รายงานพิเศษ - ส่องผลกระทบรัสเซีย-ยูเครน
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6911128
สถานการณ์ในประเทศก็ยังหนักหน่วงกับโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วติดเชื้อเกือบ 5 หมื่นราย ยังเจอกับสถานการณ์ในต่างประเทศที่รัสเซียเปิดฉากถล่มยูเครน
ถ้าหากเหตุการณ์รุนแรงและบานปลาย ย่อมหลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้แน่นอน โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยที่กำลังค่อยๆ ฟื้นตัว อาจจะทรุดลงไปอีก
เพราะแค่เริ่มต้น ตลาดหุ้นทั้งต่างประเทศและไทยก็ร่วงระเนระนาด ราคาน้ำมันขยับ ส่วนสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำราคาพุ่งพรวด
โดยตลาดหุ้นไทยเมื่อวันที่ 24 ก.พ. เผชิญแรงเทขายของนักลงทุนตลอดเปิดการซื้อขาย เนื่องจากวิตกกังวล ต่อกรณีนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย ตัดสินใจที่จะเปิดฉากปฏิบัติการทางทหารพิเศษในยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั่วโลก ทำให้หุ้นไทยปิดที่ 1,662.72 จุด ลดลง 33.73 จุด หรือลบ 1.99%
น.ส.
ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมาก ส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลงแรง เนื่องจากนักลงทุนกังวล
นาย
กวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คาดการณ์ว่า ภาพรวมสถานการณ์ระหว่างความตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครน มีโอกาสยืดเยื้อ หลังจากการเจรจายังไม่สามารถเริ่มต้นและยุติได้
ด้านตลาดทองคำในประเทศปรับพุ่งขึ้นทันทีบาท ละ 350 บาท ก่อนที่จะปรับขึ้นลง รวม 17 ครั้ง เป็นราคาสูงสุดในรอบ 1 ปีกว่า โดยราคาทองคำแท่งรับซื้อที่บาทละ 29,900 บาท ขายออกที่บาทละ 30,000 บาท และทองรูปพรรณรับซื้อที่บาทละ 29,364.92 บาท ขายออกบาทละ 30,500 บาท โดยภายในวันเดียวราคาทองคำปรับขึ้นไปถึงบาทละ 1,100 บาท
ส่วนผลกระทบอีกอย่างที่จะตามมาคือ ราคาน้ำมันแพงขึ้น โดย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ยอมรับว่าสิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือ ราคาพลังงาน จะทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น กระทรวงพลังงานได้ใช้มาตรการที่มีอย่างต่อเนื่องและยังคงเตรียมมาตรการที่จะสามารถช่วยเหลือประชาชนเพิ่มเติม
“ขอยืนยันว่า จากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนที่เกิดขึ้นนี้ แม้จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และเกิดผลกระทบ วงกว้างทั่วโลก แต่เราจะยังคงดำเนินการอย่างเต็มที่ในการบรรเทาผลกระทบให้เกิดกับประชาชนให้น้อยที่สุด” นาย
กุลิศกล่าว
และเตรียมความพร้อมด้านปริมาณสำรองพลังงาน โดย ณ วันที่ 21 ก.พ. 2565 ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบประมาณ 3,200 ล้านลิตร ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่งอีก 1,460 ล้านลิตร น้ำมันสำเร็จรูป 1,670 ล้านลิตร ทำให้มีน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองใช้ได้กว่า 2 เดือน แบ่งเป็น น้ำมันดิบ 27 วัน อยู่ระหว่างขนส่งอีก 13 วัน และน้ำมันสำเร็จรูป 12 วัน ส่วนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) สำหรับในภาคครัวเรือนใช้ได้ 16 วัน
นาย
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประเมินว่า สถานการณ์การรัสเซีย-ยูเครน ในขณะนี้จะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น โดยทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะทำให้ราคาน้ำมันในไทยปรับขึ้น 50 สตางค์ต่อลิตร
และกรณีเลวร้าย หากเกิดสงคราม คาดว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นถึง 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และจะกระทบต่อราคาน้ำมันถึง 6 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนมองว่า คงไม่เกิดกรณีเลวร้ายแน่นอน เพราะคงไม่มีใครอยากให้เกิดสงคราม
นาย
