เส้นขีดสีแดงคือคลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตก (คลองบ้านขมิ้นกับคลองบ้านหม้อ) เส้นขีดสีน้ำเงินคือคลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันออก (คลองคูเมืองเดิม)
ประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่า คลองทั้ง 2 ฝั่งเป็นคลองที่ขุดในสมัยกรุงธนบุรี เพราะกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงที่ตั้งอยู่ทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองอกแตก ง่ายต่อการถูกโจมตี เลยมีการขุดคลองไว้รอบพระนครเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูบุกเข้ามาตีเมือง จนเวลาล่วงเลยผ่านมาถึง 200 กว่าปี วันเวลาก็ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป คลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันออกก็กลายเป็นคลองที่ล้อมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ได้รับการดูแลเอาใจใส่ตลอดจนมีสภาพที่สวยงาม อาจจะมีน้ำเน่าเป็นบางครั้ง แต่สภาพโดยรวมก็ยังดูดี ยกเว้นแต่ตรงแยกผ่านพิภพจนถึงใต้สะพานปิ่นเกล้าที่โดนถนนกับเชิงสะพานคลุมเหนือผิวน้ำ
ผิดกับคลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตกที่สภาพนั้นเหมือนกับบ่อน้ำครำไม่มีผิด เพราะถูกปล่อยปละให้เน่าเสีย ตื้นเขิน มีต้นไม้วัชพืชขึ้นเต็มไปหมด แถมประชาชนยังสร้างบ้านเรือนรุกล้ำแนวคลอง จนกลายเป็นแหล่งรวมของสิ่งสกปรก เชื้อโรค และสัตว์มีพิษ เป็นสภาพที่เห็นแล้วน่าหดหู่ใจมากๆ เพราะไม่คาดคิดเลยว่าคลองสายนี้จะเป็นคลองสายประวัติศาสตร์ วันนี้ผมได้ไปถ่ายรูปมาด้วยครับ อยากให้ดูว่าสภาพปัจจุบันนี้เป็นยังไง แต่ผมไม่ได้ถ่ายคลองตลอดทั้งสายนะครับ บริเวณที่ผมไปถ่ายวันนี้อยู่ตรงวัดวิเศษการครับ (ถ่ายวันนี้จริงๆครับ 24 ก.พ. 65 ตอนเช้าๆ)
ป้ายคลองบ้านขมิ้นตรงสะพานข้ามคลองแยก รพ.ศิริราช
สะพานข้ามคลองโบราณที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 ระบุชื่อคนสร้างคือช่างหล่อที่ชื่อว่านายอู๊ด ปัจจุบันสะพานข้ามคลองตรงนี้เป็นสะพานสำหรับทางเท้า เชิงสะพานฝั่งวัดวิเศษการยังอยู่ แต่เชิงสะพานฝังแยก รพ.ศิริราช หายไปแล้วเพราะถูกปูนถมเพื่อหนุนทางเท้าให้สูงขึ้น แต่ก็พอจะเดาได้ว่าสมัยก่อน ความกว้างของคลองกว้างขนาดไหน
สภาพของคลองฝั่งวัดวิเศษการ จะเห็นว่าเป็นคลองแคบๆ น้ำในคลองมีสีขาวขุ่นๆ แต่สภาพแบบนี้เชื่อได้เลยว่าคงไม่มีสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในคลองแล้ว นอกจากสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดและสัตว์มีพิษ
รูปถ่ายของคลองอีกฝั่งนึง คลองฝั่งนี้กว้างขึ้นมาหน่อย แต่น้ำในคลองสีก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ ด้านขวาของรูปตรงคลองฝั่งที่ติดกำแพง จะสังเกตว่ามีฟองคล้ายๆกับฟองของน้ำซักผ้าอยู่ในคลอง เชื่อได้เลยว่าเป็นเพราะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ติดริมคลองซักผ้า แล้วเทน้ำที่เหลือจากซักผ้าลงในคลอง แต่เอ๊ะ ถัดลงมาล่างๆหน่อยผมเห็นตัวอะไรคุ้นๆนะ
อ๋อ มันก็คือตัวร่ำตัวรวยนั่นเอง (เรียกให้มันดูสุภาพมากขึ้นนะครับ) กำลังว่ายน้ำอยู่ในคลองอย่างสำราญบานใจ
ป้ายประกาศของ กทม.
