สวัสดีครับ วันนี้ก็จะขอถือโอกาสมารีวิว การตรวจโรคที่ขัดต่อการเกณฑ์ทหาร เกณฑ์ทหารปี 2565 นะครับ จขกท.เคยประสบอุบัติเหตุรถล้ม กระดูกสันหลังแตกร้าว แล้วต้องดามเหล็กจนถึงทุกวันนี้ เท่าที่ค้นหามา ไม่เคยมีกระทู้ไหนในพันทิปรีวิวการตรวจโรคที่ขัดต่อการเกณฑ์ทหาร ในฐานะ "มนุษย์เหล็ก" เลย (บุคคลที่ต้องใส่เหล็กดามตามร่างกาย) เลยถือโอกาสนี้มาแบ่งปันข้อมูลกันนะครับ ถ้าพลาดหรือตกหล่นอะไรไป หรือพิมพ์ไม่ค่อยเข้าใจ ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ
เอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วย *สำคัญมาก เพื่อป้องกันกรณีเอกสารไม่ครบ ควรเอาไปให้ครบๆในทีเดียว*
1. บัตรประชาชนตัวจริง
2. ใบสำคัญ แบบสด.9
3. หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร แบบสด.35
4. ประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลที่เราเคยไปทำการตรวจรักษา *สำคัญมาก เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันกับพยาบาลและคุณหมอในวันที่ไปตรวจร่างกาย ต้องเป็นประวัติการรักษาเท่านั้น ใบรับรองแพทย์ไม่เพียงพอครับ*
5. รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่น และไม่ผ่านการตกแต่งรูป ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
6. เอกสารทะเบียนบ้าน
ที่ผมเตรียมไปมีเท่านี้ครับ ผมเอาทั้งตัวจริงและสำเนาไปเผื่อกรณีที่เขาต้องการ กันเหนียวไว้ก่อน เพราะบ้านไกล (ผมเป็นคนระยองครับ)
ผมไปทำการตรวจร่างกายที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า ที่กรุงเทพครับ เนื่องจากเคยไปที่โรงพยาบาลค่ายใกล้บ้านที่สัสดีแนะนำมา กลายเป็นว่ารพ.ค่ายไม่มีหมอเฉพาะทางและเครื่องมือที่เพียบพร้อมเท่ารพ.ใหญ่อย่าง รพ.พระมงกุฎเกล้า ก็เลยต้องไปตรวจที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า ซะเลยครับ
แนะนำว่าให้โทรไปเช็คกับแผนกที่ตรงกับโรคของท่านก่อนนะครับ ว่ามีคุณหมอเฉพาะทางที่รับตรวจเข้าตรวจวันไหน จะได้ไม่เสียเวลามาหลายรอบ (ของผมเกี่ยวกับกระดูก หมอจะเข้าเวรวันจันทร์ กับ พุทธ
อ้อ อีกอย่างนะครับ ควรจะหาเวลาไปตรวจเสียตั้งแต่เนิ่นๆครับ อย่าชะล่าใจ ผมไปช่วงอาทิตย์สุดท้ายของการตรวจ เนื่องด้วยความไม่สะดวกอะไรหลายๆอย่าง สาเหตุหลักๆก็บ้านไกลด้วย ก็ประสบพบเจอเรื่องไม่คาดคิด ซึ่งก็อาจจะมีมานานแล้วก็เป็นได้ แต่ผมไม่รู้ เพราะผมเองก็เพิ่งจะเคยมาเป็นครั้งแรก มันคือเรื่องอะไร เดี๋ยวมีคำตอบครับ
ขั้นตอนการไปขอรับการตรวจ
