🏀 เบื้องหลังการเจรจา max contract

ถึงเเม้ว่าสัญญาระดับ max contract จะมีมูลค่าที่ตายตัวเเต่เวลา superstar ได้รับข้อเสนอจากหลายเเห่งก็มักจะขอเวลาพิจารณาก่อนเพราะปัจจัยในการเลือกทีมไม่ได้ดูจากเงินอย่างเดียวเเต่จะมีการปรึกษากับครอบครัว, พิจารณาผลกระทบเรื่อง lifestyle, legacy รวมถึงภาษีรายได้ระดับรัฐที่อาจมีการเปลี่ยนเเปลง

ค่าเหนื่อยระดับ max มีอยู่หลายระดับขึ้นอยู่กับจํานวนปีที่เข้าลีกมา

• ประสบการณ์ 0-6 ปี: ค่าเหนื่อยกินเเคปได้สูงสุด 25%
• ประสบการณ์ 7-9 ปี: ค่าเหนื่อยกินเเคปได้สูงสุด 30%
• ประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป: ค่าเหนื่อยกินเเคปได้สูงสุด 35%

นอกจากนี้ยังมี “สิทธิ์ bird” ที่จะช่วยให้นักบาสได้รับเงินค่าเหนื่อยมากขึ้นถ้าต่อกับทีมเก่าปีละ 8% เเละต่อได้สูงสุด 5 ปีเเต่ถ้ามีการย้ายทีมจะเซ็นกับทีมใหม่ได้ไม่เกิน 4 ปี

สื่อ Hoopshype ได้ไปสัมภาษณ์ผู้บริหารหลายคนเกี่ยวกับเบื้องหลังสัญญาระดับ max

“การเจรจาจะยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับเป้าหมายของผู้เล่นคนนั้นด้วยว่าต้องการอะไร ถ้าอยากได้สัญญาระยะยาวเเละ happy กับทีมปัจจุบันดีอยู่เเล้วก็จะตัดสินใจได้ง่ายหน่อยเเต่บางคนอาจเลือกต่อระยะสั้นเเบบตอนที่ LeBron James ยังอยู่กับ Cavaliers เอเยนต์ Rich Paul ได้เเนะนําให้เขาต่อเเบบ 1+1 สามรอบเพราะจะได้เงินเยอะกว่าเเละจะสามารถกดดัน Cavs ให้ทําการเสริมทีมตามที่ต้องการได้ด้วย

LeBron เลยเลือก opt out ทุก summer เเล้วก็เซ็น max กลับมาใหม่ทุกปีเเต่พอย้ายมา Lakers เขาไม่กล้าทําเเบบนั้นเเล้วเพราะมีอายุมากขึ้นเเละเสี่ยงได้รับบาดเจ็บหนักเลยเลือกเซ็นเเบบ 4 ปีไปเลย

“เอเยนต์นักบาสหลายคนพยายามขอ trade kicker bonus, player option, no-trade clause พ่วงในสัญญาด้วย ทีมที่อยู่เมืองใหญ่หรือตั้งอยู่ในรัฐที่ไม่มีภาษีรายได้เช่น Texas, Florida จะได้เปรียบมากกว่า ผมคิดว่าลีกควรอนุญาตให้ทีมตลาดเล็กยื่น max ให้กับผู้เล่นได้มากกว่านี้นะจะได้มีจุดขายไปจีบ superstar มากขึ้น”

การอยู่กับทีมตลาดเล็กมีข้อเสียอีกอย่างตรงจะได้รับเงินจากสัญญา endorsement น้อยกว่าโดยบริษัทรองเท้าอาจลดจํานวนเงินลง 20% เเละคนที่จะเซ็นกับบางเเบรนด์เช่น Nike ต้องอยู่กับทีมที่ Nike เห็นชอบด้วยทําให้มันอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกทีมยามเป็น free agent

“Melo กับ Kobe Bryant เคยได้ no-trade clause ซึ่งผมอยากให้ลีกยกเลิกเพราะมันทําให้ทีมเสียเปรียบเป็นอย่างมากที่เทรดผู้เล่นออกไม่ได้ยกเว้นจะได้รับการยินยอมเเละคิดว่าการให้ trade kicker bonus 10-15% ยามถูกเทรดเป็นการชดเชยที่เพียงพอเเล้ว”

Stephen Curry เคยขอ no-trade clause จาก Warriors ในสัญญา supermax เมื่อหลายปีก่อนเเต่ Warriors ไม่ให้ซึ่งก็โชคดีที่เชฟเข้าใจเเละไม่ว่าอะไร

เวลาผู้เล่นต่อสัญญารุกกี้มักจะเลือกต่อกับทีมเก่าซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติเพราะรุกกี้จะมีทางเลือกในการย้ายทีมที่จํากัดเเต่ถ้าเป็นสัญญาฉบับที่ 2 ในอาชีพจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการเซ็นกับทีมไหน

สัญญา signature shoe มูลค่า $100 ล้าน+ ของเหล่าซุปเปอร์สตาร์ก็เป็นสิ่งที่ผู้บริหารของหลายทีมไม่ค่อยชอบใจเท่าไหร่เพราะคนที่มีสัญญาพวกนี้จะมีอํานาจในการเลือกทีมมากขึ้นเช่น Kyrie Irving ตอนออกจาก Celtics สูญเงินค่าจ้างที่ควรจะได้รับไปตั้งเยอะเเต่เขาก็ไม่เเคร์เพราะยังสามารถเอาเงินจากสัญญารองเท้าบาสมาชดเชยตรงนี้ได้

การให้ max กับผู้เล่นที่มีประวัติเจ็บหนักบ่อยก็ควรมีเงื่อนไขพ่วงมาด้วยเช่น Joel Embiid ที่เคยเซ็น max เเบบ 5 ปี/$148 ล้านเเต่ถ้าเจ็บเกิน 25 นัดต่อฤดูกาลจะได้ค่าเหนื่อยที่ลดลงซึ่งก็ถือว่าเเฟร์ดีกับ 76ers

“ช่วงที่ Warriors เป็นมหาอํานาจบาส ทีมอื่นๆ ได้ลังเลในการควักกระเป๋าเเละไม่ค่อยอยากจ่าย max ให้กับใครเพราะเห็นว่าให้ max ไปก็สู้ Warriors ไม่ได้อยู่ดีเเต่หลังจากที่ Klay Thompson ได้รับเจ็บหนักก็เริ่มมีการกลับมาจ่าย max เเบบง่ายขึ้นอีกครั้ง” ผู้บริหารรายนึงกล่าวปิดท้าย

Credit: Hoopshype

 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่