เรื่องเล่าพระไตรปิกฎก...ตอนที่-4 :...มหาปิฎกภาษาจีนฉบับพิมพฉบับสำคัญ...

กระทู้คำถาม
พระไตรปิฎกภาษาจีนฉบับพิมพ์มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่าพันปี 
ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานกว่าประวัติศาสตร์ชาติไทย 
และมีความเก่าแก่กว่าพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ใด ๆ ในโลก

เนื่องจากจีนเป็นชาติแรกที่พัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ และด้วยระยะเวลาที่ยาวนานเช่นนี้
จึงมีประวัติศาสตร์การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาจีนหรือพระมหาปิฎกหลายครั้ง 
(พระไตรปิฎกภาษาจีนต่อไปจะเรียกว่าพระมหาปิฎก) ท าให้มีจ านวนฉบับของพระไตรปิฎก
ภาษาจีนเป็นจ านวนมากนับตั้งแต่ราชวงศ์ซ่งที่เริ่มมีการพิมพ์มาหลายฉบับราว 50 ฉบับ 
แต่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันไม่ถึง 20 ฉบับ ซึ่งจะขอแนะน าเฉพาะฉบับที่ส าคัญ ๆ ดังนี้

👉👉พระมหาปิฎกฉบบัพิมพ์ในราชวงศ์ซ่ง👈👈

- พระมหาปิฎกฉบับไคเป่ า (开宝藏 ค.ศ. 971-1071) เป็นปฐมพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์
ที่เก่าแก่ที่สุดของพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน 👈👈👈👈👈👈👈👈👈👈👈👈
มหาปิฎกฉบับไคเป่ าจัดท าในสมัยราชวงศ์ซ่งมีคัมภีร์ 1,076 คัมภีร์ 5,048 ผูก พิมพ์มาจากแท่นพิมพ์ไม้
ที่ใช้เวลาในการแกะสลักรวม 12 ปี (ซึ่งได้กล่าวรายละเอียดแล้วในหัวข้อก่อนหน้านี้) แต่ละแผ่นมีจ านวน 
23 บรรทัดนับจากซ้ายไปขวา แต่ละบรรทัดมี 14 ตัวอักษร เมื่อพิมพ์แล้วต่อกระดาษยาวเป็นม้วนหรือ
มีลักษณนามว่าผูก   ปัจจุบันหลงเหลือไม่ถึง 10 ผูก โดยเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติปักกิ่ง 
หอสมุดเซี่ยงไฮ้ ซานซี และพิพิธภัณฑ์และวัดในญี่ปุ่นวัดนันเซน (南禅寺)

- พระมหาปิฎกฉบับฉี้ตาน (契丹藏 ค.ศ. 1031-1054) หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพระมหาปิฎกฉบับเหลียว 
เป็นชุดมหาปิฎกที่อาศัยพระมหาปิฎกไคเป่าเป็นพื้นฐานและเพิ่มเนื้อหามากขึ้นพิมพ์มาจากแท่นพิมพ์ไม้
ที่ใช้เวลาในการแกะสลักรวม 30 ปี     แต่ละแผ่นมีจ านวน 24 บรรทัดแต่ละบรรทัดมี 15-18 ตัวอักษร 
มีจ านวน 5,790 ผูก พระมหาปิฎกฉบับนี้พิมพ์โดยพระราชโองการกษัตริย์ราชวงศ์เหลียวที่ปกครองดินแดน
ของมณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน และในปี ค.ศ. 1063 ได้ส่งฉบับดังกล่าวให้แก่เกาหลี โดยได้พบชิ้นส่วน
บางส่วนของฉบับพิมพ์นี้ในปี ค .ศ. 1974ณ มณฑลซานซี วัดฝอกง (佛宫寺) จากการศึกษาชิ้นส่วนท าให้
ทราบว่าพระมหาปิฎกข้างต้นมีการแกะสลักและจัดพิมพ์ ณ วัดหรูหงฝ่า (如弘法寺) ในกรุงปักกิ่ง