กฤษณ์ อิ่มแสง ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประเมินแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันว่า ภายในไม่กี่วันนี้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกมีโอกาสปรับขึ้นไปสูงกว่าระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในระยะสั้น เนื่องจากสถานการณ์ในต่างประเทศที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันประเทศปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดโลก
“ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากปัจจัยภายนอก เราไม่ได้เป็น ผู้กำหนด ที่สำคัญเราเป็นประเทศนำเข้าน้ำมัน ดังนั้นอาจต้องรับผลกระทบอย่างเรื่องราคาน้ำมันที่แพงขึ้น เช่น ก่อนหน้านี้อาจเคยเติมเต็มถัง 700-800 บาท แต่ตอนนี้จะต้องจ่าย 1,300-1,400 บาท เป็นต้น เราก็จะตึงกระเป๋ามากขึ้น”
นาย
กอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากการคว่ำบาตรของหลายประเทศในขณะนี้ จะทำให้ราคาพลังงานในตลาดโลกปรับสูง เพราะรัสเซียในปัจจุบันขายน้ำมันอยู่ที่ 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเป็น 11-12% ของตลาดโลก การคว่ำบาตรจะทำให้ปริมาณ 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หายไปจากตลาด และส่งผลกระทบต่อไทย ซึ่งราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาวะที่กำลังฟื้นตัวด้วย
ในขณะนี้ไทยยังเผชิญอยู่กับเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูง และหากในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน เกิดความรุนแรงแล้วจะซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ ราคาน้ำมันแพงขึ้น ส่งผลต่อค่าขนส่งให้แพงขึ้น ต่อไปก็จะเป็นราคาสินค้าที่แพงขึ้น
ขณะเดียวกันภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวยากลำบาก โดยอาจจะต้องรอไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า หรือในปี 2569 จึงจะฟื้นตัว ในขณะที่ส่งออกก็ต้องได้รับผลกระทบ ซึ่งเศรษฐกิจไทยพึ่งพาส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างมาก
“สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในปัจจุบันคือไทยต้องเจอภาวะน้ำมันราคาสูงไปอีก 3 เดือนจากนี้ และสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอีก 1 ปีข้างหน้า คือ เศรษฐกิจโลกเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ถ้าสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ต้องเผชิญกับความรุนแรง”
ส่วนราคาอาหารสัตว์ ซึ่งปัจจุบันก็ราคาแพงอยู่แล้วก็จะยิ่งแพงขึ้นไปอีก ซึ่ง นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ บอกว่า สถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน มีผลอย่างยิ่งต่อราคาธัญพืช ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของการผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากรัสเซียและยูเครนเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ทั้งข้าวสาลี ข้าวโพด อาจไม่สามารถเก็บเกี่ยวหรือทำการส่งออกได้ตามปกติ ซึ่งปัจจุบันวัตถุดิบอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ราคาขึ้นมาสูงกว่า 50-60% แล้ว ยังไม่นับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่จะสูงขึ้นทำให้ต้นทุน ค่าขนส่งปรับเพิ่มด้วย
นาย
ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รอง ผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) กล่าวว่า ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว คือ ส่งผลกระทบโดยตรง นักท่องเที่ยวรัสเซียที่อาจจะหายไป ซึ่งปัจจุบันรัสเซียถือเป็นนักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยติดท็อป 5 ขณะที่นักท่องเที่ยวยูเครนจะเป็นกลุ่มครอบครัว อาจจะมีผลกระทบบ้าง
ด้านกระทรวงการคลัง นาย
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า ปัญหาระยะสั้น 3 เรื่องที่ต้องติดตาม เพราะจะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ได้แก่ 1.สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน แต่เชื่อว่าจากความพยายามของทุกฝ่ายน่าจะทำให้เรื่องจบลงด้วยดี ไม่น่าเกิดความรุนแรงจนนำไปสู่การสู้รบ