เดินผ่านหน้า รพ.ศิริราช ก่อนจะเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเล็กๆ ผมก็เจอกับสะพานข้ามคลอง 2 สะพานที่อยู่ติดกัน สะพานฝั่งซ้ายเป็นสะพานไม้ที่ผุไปมากแล้ว สะพานฝั่งขวาเป็นสะพานเหล็ก ผมเลือกที่จะเดินไปบนสะพานไม้โดยที่ไม่กลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นทั้งนั้น
มาถึงตรงนี้สภาพที่เห็นยิ่งหดหู่ใจเข้าไปอีก มันเหมือนกับลำธารเล็กๆ แต่สภาพนั้นกลับไม่ชวนให้มองเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะคลองตรงนี้ตื้นเขินมาก แถมริมคลองยังมีต้นไม้เล็กๆและวัชพืชขึ้นเต็มไปหมด ถ้ามองไปไกลๆก็ลองสังเกตดีๆนะครับ เต็มเลย ไม่อยากนึกสภาพเลยว่าถ้าลองเอาเท้าแช่ลงไปในน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
จุดเดียวกันครับ แต่ถ่ายอีกมุมนึง
สะพานไม้ผุจนเห็นน้ำในคลอง เห็นสีแล้วน่าขนลุกจริงๆครับ
คราวนี้ผมย้ายมายืนอยู่บนสะพานเหล็กบ้าง ถ้ามองไปไกลๆจะเห็นเลยว่าสภาพแย่กว่านี้มากครับ
ผมลองหมุนเลนส์ซูมเข้าไป เห็นชัดเลยว่าตรงนี้ขยะเยอะมาก แล้วยังขวางกลางคลองด้วย
สภาพหลังจากนี้จะเป็นยังไงผมไม่รู้แล้วนะครับ เพราะผมถ่ายถึงแค่ตรงนี้ รู้แค่ว่าตรงใกล้ๆสถานีรถไฟบางกอกน้อยมีการขุดคลองขึ้นมาใหม่เพื่อให้เชื่อมกับคลองสายนี้โดยตรง
นี่คือเรื่องราวที่น่าเศร้าของคลองคูเมืองฝั่งตะวันตก คลองสายประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นเหมือนกับกำแพงเมืองเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูเข้ามาตีเมืองกรุงธนบุรี แทนที่จะถูกบำรุงรักษาดูแลให้มีสภาพที่สวยงามเหมือนกับคลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันออก แต่กลับถูกปล่อยปละละเลย แถมยังมีการสร้างบ้านเรือนลุกล้ำแนวคลอง จนทำให้คลองแคบลงเรื่อยๆ แล้วยังมีการทิ้งขยะและน้ำเสียลงในคลอง จนทำให้กลายเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค วัชพืช และสัตว์มีพิษ และไม่สามารถที่จะเอาน้ำในคลองขึ้นมาใช้ประโยชน์อะไรได้อีกต่อไป
กระทู้นี้ผมไม่ได้มาร้องเรียนอะไรหรอกนะครับ แค่อยากจะเล่าสิ่งที่เห็นประกอบเรื่องราวที่เป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ ว่าทำไมคลองที่มีความสำคัญมากมายในสมัยโบราณถึงถูกปล่อยปละละเลยและถูกย่ำยีจนทำให้สภาพย่ำแย่ได้ถึงขนาดนี้ อย่างน้อยก็เป็นเครื่องเตือนใจอย่างดีเลยนะครับ ว่าให้เราเห็นถึงความสำคัญของแหล่งน้ำที่อยู่คู่กับเมืองไทยมาอย่างยาวนาน เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของคนไทยให้หันมาดูแลรักษาแหล่งน้ำ ให้เป็นสมบัติและเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้คนไทยตราบจนชั่วลูกชั่วหลานครับ
รูปทั้งหมดถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล Canon EOS 500D ติดเลนส์ EF 28-105mm f/4-5.6 USM
คลองบ้านขมิ้น คลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตกที่ไม่มีใครเหลียวแล
เส้นขีดสีแดงคือคลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตก (คลองบ้านขมิ้นกับคลองบ้านหม้อ) เส้นขีดสีน้ำเงินคือคลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันออก (คลองคูเมืองเดิม)
ประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่า คลองทั้ง 2 ฝั่งเป็นคลองที่ขุดในสมัยกรุงธนบุรี เพราะกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงที่ตั้งอยู่ทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองอกแตก ง่ายต่อการถูกโจมตี เลยมีการขุดคลองไว้รอบพระนครเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูบุกเข้ามาตีเมือง จนเวลาล่วงเลยผ่านมาถึง 200 กว่าปี วันเวลาก็ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป คลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันออกก็กลายเป็นคลองที่ล้อมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ได้รับการดูแลเอาใจใส่ตลอดจนมีสภาพที่สวยงาม อาจจะมีน้ำเน่าเป็นบางครั้ง แต่สภาพโดยรวมก็ยังดูดี ยกเว้นแต่ตรงแยกผ่านพิภพจนถึงใต้สะพานปิ่นเกล้าที่โดนถนนกับเชิงสะพานคลุมเหนือผิวน้ำ
ผิดกับคลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตกที่สภาพนั้นเหมือนกับบ่อน้ำครำไม่มีผิด เพราะถูกปล่อยปละให้เน่าเสีย ตื้นเขิน มีต้นไม้วัชพืชขึ้นเต็มไปหมด แถมประชาชนยังสร้างบ้านเรือนรุกล้ำแนวคลอง จนกลายเป็นแหล่งรวมของสิ่งสกปรก เชื้อโรค และสัตว์มีพิษ เป็นสภาพที่เห็นแล้วน่าหดหู่ใจมากๆ เพราะไม่คาดคิดเลยว่าคลองสายนี้จะเป็นคลองสายประวัติศาสตร์ วันนี้ผมได้ไปถ่ายรูปมาด้วยครับ อยากให้ดูว่าสภาพปัจจุบันนี้เป็นยังไง แต่ผมไม่ได้ถ่ายคลองตลอดทั้งสายนะครับ บริเวณที่ผมไปถ่ายวันนี้อยู่ตรงวัดวิเศษการครับ (ถ่ายวันนี้จริงๆครับ 24 ก.พ. 65 ตอนเช้าๆ)
ป้ายคลองบ้านขมิ้นตรงสะพานข้ามคลองแยก รพ.ศิริราช
สะพานข้ามคลองโบราณที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 ระบุชื่อคนสร้างคือช่างหล่อที่ชื่อว่านายอู๊ด ปัจจุบันสะพานข้ามคลองตรงนี้เป็นสะพานสำหรับทางเท้า เชิงสะพานฝั่งวัดวิเศษการยังอยู่ แต่เชิงสะพานฝังแยก รพ.ศิริราช หายไปแล้วเพราะถูกปูนถมเพื่อหนุนทางเท้าให้สูงขึ้น แต่ก็พอจะเดาได้ว่าสมัยก่อน ความกว้างของคลองกว้างขนาดไหน
สภาพของคลองฝั่งวัดวิเศษการ จะเห็นว่าเป็นคลองแคบๆ น้ำในคลองมีสีขาวขุ่นๆ แต่สภาพแบบนี้เชื่อได้เลยว่าคงไม่มีสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในคลองแล้ว นอกจากสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดและสัตว์มีพิษ
รูปถ่ายของคลองอีกฝั่งนึง คลองฝั่งนี้กว้างขึ้นมาหน่อย แต่น้ำในคลองสีก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ ด้านขวาของรูปตรงคลองฝั่งที่ติดกำแพง จะสังเกตว่ามีฟองคล้ายๆกับฟองของน้ำซักผ้าอยู่ในคลอง เชื่อได้เลยว่าเป็นเพราะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ติดริมคลองซักผ้า แล้วเทน้ำที่เหลือจากซักผ้าลงในคลอง แต่เอ๊ะ ถัดลงมาล่างๆหน่อยผมเห็นตัวอะไรคุ้นๆนะ
อ๋อ มันก็คือตัวร่ำตัวรวยนั่นเอง (เรียกให้มันดูสุภาพมากขึ้นนะครับ) กำลังว่ายน้ำอยู่ในคลองอย่างสำราญบานใจ
ป้ายประกาศของ กทม.
