ยอดพุ่งไม่หยุด ติดเชื้อใหม่นิวไฮ 25,615 ราย รวม ATK แล้ว 47,549 ราย ดับ 40 คน
https://www.matichon.co.th/local/news_3203980
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผยแพร่ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำ วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 รวม 25,615 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 25,449 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 166 ราย
ผู้ป่วยสะสม 621,462 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 14,641 ราย หายป่วยสะสม 452,510 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 201,044 ราย เสียชีวิต 40 ราย
โดยมียอดผู้ติดเชื้อเข้าข่าย จากผลตรวจ ATK 21,934 คน มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 965 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 263 คน
ได๋ โพสต์ถึง ผู้ดูเเลศูนย์พักคอย กทม. อย่าให้ใคร ต้องนอนข้างถนนอีกเลย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6910543
ได๋ โพสต์ถึง ผู้ดูเเลศูนย์พักคอย ในเขต กทม. รับปากแล้วช่วยเปิดประตูด้วย อย่าให้ใคร ต้องนอนข้างถนนอีกเลย
จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 หลังมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยวันที่ 25 ก.พ. 65 มีผู้ป่วยใหม่ 24,932 ราย ผู้ป่วยสะสม 595,847 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 15,774 ราย หายป่วยสะสม 437,869 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) เสียชีวิตเพิ่ม 41 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 190,110 ราย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลติดเชื้อเข้าข่าย ATK 22,509 ราย, ผู้ป่วยปอดอักเสบ 931 ราย, และผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 254 ราย
ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ระบาดทุกระลอกคือผู้ป่วยติดต่อเข้ารักษาตัวยาก หลายรายหาเตียงไม่ได้ เนื่องจากไม่สะดวกที่จะรักษาที่บ้าน กลัวจะแพร่เชื้อให้แก่ครอบครัว โดยพบว่า มีบางรายต้องมาอาศัยนอนที่ข้างถนน ระหว่างรอเตียงหรือต้องการแยกกักตัว
ล่าสุด “
ได๋ ไดอาน่า จงจินตนาการ” นักแสดง-พิธีกรชื่อดัง หนึ่งในทีมงาน “เราต้องรอด” โพสต์เฟซบุ๊กว่า
เรียนเเจ้งผู้ดูเเลศูนย์พักคอยในเขตกรุงเทพมหานครทุกท่าน ตามที่ได้มีการโพสต์ไปก่อนหน้าทุกหน่วยงานได้มีการประชุมหารืออย่างเร่งด่วน เพื่อหาเเนวทางช่วยเหลือประชาชนผู้ติดเชื้อที่มีความต้องการเเยกกักตัว
ไม่ว่าจะเป็นท่านผู้ว่า ท่านรองผู้ว่า ผู้บริหาร ของ กทม. รวมถึง ท่านผู้อำนวยการสำนักการเเพทย์ ได้มอบหมายนโยบายเพื่อให้ทุกศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนเเบบไม่มีเงื่อนไข เมื่อท่านรับปากกับผู้ใหญ่เเล้ว รบกวนช่วยเปิดใจ เเละเปิดประตูศูนย์ด้วย ช่วยกันหน่อยค่ะ อย่าให้มีใครต้องนอนอยู่ข้างถนนอีกเลย เปิดใจไม่พอเปิดประตูศูนย์ด้วยค่ะ
https://www.facebook.com/ladydna/posts/10159439500051620
ศึกรัสเซีย-ยูเครนกระทบอาหารสัตว์จ่อหยุดไลน์ผลิต
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_297269/
ผู้ผลิตอาหารสัตว์เตรียมหยุดไลน์ผลิต เหตุไม่มีวัตถุดิบป้อนโรงงาน จากสงครามรัสเซีย-ยูเครนพ่นพิษ
สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำระดับราคาอาหารพุ่งทั่วโลกรวมถึงไทย สัญญาณส่อเค้ารุนแรง เหตุขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างหนัก เมื่อผนวกอุปสรรคจากมาตรการรัฐยิ่งปิดตายโรงงาน หลายแห่งเริ่มหยุดไลน์การผลิต คาดปริมาณอาหารสัตว์ปีนี้จะลดลง 4 ล้านตัน กระทบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั่วประเทศ ส่งผลปริมาณเนื้อสัตว์ในตลาดลดลง และไทยอาจไม่สามารถส่งออกอาหารให้ลูกค้าต่างประเทศได้ตามออเดอร์
ด้านนาย
พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยและเลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เปิดเผยว่า ในฐานะต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิตอาหารได้เห็นภาพรวมของสถานการณ์สงครามยูเครน ที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงต่อการผลิตอาหารของประเทศ ตั้งแต่ระดับราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ไปจนถึงมาตรการรัฐของไทยที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการจัดหาวัตถุดิบ
ทั้งนี้ รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก โดยมีปริมาณการส่งออกข้าวสาลีรวมกันราว 29% ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก และมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 19% ของตลาดโลก เมื่อเกิดสงครามทำให้ระดับราคาข้าวสาลีพุ่งสูงขึ้นทันที เป็น 12.75 บาท/กก. จากราคา 8.91 บาท/กก.ในปี 2564 ขณะที่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย พุ่งสูงกว่าตลาดโลกไปอยู่ที่ 12 บาท/กก. และมีแนวโน้มขยับต่อเนื่องไปถึง 15 บาท/กก. แม้จะราคาแพงขนาดไหน แต่ก็ไม่มีผลผลิตข้าวโพดออกสู่ตลาดแล้ว จากความต้องการใช้ข้าวโพดทั้งหมด 7.98 ล้านตัน ยังขาดแคลนถึง 3.18 ล้านตัน จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบทดแทน ซึ่งได้แก่ “
ข้าวสาลี” ที่กำลังมีราคาพุ่งสูงสุดจากสงครามดังกล่าวข้างต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ราคาจะสูงเพียงใดก็ไม่สามารถนำเข้าข้าวสาลีมาได้ เนื่องจากมีอุปสรรคจากมาตรการ 3:1 ที่รัฐบังคับให้ต้องซื้อผลผลิตข้าวโพด 3 ส่วนก่อน จึงจะนำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน แต่ประเด็นคือไม่มีข้าวโพดในประเทศให้ซื้อแล้ว จึงทำให้โรงงานอาหารสัตว์ไม่สามารถนำเข้าข้าวสาลีได้
“เมื่อไม่มีข้าวโพดในประเทศให้ซื้อ 3 ส่วนเพื่อนำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วนตามเงื่อนไข 3:1 จึงเท่ากับเป็นการบล็อกกระบวนการผลิตของโรงงานอาหารสัตว์ไปโดยปริยาย เนื่องจากไม่มีวัตถุดิบป้อนโรงงาน ล่าสุด โรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลือง อ้างผลกระทบจากสงครามยูเครนประกาศราคาขายกากถั่วเหลืองที่ 22.50 บาท/กก. จากราคา 18.91 บาท/กก.ในปี 2564 เท่ากับปิดทางเดินต่อของโรงงานอาหารสัตว์ทันที โดยที่ยังไม่รวมต้นทุนค่าขนส่งจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น” นาย
พรศิลป์กล่าว
มาตรการรัฐอีกข้อคือการควบคุมบังคับไม่ให้อาหารสัตว์ขายได้ในราคาตามกลไกตลาด เป็นเหตุให้ราคาขายไม่สอดคล้องต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นรอบด้าน ไม่เพียงเท่านั้น รัฐยังคงมีมาตรการเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เช่น กากถั่วเหลืองที่ 2% เป็นภาระต้นทุนซ้ำเติมโดยใช่เหตุ ทั้งๆที่การงดภาษีนี้ไม่กระทบเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองแต่อย่างใด
