ที่มา
https://workpointtoday.com/explainer-war/
24 ก.พ. 2565
WRITER | วิศรุต
Workpoint
explainer ความขัดแย้งอันรุนแรงของ 2 ชาติเพื่อนบ้าน อาจกลายเป็นชนวนเหตุสำคัญที่กลายเป็นสงครามโลก จุดเริ่มต้นคืออะไร ทำไมรัสเซียกับยูเครนกำลังจะทำสงครามกัน workpointTODAY จะอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายที่สุดใน 34 ข้อ
1) ยูเครนเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียมาก่อน แต่ในปี 1917 เมื่อราชวงศ์โรมานอฟหมดอำนาจ กลุ่มชาตินิยมยูเครนจึงขอแยกตัวออกไปเป็นประเทศ โดยมีเยอรมนีหนุนหลัง แต่พอเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 พร้อมทั้งมีการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ยูเครนจึงถูกรวมอยู่ในโซเวียต และสถาปนาเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
2) ความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นในปี 1991 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย แต่ละประเทศแยกกันไปมีเอกราชของตัวเอง และยูเครนเองก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตาม โรงงานจัดเก็บอาวุธนิวเคลียร์ของโซเวียตตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศยูเครน แปลว่า หัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมด 1,249 หัว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของยูเครนไปโดยปริยาย
3) การมีหัวรบนิวเคลียร์อยู่ในมือ เป็นเครื่องการันตีความปลอดภัยของยูเครน ว่าจะไม่ปล่อยให้เพื่อนบ้านอย่างรัสเซียเข้ามารุกรานได้ อย่างไรก็ตาม สังคมโลกก็ไม่สบายใจนัก เพราะถ้าวันดีคืนดี ยูเครนโมโหขึ้นมาเมื่อไหร่ อาจใช้อาวุธนิวเคลียร์ในทางที่ผิดก็ได้ เช่นยิงถล่มใส่ประเทศอื่น ดังนั้นจึงต้องการให้ยูเครนทำการกำจัดหัวรบนิวเคลียร์ให้หมด (Denuclearization)
4) วันที่ 5 ธันวาคม 1994 ยูเครน รัสเซีย สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา เซ็นสนธิสัญญาร่วมกันในชื่อ ข้อตกลงบูดาเปสต์ ว่ายูเครนจะกำจัดหัวรบทิ้งเพื่อเปลี่ยนตัวเองเป็น Non-Nuclear-Weapon State (รัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์) เพื่อความมั่นคงของโลก
โดยสิ่งที่ยูเครนจะได้คืนมา คือ “เอกราช” ในการบริหารประเทศ ในข้อตกลงบูดาเปสต์ ระบุว่าในเมื่อยูเครนยอมทำลายหัวรบนิวเคลียร์ทิ้งแล้ว รัสเซียจะไม่สามารถใช้กำลังบุกรุกแทรกแซงได้
5) ในมุมหนึ่ง นี่เป็นการแสดงจุดยืนชัดเจนของยูเครนในประชาคมโลกว่าไม่สนับสนุนการทำสงคราม เศรษฐกิจต่างๆ จะได้เดินหน้าไปได้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนยูเครนบางส่วนก็วิจารณ์ว่า เป็นทางเลือกที่ผิดพลาด เพราะไม่มีใครรู้ว่ารัสเซียจะรักษาสัญญาจริงไหม ถ้าเก็บนิวเคลียร์ไว้ ก็อาจเป็นเครื่องมือ ป้องกันไม่ให้รัสเซียมารุกรานได้ง่ายๆ
6) ทิศทางการเมืองของประชาชนยูเครน ในช่วงนั้นก็แบ่งเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายที่มองว่ายูเครนควรเป็นเอกราชเติบโตด้วยตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป กับอีกฝ่ายคือ โปร-รัสเซีย คือมองว่ายูเครนกับรัสเซียมีวัฒนธรรมร่วมกันเยอะอยู่แล้ว ดังนั้นควรมีรัสเซียเป็นพี่ใหญ่ ที่คอยสนับสนุนทั้งเรื่องเงินทุน และการต่อรองในสังคมโลก
7) จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2013 เมื่อ EU (สหภาพยุโรป) เสนอเงื่อนไขให้ประเทศยูเครน เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกของ EU ซึ่งถ้ายูเครนตอบตกลง ประชาชนจะสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานทั่วยุโรปได้อย่างอิสระ สินค้าของยูเครนจากที่เคยโดนจำกัดข้อภาษี สามารถเข้าไปวางขายในประเทศอื่นๆ ใน EU ได้โดยไม่โดนกำแพงภาษี ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วมาก
8 ) อย่างไรก็ตาม ฝั่งรัสเซียเองไม่ต้องการให้ยูเครนไปรวมตัวกับ EU เพราะรัสเซียมีกลุ่มเศรษฐกิจของตัวเองอยู่ ชื่อ EAEU (Eurasia Economic Union) และต้องการให้ยูเครนอยู่ใน EAEU ต่อไป โดยที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย แนะนำว่า “การเป็นส่วนหนึ่งของ EU จะเป็นการฆ่าตัวตายทางเศรษฐกิจของยูเครน”
9) สุดท้ายในปี 2014 วิคเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดีของยูเครน ที่โดนสื่อมองว่าเป็นสายโปร-รัสเซีย ตัดสินใจล้มข้อเสนอของ EU และเลือกจงรักภักดีกับรัสเซียต่อ พร้อมทั้งรับเงินสนับสนุน 15,000 ล้านดอลลาร์จากรัสเซีย ซึ่งจุดนี้ทำให้ประชาชนยูเครนเดือดดาล เหมือนผู้นำประเทศเอายูเครนไปขายให้รัสเซีย แทนที่จะเข้าร่วม EU ให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้
วิตาลี คลิตช์โก้ แชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวท ขวัญใจชาวยูเครนกล่าวว่า “วันนี้รัฐบาลขโมยความฝันของพวกเรา ความฝันที่จะได้ใช้ชีวิตในประเทศที่ปกติสุข”
10) จากเรื่องนี้ ทำให้ประชาชนรวมตัวกันประท้วงทั่วประเทศ ในชื่อการปฏิวัติ Euromaidan การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือด จนรัฐบาลสั่งใช้กำลังสลายการชุมนุมจนเหตุการณ์บานปลาย สุดท้ายประธานาธิบดียานูโควิชอยู่ไม่ได้ 22 กุมภาพันธ์ 2014 เขาโดนสภาขับจากตำแหน่ง (Impeachment) ก่อนลี้ภัยหนีไปอยู่รัสเซีย แต่เจ้าตัวบอกว่า เหตุการณ์นี้เหมือนเขาโดนฝ่ายอื่นลอบทำรัฐประหาร
11) เมื่อฝั่งยูเครนแสดงเจตจำนงว่า ไม่อยู่ฝั่งเดียวกับรัสเซีย เพียง 1 วันหลังยาคูโนวิช โดนไล่จากตำแหน่ง รัสเซียตอบโต้ด้วยการยึดแผ่นดินของยูเครน ที่ชื่อไครเมีย (Crimea) มาเป็นของตัวเอง โดยวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวว่า “เราจะเริ่มกระบวนการเอาไครเมียกลับคืนมาให้รัสเซียอีกครั้ง”
12) ไครเมีย เป็นคาบสมุทร (Peninsula) ที่อยู่ในทะเลแบล็คซี มีเขตแดนติดกับยูเครน ไม่ติดกับรัสเซีย อย่างไรก็ตามในประวัติศาสตร์ไครเมียเคยเป็นดินแดนของรัสเซียมาก่อน แต่ในปี 1954 นิกิต้า ครุสเชฟ ผู้นำของสหภาพโซเวียตตัดสินใจมอบไครเมียให้ยูเครน โดยให้เหตุผลว่า “เป็นสัญลักษณ์ในการเชื่อมสัมพันธ์พี่น้องของชาวยูเครน และชาวรัสเซีย”
โดยเชิงเศรษฐกิจ การค้าใดๆ ของไครเมียจะยกให้ยูเครนเป็นฝ่ายได้ผลประโยชน์ โดยรัสเซียจะขอพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อวางกองทัพทหารเอาไว้เท่านั้น
แต่ ณ เวลานั้น ทั้งยูเครนและรัสเซีย ต่างก็อยู่ในสหภาพโซเวียตทั้งคู่ การโอนย้ายไครเมียให้ยูเครน จึงยังไม่ได้เห็นความแตกต่างอะไรนัก ปัญหาคือหลังจากโซเวียตล่มสลาย ยูเครนแยกเป็นเอกราช คราวนี้ไครเมียจึงกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของยูเครนอย่างสมบูรณ์
13) หลังเกิดเหตุการณ์ขับไล่ประธานาธิบดียานูโควิชที่เป็นฝ่ายโปร-รัสเซีย ทำให้รัสเซียตอบโต้ด้วยการยึดไครเมีย พร้อมทั้งจัดการเลือกตั้งทันทีในเวลาไม่ถึง 1 เดือน เพื่อถามประชาชนไครเมียว่า จะเลือกอยู่ยูเครนต่อหรือเลือกย้ายไปอยู่รัสเซีย ผลโหวตปรากฏว่า ฝั่งรัสเซียชนะด้วยคะแนนโหวต 96.77%