เดินผ่านหน้า รพ.ศิริราช ก่อนจะเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเล็กๆ ผมก็เจอกับสะพานข้ามคลอง 2 สะพานที่อยู่ติดกัน สะพานฝั่งซ้ายเป็นสะพานไม้ที่ผุไปมากแล้ว สะพานฝั่งขวาเป็นสะพานเหล็ก ผมเลือกที่จะเดินไปบนสะพานไม้โดยที่ไม่กลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นทั้งนั้น
มาถึงตรงนี้สภาพที่เห็นยิ่งหดหู่ใจเข้าไปอีก มันเหมือนกับลำธารเล็กๆ แต่สภาพนั้นกลับไม่ชวนให้มองเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะคลองตรงนี้ตื้นเขินมาก แถมริมคลองยังมีต้นไม้เล็กๆและวัชพืชขึ้นเต็มไปหมด ถ้ามองไปไกลๆก็ลองสังเกตดีๆนะครับ เต็มเลย ไม่อยากนึกสภาพเลยว่าถ้าลองเอาเท้าแช่ลงไปในน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
จุดเดียวกันครับ แต่ถ่ายอีกมุมนึง
สะพานไม้ผุจนเห็นน้ำในคลอง เห็นสีแล้วน่าขนลุกจริงๆครับ
คราวนี้ผมย้ายมายืนอยู่บนสะพานเหล็กบ้าง ถ้ามองไปไกลๆจะเห็นเลยว่าสภาพแย่กว่านี้มากครับ
ผมลองหมุนเลนส์ซูมเข้าไป เห็นชัดเลยว่าตรงนี้ขยะเยอะมาก แล้วยังขวางกลางคลองด้วย
สภาพหลังจากนี้จะเป็นยังไงผมไม่รู้แล้วนะครับ เพราะผมถ่ายถึงแค่ตรงนี้ รู้แค่ว่าตรงใกล้ๆสถานีรถไฟบางกอกน้อยมีการขุดคลองขึ้นมาใหม่เพื่อให้เชื่อมกับคลองสายนี้โดยตรง
นี่คือเรื่องราวที่น่าเศร้าของคลองคูเมืองฝั่งตะวันตก คลองสายประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นเหมือนกับกำแพงเมืองเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูเข้ามาตีเมืองกรุงธนบุรี แทนที่จะถูกบำรุงรักษาดูแลให้มีสภาพที่สวยงามเหมือนกับคลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันออก แต่กลับถูกปล่อยปละละเลย แถมยังมีการสร้างบ้านเรือนลุกล้ำแนวคลอง จนทำให้คลองแคบลงเรื่อยๆ แล้วยังมีการทิ้งขยะและน้ำเสียลงในคลอง จนทำให้กลายเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค วัชพืช และสัตว์มีพิษ และไม่สามารถที่จะเอาน้ำในคลองขึ้นมาใช้ประโยชน์อะไรได้อีกต่อไป
กระทู้นี้ผมไม่ได้มาร้องเรียนอะไรหรอกนะครับ แค่อยากจะเล่าสิ่งที่เห็นประกอบเรื่องราวที่เป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ ว่าทำไมคลองที่มีความสำคัญมากมายในสมัยโบราณถึงถูกปล่อยปละละเลยและถูกย่ำยีจนทำให้สภาพย่ำแย่ได้ถึงขนาดนี้ อย่างน้อยก็เป็นเครื่องเตือนใจอย่างดีเลยนะครับ ว่าให้เราเห็นถึงความสำคัญของแหล่งน้ำที่อยู่คู่กับเมืองไทยมาอย่างยาวนาน เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของคนไทยให้หันมาดูแลรักษาแหล่งน้ำ ให้เป็นสมบัติและเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้คนไทยตราบจนชั่วลูกชั่วหลานครับ
รูปทั้งหมดถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล Canon EOS 500D ติดเลนส์ EF 28-105mm f/4-5.6 USM