เมื่อไม่สามารถหาวัตถุดิบมาผลิตอาหารสัตว์ได้หรือแม้จะหามาผลิตได้แต่ก็ต้องขายในราคาขาดทุน ดังนั้น ทางออกของสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยหลายแห่ง จึงจำเป็นต้องทยอยลดกำลังการผลิตและปิดไลน์การผลิตอาหารสัตว์ลงบางส่วน
“
สมาพันธ์ฯ ส่งสัญญาณเตือนรัฐบาลแล้วหลายครั้ง ทั้งที่ผ่านกระทรวงพาณิชย์และทำหนังสือด่วนที่สุดถึงท่านนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงรอบด้านจากสถานการณ์นี้ การผลิตอาหารสัตว์ในแต่ละปีที่มีประมาณ 22 ล้านตัน เป็นไปได้ที่ปีนี้จะลดลงเหลือเพียง 17-18 ล้านตัน หรือหายไปกว่า 4 ล้านตัน” นาย
พรศิลป์กล่าวและว่าการลดลงของอาหารสัตว์หลายล้านตันเช่นนี้ จะส่งผลต่อเนื่องไปทั้งห่วงโซ่ปศุสัตว์ นั่นคือฟาร์มเลี้ยงสัตว์ไม่มีอาหารเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจำเป็นต้องพักเล้างดการเลี้ยง กระทบปริมาณผลผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ทั้งเพื่อผู้บริโภคในประเทศและส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า ซึ่งจะส่งผลถึงความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของชาติ
“
ท่ามกลางกระแสสงครามยูเครนที่กำลังเกิดขึ้น ราคาอาหารสูงขึ้น แต่ไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารของโลก กลับต้องชะลอปริมาณการผลิตอาหารเพราะอุปสรรคจากมาตรการรัฐ ก็ได้แต่หวังว่า ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเร่งแก้ปัญหานี้โดยด่วนที่สุดตามที่สมาพันธ์ฯได้เสนอผ่านหนังสือถึงท่านไปแล้ว ก่อนจะเกิดวิกฤตอาหารซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศ” นาย
พรศิลป์กล่าวทิ้งท้าย
JJNY : ติดเชื้อนิวไฮ 25,615 ดับ 40│ได๋โพสต์ถึงผู้ดูเเลศูนย์พักคอยกทม.│อาหารสัตว์จ่อหยุดไลน์ผลิต│ทองคำ เปิดตลาด ร่วงแรง
https://www.matichon.co.th/local/news_3203980
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผยแพร่ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำ วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 รวม 25,615 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 25,449 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 166 ราย
ผู้ป่วยสะสม 621,462 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 14,641 ราย หายป่วยสะสม 452,510 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 201,044 ราย เสียชีวิต 40 ราย
โดยมียอดผู้ติดเชื้อเข้าข่าย จากผลตรวจ ATK 21,934 คน มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 965 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 263 คน
ได๋ โพสต์ถึง ผู้ดูเเลศูนย์พักคอย กทม. อย่าให้ใคร ต้องนอนข้างถนนอีกเลย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6910543
ได๋ โพสต์ถึง ผู้ดูเเลศูนย์พักคอย ในเขต กทม. รับปากแล้วช่วยเปิดประตูด้วย อย่าให้ใคร ต้องนอนข้างถนนอีกเลย
จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 หลังมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยวันที่ 25 ก.พ. 65 มีผู้ป่วยใหม่ 24,932 ราย ผู้ป่วยสะสม 595,847 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 15,774 ราย หายป่วยสะสม 437,869 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) เสียชีวิตเพิ่ม 41 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 190,110 ราย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลติดเชื้อเข้าข่าย ATK 22,509 ราย, ผู้ป่วยปอดอักเสบ 931 ราย, และผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 254 ราย
ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ระบาดทุกระลอกคือผู้ป่วยติดต่อเข้ารักษาตัวยาก หลายรายหาเตียงไม่ได้ เนื่องจากไม่สะดวกที่จะรักษาที่บ้าน กลัวจะแพร่เชื้อให้แก่ครอบครัว โดยพบว่า มีบางรายต้องมาอาศัยนอนที่ข้างถนน ระหว่างรอเตียงหรือต้องการแยกกักตัว
ล่าสุด “ได๋ ไดอาน่า จงจินตนาการ” นักแสดง-พิธีกรชื่อดัง หนึ่งในทีมงาน “เราต้องรอด” โพสต์เฟซบุ๊กว่า
เรียนเเจ้งผู้ดูเเลศูนย์พักคอยในเขตกรุงเทพมหานครทุกท่าน ตามที่ได้มีการโพสต์ไปก่อนหน้าทุกหน่วยงานได้มีการประชุมหารืออย่างเร่งด่วน เพื่อหาเเนวทางช่วยเหลือประชาชนผู้ติดเชื้อที่มีความต้องการเเยกกักตัว
ไม่ว่าจะเป็นท่านผู้ว่า ท่านรองผู้ว่า ผู้บริหาร ของ กทม. รวมถึง ท่านผู้อำนวยการสำนักการเเพทย์ ได้มอบหมายนโยบายเพื่อให้ทุกศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนเเบบไม่มีเงื่อนไข เมื่อท่านรับปากกับผู้ใหญ่เเล้ว รบกวนช่วยเปิดใจ เเละเปิดประตูศูนย์ด้วย ช่วยกันหน่อยค่ะ อย่าให้มีใครต้องนอนอยู่ข้างถนนอีกเลย เปิดใจไม่พอเปิดประตูศูนย์ด้วยค่ะ
https://www.facebook.com/ladydna/posts/10159439500051620
ศึกรัสเซีย-ยูเครนกระทบอาหารสัตว์จ่อหยุดไลน์ผลิต
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_297269/
ผู้ผลิตอาหารสัตว์เตรียมหยุดไลน์ผลิต เหตุไม่มีวัตถุดิบป้อนโรงงาน จากสงครามรัสเซีย-ยูเครนพ่นพิษ
สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำระดับราคาอาหารพุ่งทั่วโลกรวมถึงไทย สัญญาณส่อเค้ารุนแรง เหตุขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างหนัก เมื่อผนวกอุปสรรคจากมาตรการรัฐยิ่งปิดตายโรงงาน หลายแห่งเริ่มหยุดไลน์การผลิต คาดปริมาณอาหารสัตว์ปีนี้จะลดลง 4 ล้านตัน กระทบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั่วประเทศ ส่งผลปริมาณเนื้อสัตว์ในตลาดลดลง และไทยอาจไม่สามารถส่งออกอาหารให้ลูกค้าต่างประเทศได้ตามออเดอร์
ด้านนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยและเลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เปิดเผยว่า ในฐานะต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิตอาหารได้เห็นภาพรวมของสถานการณ์สงครามยูเครน ที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงต่อการผลิตอาหารของประเทศ ตั้งแต่ระดับราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ไปจนถึงมาตรการรัฐของไทยที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการจัดหาวัตถุดิบ
ทั้งนี้ รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก โดยมีปริมาณการส่งออกข้าวสาลีรวมกันราว 29% ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก และมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 19% ของตลาดโลก เมื่อเกิดสงครามทำให้ระดับราคาข้าวสาลีพุ่งสูงขึ้นทันที เป็น 12.75 บาท/กก. จากราคา 8.91 บาท/กก.ในปี 2564 ขณะที่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย พุ่งสูงกว่าตลาดโลกไปอยู่ที่ 12 บาท/กก. และมีแนวโน้มขยับต่อเนื่องไปถึง 15 บาท/กก. แม้จะราคาแพงขนาดไหน แต่ก็ไม่มีผลผลิตข้าวโพดออกสู่ตลาดแล้ว จากความต้องการใช้ข้าวโพดทั้งหมด 7.98 ล้านตัน ยังขาดแคลนถึง 3.18 ล้านตัน จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบทดแทน ซึ่งได้แก่ “ข้าวสาลี” ที่กำลังมีราคาพุ่งสูงสุดจากสงครามดังกล่าวข้างต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ราคาจะสูงเพียงใดก็ไม่สามารถนำเข้าข้าวสาลีมาได้ เนื่องจากมีอุปสรรคจากมาตรการ 3:1 ที่รัฐบังคับให้ต้องซื้อผลผลิตข้าวโพด 3 ส่วนก่อน จึงจะนำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน แต่ประเด็นคือไม่มีข้าวโพดในประเทศให้ซื้อแล้ว จึงทำให้โรงงานอาหารสัตว์ไม่สามารถนำเข้าข้าวสาลีได้
“เมื่อไม่มีข้าวโพดในประเทศให้ซื้อ 3 ส่วนเพื่อนำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วนตามเงื่อนไข 3:1 จึงเท่ากับเป็นการบล็อกกระบวนการผลิตของโรงงานอาหารสัตว์ไปโดยปริยาย เนื่องจากไม่มีวัตถุดิบป้อนโรงงาน ล่าสุด โรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลือง อ้างผลกระทบจากสงครามยูเครนประกาศราคาขายกากถั่วเหลืองที่ 22.50 บาท/กก. จากราคา 18.91 บาท/กก.ในปี 2564 เท่ากับปิดทางเดินต่อของโรงงานอาหารสัตว์ทันที โดยที่ยังไม่รวมต้นทุนค่าขนส่งจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น” นายพรศิลป์กล่าว
มาตรการรัฐอีกข้อคือการควบคุมบังคับไม่ให้อาหารสัตว์ขายได้ในราคาตามกลไกตลาด เป็นเหตุให้ราคาขายไม่สอดคล้องต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นรอบด้าน ไม่เพียงเท่านั้น รัฐยังคงมีมาตรการเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เช่น กากถั่วเหลืองที่ 2% เป็นภาระต้นทุนซ้ำเติมโดยใช่เหตุ ทั้งๆที่การงดภาษีนี้ไม่กระทบเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองแต่อย่างใด
เมื่อไม่สามารถหาวัตถุดิบมาผลิตอาหารสัตว์ได้หรือแม้จะหามาผลิตได้แต่ก็ต้องขายในราคาขาดทุน ดังนั้น ทางออกของสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยหลายแห่ง จึงจำเป็นต้องทยอยลดกำลังการผลิตและปิดไลน์การผลิตอาหารสัตว์ลงบางส่วน
“สมาพันธ์ฯ ส่งสัญญาณเตือนรัฐบาลแล้วหลายครั้ง ทั้งที่ผ่านกระทรวงพาณิชย์และทำหนังสือด่วนที่สุดถึงท่านนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงรอบด้านจากสถานการณ์นี้ การผลิตอาหารสัตว์ในแต่ละปีที่มีประมาณ 22 ล้านตัน เป็นไปได้ที่ปีนี้จะลดลงเหลือเพียง 17-18 ล้านตัน หรือหายไปกว่า 4 ล้านตัน” นายพรศิลป์กล่าวและว่าการลดลงของอาหารสัตว์หลายล้านตันเช่นนี้ จะส่งผลต่อเนื่องไปทั้งห่วงโซ่ปศุสัตว์ นั่นคือฟาร์มเลี้ยงสัตว์ไม่มีอาหารเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจำเป็นต้องพักเล้างดการเลี้ยง กระทบปริมาณผลผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ทั้งเพื่อผู้บริโภคในประเทศและส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า ซึ่งจะส่งผลถึงความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของชาติ
“ท่ามกลางกระแสสงครามยูเครนที่กำลังเกิดขึ้น ราคาอาหารสูงขึ้น แต่ไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารของโลก กลับต้องชะลอปริมาณการผลิตอาหารเพราะอุปสรรคจากมาตรการรัฐ ก็ได้แต่หวังว่า ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเร่งแก้ปัญหานี้โดยด่วนที่สุดตามที่สมาพันธ์ฯได้เสนอผ่านหนังสือถึงท่านไปแล้ว ก่อนจะเกิดวิกฤตอาหารซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศ” นายพรศิลป์กล่าวทิ้งท้าย