สะพานเชื่อมระหว่างยุโรปและอเมริกาเหนือบนคาบสมุทร Reykjanes Peninsula
มันไม่น่าเป็นไปได้ที่เราจะเดินจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือภายในเวลาไม่กี่วินาที แต่ไอซ์แลนด์เป็นสถานที่พิเศษที่ดูเหมือนว่าจินตนาการมีอยู่จริง นั่นคือ
เราสามารถเดินข้ามทวีปได้ ผ่านสะพานที่ทอดข้ามรอยแยกระหว่างแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและอเมริกาเหนือหรือ Midlina ในคาบสมุทร Reykjanes
คาบสมุทร Reykjanes นั้นเปรียบเสมือนดินแดนมหัศจรรย์สำหรับทุกคนที่สนใจธรณีวิทยา พื้นที่เล็กๆ แห่งนี้เต็มไปด้วยตัวอย่างพฤติกรรมของดาวเคราะห์เมื่อเวลาผ่านไป กล่าวคือ ในช่วงระยะเวลาหลายหมื่นปี พื้นที่ขรุขระของที่นี่เต็มไปด้วยรอยแยก, หุบเหว, หลุมอุกกาบาต, หินภูเขาไฟ rhyolites, ลาวาหลากชนิด น้ำพุ - ดินร้อน รวมถึงกิจกรรมและระบบความร้อนใต้พิภพ
Reykjanes ไม่เพียงสถานที่ที่น่าชมและเป็นสถานที่ที่ดีเยี่ยมในการทำความเข้าใจการดิ้นรนที่ต่อเนื่องและยาวนานระหว่างหินหนืดที่ผุดขึ้นและพลังแห่งธรรมชาติมากมาย แต่ยังเป็นพื้นที่ส่วนเล็กๆ ของสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก(Mid Atlantic Ridge) ซึ่งเป็นสถานที่แห่งเดียวที่สันเขาที่ยาวที่สุดในโลกที่ทอดยาวจากอาร์กติกถึงแอนตาร์กติกา ไม่อยู่ใต้ระดับน้ำทะเล โดยสันเขานี้เป็นที่ที่แผ่นเปลือกโลกสองแผ่นมาบรรจบกันแต่ไม่ติดกัน และเราสามารถเดินไปมาระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสองบนสะพานที่อเมริกาเหนือและยุโรปเคลื่อนตัวออกจากกันได้
ร่องรอยจากลาวาของแนวสันเขา Mid Atlantic ซึ่งตั้งอยู่บนหนึ่งในขอบเขตแผ่นเปลือกโลกที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกนี้ เกิดขึ้นตามทฤษฎีการเคลื่อนตัวของทวีป โดยแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและอเมริกาเหนือมีการเคลื่อนตัวออกจากกันอย่างต่อเนื่องด้วยพลังอันยิ่งใหญ่ภายใต้รอยแยกที่แตกออก เมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัว แรงตึงได้สร้างความเค้นขึ้นขณะเคลื่อนออกจากกัน และเกิดการแตกหักแบบเส้นตรง หรือที่เรียกว่า fissures
คาบสมุทร Reykjanes ตั้งอยู่บนแนวสันเขา Mid Atlantic โดยแผ่นเปลือกโลกหลักที่เคลื่อนตัวออกจากกันโดยแรงของโลกไม่กี่เซนติเมตรต่อปี
หลังจากข้ามสะพานแล้ว จะได้รับใบรับรองส่วนบุคคลจากศูนย์ข้อมูล Reykjanes เป็นเครื่องยืนยันว่า คุณได้เดินจากยุโรปไปยังอเมริกาแล้วจริงๆ
หรืออย่างน้อยระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง
สะพานข้ามทวีปเคยถูกเรียกว่า "Leif the Lucky" ตามชื่อ Leif Erikson นักสำรวจชาวไอซ์แลนด์ที่มีชื่อเสียงและชาวยุโรปคนแรกที่ก้าวเข้าสู่อเมริกาเหนือเมื่อ 1,000 ปีที่แล้วตามประวัติศาสตร์ไอซ์แลนด์ และยังทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์การเชื่อมต่อระหว่างสองทวีปของยุโรปและอเมริกาเหนือ รวมถึงโลกใหม่และโลกเก่า
