อายุเป็นเพียงตัวเลข....ไม่สำคัญ
ดรัสวันต์
ชนิภาตื่นสายไม่ใช่เพราะเมื่อคืนฉลองหนักไปหน่อย แต่การฉลองวันเกิดครบอายุ 50 ปีบริบูรณ์ทำให้นอนไม่หลับเพราะคิดหนัก
นี่ฉันเลข 5 แล้วหรือ
งานฉลองวันเกิดที่สามี เพื่อนสนิทและญาติมาร่วมงานที่ร้านอาหารนั้น ยังความปลาบปลื้มให้เธอไม่น้อย แม้จะบอกว่าไม่ต้องจัด เอาไว้ไปจัดตอนแซยิดดีกว่าแต่สมาชิกก็ยังอยากจะจัด อยากจะมีเรื่องสนุกสนานเฮฮาเพราะนานมากแล้วที่ไม่มีโอกาสมารวมตัวเช่นนี้ ต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่รัดตัว หลายคนมีตำแหน่งงานสูงขึ้น มีหัวโขนที่ต้องรักษาภาพพจน์ตัวเองจนอยากหาโอกาสมาปลดปล่อยในงานเลี้ยงของชนิภา..ผู้เป็นที่รักของทุกคน
ห้องจัดเลี้ยงของร้านอาหารจุแขกได้ 10 คนพอดี ซึ่งเป็นคนที่สนิทสนมรักใคร่กันมาก มีคาราโอเกะให้ร้องเพลงกันครึกครื้น ราวกับจะให้ลืมวัยของแต่ะคน
"
อายุสิบห้าก็มาเป็นสาวรำวง" เสียงเพลงจังหวะมันๆ ดังขึ้น ชนิภารีบคว้าไมค์แล้วแปลงเพลงว่า
“อายุห้าสิบก็มาเป็นสาวรำวง..” พร้อมยักย้ายส่ายสะโพก เรียกเสียงฮาจากเพื่อนและหลายคนก็ออกไปวาดลวดลายหางเครื่อง
ชนิภานอนอ้อยอิ่งอยู่บนเตียง ยิ้มกับตัวเองนึกถึงความสนุกสนานที่เพิ่งผ่านไปเมื่อคืน งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา เช้านี้เธอก็ก้าวย่างเข้าสู่วัย 51 แล้วซินะ คิดดังนั้นจึงลุกขึ้นไปส่องกระจก อยากจะเข้าข้างตัวเองว่า ฉันยังไม่แก่ แม้รอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าจะเริ่มปรากฏขึ้นมาบ้างทั้งๆ ที่ดูแลผิวเป็นอย่างดีมาตลอด แต่ก็อดใจหายไม่ได้
“นี่ฉันเลขห้าแล้วหรือนี่” รำพึงกับตัวเอง “ถ้าบอกใคร เขาคงเรียกป้า” แล้วเอื้อมมือไปแหวกหาผมขาวที่เริ่มมีหลายเส้น
ณริสเดินมาเมียงมองภรรยาที่กำลังส่องกระจก ดูออกว่าชนิภากำลังสำรวจตัวเองไปทำไม
“อายุ 50 ผมหงอก 5 เส้นแล้ว วันนี้ไปย้อมผมดีกว่า” หล่อนบอกสามี เขาไม่พูดอะไร ได้แต่หัวเราะฮึๆ แต่ก่อนที่เขาจะเดินผ่านไป ชนิภานึกขึ้นได้ว่า “เสาร์ อาทิตย์หน้า ภาต้องไปทำงานต่างจังหวัด ไม่อยู่นะ คุณไปทานข้าวบ้านคุณแม่ละกัน”
“ไม่เอาหรอก เพิ่งเจอแม่เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว อยากอยู่บ้านมากกว่า”
“งั้น จะทำกับข้าวไว้ให้ อุ่นกินเอาเองนะ”
ณริสพยักหน้าตกลง เป็นเขาที่อยู่ติดบ้านมากกว่าภรรยาที่ต้องไปทำงานต่างจังหวัดบ่อยๆ
ชนิภาทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมขององค์กรเอกชนแห่งหนึ่งที่มีศูนย์ฝึกอบรมด้านการเกษตรตั้งอยู่ที่ อ.ปากช่อง ติดกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อมีการจัดอบรมหล่อนและทีมงานจากกรุงเทพฯ จะเดินทางไปที่ศูนย์แห่งนี้ ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร ทั้งห้องประชุมสัมมนา ที่พัก ร้านอาหารและแปลงสาธิตการเกษตร
สำหรับครั้งนี้ ไม่ใช่การอบรมแต่เป็นการขอดูงานกิจการศูนย์ฝึกอบรมจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่อยากจะก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมเช่นกันเพราะมีที่ดินจำนวนมากอยู่ที่จังหวัดเชียงรายและอยากจะใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว
ชนิภาและทีมผู้ช่วยอีกสองคนเดินทางไปถึงศูนย์ฝึกอบรมแต่เช้าตรู่เพื่อรอต้อนรับคณะดูงานที่มากันหนึ่งคันรถตู้ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่มากับรถ Range Rover แบบตรวจการ
ผู้ประสานงานของบริษัทเข้ามาแนะนำ เมื่อบุรุษท่านนั้นก้าวลงจากรถ
“คุณปริญญาค่ะ เป็นรอง CEO ของบริษัท”
ชนิภายกมือไหว้แล้วหันไปแนะนำผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรม
“คุณสมชายค่ะ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และดิฉันชนิภา ดูแลรับผิดชอบเรื่องฝึกอบรมและดูงาน” จากนั้นก็มีการแลกนามบัตรกัน
ปริญญาอ่านนามบัตรของชนิภา พอเห็นนามสกุลที่คุ้นเคยจึงเอ่ยปากถามขึ้นว่า
“นามสกุลนี้ คุณชนิภาเป็นอะไรกับท่านพิสิษฐ์หรือครับ เป็นลูกหรือหลาน”
เป็นคำถามที่ชนิภาเจอบ่อยเพราะครอบครัวของสามีหล่อนเป็นครอบครัวใหญ่และมีชื่อเสียง
“เป็นหลานค่ะ หลานสะใภ้คุณลุงพิสิษฐ์”
“อ้อ เป็นหลาน ผมเคยร่วมก๊วนกอล์ฟกับท่านครั้งนึง” ปริญญาเล่าแล้วยิ้มให้อย่างผู้ใหญ่ใจดี
แล้วทั้งหมดก็ถูกเชิญเข้าไปที่ห้องประชุมเพื่อรับฟังการบรรยายภารกิจของศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้ เสร็จจากบรรยายเป็นเวลาอาหารกลางวันพอดี ทั้งหมดได้มีโอกาสชิมอาหารจากร้านอาหารที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์ฯ
“อาหารที่ร้านนี้ใช้วัตถุดิบจากฟาร์มของเราเอง” สมชายนำเสนอ “โดยเฉพาะผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ที่เราปลูกในโรงเรือน ปราศจากสารเคมีและยาฆ่าแมลง เดี๋ยวเสร็จจากทานอาหาร ผมจะพาไปดูแปลงเกษตรนะครับ”