“ผลจากกรณียูเครน-รัสเซีย ต้องติดตามสถานการณ์ ไม่อยากเห็นเหตุการณ์บานปลาย ซึ่งจะส่งผลต่อราคาน้ำมันขยับตัว ซึ่งขณะนี้อยู่ในกรอบ 90-100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ยังอยู่ในขอบเขตที่กองทุนน้ำมันชื้อเพลิงบริหารจัดการไม่ให้ดีเซลเกิน 30 บาทต่อลิตรได้ กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิตที่ผ่านมาก็เข้าไปช่วยในเรื่องของภาษี”
2. อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่มองว่าจะเป็นปัจจัยระยะสั้น โดยมองว่าวิธีบริหารจัดการต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง ตรงจุด จะทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวลดลงมาได้
และ 3.สถานการณ์โควิด-19 โดยรัฐบาลยังมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้ว่าอาจจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ
ก็ได้แต่ภาวนาให้สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน จบลง โดยเร็ว จะได้ไม่เป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย
โอมิครอนพ่นพิษ ผู้ค้าสลากฯช้ำ ยอมขาดทุน ซื้อแพงขายถูก เพื่อรักษาโควตา
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6913096
โอมิครอนพ่นพิษ ผู้ค้าสลากฯช้ำ ยอมขาดทุน ซื้อแพงขายถูก เพื่อรักษาโควตาไว้ เลขไม่สวยเหลือใบละ 55 บาท วอนแก้ไขสัดส่วนกำไรจากต้นทาง
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ค้าสลากรายย่อยต้องแบกรับภาระขาดทุนจากต้นทุนสลากที่ซื้อมาแพง แต่ต้องยอมขายในราคาถูก เพื่อรักษาโควตาไว้ การระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด โอมิครอน ยังกระทบกับผู้ค้าสลากรายย่อยในแต่ละงวด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากให้มีการแก้ไขสัดส่วนกำไรจากต้นทาง ถึงผู้ค้ารายย่อยให้สามารถประกอบอาชีพนี้ต่อไปได้
ผู้ค้าสลากรายย่อยหลายราย บริเวณสี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร เกือบทุกแผง มีการติดป้ายขายสลากในราคาใบละ 55 บาท ในหมวดเลขไม่สวย ส่วนในหมวดตัวเลขที่นิยมกันราคาขายยังเป็นไปตามกลไกของตลาด ที่มีราคาต้นทุนสูงอยู่ มาอย่างต่อเนื่อง
แม่ค้าขายลอตเตอรี่ย่านสี่แยกคอกวัว รายนี้ยอมรับว่า ต้องแบกภาระขาดทุนมาแล้วหลายงวด ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 เรื่อยมา ผู้ซื้อสลากน้อยลงการจำหน่ายสลากฯ แข่งขันกันมากขึ้น ช่องทางซื้อขายแพลตฟอร์มออนไลน์ยังส่งผลถึงผู้ค้าสลากที่มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง ต้องแบกภาระขาดทุนมาตลอด เพื่อรักษาโควตาและเครดิตตัวเองไว้ การแก้ไขปัญหาราคาจากต้นทางให้ถูกลง จะเป็นธรรมกับผู้ค้ารายย่อยให้มีอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว
ปรากฎการณ์ราคาสลากใบละ 55 บาท จากราคาต้นทุนที่ออกจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลใบละ 70 บาท 40 สตางค์ ผู้ค้าต้องยอมขาดทุนหลายงวดติดต่อกัน นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนนโยบาย ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ออกมาหลายรูปแบบหวังแก้ปัญหาราคาต้นทุนสลากแพง กลับยิ่งสร้างความปั่นป่วนในตลาดค้าสลาก ให้กระทบกับหลายองค์กร หลายสมาคมที่เป็นคู่ค้ากับสำนักงานสลากฯ จำหน่ายสลากไม่ได้ตามเป้าที่ควรจะเป็น
การแก้ปัญหาราคาสลากฯแพง กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การปรับลดราคาจากต้นทางน่าจะเป็นการคืนกำไรให้กับประชาชน โดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นการช่วยส่งเสริมรัฐ โดยจากการสอบถามผู้ค้าสลากฯ ย่านสี่แยกคอกวัว ปัจจุบันราคาสลากฯ ตกลงไปอยู่ที่ใบละ 50 บาท
รมต.เบี้ยวตอบกระทู้ส.ว. 2 สัปดาห์ซ้อน อ้างติดภารกิจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3206799
รมต.เบี้ยว ตอบกระทู้ ส.ว. 2 สัปดาห์ซ้อน อ้างติดภารกิจ ทั้งที่แจ้งล่วงหน้าแล้ว
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.
สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้แจ้งต่อที่ประชุมในวาระกระทู้ถามเป็นหนังสือ ว่า การตั้งกระทู้ถาม ทั้ง 3 กระทู้ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ถามโดยพล.อ.
ดนัย มีชูเวท ส.ว. การขับเคลื่อนแผนปฏิบีติการการขับเคลื่อนการรพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ถามโดยนาย
อำพล จินดาวัฒนะ ส.ว. และเรื่องโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ถามโดยนาย
สุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว. แต่เนื่องจากรัฐมนตรีติดภารกิจไม่สามารถมาตอบกระทู้ได้ ส่วนการตั้งกระทู้ถามด้วยวาจา ไม่มีส.ว.ตั้งกระทู้ถาม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีที่ไม่มีรัฐมนตรีมาตอบกระทู้ถามเป็นหนังสือนั้น ถือเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกันที่ไม่มีรัฐมนตรีมาตอบ ทั้งนี้ปกติแล้วการตั้งกระทู้ถามเป็นหนังสือ หรือภาษาประชุมวุฒิสภา จะเรียกว่า กระทู้แห้ง จะถูกบรรจุไว้ในระเบียบวาระ และแจ้งไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้รับทราบเป็นการล่วงหน้า 3-4 วัน เพื่อให้มีเวลาเตรียมตัวชี้แจง ขณะที่การตั้งกระทู้ถามด้วยวาจา หรือกระทู้สดนั้น ส.ว.จะนำปัญหาที่เกิดขึ้นในกระแสรอบสัปดาห์หรือรอบวันมาตั้งถาม โดยวิปวุฒิสภา จะกำหนดรับกระทู้ถามสด ก่อนเวลาที่จะประชุม คือ เวลา 08.30-09.00 น. หากมีส.ว.ตั้งถามกระทู้สดเกิน 3 กระทู้ ต้องจับสลาก อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า การไม่ตั้งกระทู้สดดังกล่าวเกิดขึ้น 2 สัปดาห์ติดแล้วเช่นกัน
JJNY : ส่องผลกระทบรัสเซีย-ยูเครน│โอมิครอนพ่นพิษ ผู้ค้าสลากฯช้ำ│รมต.เบี้ยวตอบกระทู้ส.ว.│‘อียู’ลงขันซื้ออาวุธช่วยยูเครน
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6911128
สถานการณ์ในประเทศก็ยังหนักหน่วงกับโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วติดเชื้อเกือบ 5 หมื่นราย ยังเจอกับสถานการณ์ในต่างประเทศที่รัสเซียเปิดฉากถล่มยูเครน
ถ้าหากเหตุการณ์รุนแรงและบานปลาย ย่อมหลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้แน่นอน โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยที่กำลังค่อยๆ ฟื้นตัว อาจจะทรุดลงไปอีก
เพราะแค่เริ่มต้น ตลาดหุ้นทั้งต่างประเทศและไทยก็ร่วงระเนระนาด ราคาน้ำมันขยับ ส่วนสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำราคาพุ่งพรวด
โดยตลาดหุ้นไทยเมื่อวันที่ 24 ก.พ. เผชิญแรงเทขายของนักลงทุนตลอดเปิดการซื้อขาย เนื่องจากวิตกกังวล ต่อกรณีนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย ตัดสินใจที่จะเปิดฉากปฏิบัติการทางทหารพิเศษในยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั่วโลก ทำให้หุ้นไทยปิดที่ 1,662.72 จุด ลดลง 33.73 จุด หรือลบ 1.99%
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมาก ส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลงแรง เนื่องจากนักลงทุนกังวล
นายกวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คาดการณ์ว่า ภาพรวมสถานการณ์ระหว่างความตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครน มีโอกาสยืดเยื้อ หลังจากการเจรจายังไม่สามารถเริ่มต้นและยุติได้
ด้านตลาดทองคำในประเทศปรับพุ่งขึ้นทันทีบาท ละ 350 บาท ก่อนที่จะปรับขึ้นลง รวม 17 ครั้ง เป็นราคาสูงสุดในรอบ 1 ปีกว่า โดยราคาทองคำแท่งรับซื้อที่บาทละ 29,900 บาท ขายออกที่บาทละ 30,000 บาท และทองรูปพรรณรับซื้อที่บาทละ 29,364.92 บาท ขายออกบาทละ 30,500 บาท โดยภายในวันเดียวราคาทองคำปรับขึ้นไปถึงบาทละ 1,100 บาท