เมื่อคุณเดินข้ามสะพานยาว 18 เมตรนี้ แสดงว่าคุณกำลังเดินข้ามแผ่นเปลือกโลกหนึ่งไปยังอีกแผ่นหนึ่ง และข้ามหุบเขาที่ก่อตัวขึ้นจากการเคลื่อนตัวทางธรณีวิทยาซึ่งจะออกห่างกันประมาณสองเซนติเมตรต่อปี มันอาจดูช้ามากจนไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเว้นแต่แผ่นเปลือกโลกจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ที่จุดกึ่งกลางของสะพาน จะพบแผ่นโลหะเขียนว่า "Midlina In the footsteps of the gods" ทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนกับแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ โดยทั้งสองฝั่งจะมีป้าย ″ยินดีต้อนรับสู่อเมริกา" และ "ยินดีต้อนรับสู่ยุโรป"
ส่วนรอบสะพานจะเป็นทุ่งลาวา Reykjanes ซึ่งที่จริงคือชั้นของทุ่งลาวาที่อายุน้อยที่สุดจากปี 1240 และหลุมอุกกาบาตขนาดเล็กจำนวนมากที่เรียกว่า Stampar อยู่บริเวณใกล้เคียง ไม่ไกลจากสะพานยังมีอ่าวเล็กๆ ชื่อ Sandvik ที่มีหาดทรายสีดำที่สวยงามแต่ก็มีคลื่นค่อนข้างใหญ่ ที่นี่เป็นจุดแวะถ่ายรูป
ที่ดีแม้นักท่องเที่ยวจะไปเยี่ยมชมน้อยมาก
สำหรับภูมิทัศน์ธรรมชาติของ Reykjanes เป็นจุดหมายปลายทางที่ไม่เหมือนใครอย่างแท้จริงและคุ้มค่าที่จะสำรวจ เนื่องจากเป็นเขตภูเขาไฟจึงเต็มไปด้วยทุ่งลาวา หน้าผาริมทะเล ถ้ำลึกลับและหินรูปร่างแปลกตา พื้นที่ชายฝั่งทะเลหลายแห่งยังเป็นจุดที่เหมาะสำหรับการดูนก นอกจากนี้ยังมีศูนย์วัฒนธรรม (Duushús) ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์การเดินเรือ Reykjanes Maritime พิพิธภัณฑ์ศิลปะและพิพิธภัณฑ์มรดก สถานที่ดีที่แนะนำชีวิตของชาว
ไอซ์แลนด์
สะพานเชื่อมระหว่างสองทวีปที่ Sandvík เป็นสะพานคนเดินเล็กๆ เหนือรอยแยกขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีขอบแผ่นโลกแยกจากกัน
ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเชื่อมต่อระหว่างยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยในเดือนก.ย.2015 อุทยานธรณี Reykjanes
กลายเป็นอุทยานธรณีแห่งที่ 66 ของโลกและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ UNESCO
โดยทางใต้ของคาบสมุทรคือเกาะ Geirfuglasker และเกาะ Eldey บ้านของนกทะเลหลายพันตัวที่ซึ่ง Great Auk (Pinguinus impennis) หรือgarefowl นกทะเลที่บินไม่ได้คู่สุดท้ายถูกฆ่าตายในปี 1844 ทำให้สายพันธุ์นี้สูญพันธุ์ แต่ในปี 2016 ตามรายงานของ Telegraph ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้พูดคุยถึงแนวคิดในการสร้างนก auk ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาใหม่และค่อยๆ ฟื้นฟูนกให้กลับคืนสู่แหล่งเพาะพันธุ์เก่าในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแห่งนี้
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่น่าทึ่ง แต่คาบสมุทร Reykjanes ยังคงมีการปะทุของภูเขาไฟจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยเมื่อ เดือนมี.ค.2021 ภูเขาไฟ Fagradalsfjall ในหุบเขา Geldingadalir ของไอซ์แลนด์บนคาบสมุทร Reykjanes มีรอยแยกปะทุเปิดขึ้น จากนั้นการปะทุเกิดขึ้นตลอดหกเดือนและเริ่มลดลงเมื่อวันที่ 21 กันยายนปีเดียวกัน ภูเขาไฟนี้เงียบมานานกว่าหกพันปีแล้ว และเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นลูกแรกในพื้นที่กว่า 800 ปีของ Reykjanes UNESCO Global Geopark (พื้นที่ที่ยังแสดงพลังงานความร้อนใต้พิภพ)