การดูงานฟาร์มเกษตรในพื้นที่กว่า 50 ไร่ นั้นเป็นที่น่าสนใจสำหรับคณะดูงานอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะมีโรงเรือนขนาดใหญ่สำหรับพืชผักแล้วยังมีสวนผลไม้ เช่น องุ่นและอะโวคาโดกับการเลี้ยงไก่แบบ free range
“ผลผลิตที่ออกมาเยอะๆ นี่ขายด้วยใช่ไหมครับ” ปริญญาถามอย่างสนใจ
“ใช่ครับ ขายให้โรงแรมและรีสอร์ตแถวนี้”
“น่าสนใจมากครับ นี่คือต้นแบบที่เราอยากทำที่เชียงราย”
ทั้งหมดใช้เวลาดูงานจนเย็นจึงเข้าที่พัก ที่จริงการศึกษาดูงานครั้งนี้สามารถเสร็จสิ้นได้ภายในหนึ่งวัน แต่คณะดูงานอยากค้างคืนเพื่อเรียนรู้เรื่องการบริการที่พักและร้านอาหาร
นัดหมายอาหารเย็นคือเวลาหนึ่งทุ่ม
“ทานอาหารด้วยกันนะครับ กันเอง ไม่ต้องพิธีรีตอง” ปริญญาเอ่ยชวนสมชายและทีมงานของชนิภาให้ร่วมโต๊ะอาหารด้วย
ระหว่างรับประทานอาหารมีดนตรีคาราโอเกะมาให้ความเพลิดเพลินกับแขก
“มีดนตรีด้วยหรือ”
“ครับ มาอยู่ต่างจังหวัดแบบนี้จะได้ไม่เงียบเหงา” สมชายตอบแล้วขอตัวไปคุยกับนักดนตรี
“ดนตรีเป็นของที่นี่หรือเหมามาจากข้างนอก” ปริญญาหันมาถามชนิภา
“เหมาเป็นครั้งคราวค่ะ แต่ก่อนเป็นเจ้าหน้าที่เราทำกันเองแต่ต้องลงทุนและ maintenance อุปกรณ์ ตอนหลังใช้วิธีเหมาจากข้างนอกคุ้มกว่า”
ปริญญาพยักหน้ารับ เขาต้องเก็บเกี่ยวข้อมูลทั้งหมดสำหรับนำไปใช้กับโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมของบริษัทต่อไป
เสียงดนตรีกังวานขึ้นแล้วนักร้องที่จ้างมาก็เริ่มร้องเพลงขับกล่อมแขกที่กำลังรับประทานอาหาร เป็นเพลงไทยร่วมสมัยที่ทุกคนชื่นชอบ พอเพลงถัดไปสมชายเข้าไปร่วมแจมอีกสองเพลงติดกัน หลังจบเพลงก็ประกาศเชิญชวนให้แขกมาร่วมร้องเพลง หลายคนอิ่มอาหารกันแล้ว แต่ยังคงพอใจจะเป็นผู้ฟังมากกว่า บางคนก็ก้มหน้าอยู่กับโทรศัพท์มือถือ
ชนิภารู้ดีว่าแรกๆ ทุกคนยังเขินกันอยู่แบบนี้ จึงต้องสร้างบรรยากาศให้คึกคักเพิ่มขึ้น หล่อนเดินไปบอกสมชายขอเพลงคู่
สักขีแม่ปิง
“...โอ้กุศล ดลพี่มาพบเจ้า ใจพี่ยังร้อนผ่าว ความรักรุมเร้าคลั่งไคล้” สมชายเริ่มร้องท่อนของฝ่ายชาย และชนิภาก็ร้องตอบ