14) ในมุมของวลาดิเมียร์ ปูติน นี่คือการปลดปล่อยชาวไครเมีย ให้มาอยู่กับประเทศที่อยากอยู่จริงๆ แต่ในมุมของชาติอื่น มันคือวิธีที่รัสเซียทำการยึดพื้นที่ของประเทศคนอื่น (Annexation) จริงอยู่ว่าในประวัติศาสตร์ ไครเมียเคยเป็นของรัสเซียมาก่อน และผู้คนก็ยังมีความผูกพันกับประเทศรัสเซีย แต่ในทางกฎหมาย มันคือแผ่นดินของยูเครนตั้งแต่ปี 1954 แล้ว คุณจะเอากองทหารไปยึดแล้วเปิดให้ทำการโหวตแบบนี้ สายตาของชาติอื่นมองว่าเป็นการแทรกแซงอธิปไตยกันตรงๆ
15) สังคมโลกตอบโต้รัสเซียด้วยการแบนออกจากกลุ่ม G8 ที่เป็นการประชุมของผู้นำชาติมหาอำนาจโลก (แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย) ซึ่งเมื่อรัสเซียออกไป จึงเหลือเป็นแค่กลุ่ม G7 จนถึงปัจจุบัน
16) ความขัดแย้งของ 2 ประเทศนี้ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีการการันตีความปลอดภัยของคนรัสเซียถ้าเข้าไปในยูเครน และความปลอดภัยของคนยูเครนถ้าเข้าไปในรัสเซีย นั่นส่งผลให้ทางสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ออกกฎว่า สโมสรของสองชาตินี้ จะไม่จับสลากเจอกัน ในถ้วยแชมเปี้ยนส์ลีก, ยูโรป้าลีก และแม้แต่ในฟุตบอลโลก กับฟุตบอลยูโรรอบคัดเลือก เพื่อป้องกันเหตุสุดวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้
17) สำหรับประเทศยูเครนนั้น มีพรมแดนฝั่งตะวันตกติดกับ โปแลนด์,สโลวะเกีย, โรมาเนีย และ ฮังการี ซึ่งเป็นชาติที่อยู่ใน EU ดังนั้นจะมีความใกล้ชิดกับฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ฝั่งตะวันตกจะมีความรู้สึกต่อต้านรัสเซีย
อย่างไรก็ตามในประเทศฝั่งตะวันออกที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย ประชากรส่วนมากมีเชื้อสายรัสเซีย มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน และผูกพันกับรัสเซียมานาน ดังนั้นฝั่งนี้ต้องการจะผนวกเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียมากกว่า
18) ฝั่งตะวันออกสุดของยูเครน จะเรียกว่าแคว้นดอนบาส (Donbas) ในแคว้นแบ่งเป็น 2 จังหวัดใหญ่คือ ลูฮันส์ (Luhansk) และ โดเนตส์ (Donetsk) แม้ในทางทฤษฎี 2 จังหวัดนี้จะเป็นของยูเครน แต่ในทางปฏิบัตินี่เป็นเขตแดนที่มีคนเชื้อสายรัสเซียอาศัยอยู่มาก เมื่อเห็นไครเมียไปอยู่กับรัสเซียได้ จึงเกิดกลุ่มกบฎแบ่งแยกดินแดน (Seperatist) เพื่อขอแยก 2 จังหวัดนี้ ไปตั้งตัวเป็นประเทศตัวเอง
19) กลุ่มแบ่งแยกดินแดนของจังหวัดโดเนตส์ ต้องการแยกออกมาเป็นประเทศใหม่ชื่อ สาธารณรัฐประชาชนโดเน็ตส์ (DPR) ส่วนของจังหวัดลูฮันส์ ต้องการแยกออกมาในชื่อ สาธารณรัฐประชาชนลูฮันส์ (LPR) โดยสื่อรายงานตรงกันว่า รัสเซียให้การสนับสนุน 2 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนอยู่เบื้องหลัง
เหตุการณ์ใหญ่ที่พิสูจน์ให้เห็นว่ารัสเซียมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือเมื่อสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ MH-17 บินผ่านเขตพรมแดนยูเครน ถูกมิสไซล์ยิงตกจนมีคนตาย 298 คน การสืบสวนนานาชาติระบุว่า มิสไซล์ถูกยิงจากฐานทัพของรัสเซีย แต่ทางมอสโกได้ปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
20) เรื่องราวยุติความรุนแรงลงชั่วคราวในวันที่ 19 กันยายน 2014 เมื่อยูเครน รัสเซีย และหัวหน้ากลุ่มกบฏ ทำข้อตกลงสันติภาพมินส์ก (Minsk Protocol) คือให้หยุดยิงทันที และต่างฝ่ายต้องถอนอาวุธหนักห่างกันด้วยรัศมี 15 กิโลเมตร
แต่ข้อตกลงสันติภาพรอบแรก ก็ยังไม่ช่วยการหยุดยิงได้จริง สุดท้ายฝรั่งเศสกับเยอรมนี ต้องเข้ามาเป็นคนกลาง ให้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องทำข้อตกลงฉบับใหม่คือ Minsk II ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2015 ซึ่งแม้สงครามใหญ่จะยุติลง แต่ก็ยังมีการสู้รบประปรายต่อเนื่องจนมีคนตายนับร้อยอยู่ดี
21) ในแง่การปกครอง ข้อตกลง Minsk II บีบให้ยูเครนต้องยอมโอนอ่อนเพื่อให้เกิดความสงบ โดยอนุญาตให้ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนจัดการเลือกตั้งขึ้นมาเองที่จังหวัดลูฮันส์ และโดเนตส์ พร้อมให้ตั้งศาล และตำรวจของตัวเองด้วย แม้ในทางทฤษฎียังเป็นพรมแดนของยูเครนอยู่ก็ตาม
22) สถานการณ์ในทิศตะวันออกของยูเครนก็ยังคงไม่สงบ ในส่วนของแหลมไครเมียก็มีดราม่าต่อ เมื่อรัสเซียสร้างสะพานไครเมียน (Crimean Bridge) ขึ้นในปี 2018 ซึ่งนี่คือสะพานขนาดใหญ่ที่มีทั้งถนนและทางรถไฟ ใช้สำหรับข้ามช่องแคบเคิร์ช เชื่อมต่อดินแดนระหว่างไครเมีย กับประเทศรัสเซีย
กล่าวคือเมื่อก่อนรัสเซียไม่มีพรมแดนติดกับไครเมีย แต่การสร้างสะพานเชื่อมกันแบบนี้ ก็เท่ากับว่าแสดงความเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์ และไม่ใช่แค่ประเด็นสะพานไครเมียน แต่ทั้งสองฝ่ายยังมีข้อพิพาทเรื่องการบุกรุกน่านน้ำในเขตทะเลแบล็คซีกันอย่างต่อเนื่อง
23) จุดที่ทำให้ยูเครนเป็นรองรัสเซียอย่างมาก คือเรื่องกำลังทหาร ยูเครนมีทหารอยู่ 200,900 นาย ส่วนรัสเซียมีมากกว่า 900,000 นาย เช่นเดียวกับอาวุธหนักเช่นรถถัง ที่ยูเครนมี 2,596 คัน ส่วนรัสเซีย มีมากถึง 12,420 คัน คือถ้าเข้าสู่สงครามหรือต้องปะทะกันจริงๆ ยูเครนไม่มีเหลี่ยมชนะได้เลย
24) ในปี 2019 เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญ เมื่อโวโลดิเมียร์ ซีเลนสกี้ ถูกเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของยูเครน ด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย 73.22% และเขาแสดงตัวอย่างชัดเจนว่า ต่อต้านการรุกคืบของรัสเซียในภาคตะวันออกของประเทศ รวมถึงมีแผนการที่จะพายูเครน เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ NATO (นาโต้)
25) NATO ย่อมาจากชื่อเต็มคือ “องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” เป็นพันธมิตรทางการทหารของชาติใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, แคนาดา, สเปน ฯลฯ โดยองค์กรนี้มีข้อตกลงที่สำคัญว่า “หากชาติพันธมิตรใด โดนศัตรูโจมตีก็จะถือว่าเป็นการโจมตีชาติสมาชิกทั้งหมด” กล่าวคือ ถ้ายูเครนเป็นสมาชิก NATO ได้ แล้วรัสเซียบุกมาโจมตี คราวนี้จะไม่ได้สู้ 1 ต่อ 1 อีกแล้ว แต่จะเป็นการปะทะกับชาติอื่นๆ ใน NATO รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย
จริงๆแล้วทาง NATO ยังไม่เคยส่งจดหมายเชิญยูเครนเข้าเป็นสมาชิกเลยด้วยซ้ำ แต่วลาดิเมียร์ ปูติน ต้องการเบรกทุกอย่างเอาไว้เพียงแค่นี้ โดยอเล็กเซ มาคาร์คิน นักวิเคราะห์การเมือง กล่าวว่า “ถ้าหากไม่แก้ไขเรื่องความมั่นคงตั้งแต่วันนี้ ยูเครนจะกลายเป็นสมาชิกของ NATO ในช่วง 10-15 ปีข้างหน้า”
26) ประธานาธิบดีปูตินกล่าวจุดยืนอย่างชัดเจนว่า จะไม่ยอมให้ยูเครนเข้าร่วม NATO เด็ดขาด และต้องการคำยืนยันจาก NATO ว่าจะไม่รับยูเครนเป็นชาติสมาชิก
สงครามโลกครั้งใหม่? สรุปยูเครน vs รัสเซีย แบบเข้าใจง่าย
https://workpointtoday.com/explainer-war/
24 ก.พ. 2565
WRITER | วิศรุต
Workpoint
explainer ความขัดแย้งอันรุนแรงของ 2 ชาติเพื่อนบ้าน อาจกลายเป็นชนวนเหตุสำคัญที่กลายเป็นสงครามโลก จุดเริ่มต้นคืออะไร ทำไมรัสเซียกับยูเครนกำลังจะทำสงครามกัน workpointTODAY จะอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายที่สุดใน 34 ข้อ
1) ยูเครนเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียมาก่อน แต่ในปี 1917 เมื่อราชวงศ์โรมานอฟหมดอำนาจ กลุ่มชาตินิยมยูเครนจึงขอแยกตัวออกไปเป็นประเทศ โดยมีเยอรมนีหนุนหลัง แต่พอเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 พร้อมทั้งมีการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ยูเครนจึงถูกรวมอยู่ในโซเวียต และสถาปนาเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
2) ความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นในปี 1991 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย แต่ละประเทศแยกกันไปมีเอกราชของตัวเอง และยูเครนเองก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตาม โรงงานจัดเก็บอาวุธนิวเคลียร์ของโซเวียตตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศยูเครน แปลว่า หัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมด 1,249 หัว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของยูเครนไปโดยปริยาย
3) การมีหัวรบนิวเคลียร์อยู่ในมือ เป็นเครื่องการันตีความปลอดภัยของยูเครน ว่าจะไม่ปล่อยให้เพื่อนบ้านอย่างรัสเซียเข้ามารุกรานได้ อย่างไรก็ตาม สังคมโลกก็ไม่สบายใจนัก เพราะถ้าวันดีคืนดี ยูเครนโมโหขึ้นมาเมื่อไหร่ อาจใช้อาวุธนิวเคลียร์ในทางที่ผิดก็ได้ เช่นยิงถล่มใส่ประเทศอื่น ดังนั้นจึงต้องการให้ยูเครนทำการกำจัดหัวรบนิวเคลียร์ให้หมด (Denuclearization)
4) วันที่ 5 ธันวาคม 1994 ยูเครน รัสเซีย สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา เซ็นสนธิสัญญาร่วมกันในชื่อ ข้อตกลงบูดาเปสต์ ว่ายูเครนจะกำจัดหัวรบทิ้งเพื่อเปลี่ยนตัวเองเป็น Non-Nuclear-Weapon State (รัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์) เพื่อความมั่นคงของโลก
โดยสิ่งที่ยูเครนจะได้คืนมา คือ “เอกราช” ในการบริหารประเทศ ในข้อตกลงบูดาเปสต์ ระบุว่าในเมื่อยูเครนยอมทำลายหัวรบนิวเคลียร์ทิ้งแล้ว รัสเซียจะไม่สามารถใช้กำลังบุกรุกแทรกแซงได้
5) ในมุมหนึ่ง นี่เป็นการแสดงจุดยืนชัดเจนของยูเครนในประชาคมโลกว่าไม่สนับสนุนการทำสงคราม เศรษฐกิจต่างๆ จะได้เดินหน้าไปได้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนยูเครนบางส่วนก็วิจารณ์ว่า เป็นทางเลือกที่ผิดพลาด เพราะไม่มีใครรู้ว่ารัสเซียจะรักษาสัญญาจริงไหม ถ้าเก็บนิวเคลียร์ไว้ ก็อาจเป็นเครื่องมือ ป้องกันไม่ให้รัสเซียมารุกรานได้ง่ายๆ
6) ทิศทางการเมืองของประชาชนยูเครน ในช่วงนั้นก็แบ่งเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายที่มองว่ายูเครนควรเป็นเอกราชเติบโตด้วยตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป กับอีกฝ่ายคือ โปร-รัสเซีย คือมองว่ายูเครนกับรัสเซียมีวัฒนธรรมร่วมกันเยอะอยู่แล้ว ดังนั้นควรมีรัสเซียเป็นพี่ใหญ่ ที่คอยสนับสนุนทั้งเรื่องเงินทุน และการต่อรองในสังคมโลก
7) จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2013 เมื่อ EU (สหภาพยุโรป) เสนอเงื่อนไขให้ประเทศยูเครน เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกของ EU ซึ่งถ้ายูเครนตอบตกลง ประชาชนจะสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานทั่วยุโรปได้อย่างอิสระ สินค้าของยูเครนจากที่เคยโดนจำกัดข้อภาษี สามารถเข้าไปวางขายในประเทศอื่นๆ ใน EU ได้โดยไม่โดนกำแพงภาษี ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วมาก
8 ) อย่างไรก็ตาม ฝั่งรัสเซียเองไม่ต้องการให้ยูเครนไปรวมตัวกับ EU เพราะรัสเซียมีกลุ่มเศรษฐกิจของตัวเองอยู่ ชื่อ EAEU (Eurasia Economic Union) และต้องการให้ยูเครนอยู่ใน EAEU ต่อไป โดยที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย แนะนำว่า “การเป็นส่วนหนึ่งของ EU จะเป็นการฆ่าตัวตายทางเศรษฐกิจของยูเครน”
9) สุดท้ายในปี 2014 วิคเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดีของยูเครน ที่โดนสื่อมองว่าเป็นสายโปร-รัสเซีย ตัดสินใจล้มข้อเสนอของ EU และเลือกจงรักภักดีกับรัสเซียต่อ พร้อมทั้งรับเงินสนับสนุน 15,000 ล้านดอลลาร์จากรัสเซีย ซึ่งจุดนี้ทำให้ประชาชนยูเครนเดือดดาล เหมือนผู้นำประเทศเอายูเครนไปขายให้รัสเซีย แทนที่จะเข้าร่วม EU ให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้
วิตาลี คลิตช์โก้ แชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวท ขวัญใจชาวยูเครนกล่าวว่า “วันนี้รัฐบาลขโมยความฝันของพวกเรา ความฝันที่จะได้ใช้ชีวิตในประเทศที่ปกติสุข”
10) จากเรื่องนี้ ทำให้ประชาชนรวมตัวกันประท้วงทั่วประเทศ ในชื่อการปฏิวัติ Euromaidan การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือด จนรัฐบาลสั่งใช้กำลังสลายการชุมนุมจนเหตุการณ์บานปลาย สุดท้ายประธานาธิบดียานูโควิชอยู่ไม่ได้ 22 กุมภาพันธ์ 2014 เขาโดนสภาขับจากตำแหน่ง (Impeachment) ก่อนลี้ภัยหนีไปอยู่รัสเซีย แต่เจ้าตัวบอกว่า เหตุการณ์นี้เหมือนเขาโดนฝ่ายอื่นลอบทำรัฐประหาร
11) เมื่อฝั่งยูเครนแสดงเจตจำนงว่า ไม่อยู่ฝั่งเดียวกับรัสเซีย เพียง 1 วันหลังยาคูโนวิช โดนไล่จากตำแหน่ง รัสเซียตอบโต้ด้วยการยึดแผ่นดินของยูเครน ที่ชื่อไครเมีย (Crimea) มาเป็นของตัวเอง โดยวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวว่า “เราจะเริ่มกระบวนการเอาไครเมียกลับคืนมาให้รัสเซียอีกครั้ง”
12) ไครเมีย เป็นคาบสมุทร (Peninsula) ที่อยู่ในทะเลแบล็คซี มีเขตแดนติดกับยูเครน ไม่ติดกับรัสเซีย อย่างไรก็ตามในประวัติศาสตร์ไครเมียเคยเป็นดินแดนของรัสเซียมาก่อน แต่ในปี 1954 นิกิต้า ครุสเชฟ ผู้นำของสหภาพโซเวียตตัดสินใจมอบไครเมียให้ยูเครน โดยให้เหตุผลว่า “เป็นสัญลักษณ์ในการเชื่อมสัมพันธ์พี่น้องของชาวยูเครน และชาวรัสเซีย”
โดยเชิงเศรษฐกิจ การค้าใดๆ ของไครเมียจะยกให้ยูเครนเป็นฝ่ายได้ผลประโยชน์ โดยรัสเซียจะขอพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อวางกองทัพทหารเอาไว้เท่านั้น
แต่ ณ เวลานั้น ทั้งยูเครนและรัสเซีย ต่างก็อยู่ในสหภาพโซเวียตทั้งคู่ การโอนย้ายไครเมียให้ยูเครน จึงยังไม่ได้เห็นความแตกต่างอะไรนัก ปัญหาคือหลังจากโซเวียตล่มสลาย ยูเครนแยกเป็นเอกราช คราวนี้ไครเมียจึงกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของยูเครนอย่างสมบูรณ์
13) หลังเกิดเหตุการณ์ขับไล่ประธานาธิบดียานูโควิชที่เป็นฝ่ายโปร-รัสเซีย ทำให้รัสเซียตอบโต้ด้วยการยึดไครเมีย พร้อมทั้งจัดการเลือกตั้งทันทีในเวลาไม่ถึง 1 เดือน เพื่อถามประชาชนไครเมียว่า จะเลือกอยู่ยูเครนต่อหรือเลือกย้ายไปอยู่รัสเซีย ผลโหวตปรากฏว่า ฝั่งรัสเซียชนะด้วยคะแนนโหวต 96.77%