จนถึงปัจจุบัน แม้ว่ากิจกรรมแผ่นดินไหวที่คาบสมุทร Reykjanes ลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งจำนวนและความถี่ แต่ยังคงตรวจพบแผ่นดินไหวเป็นระยะ โดยการปะทุเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้ภูมิทัศน์ในหุบเขาและพื้นที่โดยรอบเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จนเกิดทุ่งลาวาแห่งใหม่ซึ่งครอบคลุมหุบเขาหลายแห่งรอบๆ โดยเฉพาะใน Fagradalshraun (ลาวาหุบเขาที่สวยงาม) ที่สามารถมองเห็นได้จากชานเมืองหลวง Reykjavík และดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
มุมมองทางอากาศของคาบสมุทร Reykjanes ประเทศไอซ์แลนด์ ห่างจากเมืองหลวง Reykjavik ไปทางตะวันตกราว 50 กิโลเมตร
ซึ่งเป็นหนึ่งในสามพื้นที่ที่มีการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุดในโลก (AFP via Getty Images)
Thingvellir มรดกโลกอีกแห่งของ UNESCO ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของคาบสมุทร Reykjanes ของไอซ์แลนด์
ท่ามกลางสิ่งมหัศจรรย์ทางธรณีวิทยาของเขตรอยแยกในแบบเดียวกัน
Cr.ภาพ grayline.com/to
เกาะ Eldey ที่ตั้งของ auk คู่ที่ยิ่งใหญ่สุดท้ายของโลกซึ่งถูกฆ่าในปี 1844 Cr.Photo/Dagur Brynjólfsson/Wikipedia
Cr.
https://www.independent.co.uk/news/world/europe/iceland-volcano-earthquake-reykjanes-peninsula-b1813579.html / Joanna Taylor
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
Midlina : สะพานข้ามระหว่างแผ่นเปลือกโลกในไอซ์แลนด์
ไอซ์แลนด์
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่น่าทึ่ง แต่คาบสมุทร Reykjanes ยังคงมีการปะทุของภูเขาไฟจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยเมื่อ เดือนมี.ค.2021 ภูเขาไฟ Fagradalsfjall ในหุบเขา Geldingadalir ของไอซ์แลนด์บนคาบสมุทร Reykjanes มีรอยแยกปะทุเปิดขึ้น จากนั้นการปะทุเกิดขึ้นตลอดหกเดือนและเริ่มลดลงเมื่อวันที่ 21 กันยายนปีเดียวกัน ภูเขาไฟนี้เงียบมานานกว่าหกพันปีแล้ว และเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นลูกแรกในพื้นที่กว่า 800 ปีของ Reykjanes UNESCO Global Geopark (พื้นที่ที่ยังแสดงพลังงานความร้อนใต้พิภพ)
จนถึงปัจจุบัน แม้ว่ากิจกรรมแผ่นดินไหวที่คาบสมุทร Reykjanes ลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งจำนวนและความถี่ แต่ยังคงตรวจพบแผ่นดินไหวเป็นระยะ โดยการปะทุเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้ภูมิทัศน์ในหุบเขาและพื้นที่โดยรอบเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จนเกิดทุ่งลาวาแห่งใหม่ซึ่งครอบคลุมหุบเขาหลายแห่งรอบๆ โดยเฉพาะใน Fagradalshraun (ลาวาหุบเขาที่สวยงาม) ที่สามารถมองเห็นได้จากชานเมืองหลวง Reykjavík และดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก