JJNY : โพลชี้คนไม่กล้าทำธุรกิจมากขึ้น│น้ำมันดิบโลกพุ่ง118$│ชี้ราคาพลังงานดันสินค้าราคาพุ่ง│คณะมนตรีสิทธิฯUNประนามรัสเซีย

โพลชี้คนไม่กล้าทำธุรกิจมากขึ้น เหตุกลัวสถานการณ์ไม่คาดฝัน
https://prachatai.com/journal/2022/03/97529
  
 
 
กรุงเทพโพลสำรวจ 1,154 คน ชี้เห็นโอกาสสำหรับการริเริ่มธุรกิจในอนาคตลดลงจากการสำรวจช่วงปลายปี 2564 จาก 50.3% เหลือ 46% ขณะที่ระบุว่าไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 60.8% เป็น 62.3% ทั้งนี้เหตุผลหลักที่ไม่กล้าเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองคือ กลัวว่าทำแล้วจะเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝัน เช่น โรคระบาด และภัยธรรมชาติ
 
5 มี.ค. 2565 กรุงเทพโพลร่วมกับคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “คนไทยคิดอย่างไรกับโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ ในยุคโควิด-19 (ครั้งที่ 2)” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,154 คน เมื่อวันที่ 15-21 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า
 
จากการสำรวจความเห็นเกี่ยวกับจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (เจ้าของธุรกิจ) ครั้งที่ 2 โดยได้ทำการเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ 1 (ช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2564) ในประเด็นต่างๆ พบว่าประชาชนเห็นโอกาสหรือความพร้อมสำหรับการริเริ่มธุรกิจในอนาคต ร้อยละ 46.0 (โดยลดลงจากการสำรวจครั้งที่ 1 ร้อยละ 4.3) รองลงมาเห็นว่าตนเองมีความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจ ในอนาคตข้างหน้า ร้อยละ 42.3 (ลดลง ร้อยละ 2.0) เห็นว่าตนเองมีความรู้ความสามารถรวมถึงทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นในการที่จะเริ่มทำธุรกิจใหม่ ร้อยละ 39.9 (ลดลงร้อยละ 7.7) เห็นว่าตนเองรู้จักผู้ประกอบการหรือมีเครือข่ายที่สามารถสนับสนุนในการริเริ่มธุรกิจ (ลดลงร้อยละ 4.2) และคิดว่าการเริ่มต้นธุรกิจใหม่เป็นสิ่งที่ง่ายในสถานการณ์ขณะนี้ (ลดลงร้อยละ 2.3)  ขณะที่เห็นว่าไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลวร้อยละ 62.3 (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.5) 
 
ทั้งนี้สาเหตุที่ไม่กล้าเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองมากที่สุดคือ กลัวว่าทำแล้วเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝัน เช่น โรคระบาด ภัยธรรมชาติ ร้อยละ 44.2 รองลงมาคือ ไม่มีเงินทุนมากพอ ร้อยละ 43.8 และกลัวล้มเหลว กลัวขาดทุน ร้อยละ 35.4    



วิกฤตยูเครน-รัสเซีย ดันราคาน้ำมันดิบตลาดโลกพุ่งขึ้น 118 ดอลลาร์
https://ch3plus.com/news/economy/morning/281589
  
หลังจากที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ เผยว่า อาจพิจารณามาตรการตอบโต้รัสเซีย ที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะระงับการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ทำให้ราคาน้ำมันดิบงวดส่งมอบล่วงหน้าเดือนเมษายนทั้งที่ัอังกฤษและสหรัฐฯเมื่อวานนี้ปิดตลาดพุ่งขึ้นไป 7 ถึง 8 ดอลลาร์
 
โดยน้ำมันดิบเบรนท์ทะเลเหนือพุ่งขึ้น 7.65 ดอลลาร์ หรือ 6.9 เปอร์เซนต์ไปปิดตลาดที่ 118.11 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำสถิติพุ่งขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนปี 2012
 
ขณะที่เวสต์ เท็กซัส ที่ตลาดไนเม็กซ์ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.01 ดอลลาร์ หรือ 7.4 เปอร์เซนต์ ปิดที่ 115.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำสถิติพุ่งขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนปี 2008
 
สหรัฐฯ เตรียมพิจารณาคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่รัสเซียเดินหน้าโจมตียูเครน และยังเข้ายึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
 


