เรื่องเล่าพระไตรปิกฎก...ตอนที่-7 :.. สรุปจบ...

กระทู้คำถาม
พระไตรปิฎกภาษาจีนที่แปลจากภาษาบาลีหรือพระไตรปิฎกบาลีที่แปลเป็นภาษาจีน
นอกจากพระไตรปิฎกภาษาจีนที่แปลมาจากสันสกฤตและภาษาในเอเชียกลางแล้ว ยังมี
การแปลพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีสู่ภาษาจีน โดยพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็ นที่รู้จัก
ในประเทศญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 19 เนื่องจากนักวิชาการชาวญี่ปุ่นได้ไปศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้
ในประเทศตะวันตกทำให้ได้รู้จักพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันฉบับสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษหรือ
มีชื่อย่อว่า ฉบับ PTS (Pāli Text Society) ซึ่งต่อมาได้มีการแปลพระไตรปิฎกบาลีฉบับนี้มาเป็น
ภาษาญี่ปุ่นที่มีชื่อเรียกว่า พระไตรปิฎกสายใต้หรือนันเดนไดโซเคียว (南傳大藏經) 

จำนวน 70 เล่ม จัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1935-1941 โดยสมาคมรำลึกการทำงานของศาสตราจารย์ทากากูซุจุนจิโร
(高楠順次郎博士功績紀念會) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของคณะลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ทากากูซุ
แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ด้วยความตั้งใจที่จะท าความปรารถนาของอาจารย์ที่จะแปลพระไตรปิฎกบาลี
เป็นภาษาญี่ปุ่นให้สำเร็จ โดยมีคณะทำงานแปลรวม 50 ท่าน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพื่อนของศาสตราจารย์ทากากูซุ 
และลูกศิษย์ที่ศึกษาบาลีกับท่าน

ต่อมาพระไตรปิฎกบาลีเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่พระภิกษุสงฆ์และนักวิชาการชาวไต้หวันและจีนจึงทำให้ได้มี
แนวความคิดการแปลพระไตรปิฎกบาลีเป็นภาษาจีนทั้งในจีนและไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ดำเนินการจัดทำ
ทั้งสิ้น 4 ฉบับ 

พระไตรปิฎกสายใต้แปลจีนฉบบัหยวนเฮิง 元亨寺版《汉译·南传大藏经》
ในปีค.ศ.1990-1998 คณะกรรมการวัดหยวนเฮิง เขตเกาสง แห่งไต้หวัน ได้จัดตั้ง
คณะกรรมการแปลและเรียบเรียงจัดทำพระไตรปิฎกสายใต้เป็นภาษาจีนวัดหยวนเฮิง (元亨寺汉译
南传大藏经编译委员会编) โดยแปลเป็นภาษาจีนตัวอักษรแบบเต็ม และเป็นสำนวนจีนโบราณ
จ านวนทั้งสิ้น 70 เล่ม จ านวนอักษรกว่า 14 ล้านตัวอักษร เนื้อหาประกอบด้วยพระสุตตันตปิฎก
พระวินัยปิฎก พระอภิธรรมปิฎก และคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น มิลินทปัญหา 
ทีปวังสะ มหาวังสะ วิสุทธิมรรค เป็นต้น29 โดยได้แปลจากฉบับภาษาญี่ปุ่นซึ่งไม่ได้แปลจากภาษาบาลี
โดยตรง เนื่องจากนักวิชาการในไต้หวันในยุคนั้นยังมีผู้ความรู้ทางด้านภาษาบาลีจ านวนจ ากัด ต่อมา
นักวิชาการไต้หวันและจีนที่ศึกษาภาษาโบราณในประเทศตะวันตกมีมากขึ้น ท าให้มีผู้มีความรู้
ภาษาบาลีในไต้หวันและจีนเพิ่มมากขึ้น จึงได้เริ่มจัดท าการแปลพระไตรปิฎกบาลีเป็นจีนโดยตรง
มากขึ้นในปัจจุบัน