- พระมหาปิฎกฉบับจินจ้าวเฉิง (赵城金藏 ค.ศ.1149-1178) เป็นฉบับที่คัดลอกจากฉบับไคเป่า 
โดยจัดท าในราชวงศ์จิน รัชศกต้าติ้ง (大定) ของจักรพรรดิจินซื่อจง (金世宗)
จัดท าโดยสามเณรีนามว่าชุยฝ่ าเจิน (崔法珍)  การแกะสลักแท่นพิมพ์ได้รับการสนับสนุนจากศรัทธา
ของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ พระมหาปิฎกฉบับนี้มีจ านวน 6,980 ผูก พิมพ์จากแท่นพิมพ์ไม้แกะสลัก
จ านวน 168,113 แผ่น ซึ่งใช้เวลาแกะสลักทั้งสิ้นราว 30 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1149-1173 และในปี ค.ศ. 1178 
ได้น าฉบับพิมพ์ส่งมอบไปยังกรุงปักกิ่ง โดยจักรพรรดิจินซื่อจงได้เห็นความส าคัญและน าต้นฉบับนี้
ให้แก่วัดเซิ่งอัน (聖安寺) ทางวัดจึงจัดพิธีอุปสมบทให้สามเณรีชุยฝ่ าเจินรับศีลภิกษุณี 
และบริจาคเงิน 5 ล้านในการขนส่งแผ่นไม้พิมพ์ทั้งหมดมายังวัดเซิ่งอันเพื่อท าการพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1933 
ต้นฉบับที่หลงเหลืออยู่ถูกค้นพบที่วัดกว่างเซิง (广胜寺) เขตจ้าวเฉิงมณฑลซานสี 
ด้วยเหตุนี้จึงเรียกพระมหาปิฎกฉบับนี้ในนามว่าฉบับจ้าวเฉิง ปัจจุบันถูกเก็บรักษาที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปักกิ่ง
 จ านวน 4,183 ผูก และเก็บไว้ที่วัดกว่างเซิ่ง 152 ผูก หอสมุดเซี่ยงไฮ้7 ผูก หอสมุดหนานจิง 6 ผูก 
และที่หอสมุดต่าง ๆ รวม 4,330 ผูก ในปี ค.ศ. 2016 เมืองหลินเฟินมณฑลซานซี มีแผน 5 ปี 
ในการคัดลอกพระมหาปิฎกฉบับจินจ้าวเฉิงจากหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งแต่ละผูกจะทำการคัดลอกเป็นจ านวน 3 ชุด
โดยในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2017 ได้น า 100 ผูกแรกส่งคืนวัดกว่างเซิ่งเรียบร้อยแล้ว

- พระมหาปิฎกจากเมืองฝูโจว 2 ฉบับ ได้แก่ พระมหาปิฎกฉบับฉงหนิงว่านโซ่ว
และพระมหาปิฎกฉบับผีหลู หรือฉบับไวโรจนะ 
ซึ่งถือเป็นพระมหาปิฎกทางฝั่งตอนใต้ของจีน มีลักษณะคล้ายกันแต่แผ่นไม้แม่พิมพ์ของฉบับไวโรจนะมีมากกว่า 
พระมหาปิฎกฉบับฉงหนิงว่านโซ่ว (崇宁万寿大藏) (ค.ศ. 1080-1104) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าซ่งเสินจง 
(宋神宗) ราชวงศ์ซ่งเหนือ จัดทำ ณ. วัดตงฉาน เมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้น (福建福州東禪寺)
รวมจ านวน 1,440 คัมภีร์ 6,108 ผูกใช้เวลาในการแกะสลักรวม 24 ปี ในแผ่นไม้ 1 แผ่นมี 30 บรรทัด 
แต่ละบรรทัดมี 17 ตัวอักษร โดยเมื่อพิมพ์เป็นแผ่นแล้วสามารถพับได้ 5 ส่วน ส่วนละ 6 บรรทัด 
มีลักษณะการเข้าเล่มแบบพับเล่มคล้ายสมุดไทย ถือเป็นฉบับแรกที่เปลี่ยนจากรูปแบบม้วนมาเป็นรูปแบบพับ 
ซึ่งต่อมาในภายหลังการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกได้ใช้รูปแบบพับนี้เรื่อยมา ส าหรับพระมหาปิฎกฉบับผีหลู 
หรือฉบับไวโรจนะ(毗卢藏) (1112-1176) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าซ่งฮุยจง (宋徽宗) ณ วัดไคหยวน (开元寺) 
เมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน โดยมีเจ้าภาพสนับสนุนการแกะสลักและจัดพิมพ์ มีจ านวน 1,451 คัมภีร์ 6,132 ผูก