“น้ำคำรักของคนเมืองใต้ จะจริงแท้แค่ไหนสาวเชียงใหม่ครวญใคร่ถวิล” กังวานเสียงหวานของชนิภาสะกดทุกคนในที่นั้นให้หยุดกิจกรรมทั้งหมดแล้วจ้องมองหล่อนอย่างตกตะลึง ใครๆ ที่สนิทกับชนิภารู้ดีกว่าหล่อนร้องเพลงไพเราะแค่ไหน แล้วยิ่งเป็นเพลงคู่ที่มีการหยอกเย้า สมชายกับชนิภาก็สวมบทบาทพ่อแง่ Mae งอนได้สนุกสนานน่าประทับใจ ทุกครั้งที่มีคณะอบรมดูงานเช่นนี้ เจ้าหน้าที่อบรมและเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ก็สวมวิญญาณของ entertainer ได้อย่างยอดเยี่ยม
จบเพลงแล้วมีเสียงตบมือกราว
“เอาอีก เอาอีก” เสียงเรียกร้องเกรียว
สมชายกับชนิภาจึงต่อด้วยเพลง
นกเขาคูรัก เรียกเสียงเฮฮาจากทุกคนที่เริ่มสนุกสนาน จากนั้นสมชายก็ต่อด้วยเพลงลูกทุ่งสนุกๆ โดยมีลูกทีมสาวๆ ของชนิภาเป็นหางเครื่อง ทำเอาหลายคนเริ่มขยับเนื้อขยับตัวไปตามจังหวะ
“ใครอยากร้องเพลงอะไร เชิญมาคิวเพลงเตรียมไว้ได้เลยนะครับ” สมชายประกาศ แล้วหันไปขอเพลงรำวงจากนักดนตรี
“เอ้า รำวงกันครับ เชิญรำวงร่วมกัน”
ชนิภาเข้าไปโค้งปริญญาที่นั่งยิ้มน้อยยิ้มใหญ่มาตลอดให้ออกมารำวงด้วยกัน ทีมงานทั้งของสมชายและของชนิภาก็เข้าไปชวนลูกน้องปริญญาออกมารำวงจนเต็มฟลอร์ ทุกคนสนุกสนานกันสุดๆ
รำวงไปได้สามเพลงก็หยุดให้พักเหนื่อย มีแขกบางคนเริ่มเข้าไปขอคิวเพลงกับนักดนตรี
“คุณชนิภาเก่งจังเลย ร้องเพลงเพราะมาก รำก็สวย” ปริญญาออกปากชม ยิ้มปลาบปลื้มกับคนตรงหน้า
“ขอบคุณค่ะ เราอยากให้แขกทุกคนได้สนุกกันน่ะคะ”
“ผมต้องเริ่มคิดใหม่แล้ว”
“เรื่องอะไรคะ”
“ศูนย์ฝึกอบรมที่บริษัทเราคิดจะสร้าง เรามองแค่ฮาร์ดแวร์ คือการก่อสร้างอาคารสถานที่จนลืมนึกไปถึงซอล์ฟแวร์ ซึ่งคือทีมงานอย่างพวกคุณนี่ไง”
พอดีมีเสียงประกาศดังมาจากเวที
“ขอเชิญท่านรองปริญญาร้องเพลง แต่ปางก่อน คู่กับคุณชนิภาค่ะ” ลูกน้องของปริญญาเป็นผู้ประกาศ และคงรู้งานดีว่าเพลงใดเป็นเพลงโชว์ของเจ้านาย
ชนิภาหันไปทำตาโตกับปริญญา ผู้อาวุโสทำหน้าเขิน
“ให้เกียรติสักเพลงนะครับ”
เพลงนี้เพลงโปรดชนิภาอยู่แล้ว หล่อนไม่รีรอที่จะก้าวตามไปที่หน้าเวที
ยิ่งดึก พนักงานบริษัทเริ่มเครื่องติด แต่ละคนขอคิวเพลงกันยาวเหยียด ชนิภาเห็นว่าหมดหน้าที่ของหล่อนแล้ว จึงค่อยๆ ปลีกตัวหลบกลับไปห้องพัก ปล่อยให้คณะดูงานสนุกกันไป
ตอนสายของวันรุ่งขึ้น หลังอาหารเช้าแล้วทุกคนเตรียมเดินทางกลับกรุงเทพฯ ซึ่งทางศูนย์ฯ เตรียมของฝากสำหรับทุกคนคือ ผัดสลัดคนละถุง