พระไตรปิฎกบาลีฉบบั PKU-DCI (北大-法胜 巴利佛典) (PKU-DCI Pali Series)
ในปี ค.ศ. 2009 อัครศาสตราจารย์ต้วนฉิง (北京大学博雅讲席教授段晴教授) จาก
มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็ นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านปรมาจารย์จี้เซี่ยนหลิน (季羡林先生)
ที่ปรารถนาจะแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็ นภาษาจีน ด้วยทราบว่าฉบับหยวนเฮิงยังคงมี
ข้อบกพร่องอยู่ จึงเป็นที่มาของการถือก าเนิดขึ้นของโครงการแปลพระไตรปิฎกบาลีเป็นจีนระหว่าง
มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (PKU) กับสถาบัน DCI วัดพระธรรมกาย โดยมีอัครศาสตราจารย์ต้วนฉิงหัวหน้า
ศูนย์วิจัยใบลานและคัมภีร์พระพุทธศาสนาบาลีสันสกฤต มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นประธานคณะท างาน
ฝ่ายจีนและมีพระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑฺโฒ) ผู้อ านวยการสถาบัน DCI เป็นประธาน
คณะท างานฝ่ายไทยด้วยความทุ่มเทในการแปลของคณะมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และความละเอียดในการตรวจทาน
ความถูกต้องและการให้ค าแนะน าของคณะฝ่ ายไทย ซึ่งคณะฝ่ ายไทยมีพระมหาเปรียญธรรม 9
ประโยค หลายรูปเป็นคณะผู้ร่วมตรวจทาน ในตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี จึงท าให้พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกายแปลจีน 34 พระสูตรได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในลักษณะเล่มใหญ่เล่มเดียว ในปี ค.ศ. 2012 หรือ
พ.ศ. 2555 โดยส านักพิมพ์จงซีซูจุ๋ยหรือส านักพิมพ์จีนตะวันตก ในขณะที่พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกายแปลจีน จ านวน 152 พระสูตรได้ตีพิมพ์ในลักษณะเล่มใหญ่เล่มเดียวเช่นกัน
ในปี ค.ศ. 2021 หรือ พ.ศ. 2564 ซึ่งพระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายนอกจากจะได้รับการตีพิมพ์
เป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้อ่านชาวจีนแล้ว ยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศ
กลุ่มคัมภีร์โบราณและรางวัลรองชนะเลิศหนังสือขายดีอันดับสองในงานนิทรรศการอีกด้วย
ลักษณะเฉพาะของพระไตรปิฎกแปลฉบับ PKU-DCI ที่มีความโดดเด่นกว่าฉบับอื่น ๆ มีดังนี้
1) เป็นการแปลจากภาษาบาลีโดยตรง ไม่ผ่านภาษาอื่น
2) แปลโดยทีมอาจารย์และนิสิตของมหาวิทยาลัยชั้นน าในด้านการเรียนการสอนภาษาบาลี
ของจีน
3) ผ่านการตรวจทานความถูกต้องจากพระเปรียญธรรมประโยค 9 ที่มีความเชี่ยวชาญ
ในภาษาบาลีมาก ซึ่งถือเป็นการท างานประสานระหว่างนักวิชาการสูงสุดทางโลกกับ
นักวิชาการสูงสุดทางธรรม นอกจากนี้ในการตรวจทานยังได้ศึกษาการแปลจาก
ฉบับแปลภาษาอื่นประกอบด้วย เช่น ฉบับแปลภาษาไทย อังกฤษและญี่ปุ่น
4) ผลงานการแปลที่ออกมาสามารถถ่ายทอดความหมายดั้งเดิมของภาษาบาลีไว้ได้ดี อีกทั้ง
ยังใช้ภาษาจีนที่เป็ นปัจจุบันที่เข้าใจง่าย ท าให้ไม่เป็ นอุปสรรคต่อการอ่านและ
การท าความเข้าใจของผู้อ่าน
5) รูปแบบของหนังสือเป็นงานวิชาการที่มีการอธิบายอ้างอิงและสืบค้นจากแหล่งข้อมูลอื่น
เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น และค าส าคัญที่สามารถสืบย้อนได้ถึงภาษาบาลี
ต้นฉบับ อีกทั้งยังมีการเทียบเคียงกับค าแปลแบบจีนโบราณ ดังนั้นงานแปล
ฉบับ PKU-DCI นี้จึงถือได้ว่ามีประโยชน์ต่อการศึกษาทางด้านวิชาการอย่างยิ่ง
6) ใช้ต้นฉบับภาษาบาลีฉบับสมาคมบาลีปกรณ์ร่วมกับฉบับโครงการพระไตรปิฎกวิชาการ
ที่มีการตรวจช าระเทียบกับใบลานฉบับอื่น ซึ่งเป็นผลให้สามารถรักษาและถ่ายทอด
ความหมายดั้งเดิมของพุทธวจนะได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งยวด

