตาม
6.รายละเอียดอื่นๆ?
เชลซี ยังได้รับไฟเขียวให้ใช้เงินจัดเกมการฟาดแข้งที่ สแตมฟอร์ด บริดจ์ ได้ รวมถึงค่าเดินทางในการเล่นนัดเยือน
ถึงกระนั้น พวกเขาก็ถูกจำกัดเม็ดเงินสำหรับการเดินทางเอาไว้ที่ 20,000 ปอนด์เท่านั้น และน่าจะเป็นปัญหาต่อการเดินทางไปเล่นเกม แชมเปี้ยนส์ลีก ไม่น้อย
เท่านั้นไม่พอ เชลซี ยังจะต้องพิสูจน์ด้วยว่าพวกเขาจ่ายเงินเพื่อการเดินทางอย่างสมเหตุสมผล
ยิ่งไปกว่านั้น สิงห์บลูส์ ถูกห้ามรับเงินจากการขายสินค้าอีกต่างหากจึงทำให้สโมสรจำเป็นต้องปิดสโตร์ที่ สแตมฟอร์ด บริดจ์ ตามระเบียบ แต่สำหรับร้านค้าทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับสโมสรยังสามารถจำหน่ายสินค้าของทีมได้ตามปกติ ขณะที่ เชลซี ยังมีสิทธิ์รับเงินจากค่าลิขสิทธิ์ทีวีเช่นเดิม
7. การคว่ำบาตรจะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
ถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใดว่าเมื่อไหร่ เชลซี จะถูกยกเลิกการคว่ำบาตรซึ่งเป็นผลมาจากการสั่งรุกราน ยูเครน ของ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดี รัสเซีย
รายงานข่าวแจ้งว่ารัฐบาล ยูเค จะทบทวนมาตรการอีกครั้งในเดือนพ.ย.แต่ที่น่าเป็นห่วงแทน เชลซี ก็คือพวกเขาอาจถูกหักเก้าแต้มหากมีการประกาศให้สโมสรถูกควบคุมกิจการ
ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นผลมาจากรัฐบาล ยูเค ระบุว่า อบราโมวิช ซึ่งมีทรัพย์สิน 9 พันล้านปอนด์ และประกาศขาย เชลซี ในราคา 3 พันล้านปอนด์มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับผู้นำหมีขาวซึ่งสั่งโจมตี ยูเครน
จากสาเหตุดังกล่าว จึงทำให้ อบราโมวิช ถูกโจมตีว่าเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กับ รัสเซีย ต่อการปฎิบัติการทางทหารที่ถูกชาวโลกรุมแอนตี้
"ไม่มีสวรรค์สำหรับคนที่ให้การสนับสนุน ปูติน ต่อการโจมตี ยูเครน" บอริส จอห์นสัน นายกฯอังกฤษแถลง
"การคว่ำบาตรเป็นมาตรการล่าสุดที่ ยูเค นำมาใช้เพื่อสนับสนุนประชาชนชาว ยูเครน เราจะไล่ล่าอย่างไม่ปราณีต่อคนที่เข่นฆ่าพลเมือง ทำลายโรงพยาบาล และยึดครองอธิปไตยของพันธมิตรอย่างไม่ชอบด้วยกฏหมาย"
credit : www.siamsport.co.th
มัดรวมที่เดียวจบ! 7 คำถาม-คำตอบ หลังเชลซีโดนคว่ำบาตร
อย่างไรก็ดี แน่นอนว่ามีเรื่องที่น่าเป็นห่วงแทน สิงห์บลูส์ ไม่น้อย
จากประกาศิตของทางการเมืองผู้ดี ทีมดังแห่งกรุงลอนดอนจึงต้องได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินกิจการต่อในฐานะสโมสรฟุตบอลซึ่งทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
และหากจะมองกันในระยะสั้น นี่คือคำถามที่แชมป์ ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก กำลังเผชิญ ณ นาทีนี้
1.ยังขายสโมสรได้มั้ย?
เชลซี ยังขายสโมสรได้ตราบที่เม็ดเงินไม่ได้ส่งประโยชน์ไปถึง อบราโมวิช หรือเข้ากระเป๋าของ รัสเซีย โดยสโมสรจะต้องเจรจากับรัฐบาล ยูเค สำหรับประเด็นนี้ในอนาคตอันใกล้
"แม้จะมีการห้าม เชลซี ขายสโมสรในระหว่างนี้ แต่รัฐบาลยังเปิดกว้างการขายสโมสร และจะพิจารณาถึงการอนุญาตการขาย" ทางการ ยูเค ระบุ
"เม็ดเงินจากการขายจะต้องไม่ตกอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ถูกคว่ำบาตร"
ทั้งนี้ ก่อนแถลงการณ์ของรัฐบาล ยูเค รายงานข่าวแจ้งว่ามีผู้สนใจซื้อ สิงห์บลูส์ มากถึง 20 เจ้าเป็นอย่างน้อย แม้จะมีเพียงไม่กี่เจ้าที่มั่งคั่งพอจะควักกระเป๋าได้ก็ตาม
แต่หลังทางการเมืองผู้ดีสั่งคว่ำบาตร เชลซี ต้องรอดูกันว่าจะเหลือมหาเศรษฐี หรือกลุ่มทุนสักกี่รายที่สนใจยื่นข้อเสนออย่างจริงจัง
2.บัตรผ่านประตู และเกมการแข่งขัน?
เชลซี ยังลงเล่นได้ตามปกติภายใต้การอนุญาตเป็นกรณีพิเศษซึ่งทำให้พนักงาน และนักเตะของพวกเขารวม 1,400 ชีวิตจะยังคงได้รับค่าจ้างเช่นเดิม
นอกจากเกม พรีเมียร์ลีก แล้ว สิงห์บลูส์ ก็สามารถลงเล่นฟุตบอลถ้วย แชมเปี้ยนส์ลีก ได้เช่นกัน หากแต่จะมีการอนุญาตเฉพาะผู้ที่ถือครองตั๋วปีของสโมสรเท่านั้นที่สามารถเข้าชมเกมนัดเหย้าที่ สแตมฟอร์ด บริดจ์ ได้เนื่องจากทีมดังแห่งกรุงลอนดอนถูกสั่งห้ามจำหน่ายบัตร
3.ยังซื้อ-ขายนักเตะได้มั้ย?
สิงห์บลูส์ ไม่ได้รับอนุญาตให้เซ็นสัญญากับนักเตะใหม่หลังมีมาตรการคว่ำบาตรจากรัฐบาล
จึงเป็นอีกครั้งที่ สิงห์บลูส์ ถูกแบนการซื้อนักเตะมาเสริมทัพเหมือนเมื่อสามปีก่อนที่พวกเขาถูก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ลงดาบข้อหาดึงนักเตะเยาวชนอายุไม่ถึงเกณฑ์มาร่วมทีม
ถึงกระนั้น แม้ เชลซี จะถูกแบนการเซ็นสัญญากับพ่อค้าแข้ง แต่พวกเขายังสามารถรับเงินหรือจ่ายเงินให้กับสโมสรอื่นๆได้สำหรับสัญญาการซื้อหรือขายนักเตะที่กระทำขึ้นก่อนมีคำสั่งประกาศคว่ำบาตรเมื่อวันที่ 10 มี.ค.
4.ต่อสัญญากับนักเตะได้มั้ย?
เชลซี ไม่สามารถต่อสัญญาฉบับใหม่กับนักเตะของทีมตัวเองที่กำลังจะหมดลงได้ไม่ว่าจะเป็น อันโตนิโอ รือดิเกอร์ , เซซาร์ อัซปิลิกวยต้า และ อันเดรียส คริสเตนเซ่น ซึ่งถือเป็นผลเสียอย่างแรง
ทั้งสามพ่อค้าแข้งกำลังจะหมดสัญญากับสโมสรหลังจบซีซั่นนี้ และมันยังรวมถึงการห้ามต่อสัญญากับสตาร์วัยรุ่นของทีมด้วยโดยเฉพาะ ซาเวียร์ ไซม่อนส์ กองกลางอิงลิชวัย 19 ปี
เท่ากับว่า เชลซี ถูกบีบให้ใช้งานเฉพาะนักเตะที่ยังมีสัญญาผูกมัดกันอยู่เท่านั้น แถมกฏข้อนี้ไม่น่าจะได้รับการยกเลิกในอนาคตอันใกล้ด้วย
5.สปอนเซอร์ล่ะ?
หลังจาก เชลซี ถูกรัฐบาลประกาศคว่ำบาตร สปอนเซอร์รายต่างๆของสโมสรก็จำเป็นต้องพิจารณาตัดสัมพันธ์กับสโมสรแห่งลอนดอนเช่นกัน
และในที่สุด "ทรี" บริษัทเทเลคอมซึ่งเป็นสปอนเซอร์คาดหน้าอกเสื้อแข่งของ สิงห์บลูส์ ก็ประกาศแขวนความสัมพันธ์กับสโมสรเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
ด้วยเหตุนี้ เชลซี จึงต้องลงเล่นโดยไม่มีสปอนเซอร์คาดหน้าอกเสื้อ อีกทั้งสังเวียนแข้งของพวกเขาก็จะไม่ปรากฏแบรนด์ของ "ทรี" ในบริเวณสนามแข่งขันเช่นกัน
นอกจาก "ทรี" ซึ่งจ่ายค่าตอบแทนให้ เชลซี ปีละ 40 ล้านปอนด์แล้ว ยังต้องรอดูกันว่า ไนกี้ ซึ่งมีสัญญากับทีมดังของ พรีเมียร์ลีก จนถึงปี 2023 จะมีปฏิกริยาอย่างไร อันรวมถึง ฮุนได และ อูโบลต์ ด้วยแม้สองรายหลังกำลังจะหมดสัญญาในซัมเมอร์นี้ก็ตาม
6.รายละเอียดอื่นๆ?
เชลซี ยังได้รับไฟเขียวให้ใช้เงินจัดเกมการฟาดแข้งที่ สแตมฟอร์ด บริดจ์ ได้ รวมถึงค่าเดินทางในการเล่นนัดเยือน
ถึงกระนั้น พวกเขาก็ถูกจำกัดเม็ดเงินสำหรับการเดินทางเอาไว้ที่ 20,000 ปอนด์เท่านั้น และน่าจะเป็นปัญหาต่อการเดินทางไปเล่นเกม แชมเปี้ยนส์ลีก ไม่น้อย
เท่านั้นไม่พอ เชลซี ยังจะต้องพิสูจน์ด้วยว่าพวกเขาจ่ายเงินเพื่อการเดินทางอย่างสมเหตุสมผล
ยิ่งไปกว่านั้น สิงห์บลูส์ ถูกห้ามรับเงินจากการขายสินค้าอีกต่างหากจึงทำให้สโมสรจำเป็นต้องปิดสโตร์ที่ สแตมฟอร์ด บริดจ์ ตามระเบียบ แต่สำหรับร้านค้าทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับสโมสรยังสามารถจำหน่ายสินค้าของทีมได้ตามปกติ ขณะที่ เชลซี ยังมีสิทธิ์รับเงินจากค่าลิขสิทธิ์ทีวีเช่นเดิม
7. การคว่ำบาตรจะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
ถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใดว่าเมื่อไหร่ เชลซี จะถูกยกเลิกการคว่ำบาตรซึ่งเป็นผลมาจากการสั่งรุกราน ยูเครน ของ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดี รัสเซีย
รายงานข่าวแจ้งว่ารัฐบาล ยูเค จะทบทวนมาตรการอีกครั้งในเดือนพ.ย.แต่ที่น่าเป็นห่วงแทน เชลซี ก็คือพวกเขาอาจถูกหักเก้าแต้มหากมีการประกาศให้สโมสรถูกควบคุมกิจการ
ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นผลมาจากรัฐบาล ยูเค ระบุว่า อบราโมวิช ซึ่งมีทรัพย์สิน 9 พันล้านปอนด์ และประกาศขาย เชลซี ในราคา 3 พันล้านปอนด์มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับผู้นำหมีขาวซึ่งสั่งโจมตี ยูเครน
จากสาเหตุดังกล่าว จึงทำให้ อบราโมวิช ถูกโจมตีว่าเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กับ รัสเซีย ต่อการปฎิบัติการทางทหารที่ถูกชาวโลกรุมแอนตี้
"ไม่มีสวรรค์สำหรับคนที่ให้การสนับสนุน ปูติน ต่อการโจมตี ยูเครน" บอริส จอห์นสัน นายกฯอังกฤษแถลง
"การคว่ำบาตรเป็นมาตรการล่าสุดที่ ยูเค นำมาใช้เพื่อสนับสนุนประชาชนชาว ยูเครน เราจะไล่ล่าอย่างไม่ปราณีต่อคนที่เข่นฆ่าพลเมือง ทำลายโรงพยาบาล และยึดครองอธิปไตยของพันธมิตรอย่างไม่ชอบด้วยกฏหมาย"
credit : www.siamsport.co.th