“โอ้โฮ น่ารักจังเลย มีของฝากด้วย ถ้างั้นผมขออุดหนุนองุ่นกับอะโวคาโด อย่างละ 10 กิโล นะครับ” ปริญญาแสดงน้ำใจ
อายุเป็นเพียงตัวเลข เรื่องสั้นโดย ดรัสวันต์
นี่ฉันเลข 5 แล้วหรือ
งานฉลองวันเกิดที่สามี เพื่อนสนิทและญาติมาร่วมงานที่ร้านอาหารนั้น ยังความปลาบปลื้มให้เธอไม่น้อย แม้จะบอกว่าไม่ต้องจัด เอาไว้ไปจัดตอนแซยิดดีกว่าแต่สมาชิกก็ยังอยากจะจัด อยากจะมีเรื่องสนุกสนานเฮฮาเพราะนานมากแล้วที่ไม่มีโอกาสมารวมตัวเช่นนี้ ต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่รัดตัว หลายคนมีตำแหน่งงานสูงขึ้น มีหัวโขนที่ต้องรักษาภาพพจน์ตัวเองจนอยากหาโอกาสมาปลดปล่อยในงานเลี้ยงของชนิภา..ผู้เป็นที่รักของทุกคน
ห้องจัดเลี้ยงของร้านอาหารจุแขกได้ 10 คนพอดี ซึ่งเป็นคนที่สนิทสนมรักใคร่กันมาก มีคาราโอเกะให้ร้องเพลงกันครึกครื้น ราวกับจะให้ลืมวัยของแต่ะคน
"อายุสิบห้าก็มาเป็นสาวรำวง" เสียงเพลงจังหวะมันๆ ดังขึ้น ชนิภารีบคว้าไมค์แล้วแปลงเพลงว่า “อายุห้าสิบก็มาเป็นสาวรำวง..” พร้อมยักย้ายส่ายสะโพก เรียกเสียงฮาจากเพื่อนและหลายคนก็ออกไปวาดลวดลายหางเครื่อง
ชนิภานอนอ้อยอิ่งอยู่บนเตียง ยิ้มกับตัวเองนึกถึงความสนุกสนานที่เพิ่งผ่านไปเมื่อคืน งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา เช้านี้เธอก็ก้าวย่างเข้าสู่วัย 51 แล้วซินะ คิดดังนั้นจึงลุกขึ้นไปส่องกระจก อยากจะเข้าข้างตัวเองว่า ฉันยังไม่แก่ แม้รอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าจะเริ่มปรากฏขึ้นมาบ้างทั้งๆ ที่ดูแลผิวเป็นอย่างดีมาตลอด แต่ก็อดใจหายไม่ได้
“นี่ฉันเลขห้าแล้วหรือนี่” รำพึงกับตัวเอง “ถ้าบอกใคร เขาคงเรียกป้า” แล้วเอื้อมมือไปแหวกหาผมขาวที่เริ่มมีหลายเส้น
ณริสเดินมาเมียงมองภรรยาที่กำลังส่องกระจก ดูออกว่าชนิภากำลังสำรวจตัวเองไปทำไม
“อายุ 50 ผมหงอก 5 เส้นแล้ว วันนี้ไปย้อมผมดีกว่า” หล่อนบอกสามี เขาไม่พูดอะไร ได้แต่หัวเราะฮึๆ แต่ก่อนที่เขาจะเดินผ่านไป ชนิภานึกขึ้นได้ว่า “เสาร์ อาทิตย์หน้า ภาต้องไปทำงานต่างจังหวัด ไม่อยู่นะ คุณไปทานข้าวบ้านคุณแม่ละกัน”
“ไม่เอาหรอก เพิ่งเจอแม่เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว อยากอยู่บ้านมากกว่า”
“งั้น จะทำกับข้าวไว้ให้ อุ่นกินเอาเองนะ”
ณริสพยักหน้าตกลง เป็นเขาที่อยู่ติดบ้านมากกว่าภรรยาที่ต้องไปทำงานต่างจังหวัดบ่อยๆ
ชนิภาทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมขององค์กรเอกชนแห่งหนึ่งที่มีศูนย์ฝึกอบรมด้านการเกษตรตั้งอยู่ที่ อ.ปากช่อง ติดกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อมีการจัดอบรมหล่อนและทีมงานจากกรุงเทพฯ จะเดินทางไปที่ศูนย์แห่งนี้ ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร ทั้งห้องประชุมสัมมนา ที่พัก ร้านอาหารและแปลงสาธิตการเกษตร
สำหรับครั้งนี้ ไม่ใช่การอบรมแต่เป็นการขอดูงานกิจการศูนย์ฝึกอบรมจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่อยากจะก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมเช่นกันเพราะมีที่ดินจำนวนมากอยู่ที่จังหวัดเชียงรายและอยากจะใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว
ชนิภาและทีมผู้ช่วยอีกสองคนเดินทางไปถึงศูนย์ฝึกอบรมแต่เช้าตรู่เพื่อรอต้อนรับคณะดูงานที่มากันหนึ่งคันรถตู้ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่มากับรถ Range Rover แบบตรวจการ
ผู้ประสานงานของบริษัทเข้ามาแนะนำ เมื่อบุรุษท่านนั้นก้าวลงจากรถ
“คุณปริญญาค่ะ เป็นรอง CEO ของบริษัท”
ชนิภายกมือไหว้แล้วหันไปแนะนำผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรม
“คุณสมชายค่ะ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และดิฉันชนิภา ดูแลรับผิดชอบเรื่องฝึกอบรมและดูงาน” จากนั้นก็มีการแลกนามบัตรกัน
ปริญญาอ่านนามบัตรของชนิภา พอเห็นนามสกุลที่คุ้นเคยจึงเอ่ยปากถามขึ้นว่า
“นามสกุลนี้ คุณชนิภาเป็นอะไรกับท่านพิสิษฐ์หรือครับ เป็นลูกหรือหลาน”
เป็นคำถามที่ชนิภาเจอบ่อยเพราะครอบครัวของสามีหล่อนเป็นครอบครัวใหญ่และมีชื่อเสียง
“เป็นหลานค่ะ หลานสะใภ้คุณลุงพิสิษฐ์”
“อ้อ เป็นหลาน ผมเคยร่วมก๊วนกอล์ฟกับท่านครั้งนึง” ปริญญาเล่าแล้วยิ้มให้อย่างผู้ใหญ่ใจดี
แล้วทั้งหมดก็ถูกเชิญเข้าไปที่ห้องประชุมเพื่อรับฟังการบรรยายภารกิจของศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้ เสร็จจากบรรยายเป็นเวลาอาหารกลางวันพอดี ทั้งหมดได้มีโอกาสชิมอาหารจากร้านอาหารที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์ฯ
“อาหารที่ร้านนี้ใช้วัตถุดิบจากฟาร์มของเราเอง” สมชายนำเสนอ “โดยเฉพาะผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ที่เราปลูกในโรงเรือน ปราศจากสารเคมีและยาฆ่าแมลง เดี๋ยวเสร็จจากทานอาหาร ผมจะพาไปดูแปลงเกษตรนะครับ”