สอท.ชี้ปรับราคาพลังงาน 'ดัน' สินค้าราคาพุ่ง
https://www.nationtv.tv/news/378865612
 
ส.อ.ท. เปิดผลสำรวจ CEO ส.อ.ท. 150 ราย “ปรับขึ้นค่าไฟ-ก๊าซ กระทบเศรษฐกิจแค่ไหน” ชี้กระทบมากด้านเศรษฐกิจ ราคาสินค้า วอนรัฐ คงค่าไฟฟ้า
 
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 15 ในเดือนมีนาคม 2565 ภายใต้หัวข้อ “ปรับขึ้นค่าไฟ-ก๊าซ กระทบเศรษฐกิจแค่ไหน” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า กรณีภาครัฐจะมีการพิจารณาปรับอัตราค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซฯ
ขึ้นต่อเนื่องนั้น จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และยังเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่อยู่ในระดับสูงในขณะนี้ จนทำให้ผู้ประกอบการมีความจำเป็นจะต้องปรับราคาสินค้าขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน ดังนั้น จึงเสนอขอให้ภาครัฐพิจารณาคงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในรอบเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ยังได้แนะให้ภาคอุตสาหกรรมเร่งปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อประหยัดพลังงาน และหันมาผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนใช้เองภายในโรงงานอุตสาหกรรม
 
จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก
45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 15 จำนวน 6 คำถาม ดังนี้
 
1. ปัจจุบันค่าไฟฟ้าและพลังงานคิดเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิต
อันดับที่ 1 : 10 - 20%                                                                                        38.7%
อันดับที่ 2 : น้อยกว่า 10%                                                                  25.3% 
อันดับที่ 3 : 20 - 30%                                                                      20.7% 
อันดับที่ 4 : มากกว่า 30%                                                                  15.3%
  
2. กรณีภาครัฐมีการปรับค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซฯ* ขึ้นต่อเนื่อง จะกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับใด
อันดับที่ 1 : มาก                                                                                               56.7%
อันดับที่ 2 : ปานกลาง                                                                       34.7%
อันดับที่ 3 : น้อย                                                                                8.6%
  
3. ผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซฯ* ในเรื่องใด ที่ภาครัฐควรให้ความสำคัญ
อันดับที่ 1 : ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นทุนพลังงานที่อยู่ระดับสูง 87.3%
อันดับที่ 2 : ภาระค่าครองชีพของประชาชน                                               82.0%
อันดับที่ 3 : เร่งอัตราเงินเฟ้อให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น                                          51.3%
อันดับที่ 4 : กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวหรือหยุดชะงัก                              41.3%
  
4. มาตรการใดมีประสิทธิภาพในการบรรเทาผลกระทบของประชาชนและภาคธุรกิจ จากค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซฯ* ที่ปรับตัวสูงขึ้น
อันดับที่ 1 : การคงอัตราค่า Ft รอบเดือน พ.ค. - ส.ค. 2565                              80.7%
อันดับที่ 2 : มาตรการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response)            59.3%
               โดยคืนผลประหยัดไฟฟ้าที่ลดได้ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า                
อันดับที่ 3 : ตรึงราคาขายปลีกก๊าซฯ ชั่วคราว                                            53.3% 
อันดับที่ 4 : มาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มในส่วนของผู้มีรายได้น้อย                  52.7%
               และผู้ประกอบการ SME เช่น ส่วนลดค่าไฟฟ้า, คูปองส่วนลดราคาก๊าซฯ
  
5. ภาคอุตสาหกรรมควรเตรียมรับมือผลกระทบจากค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซฯ* ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างไร
อันดับที่ 1 : ปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อประหยัดพลังงาน                           82.0%
อันดับที่ 2 : การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนใช้เองภายในโรงงาน                76.0%
               เช่น Solar cell
อันดับที่ 3 : นำระบบการบริหารจัดการพลังงานมาใช้                                    64.7%
               และปรับแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุน
อันดับที่ 4 : บำรุงรักษาและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร                           53.3%
  
6. แนวโน้มภาคอุตสาหกรรมจะมีการใช้ไฟฟ้าและพลังงาน ปี 2565 อย่างไร
อันดับที่ 1 : เพิ่มขึ้นจากปี 2564                                                                         77.3%             
อันดับที่ 2 : ทรงตัว                                                                           20.7%
อันดับที่ 3 : ลดลงจากปี 2564                                                             2.0%
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่