14) ในมุมของวลาดิเมียร์ ปูติน นี่คือการปลดปล่อยชาวไครเมีย ให้มาอยู่กับประเทศที่อยากอยู่จริงๆ แต่ในมุมของชาติอื่น มันคือวิธีที่รัสเซียทำการยึดพื้นที่ของประเทศคนอื่น (Annexation) จริงอยู่ว่าในประวัติศาสตร์ ไครเมียเคยเป็นของรัสเซียมาก่อน และผู้คนก็ยังมีความผูกพันกับประเทศรัสเซีย แต่ในทางกฎหมาย มันคือแผ่นดินของยูเครนตั้งแต่ปี 1954 แล้ว คุณจะเอากองทหารไปยึดแล้วเปิดให้ทำการโหวตแบบนี้ สายตาของชาติอื่นมองว่าเป็นการแทรกแซงอธิปไตยกันตรงๆ
15) สังคมโลกตอบโต้รัสเซียด้วยการแบนออกจากกลุ่ม G8 ที่เป็นการประชุมของผู้นำชาติมหาอำนาจโลก (แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย) ซึ่งเมื่อรัสเซียออกไป จึงเหลือเป็นแค่กลุ่ม G7 จนถึงปัจจุบัน
16) ความขัดแย้งของ 2 ประเทศนี้ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีการการันตีความปลอดภัยของคนรัสเซียถ้าเข้าไปในยูเครน และความปลอดภัยของคนยูเครนถ้าเข้าไปในรัสเซีย นั่นส่งผลให้ทางสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ออกกฎว่า สโมสรของสองชาตินี้ จะไม่จับสลากเจอกัน ในถ้วยแชมเปี้ยนส์ลีก, ยูโรป้าลีก และแม้แต่ในฟุตบอลโลก กับฟุตบอลยูโรรอบคัดเลือก เพื่อป้องกันเหตุสุดวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้
17) สำหรับประเทศยูเครนนั้น มีพรมแดนฝั่งตะวันตกติดกับ โปแลนด์,สโลวะเกีย, โรมาเนีย และ ฮังการี ซึ่งเป็นชาติที่อยู่ใน EU ดังนั้นจะมีความใกล้ชิดกับฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ฝั่งตะวันตกจะมีความรู้สึกต่อต้านรัสเซีย
อย่างไรก็ตามในประเทศฝั่งตะวันออกที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย ประชากรส่วนมากมีเชื้อสายรัสเซีย มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน และผูกพันกับรัสเซียมานาน ดังนั้นฝั่งนี้ต้องการจะผนวกเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียมากกว่า
18) ฝั่งตะวันออกสุดของยูเครน จะเรียกว่าแคว้นดอนบาส (Donbas) ในแคว้นแบ่งเป็น 2 จังหวัดใหญ่คือ ลูฮันส์ (Luhansk) และ โดเนตส์ (Donetsk) แม้ในทางทฤษฎี 2 จังหวัดนี้จะเป็นของยูเครน แต่ในทางปฏิบัตินี่เป็นเขตแดนที่มีคนเชื้อสายรัสเซียอาศัยอยู่มาก เมื่อเห็นไครเมียไปอยู่กับรัสเซียได้ จึงเกิดกลุ่มกบฎแบ่งแยกดินแดน (Seperatist) เพื่อขอแยก 2 จังหวัดนี้ ไปตั้งตัวเป็นประเทศตัวเอง
19) กลุ่มแบ่งแยกดินแดนของจังหวัดโดเนตส์ ต้องการแยกออกมาเป็นประเทศใหม่ชื่อ สาธารณรัฐประชาชนโดเน็ตส์ (DPR) ส่วนของจังหวัดลูฮันส์ ต้องการแยกออกมาในชื่อ สาธารณรัฐประชาชนลูฮันส์ (LPR) โดยสื่อรายงานตรงกันว่า รัสเซียให้การสนับสนุน 2 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนอยู่เบื้องหลัง
เหตุการณ์ใหญ่ที่พิสูจน์ให้เห็นว่ารัสเซียมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือเมื่อสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ MH-17 บินผ่านเขตพรมแดนยูเครน ถูกมิสไซล์ยิงตกจนมีคนตาย 298 คน การสืบสวนนานาชาติระบุว่า มิสไซล์ถูกยิงจากฐานทัพของรัสเซีย แต่ทางมอสโกได้ปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
20) เรื่องราวยุติความรุนแรงลงชั่วคราวในวันที่ 19 กันยายน 2014 เมื่อยูเครน รัสเซีย และหัวหน้ากลุ่มกบฏ ทำข้อตกลงสันติภาพมินส์ก (Minsk Protocol) คือให้หยุดยิงทันที และต่างฝ่ายต้องถอนอาวุธหนักห่างกันด้วยรัศมี 15 กิโลเมตร