การดูงานฟาร์มเกษตรในพื้นที่กว่า 50 ไร่ นั้นเป็นที่น่าสนใจสำหรับคณะดูงานอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะมีโรงเรือนขนาดใหญ่สำหรับพืชผักแล้วยังมีสวนผลไม้ เช่น องุ่นและอะโวคาโดกับการเลี้ยงไก่แบบ free range
“ผลผลิตที่ออกมาเยอะๆ นี่ขายด้วยใช่ไหมครับ” ปริญญาถามอย่างสนใจ
“ใช่ครับ ขายให้โรงแรมและรีสอร์ตแถวนี้”
“น่าสนใจมากครับ นี่คือต้นแบบที่เราอยากทำที่เชียงราย”
ทั้งหมดใช้เวลาดูงานจนเย็นจึงเข้าที่พัก ที่จริงการศึกษาดูงานครั้งนี้สามารถเสร็จสิ้นได้ภายในหนึ่งวัน แต่คณะดูงานอยากค้างคืนเพื่อเรียนรู้เรื่องการบริการที่พักและร้านอาหาร
นัดหมายอาหารเย็นคือเวลาหนึ่งทุ่ม
“ทานอาหารด้วยกันนะครับ กันเอง ไม่ต้องพิธีรีตอง” ปริญญาเอ่ยชวนสมชายและทีมงานของชนิภาให้ร่วมโต๊ะอาหารด้วย
ระหว่างรับประทานอาหารมีดนตรีคาราโอเกะมาให้ความเพลิดเพลินกับแขก
“มีดนตรีด้วยหรือ”
“ครับ มาอยู่ต่างจังหวัดแบบนี้จะได้ไม่เงียบเหงา” สมชายตอบแล้วขอตัวไปคุยกับนักดนตรี
“ดนตรีเป็นของที่นี่หรือเหมามาจากข้างนอก” ปริญญาหันมาถามชนิภา
“เหมาเป็นครั้งคราวค่ะ แต่ก่อนเป็นเจ้าหน้าที่เราทำกันเองแต่ต้องลงทุนและ maintenance อุปกรณ์ ตอนหลังใช้วิธีเหมาจากข้างนอกคุ้มกว่า”
ปริญญาพยักหน้ารับ เขาต้องเก็บเกี่ยวข้อมูลทั้งหมดสำหรับนำไปใช้กับโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมของบริษัทต่อไป
เสียงดนตรีกังวานขึ้นแล้วนักร้องที่จ้างมาก็เริ่มร้องเพลงขับกล่อมแขกที่กำลังรับประทานอาหาร เป็นเพลงไทยร่วมสมัยที่ทุกคนชื่นชอบ พอเพลงถัดไปสมชายเข้าไปร่วมแจมอีกสองเพลงติดกัน หลังจบเพลงก็ประกาศเชิญชวนให้แขกมาร่วมร้องเพลง หลายคนอิ่มอาหารกันแล้ว แต่ยังคงพอใจจะเป็นผู้ฟังมากกว่า บางคนก็ก้มหน้าอยู่กับโทรศัพท์มือถือ
ชนิภารู้ดีว่าแรกๆ ทุกคนยังเขินกันอยู่แบบนี้ จึงต้องสร้างบรรยากาศให้คึกคักเพิ่มขึ้น หล่อนเดินไปบอกสมชายขอเพลงคู่ สักขีแม่ปิง
“...โอ้กุศล ดลพี่มาพบเจ้า ใจพี่ยังร้อนผ่าว ความรักรุมเร้าคลั่งไคล้” สมชายเริ่มร้องท่อนของฝ่ายชาย และชนิภาก็ร้องตอบ