- พระมหาปิฎกจากเมืองหูโจว 3 ฉบับ ได้แก่ พระไตรมหาฉบับหยวนเจวี๋ย ฉบับจือฝูฉบับฉี้ซา 
ทั้ง 3 ฉบับ ล้วนเป็นการจัดพิมพ์ด้วยการร่วมบริจาคจากจิตศรัทธามหาชนโดยมีวัดเป็นผู้จัดท า และใช้ชื่อวัด
เป็นชื่อเรียกฉบับของพระมหาปิฎก ใน 2 ฉบับแรกมีเนื้อหาเหมือนกันโดยพระมหาปิฏกฉบับซือชีหยวนเจวี๋ย 
(思溪圆觉藏 ค.ศ. 1132) หรือเรียกชื่อย่อว่าฉบับหยวนเจวี๋ย(圆觉藏) หรือฉบับเฉียนซือชี หรือซือชียุคก่อน (前思溪藏) 
สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าซ่งกาวจง(宋高宗) โดยพุทธบริษัทชาวหูโจว และวัดหยวนเจวี๋ย มณฑลเจ้อเจียงร่วมจัดท า 
(湖州思溪(浙江吳興)圓覺禪院) มีจ านวน 1,435 คัมภีร์5,480 ผูก ซึ่งฉบับสมบูรณ์ยังเก็บรักษาไว้ที่โตเกียว
วัดโซโจจิ (东京增上寺)  ต่อมาไม่นานได้จัดท าพระไตรมหาฉบับจือฝู(資福藏 ค.ศ. 1175) หรือ
ฉบับโห้วซือชีหรือซือชียุคหลัง (后思溪藏) โดยอาศัยฉบับหยวนเจวี๋ยเป็นแม่แบบในการแกะสลัก
จัดท าที่วัดธรรมรัตนจือฝู เมืองหูโจว (安吉州法寶資福寺 (浙江吳興)) มีจ านวนทั้งหมด 5,940 ผูก
รวม 1,459 คัมภีร์ ปัจจุบันคงเหลือบางส่วนเท่านั้น

- พระมหาปิฎกฉบับฉี้ซา (碛砂藏 ค.ศ. 1229-1322)
ท าการแกะสลักและพิมพ์ที่วัดฉี้ซาเอี๋ยนเซิ่ง ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อวัดฉี้ซาฌาน (碛砂禅寺) ปัจจุบันคือ ซูโจว 
มณฑลเจียงซู(平江府 (今苏州) 碛砂延圣寺) ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เนื่องจากเกิดไฟไหม้และ
อยู่ในช่วงเปลี่ยนราชวงศ์ท าให้การแกะสลักหยุดชะงักไป 30 ปี จนมาแล้วเสร็จในสมัยราชวงศ์หยวน
โดยความช่วยเหลือของพระภิกษุนิกายวัชรยานจากอาณาจักรซีเซี่ย พระมหาปิฎกฉบับนี้มีลักษณะพิเศษ 
คือ มีการแทรกภาพประกอบซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพศิลปะช่างทิเบตและเนปาลเอาไว้ด้วย  มีจ านวน 1,532 
คัมภีร์ 6,362 ผูก ต่อมาในปี ค.ศ.1931 มีการค้นพบฉบับนี้ที่วัดไคหยวน (开元寺) ฝูโจว และวัดว่อหลง (卧龙寺)
 ในนครซีอาน ซึ่งปัจจุบันย้ายไปเก็บรักษาที่หอสมุดซานซี นอกจากนี้ยังค้นพบที่ประเทศญี่ปุ่ น ที่วัดนาราไซไดจิ 
(奈良西大寺) ซึ่งเก็บรักษาไว้กว่า 600 ผูก และที่โอซาก้าอีก 4,888 ผูก (大阪 “杏雨书屋”) อีกด้วย

👉👉พระมหาปิฎกฉบบัพิมพใ์นเกาหลียคุ ราชวงศซ์ ่ง👈👈

- พระมหาปิฎกฉบับเกาหลีพิมพ์ครั้งแรก (高丽大藏初雕本 ค.ศ. 1011-1047-1082)
จัดท าขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์เสี่ยนจง (显宗, ค.ศ. 1010-1031) และส าเร็จในรัชสมัยของเหวินจง
(文宗, ค.ศ. 1047-1082) โดยคัดลอกท าซ ้าจากพระมหาปิฎกฉบับไคเป่าจ านวน 2,700 ผูก ใช้เวลา
ในการแกะสลักรวมกว่า 40 ปี มีแผ่นไม้แท่นพิมพ์ประมาณ 80,000 แผ่น แต่ได้โดนท าลายไปตอนที่
กองทัพมองโกลบุกเข้ามาในราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1232 ท าให้เหลือเพียง 1 ใน 3 ของทั้งหมด
ปัจจุบันถูกเก็บไว้ที่วัดฮินซา (海印寺) ประเทศเกาหลี ต่อมาในปี ค.ศ. 2013 ได้รับการจัดพิมพ์ใหม่
ในรูปแบบหนังสือ มีทั้งสิ้น 81 เล่ม

- พระมหาปิฎกฉบับเกาหลีพิมพ์ครั้งหลัง (高丽大藏再雕本 ค.ศ. 1237-1249) หรือ
มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า พระมหาปิฎกแปดหมื่น 
โดยในรัชสมัยของกษัตริย์เกาจงเกาหลี (高麗高宗ค.ศ.1192-1259) ปรารถนาให้บุญการท าพระไตรปิฎกนี้ส่งผล
ให้กองก าลังของมองโกลออกจากเกาหลีจึงด าริให้แกะสลักแผ่นไม้พิมพ์พระมหาปิฎกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1237 
ที่เมืองเจียงตู มณฑลจิ้นโจวเขตหนานไฮ่ (江都 晉州南海縣) ใช้เวลาในการท า 12 ปี และเสร็จสิ้นในปีค.ศ. 1249 
โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐมนตรีชุยยฺวี่ (崔瑀) และบุตรชายชุยหัง (崔沆) ที่ในขณะนั้นเห็นว่าเมืองหลวง 
ไม่ปลอดภัยจึงย้ายไปเกาะคังฮวา (江華島) และได้ท าพระมหาปิฎกนี้ร่วมกับคณะสงฆ์นิกายซ่านเหอ
(善和教, Seon and Gyo Schools) ซึ่งมีนักวิชาการบางส่วนเห็นว่าฉบับพิมพ์ครั้งหลังนี้ ได้มีการตรวจ
ช าระร่วมกับฉบับไคเป่าและฉบับฉี้ตาน พระมหาปิฎกฉบับนี้มี 6,568 ผูก 52,382,960 ตัวอักษร แผ่นไม้
แท่นพิมพ์แต่ละแผ่นมีกว้างยาว 24x60 เซนติเมตร มีความหนา 2.4-4 เซนติเมตร หนัก 3-4 กิโลกรัม
จ านวนรวม 81,340 แผ่น ต่อมาในปี ค.ศ. 1398 แผ่นไม้พระมหาปิฎกได้ถูกย้ายไปเก็บไว้ในอาคาร
4 หลังของวัดฮินซา (海印寺) เพื่อความปลอดภัยจากการรุกรานของทหารญี่ปุ่นและได้เก็บรักษาไว้
ที่นั่นมาจนถึงปัจจุบัน โดยพระมหาปิฎกถูกจัดให้เป็นสมบัติของชาติเกาหลีในปี ค.ศ. 1962 และได้รับ
การยกย่องเป็นมรดกโลกจาก UNESCO และในปี ค.ศ. 2004 ต่อมาในปี ค.ศ.2007 สมาคมพระมหาปิฎก
เกาหลีได้ท าการรวบรวมพระมหาปิฎกฉบับเกาหลีจากทั่วทุกมุมโลกมาท าการช าระตรวจสอบและ
พิมพ์เป็นพระมหาปิฎกฉบับเกาหลีในปัจจุบัน จ านวน 88 เล่ม1

👉👉พระมหาปิฎกฉบบัพิมพใ์นราชวงศห์ ยวน👈👈

ราชวงศ์หยวนเป็นยุคที่ชาวมองโกลครอบครองจักรวรรดิจีน พระเจ้าหยวนซื่อจู่ (元世祖)หรือ กุบไลข่าน 
ย้ายเมืองหลวงมาที่กรุงปักกิ่ง ท่านให้ความสนใจพระพุทธศาสนาวัชรยานหรือตันตรมนตรยาน 
ในรัชสมัยของท่านมีพระมหาปิฎกที่ส าคัญ 2 ฉบับ โดยมีฉบับราชวงศ์ซ่งเป็นพื้นฐาน

- พระมหาปิฎกฉบับผู่หนิง (普宁藏 ค.ศ. 1269-1290)
จัดพิมพ์ ณ วัดผูหนิงมณฑลเจ้อเจียง โดยผู้ศรัทธาในนิกายเมฆขาว (白云宗) ฉบับนี้มี 1,594 คัมภีร์ 6,327 ผูก 
และเนื่องจากอิทธิพลของมองโกลท าให้มีคัมภีร์ของนิกายวัชรยานเพิ่มเติมเข้ามา ปัจจุบันยังมีฉบับสมบูรณ์
เก็บรักษาไว้ที่วัดโซโจจิ (东京增上寺) เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

- พระมหาปิฎกฉบับหงฝ่ า (弘法藏 ค.ศ. 1277-1294)
จัดพิมพ์ ณ วัดหงฝ่า กรุงปักกิ่งจ านวน 1,654 คัมภีร์ 7,182 ผูก ซึ่งกุบไลข่านได้มีราชโองการให้ท าทะเบียน
พระมหาปิฎกฉบับนี้(至元法宝勘同总录) ขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1984 ได้ค้นพบฉบับนี้ที่หลงเหลืออยู่ 
ณ วัดจื้อฮว่า(智化寺) ในกรุงปักกิ่ง 



ตอนต่อไป...ราชวงค์หมิง....ถึง...พระมหาปิฎกฉบบัพิมพใ์นราชวงศช์ิงและสาธารณรฐัประชาชนจีน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่