แต่ข้อตกลงสันติภาพรอบแรก ก็ยังไม่ช่วยการหยุดยิงได้จริง สุดท้ายฝรั่งเศสกับเยอรมนี ต้องเข้ามาเป็นคนกลาง ให้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องทำข้อตกลงฉบับใหม่คือ Minsk II ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2015 ซึ่งแม้สงครามใหญ่จะยุติลง แต่ก็ยังมีการสู้รบประปรายต่อเนื่องจนมีคนตายนับร้อยอยู่ดี
21) ในแง่การปกครอง ข้อตกลง Minsk II บีบให้ยูเครนต้องยอมโอนอ่อนเพื่อให้เกิดความสงบ โดยอนุญาตให้ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนจัดการเลือกตั้งขึ้นมาเองที่จังหวัดลูฮันส์ และโดเนตส์ พร้อมให้ตั้งศาล และตำรวจของตัวเองด้วย แม้ในทางทฤษฎียังเป็นพรมแดนของยูเครนอยู่ก็ตาม
22) สถานการณ์ในทิศตะวันออกของยูเครนก็ยังคงไม่สงบ ในส่วนของแหลมไครเมียก็มีดราม่าต่อ เมื่อรัสเซียสร้างสะพานไครเมียน (Crimean Bridge) ขึ้นในปี 2018 ซึ่งนี่คือสะพานขนาดใหญ่ที่มีทั้งถนนและทางรถไฟ ใช้สำหรับข้ามช่องแคบเคิร์ช เชื่อมต่อดินแดนระหว่างไครเมีย กับประเทศรัสเซีย
กล่าวคือเมื่อก่อนรัสเซียไม่มีพรมแดนติดกับไครเมีย แต่การสร้างสะพานเชื่อมกันแบบนี้ ก็เท่ากับว่าแสดงความเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์ และไม่ใช่แค่ประเด็นสะพานไครเมียน แต่ทั้งสองฝ่ายยังมีข้อพิพาทเรื่องการบุกรุกน่านน้ำในเขตทะเลแบล็คซีกันอย่างต่อเนื่อง
23) จุดที่ทำให้ยูเครนเป็นรองรัสเซียอย่างมาก คือเรื่องกำลังทหาร ยูเครนมีทหารอยู่ 200,900 นาย ส่วนรัสเซียมีมากกว่า 900,000 นาย เช่นเดียวกับอาวุธหนักเช่นรถถัง ที่ยูเครนมี 2,596 คัน ส่วนรัสเซีย มีมากถึง 12,420 คัน คือถ้าเข้าสู่สงครามหรือต้องปะทะกันจริงๆ ยูเครนไม่มีเหลี่ยมชนะได้เลย
24) ในปี 2019 เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญ เมื่อโวโลดิเมียร์ ซีเลนสกี้ ถูกเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของยูเครน ด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย 73.22% และเขาแสดงตัวอย่างชัดเจนว่า ต่อต้านการรุกคืบของรัสเซียในภาคตะวันออกของประเทศ รวมถึงมีแผนการที่จะพายูเครน เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ NATO (นาโต้)
25) NATO ย่อมาจากชื่อเต็มคือ “องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” เป็นพันธมิตรทางการทหารของชาติใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, แคนาดา, สเปน ฯลฯ โดยองค์กรนี้มีข้อตกลงที่สำคัญว่า “หากชาติพันธมิตรใด โดนศัตรูโจมตีก็จะถือว่าเป็นการโจมตีชาติสมาชิกทั้งหมด” กล่าวคือ ถ้ายูเครนเป็นสมาชิก NATO ได้ แล้วรัสเซียบุกมาโจมตี คราวนี้จะไม่ได้สู้ 1 ต่อ 1 อีกแล้ว แต่จะเป็นการปะทะกับชาติอื่นๆ ใน NATO รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย
จริงๆแล้วทาง NATO ยังไม่เคยส่งจดหมายเชิญยูเครนเข้าเป็นสมาชิกเลยด้วยซ้ำ แต่วลาดิเมียร์ ปูติน ต้องการเบรกทุกอย่างเอาไว้เพียงแค่นี้ โดยอเล็กเซ มาคาร์คิน นักวิเคราะห์การเมือง กล่าวว่า “ถ้าหากไม่แก้ไขเรื่องความมั่นคงตั้งแต่วันนี้ ยูเครนจะกลายเป็นสมาชิกของ NATO ในช่วง 10-15 ปีข้างหน้า”
26) ประธานาธิบดีปูตินกล่าวจุดยืนอย่างชัดเจนว่า จะไม่ยอมให้ยูเครนเข้าร่วม NATO เด็ดขาด และต้องการคำยืนยันจาก NATO ว่าจะไม่รับยูเครนเป็นชาติสมาชิก