“น้ำคำรักของคนเมืองใต้ จะจริงแท้แค่ไหนสาวเชียงใหม่ครวญใคร่ถวิล” กังวานเสียงหวานของชนิภาสะกดทุกคนในที่นั้นให้หยุดกิจกรรมทั้งหมดแล้วจ้องมองหล่อนอย่างตกตะลึง ใครๆ ที่สนิทกับชนิภารู้ดีกว่าหล่อนร้องเพลงไพเราะแค่ไหน แล้วยิ่งเป็นเพลงคู่ที่มีการหยอกเย้า สมชายกับชนิภาก็สวมบทบาทพ่อแง่ Mae งอนได้สนุกสนานน่าประทับใจ ทุกครั้งที่มีคณะอบรมดูงานเช่นนี้ เจ้าหน้าที่อบรมและเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ก็สวมวิญญาณของ entertainer ได้อย่างยอดเยี่ยม
จบเพลงแล้วมีเสียงตบมือกราว
“เอาอีก เอาอีก” เสียงเรียกร้องเกรียว
สมชายกับชนิภาจึงต่อด้วยเพลง นกเขาคูรัก เรียกเสียงเฮฮาจากทุกคนที่เริ่มสนุกสนาน จากนั้นสมชายก็ต่อด้วยเพลงลูกทุ่งสนุกๆ โดยมีลูกทีมสาวๆ ของชนิภาเป็นหางเครื่อง ทำเอาหลายคนเริ่มขยับเนื้อขยับตัวไปตามจังหวะ
“ใครอยากร้องเพลงอะไร เชิญมาคิวเพลงเตรียมไว้ได้เลยนะครับ” สมชายประกาศ แล้วหันไปขอเพลงรำวงจากนักดนตรี
“เอ้า รำวงกันครับ เชิญรำวงร่วมกัน”
ชนิภาเข้าไปโค้งปริญญาที่นั่งยิ้มน้อยยิ้มใหญ่มาตลอดให้ออกมารำวงด้วยกัน ทีมงานทั้งของสมชายและของชนิภาก็เข้าไปชวนลูกน้องปริญญาออกมารำวงจนเต็มฟลอร์ ทุกคนสนุกสนานกันสุดๆ
รำวงไปได้สามเพลงก็หยุดให้พักเหนื่อย มีแขกบางคนเริ่มเข้าไปขอคิวเพลงกับนักดนตรี
“คุณชนิภาเก่งจังเลย ร้องเพลงเพราะมาก รำก็สวย” ปริญญาออกปากชม ยิ้มปลาบปลื้มกับคนตรงหน้า
“ขอบคุณค่ะ เราอยากให้แขกทุกคนได้สนุกกันน่ะคะ”
“ผมต้องเริ่มคิดใหม่แล้ว”
“เรื่องอะไรคะ”
“ศูนย์ฝึกอบรมที่บริษัทเราคิดจะสร้าง เรามองแค่ฮาร์ดแวร์ คือการก่อสร้างอาคารสถานที่จนลืมนึกไปถึงซอล์ฟแวร์ ซึ่งคือทีมงานอย่างพวกคุณนี่ไง”
พอดีมีเสียงประกาศดังมาจากเวที
“ขอเชิญท่านรองปริญญาร้องเพลง แต่ปางก่อน คู่กับคุณชนิภาค่ะ” ลูกน้องของปริญญาเป็นผู้ประกาศ และคงรู้งานดีว่าเพลงใดเป็นเพลงโชว์ของเจ้านาย
ชนิภาหันไปทำตาโตกับปริญญา ผู้อาวุโสทำหน้าเขิน
“ให้เกียรติสักเพลงนะครับ”
เพลงนี้เพลงโปรดชนิภาอยู่แล้ว หล่อนไม่รีรอที่จะก้าวตามไปที่หน้าเวที
ยิ่งดึก พนักงานบริษัทเริ่มเครื่องติด แต่ละคนขอคิวเพลงกันยาวเหยียด ชนิภาเห็นว่าหมดหน้าที่ของหล่อนแล้ว จึงค่อยๆ ปลีกตัวหลบกลับไปห้องพัก ปล่อยให้คณะดูงานสนุกกันไป
ตอนสายของวันรุ่งขึ้น หลังอาหารเช้าแล้วทุกคนเตรียมเดินทางกลับกรุงเทพฯ ซึ่งทางศูนย์ฯ เตรียมของฝากสำหรับทุกคนคือ ผัดสลัดคนละถุง
“โอ้โฮ น่ารักจังเลย มีของฝากด้วย ถ้างั้นผมขออุดหนุนองุ่นกับอะโวคาโด อย่างละ 10 กิโล นะครับ” ปริญญาแสดงน้ำใจ