1. เดินทางไปแต่เช้าครับ มาเร็วได้ยิ่งดี จะได้คิวแรกๆ ผมบ้านไกล ต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี 2 เพื่อไปให้ทันก่อน 6 โมงเช้า พอมาถึงแล้วก็จะมีซุ้มสำหรับคัดกรองคนที่มาตรวจเกณฑ์ทหารโดยเฉพาะอยู่บริเวณหน้าเสาธง ประมาณ 6 โมงก็จะมีคุณพยาบาลมาเริ่มให้กรอกประวัติ แล้วเขาก็จะให้เราเอาพวกเอกสารที่เตรียมมา มาตรวจเช็คครับ รวมไปถึงเอกสารประวัติการรักษาด้วย
2. พอกรอกประวัติ ตรวจเอกสารแล้ว ก็จะรวบเอกสารทั้งหมดด้วยคลิปหนีบกระดาษ (ยกเว้นประวัติการรักษา) ให้ขึ้นไปที่อาคารเฉลิมพระเกียรติเพื่อทำบัตรผู้ป่วยใหม่ ช่อง 14 - 15 รอสักแป๊บเพื่อรอสมุดผู้ป่วยใหม่ พอรับแล้วก็ให้เดินไปยังอาคารแผนกโรคของตนเอง (จุดนี้พี่พนักงานที่เป็นคนทำบัตรผู้ป่วยให้เราจะคอยชี้แจงว่า ท่านจะต้องไปที่ไหน)
3. เมื่อมาถึงยังแผนกโรคของตนเอง ก็ยื่นเอกสารบัตรผู้ป่วยใหม่ให้กับพยาบาล แล้วจากนั้นพยาบาลจะบอกให้เราไปทานข้าวก่อน แล้วมานั่งรอเรียกชื่อครับ
4. หลังจากทานข้าวเสร็จ ผมก็มารอเรียกชื่อครับ แต่...เพิ่งมารับรู้ว่า การมาตรวจในครั้งนี้นั้น มาเพื่อได้แค่ใบนัดมาตรวจครั้งถัดไปครับ อาจจะเป็นเพราะเป็นช่วงอาทิตย์สุดท้ายของการตรวจ คนก็เลยเยอะ ทำให้ไม่สามารถตรวจทีละมากๆในวันเดียวได้ ต้องให้ใบนัดมาใหม่ครั้งถัดไป
คนที่อยู่ในกรุงเทพ อาจจะไม่เท่าไร แต่คนบ้านไกลอย่างผมก็ช๊อคสิครับ แต่เท่าที่ทราบมา คนอื่นๆหลายคนที่มาตรวจวันนั้น ก็เป็นคนที่เคยได้ใบนัด และมารอบนี้เป็นรอบที่สองเหมือนกัน บางคนรอบที่สามแล้วด้วยซ้ำ (น่าจะเอกสารไม่ครบแน่ๆ) อย่างน้อยก็ปลอบใจตัวเองได้ว่า ฉันก็ไม่ใช่คนเดียวล่ะว๊า ฮ่าๆ
การมาตรวจครั้งแรกก็จบลงที่การได้ใบนัดเพื่อมารับการตรวจในครั้งถัดไปแทนครับ
เดี๋ยวมาต่อในคอมเมนต์ตอบกลับอีกทีก็แล้วกันนะครับ กลัวจะยาวเกิน
รีวิวการตรวจโรคที่ขัดต่อการเกณฑ์ทหาร เกณฑ์ทหารปี 2565
เอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วย *สำคัญมาก เพื่อป้องกันกรณีเอกสารไม่ครบ ควรเอาไปให้ครบๆในทีเดียว*
1. บัตรประชาชนตัวจริง
2. ใบสำคัญ แบบสด.9
3. หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร แบบสด.35
4. ประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลที่เราเคยไปทำการตรวจรักษา *สำคัญมาก เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันกับพยาบาลและคุณหมอในวันที่ไปตรวจร่างกาย ต้องเป็นประวัติการรักษาเท่านั้น ใบรับรองแพทย์ไม่เพียงพอครับ*
5. รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่น และไม่ผ่านการตกแต่งรูป ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
6. เอกสารทะเบียนบ้าน
ที่ผมเตรียมไปมีเท่านี้ครับ ผมเอาทั้งตัวจริงและสำเนาไปเผื่อกรณีที่เขาต้องการ กันเหนียวไว้ก่อน เพราะบ้านไกล (ผมเป็นคนระยองครับ)
ผมไปทำการตรวจร่างกายที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า ที่กรุงเทพครับ เนื่องจากเคยไปที่โรงพยาบาลค่ายใกล้บ้านที่สัสดีแนะนำมา กลายเป็นว่ารพ.ค่ายไม่มีหมอเฉพาะทางและเครื่องมือที่เพียบพร้อมเท่ารพ.ใหญ่อย่าง รพ.พระมงกุฎเกล้า ก็เลยต้องไปตรวจที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า ซะเลยครับ
แนะนำว่าให้โทรไปเช็คกับแผนกที่ตรงกับโรคของท่านก่อนนะครับ ว่ามีคุณหมอเฉพาะทางที่รับตรวจเข้าตรวจวันไหน จะได้ไม่เสียเวลามาหลายรอบ (ของผมเกี่ยวกับกระดูก หมอจะเข้าเวรวันจันทร์ กับ พุทธ
อ้อ อีกอย่างนะครับ ควรจะหาเวลาไปตรวจเสียตั้งแต่เนิ่นๆครับ อย่าชะล่าใจ ผมไปช่วงอาทิตย์สุดท้ายของการตรวจ เนื่องด้วยความไม่สะดวกอะไรหลายๆอย่าง สาเหตุหลักๆก็บ้านไกลด้วย ก็ประสบพบเจอเรื่องไม่คาดคิด ซึ่งก็อาจจะมีมานานแล้วก็เป็นได้ แต่ผมไม่รู้ เพราะผมเองก็เพิ่งจะเคยมาเป็นครั้งแรก มันคือเรื่องอะไร เดี๋ยวมีคำตอบครับ
ขั้นตอนการไปขอรับการตรวจ
1. เดินทางไปแต่เช้าครับ มาเร็วได้ยิ่งดี จะได้คิวแรกๆ ผมบ้านไกล ต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี 2 เพื่อไปให้ทันก่อน 6 โมงเช้า พอมาถึงแล้วก็จะมีซุ้มสำหรับคัดกรองคนที่มาตรวจเกณฑ์ทหารโดยเฉพาะอยู่บริเวณหน้าเสาธง ประมาณ 6 โมงก็จะมีคุณพยาบาลมาเริ่มให้กรอกประวัติ แล้วเขาก็จะให้เราเอาพวกเอกสารที่เตรียมมา มาตรวจเช็คครับ รวมไปถึงเอกสารประวัติการรักษาด้วย
2. พอกรอกประวัติ ตรวจเอกสารแล้ว ก็จะรวบเอกสารทั้งหมดด้วยคลิปหนีบกระดาษ (ยกเว้นประวัติการรักษา) ให้ขึ้นไปที่อาคารเฉลิมพระเกียรติเพื่อทำบัตรผู้ป่วยใหม่ ช่อง 14 - 15 รอสักแป๊บเพื่อรอสมุดผู้ป่วยใหม่ พอรับแล้วก็ให้เดินไปยังอาคารแผนกโรคของตนเอง (จุดนี้พี่พนักงานที่เป็นคนทำบัตรผู้ป่วยให้เราจะคอยชี้แจงว่า ท่านจะต้องไปที่ไหน)
3. เมื่อมาถึงยังแผนกโรคของตนเอง ก็ยื่นเอกสารบัตรผู้ป่วยใหม่ให้กับพยาบาล แล้วจากนั้นพยาบาลจะบอกให้เราไปทานข้าวก่อน แล้วมานั่งรอเรียกชื่อครับ
4. หลังจากทานข้าวเสร็จ ผมก็มารอเรียกชื่อครับ แต่...เพิ่งมารับรู้ว่า การมาตรวจในครั้งนี้นั้น มาเพื่อได้แค่ใบนัดมาตรวจครั้งถัดไปครับ อาจจะเป็นเพราะเป็นช่วงอาทิตย์สุดท้ายของการตรวจ คนก็เลยเยอะ ทำให้ไม่สามารถตรวจทีละมากๆในวันเดียวได้ ต้องให้ใบนัดมาใหม่ครั้งถัดไป
คนที่อยู่ในกรุงเทพ อาจจะไม่เท่าไร แต่คนบ้านไกลอย่างผมก็ช๊อคสิครับ แต่เท่าที่ทราบมา คนอื่นๆหลายคนที่มาตรวจวันนั้น ก็เป็นคนที่เคยได้ใบนัด และมารอบนี้เป็นรอบที่สองเหมือนกัน บางคนรอบที่สามแล้วด้วยซ้ำ (น่าจะเอกสารไม่ครบแน่ๆ) อย่างน้อยก็ปลอบใจตัวเองได้ว่า ฉันก็ไม่ใช่คนเดียวล่ะว๊า ฮ่าๆ
การมาตรวจครั้งแรกก็จบลงที่การได้ใบนัดเพื่อมารับการตรวจในครั้งถัดไปแทนครับ
เดี๋ยวมาต่อในคอมเมนต์ตอบกลับอีกทีก็แล้วกันนะครับ กลัวจะยาวเกิน