ส่วนผลกระทบอีกอย่างที่จะตามมาคือ ราคาน้ำมันแพงขึ้น โดย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ยอมรับว่าสิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือ ราคาพลังงาน จะทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น กระทรวงพลังงานได้ใช้มาตรการที่มีอย่างต่อเนื่องและยังคงเตรียมมาตรการที่จะสามารถช่วยเหลือประชาชนเพิ่มเติม
“ขอยืนยันว่า จากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนที่เกิดขึ้นนี้ แม้จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และเกิดผลกระทบ วงกว้างทั่วโลก แต่เราจะยังคงดำเนินการอย่างเต็มที่ในการบรรเทาผลกระทบให้เกิดกับประชาชนให้น้อยที่สุด” นายกุลิศกล่าว
และเตรียมความพร้อมด้านปริมาณสำรองพลังงาน โดย ณ วันที่ 21 ก.พ. 2565 ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบประมาณ 3,200 ล้านลิตร ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่งอีก 1,460 ล้านลิตร น้ำมันสำเร็จรูป 1,670 ล้านลิตร ทำให้มีน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองใช้ได้กว่า 2 เดือน แบ่งเป็น น้ำมันดิบ 27 วัน อยู่ระหว่างขนส่งอีก 13 วัน และน้ำมันสำเร็จรูป 12 วัน ส่วนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) สำหรับในภาคครัวเรือนใช้ได้ 16 วัน
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประเมินว่า สถานการณ์การรัสเซีย-ยูเครน ในขณะนี้จะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น โดยทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะทำให้ราคาน้ำมันในไทยปรับขึ้น 50 สตางค์ต่อลิตร
และกรณีเลวร้าย หากเกิดสงคราม คาดว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นถึง 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และจะกระทบต่อราคาน้ำมันถึง 6 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนมองว่า คงไม่เกิดกรณีเลวร้ายแน่นอน เพราะคงไม่มีใครอยากให้เกิดสงคราม
นายกฤษณ์ อิ่มแสง ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประเมินแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันว่า ภายในไม่กี่วันนี้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกมีโอกาสปรับขึ้นไปสูงกว่าระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในระยะสั้น เนื่องจากสถานการณ์ในต่างประเทศที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันประเทศปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดโลก
“ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากปัจจัยภายนอก เราไม่ได้เป็น ผู้กำหนด ที่สำคัญเราเป็นประเทศนำเข้าน้ำมัน ดังนั้นอาจต้องรับผลกระทบอย่างเรื่องราคาน้ำมันที่แพงขึ้น เช่น ก่อนหน้านี้อาจเคยเติมเต็มถัง 700-800 บาท แต่ตอนนี้จะต้องจ่าย 1,300-1,400 บาท เป็นต้น เราก็จะตึงกระเป๋ามากขึ้น”
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากการคว่ำบาตรของหลายประเทศในขณะนี้ จะทำให้ราคาพลังงานในตลาดโลกปรับสูง เพราะรัสเซียในปัจจุบันขายน้ำมันอยู่ที่ 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเป็น 11-12% ของตลาดโลก การคว่ำบาตรจะทำให้ปริมาณ 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หายไปจากตลาด และส่งผลกระทบต่อไทย ซึ่งราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาวะที่กำลังฟื้นตัวด้วย
ในขณะนี้ไทยยังเผชิญอยู่กับเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูง และหากในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน เกิดความรุนแรงแล้วจะซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ ราคาน้ำมันแพงขึ้น ส่งผลต่อค่าขนส่งให้แพงขึ้น ต่อไปก็จะเป็นราคาสินค้าที่แพงขึ้น
ขณะเดียวกันภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวยากลำบาก โดยอาจจะต้องรอไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า หรือในปี 2569 จึงจะฟื้นตัว ในขณะที่ส่งออกก็ต้องได้รับผลกระทบ ซึ่งเศรษฐกิจไทยพึ่งพาส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างมาก
“สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในปัจจุบันคือไทยต้องเจอภาวะน้ำมันราคาสูงไปอีก 3 เดือนจากนี้ และสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอีก 1 ปีข้างหน้า คือ เศรษฐกิจโลกเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ถ้าสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ต้องเผชิญกับความรุนแรง”
ส่วนราคาอาหารสัตว์ ซึ่งปัจจุบันก็ราคาแพงอยู่แล้วก็จะยิ่งแพงขึ้นไปอีก ซึ่ง นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ บอกว่า สถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน มีผลอย่างยิ่งต่อราคาธัญพืช ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของการผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากรัสเซียและยูเครนเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ทั้งข้าวสาลี ข้าวโพด อาจไม่สามารถเก็บเกี่ยวหรือทำการส่งออกได้ตามปกติ ซึ่งปัจจุบันวัตถุดิบอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ราคาขึ้นมาสูงกว่า 50-60% แล้ว ยังไม่นับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่จะสูงขึ้นทำให้ต้นทุน ค่าขนส่งปรับเพิ่มด้วย
นายศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รอง ผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) กล่าวว่า ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว คือ ส่งผลกระทบโดยตรง นักท่องเที่ยวรัสเซียที่อาจจะหายไป ซึ่งปัจจุบันรัสเซียถือเป็นนักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยติดท็อป 5 ขณะที่นักท่องเที่ยวยูเครนจะเป็นกลุ่มครอบครัว อาจจะมีผลกระทบบ้าง
ด้านกระทรวงการคลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า ปัญหาระยะสั้น 3 เรื่องที่ต้องติดตาม เพราะจะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ได้แก่ 1.สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน แต่เชื่อว่าจากความพยายามของทุกฝ่ายน่าจะทำให้เรื่องจบลงด้วยดี ไม่น่าเกิดความรุนแรงจนนำไปสู่การสู้รบ
“ผลจากกรณียูเครน-รัสเซีย ต้องติดตามสถานการณ์ ไม่อยากเห็นเหตุการณ์บานปลาย ซึ่งจะส่งผลต่อราคาน้ำมันขยับตัว ซึ่งขณะนี้อยู่ในกรอบ 90-100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ยังอยู่ในขอบเขตที่กองทุนน้ำมันชื้อเพลิงบริหารจัดการไม่ให้ดีเซลเกิน 30 บาทต่อลิตรได้ กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิตที่ผ่านมาก็เข้าไปช่วยในเรื่องของภาษี”
2. อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่มองว่าจะเป็นปัจจัยระยะสั้น โดยมองว่าวิธีบริหารจัดการต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง ตรงจุด จะทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวลดลงมาได้
และ 3.สถานการณ์โควิด-19 โดยรัฐบาลยังมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้ว่าอาจจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ
ก็ได้แต่ภาวนาให้สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน จบลง โดยเร็ว จะได้ไม่เป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย
โอมิครอนพ่นพิษ ผู้ค้าสลากฯช้ำ ยอมขาดทุน ซื้อแพงขายถูก เพื่อรักษาโควตา
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6913096
โอมิครอนพ่นพิษ ผู้ค้าสลากฯช้ำ ยอมขาดทุน ซื้อแพงขายถูก เพื่อรักษาโควตาไว้ เลขไม่สวยเหลือใบละ 55 บาท วอนแก้ไขสัดส่วนกำไรจากต้นทาง
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ค้าสลากรายย่อยต้องแบกรับภาระขาดทุนจากต้นทุนสลากที่ซื้อมาแพง แต่ต้องยอมขายในราคาถูก เพื่อรักษาโควตาไว้ การระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด โอมิครอน ยังกระทบกับผู้ค้าสลากรายย่อยในแต่ละงวด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากให้มีการแก้ไขสัดส่วนกำไรจากต้นทาง ถึงผู้ค้ารายย่อยให้สามารถประกอบอาชีพนี้ต่อไปได้
