โบราณสถานปรางค์วัดทานกันฑ์ ตำบลพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ห่างจากคลองทวนประมาณ 400 เมตรไม่ทราบประวัติการก่อสร้างที่แน่ชัด สิ่งสำคัญคือปรางค์ประธาน องค์ปรางค์ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบ ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นมาหลายชั้น มีชั้นเรือนธาตุมีซุ้มจรนำทั้ง สี่ด้าน ส่วนยอดปรางค์มีลักษณะที่เรียกว่า ปรางค์หัวโต คือส่วนด้านยอดบนขยายใหญ่กว่าด้านยอดด้านล่างที่เชื่อมต่อกับเรือนธาตุ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของปรางค์ ที่พบในแถบอำเภอท่าม่วงอำเภอพนมทวนและอำเภอห้วยกระเจาจังหวัดกาญจนบุรี
ปรางค์ ประธานองค์นี้สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ทั้งนี้อาจเปรียบเทียบปรางค์วัดทานกัณฑ์ กับปรางค์วัดอินทาราม ตำบลหนองขาวอำเภอท่าม่วง และปรางค์ประธานวัดสระกระเบื้อง ตำบลดอนแสลบอำเภอห้วยกระเจา ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่ปรางค์ ของวัดอินทาราม และปรางค์วัดสระกระเบื้องนั้น ได้รับการปฏิสังขรณ์มาแล้วในสมัยรัตนโกสินทร์ทำให้รูปแบบศิลปกรรมเปลี่ยนแปลงบางส่วนเปลี่ยนแปลงไป ด้านหน้าปรางค์ประธาน คาดว่าเดิมคงมีอาคารประเภทวิหารตั้งอยู่ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกลงสู่คลองทวน แต่ไม่เหลือหลักฐานแล้วในปัจจุบัน คลองทวนหรือลำน้ำทวนนี้ เป็นเส้นทางสัญจรเก่าแก่มาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างลุ่มแม่น้ำแม่กลองและลุ่มแม่น้ำท่าจีน และยิ่งสำคัญมากขึ้นในสมัยอยุธยาเพราะเป็นส่วนหนึ่งเส้นทางเดินทัพทำสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดี ในสุดที่ยกทัพเข้ามาจากทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ตลอดแนวครองครัวจึงมีโบราณสถานสมัยอยุธยาตอนปลายสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นหลายแห่งเช่นวัดบ้านทวนวัดบ้านน้อยรวมถึงโบราณสถานแห่งนี้ด้วย
จารุณี กฐินหอม//ภาพ
ขอขอบคุณข้อมูลโดย//สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรีกรมศิลปากร
[CR] รีวิวโบราณสถานอำเภอพนมทวนจังหวัดกาญจนบุรี
ปรางค์ ประธานองค์นี้สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ทั้งนี้อาจเปรียบเทียบปรางค์วัดทานกัณฑ์ กับปรางค์วัดอินทาราม ตำบลหนองขาวอำเภอท่าม่วง และปรางค์ประธานวัดสระกระเบื้อง ตำบลดอนแสลบอำเภอห้วยกระเจา ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่ปรางค์ ของวัดอินทาราม และปรางค์วัดสระกระเบื้องนั้น ได้รับการปฏิสังขรณ์มาแล้วในสมัยรัตนโกสินทร์ทำให้รูปแบบศิลปกรรมเปลี่ยนแปลงบางส่วนเปลี่ยนแปลงไป ด้านหน้าปรางค์ประธาน คาดว่าเดิมคงมีอาคารประเภทวิหารตั้งอยู่ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกลงสู่คลองทวน แต่ไม่เหลือหลักฐานแล้วในปัจจุบัน คลองทวนหรือลำน้ำทวนนี้ เป็นเส้นทางสัญจรเก่าแก่มาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างลุ่มแม่น้ำแม่กลองและลุ่มแม่น้ำท่าจีน และยิ่งสำคัญมากขึ้นในสมัยอยุธยาเพราะเป็นส่วนหนึ่งเส้นทางเดินทัพทำสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดี ในสุดที่ยกทัพเข้ามาจากทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ตลอดแนวครองครัวจึงมีโบราณสถานสมัยอยุธยาตอนปลายสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นหลายแห่งเช่นวัดบ้านทวนวัดบ้านน้อยรวมถึงโบราณสถานแห่งนี้ด้วย
จารุณี กฐินหอม//ภาพ
ขอขอบคุณข้อมูลโดย//สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรีกรมศิลปากร
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้