ชุดคัมภีร์พ์ทธบาลีหรือพระไตรปิฎกบาลีฉบบัวิทยาลยัสงฆ์หางโจว (巴利佛典译丛)
นอกจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งที่ได้ท าการแปลพระไตรปิฎกบาลีแล้ว ยังมีคณะพระภิกษุสงฆ์
จากวิทยาลัยสงฆ์หางโจว ในมณฑลเจ้อเจียง โดยพระธรรมาจารย์ฮุ่ยอิน (慧音法师) ได้แปลจาก
ต้นฉบับบาลีฉบับฉัฎฐสังคีติหรือฉัฎฐสังคายนาของพม่าเป็นภาษาจีนปัจจุบันด้วยจีนอักษรย่อ และ
ตรวจทานโดยพระธรรมจารย์ฮุ่ยกวัน วัดหลิงอิ่น (灵隐寺) เป็นผู้ตรวจทานด้วยการเทียบเคียงกับ
ฉบับแปลญี่ปุ่นของศาสตราจารย์เกียรติคุณ จากมหาวิทยาลัยโคโมซาวะ (驹译大学, 荣休教授)
และฉบับแปลญี่ปุ่นของอาจารย์คาตายามะ อิจิโร (片山一良先生) เจ้าอาวาสคางากูจิ นิกายโซโต
เซนหรือนิกายเฉาตงฌาน 曹洞宗花宾寺 จากนั้นได้ให้คณะพระภิกษุผู้ร่วมจัดท า ได้ตรวจส านวน
ภาษา โดยการจัดพิมพ์ของพระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายแปลจีน 34 พระสูตร แบ่งเป็น 3 เล่ม ฉบับแรก
ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2015 ส านักพิมพ์จ้งเจี้ยวเหวินฮว่า หรือส านักพิมพ์ศาสนาและวัฒนธรรม ในขณะท
พระสุตตันตปิฎกมัชฌิมนิกายแปลจีนได้แบ่งพิมพ์เป็น 3 เล่มเช่นกัน โดยเล่มละ 50 พระสูตร ยกเว้น
เล่มสุดท้าย 52 พระสูตร โดยเล่มแรกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2017 ณ ปัจจุบันตีพิมพ์มาเพียง 2 เล่มแรก
ซึ่งในเล่มนี้พระธรรมาจารย์ฮุ่ยกวันได้ร่วมเป็นผู้แปลด้วย และตรวจทานจากฉบับแปลภาษาญี่ปุ่ น
ด้วยกันกับพระธรรมาจารย์ฮุ่ยอิน

ฉบบัอิเลก็ทรอนิกสข์ องจวงชุนเจียงหรือฉบบัคมัภีรจ์ ตนุ ิกายแปลจีน (汉译四部)
ปัจจุบันนักวิชาการชาวไต้หวันที่มีนามว่า Zhuang Chun Jiang (庄春江) ได้ท าการแปล
พระไตรปิฎกบาลีเป็นจีนตัวเต็มลงบนเว็บไซด์https://agama.buddhason.org/ ในหัวข้อที่ว่า แปลจีน
4 คัมภีร์นิกาย จากการท าความศึกษาเข้าใจพระบาลีด้วยตนเอง (汉译四部, 简易巴利经文解读自
学) ปัจจุบันมีผลงานแปลทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย และอังคุตตรนิกาย30 โดยจวงชุนเจียงได้
ให้ค าอธิบายเพิ่มเติมในงานแปลของเขาถึงส่วนที่เทียบเคียงกับอาคมะได้เพื่อช่วยในการแปลของเขา
แต่เขายอมรับว่าการศึกษาคัมภีร์อาคมะนั้น บางทีค าแปลจีนโบราณในคัมภีร์อาคมะก็ยากมาก และ
เป็นการแปลมาจากภาษาอินเดียอีกที การแปลภาษาบาลีท าให้เขาเข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าสื่อมากขึ้น
นอกจากนี้จวงชุนเจียงได้อาศัยฉบับแปลภาษาอื่นเข้ามาช่วยในงานแปลของเขาอีกด้วย

สรุป
พระไตรปิฎกภาษาจีนมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และผ่านความทุ่มเทของผู้คนที่มี
จิตศรัทธาจำนวนมาก นับตั้งแต่พระภิกษุชาวต่างชาติผู้ที่เรียนรู้ท่องจำอุทิศตนเดินทางจาก
บ้านเกิดเมืองนอนสู่ประเทศจีน และได้แปลสิ่งที่ท่องมาเป็นภาษาจีนร่วมกับชาวท้องถิ่น เมื่อพำนัก
ที่จีนเป็นเวลานาน มีความสามารถทางภาษาจีนจึงแปลด้วยตัวท่านเอง หรือพระภิกษุชาวจีนที่เดินทาง
รอนแรมข้ามทะเลทรายไปอินเดียเพื่อนำพระคัมภีร์กลับมาในหลายยุคหลายสมัย อุทิศชีวิตแม้ไม่รู้ว่า
จะเอาชีวิตกลับมาถึงแผ่นดินจีนได้หรือไม่ เมื่อกลับมาก็ยังคงทำงานอย่างทุ่มเทในการแปลพระสูตร
เหล่านั้น ตลอดจนขั้นตอนการแปลยังต้องอาศัยผู้คนและกำลังทรัพย์อีกมากมาย และเมื่อแปลเสร็จ
ผู้มีจิตศรัทธาและมีความรู้ทั้งหลายได้ทุ่มเทกันในการคัดลอกพระสูตรเพื่อเผยแผ่ไปในวงกว้าง เมื่อมี
วิวัฒนาการการพิมพ์ในราชวงศ์ซ่งจึงมีการแกะสลักแผ่นแท่นพิมพ์ไม้ ซึ่งการแกะสลักเหล่านี้ต้องอาศัย
ฝีมือและความอดทน กล่าวคือต้องแกะสลักกลับด้านและหากแกะสลักผิดแม้ตัวเดียวก็ต้องแกะใหม่ 
ทั้งแผ่น ความทุ่มเทเหล่านี้ไม่ได้ทำเพียงแค่หลักร้อยแผ่น แต่จัดทำกันเป็นหลักหมื่นแผ่น ใช้เวลา
ที่ทุ่มเทในการทำงานหลายสิบปี บางฉบับใช้เวลาเกือบครึ่งชีวิต เมื่อทำเสร็จแล้วในสถานการณ์
ที่เสี่ยงต่อภัยบ้านเมือง สงคราม และอัคคีภัย ซึ่งยังต้องมีผู้คนอีกจำนวนมากที่พยายามรักษา
ธรรมรัตนะนี้ไว้ด้วยชีวิต จึงทำให้พระไตรปิฎกดังกล่าวยังคงหลงเหลือสืบทอดมาจนปัจจุบัน
ยิ่งระยะเวลาและความทุ่มเทในการทำพระไตรปิฎกมากเพียงใด การอ่านพระไตรปิฎกเหล่านี้ได้หมด
หรือเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็ยิ่งไม่ได้ง่ายไปกว่ากันเลย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การทำความเข้าใจ
การสนับสนุนการพิมพ์เผยแพร่ การเทศนาสั่งสอน ล้วนเป็นบุญมหาศาลที่จะรักษาและยืดอายุ
พระพุทธศาสนานี้ไว้ให้กับคนรุ่นหลังสืบไป ผู้เขียนจึงขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้อ่านที่อ่านเรื่องเล่า
พระไตรปิฎกแปลจีนมาจนจบบรรทัดสุดท้ายนี้ด้วย

วิไลพร สุจริตธรรมกุล
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจ าภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

===== the end =====
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่