ผู้ค้าสลากรายย่อยหลายราย บริเวณสี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร เกือบทุกแผง มีการติดป้ายขายสลากในราคาใบละ 55 บาท ในหมวดเลขไม่สวย ส่วนในหมวดตัวเลขที่นิยมกันราคาขายยังเป็นไปตามกลไกของตลาด ที่มีราคาต้นทุนสูงอยู่ มาอย่างต่อเนื่อง
แม่ค้าขายลอตเตอรี่ย่านสี่แยกคอกวัว รายนี้ยอมรับว่า ต้องแบกภาระขาดทุนมาแล้วหลายงวด ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 เรื่อยมา ผู้ซื้อสลากน้อยลงการจำหน่ายสลากฯ แข่งขันกันมากขึ้น ช่องทางซื้อขายแพลตฟอร์มออนไลน์ยังส่งผลถึงผู้ค้าสลากที่มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง ต้องแบกภาระขาดทุนมาตลอด เพื่อรักษาโควตาและเครดิตตัวเองไว้ การแก้ไขปัญหาราคาจากต้นทางให้ถูกลง จะเป็นธรรมกับผู้ค้ารายย่อยให้มีอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว
ปรากฎการณ์ราคาสลากใบละ 55 บาท จากราคาต้นทุนที่ออกจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลใบละ 70 บาท 40 สตางค์ ผู้ค้าต้องยอมขาดทุนหลายงวดติดต่อกัน นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนนโยบาย ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ออกมาหลายรูปแบบหวังแก้ปัญหาราคาต้นทุนสลากแพง กลับยิ่งสร้างความปั่นป่วนในตลาดค้าสลาก ให้กระทบกับหลายองค์กร หลายสมาคมที่เป็นคู่ค้ากับสำนักงานสลากฯ จำหน่ายสลากไม่ได้ตามเป้าที่ควรจะเป็น
การแก้ปัญหาราคาสลากฯแพง กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การปรับลดราคาจากต้นทางน่าจะเป็นการคืนกำไรให้กับประชาชน โดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นการช่วยส่งเสริมรัฐ โดยจากการสอบถามผู้ค้าสลากฯ ย่านสี่แยกคอกวัว ปัจจุบันราคาสลากฯ ตกลงไปอยู่ที่ใบละ 50 บาท
รมต.เบี้ยวตอบกระทู้ส.ว. 2 สัปดาห์ซ้อน อ้างติดภารกิจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3206799
รมต.เบี้ยว ตอบกระทู้ ส.ว. 2 สัปดาห์ซ้อน อ้างติดภารกิจ ทั้งที่แจ้งล่วงหน้าแล้ว
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้แจ้งต่อที่ประชุมในวาระกระทู้ถามเป็นหนังสือ ว่า การตั้งกระทู้ถาม ทั้ง 3 กระทู้ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ถามโดยพล.อ.ดนัย มีชูเวท ส.ว. การขับเคลื่อนแผนปฏิบีติการการขับเคลื่อนการรพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ถามโดยนายอำพล จินดาวัฒนะ ส.ว. และเรื่องโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ถามโดยนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว. แต่เนื่องจากรัฐมนตรีติดภารกิจไม่สามารถมาตอบกระทู้ได้ ส่วนการตั้งกระทู้ถามด้วยวาจา ไม่มีส.ว.ตั้งกระทู้ถาม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีที่ไม่มีรัฐมนตรีมาตอบกระทู้ถามเป็นหนังสือนั้น ถือเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกันที่ไม่มีรัฐมนตรีมาตอบ ทั้งนี้ปกติแล้วการตั้งกระทู้ถามเป็นหนังสือ หรือภาษาประชุมวุฒิสภา จะเรียกว่า กระทู้แห้ง จะถูกบรรจุไว้ในระเบียบวาระ และแจ้งไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้รับทราบเป็นการล่วงหน้า 3-4 วัน เพื่อให้มีเวลาเตรียมตัวชี้แจง ขณะที่การตั้งกระทู้ถามด้วยวาจา หรือกระทู้สดนั้น ส.ว.จะนำปัญหาที่เกิดขึ้นในกระแสรอบสัปดาห์หรือรอบวันมาตั้งถาม โดยวิปวุฒิสภา จะกำหนดรับกระทู้ถามสด ก่อนเวลาที่จะประชุม คือ เวลา 08.30-09.00 น. หากมีส.ว.ตั้งถามกระทู้สดเกิน 3 กระทู้ ต้องจับสลาก อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า การไม่ตั้งกระทู้สดดังกล่าวเกิดขึ้น 2 สัปดาห์ติดแล้วเช่นกัน