💛มาลาริน/21ก.พ.ไม่ติดTop10โลก/ป่วย18,883คน หาย14,914คน ตาย32คน/คลัสเตอร์ยังเป็นร้านอาหาร ขายแอลกอฮอล์/ยกระดับเตือนภัย

ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ....ปูเสื่อ

ศบค.ยังพบติดโควิดเป็นคลัสเตอร์ เผยร้านอาหารและขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รายงานตัวเลขสูงสุด ส่วนตลาดยังพบติดเชื้อซ้ำ ขณะที่โรงเรียนพบหลายจังหวัด
 
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. แถลงข่าว ณ โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ช่วงหนึ่งว่า การรายงานคลัสเตอร์การติดเชื้อโควิด-19 คลัสเตอร์ที่มีการรายงานตัวเลขสูงสุด คือ ร้านอาหารและเปิดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรูปแบบสถานบันเทิง ที่จังหวัดขอนแก่น สงขลา 
 
ส่วนคลัสเตอร์โรงเรียนพบในหลายจังหวัด  ที่จังหวัดน่าน หนองคาย เลย สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ร้อยเอ็ด จันทบุรี หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และพะเยา มีทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก โรงเรียนมัธยม โรงเรียนกีฬา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย 
 
คลัสเตอร์ที่อาจเป็นการติดเชื้อซ้ำ เป็นคลัสเตอร์ตลาด มีรายงาน 6 จังหวัด นครราชสีมา อุบลราชธานี นครพนม จันทบุรี สุรินทร์ และเพชรบุรี  มีทั้งตลาดในชุมชน ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ บางแห่งมีการติดเชื้อซ้ำ 
 
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ทางศบค.ชุดเล็ก โดยผอ.ศปก.ศบค. ฝากเน้นย้ำไปยังกลไกฝ่ายปกครองทุกจังหวัด ขอให้กำกับติดตาม โดยเฉพาะคลัสเตอร์ตลาดที่มีการติดเชื้อซ้ำซาก ขอให้ทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ลงไปกำกับในทุกระดับ เพราะว่าคลัสเตอร์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เดิมๆ บางพื้นที่ บางจังหวัด 
 
ด้านคลัสเตอร์งานประเพณีและพิธีกรรม มีการรายงานคลัสเตอร์งานศพที่จังหวัดมุกดาหาร  งานบุญคูณลานจังหวัดกาฬสินธุ์ ,หนองคายและอุดรธานี เป็นงานบุญ
 
ตอนนี้ที่ศบค.เป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ กลุ่มเฮลท์แคร์ เวิร์คเกอร์

https://www.thansettakij.com/general-news/514701

สธ.ยกระดับการเตือนภัย "โควิด" เป็นระดับ 4 หลังติดเชื้อรายใหม่เพิ่มต่อเนื่องภายใน 2 สัปดาห์ ขอความร่วมมือประชาชนงดไปที่เสี่ยง เลี่ยงกิจกรรมรวมกลุ่มและเลี่ยงเดินทางข้ามจังหวัด
 
นพ.จักรรัฐ  พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่าระหว่างการแถลงอัปเดตสถานการณ์ "โควิด"   เตือนภัยระดับ 4 ทั่วประเทศ และแนวทางมาตรการควบคุมโรค  ว่า จากสถานการณ์การติดเชื้อ  "โควิด" มีแนวโน้มสูงขึ้น และคาดการณ์ว่าภายใน 1-2 สัปดาห์ห์ทรงตัวในระดับสูง ดังนั้นกระทรวงสาธารณะจึงจำเป็นจะต้องมีการมาตรการและแนวทางเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้น โดยในเบื้องต้นสถานการณ์การระบาดของโควิด19 และการติดเชื้อของไทยพบว่า มีอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ย 14 วัน ( 8-21 ก.พ.65 ) อยู่ที่ประมาณ  15,981 ราย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง 796 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 202 ราย เสียชีวิตเฉลี่ย 14 วันอยู่ที่ประมาณ 25 ราย โดยที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข ( สธ.) มีการเฝ้าระวังการติดเชื้อในลักษระคลัสเตอร์ แคมป์คนงาน โรงเรียนสถานประกอบการ มาอย่างต่อเนื่อง 
 
นพ.จักรรัฐ  กล่าวต่อว่า แต่จากการติดตามข้อมูลพบว่าขณะนี้ "โควิด" ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมการแพร่ระบาด
 
สธ.จึงได้มีการยกระดับการเตือนภัยโควิดเป็นระดับ 4 ทั่วประเทศ โดยจะต้องขอความร่วมมือประชาชนงวดเข้าสถานที่เสี่ยง  เลี่ยงการรวมกลุ่ม ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด
 
เพื่อควบคุมไม่ได้การแพร่เชื้อการจายเป็นวงกว้าง  อย่างไรก็ตามมีการเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อของผู้ป่วย พบว่าแนวโน้มการติดเชื้อทั่งประเทศยังเพิ่ใขึ้นต่อเนื่อง  อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม วันทำงานการทำงาน การกินข้าวร่วมกันทำให้แพร่เชื้อได้มากที่สุด  รวมไปถึงการแพร่เชื้อในวัยเด็ก 
 
ด้านนพ.ธงชัย  กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศอยู่ในช่วงการระบาดของ "โควิด" สายพันธุ์โอไมครอน แม้ว่าจะมีการติดเชื้อรายวันจำนวนมาก  แต่พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโอไมครอนมีความรุนแรงต่ำ มีการเสียชีวิตต่ำลง แต่หากมีการปล่อยให้เกิดการระบาดมากยิ่งขึ้นจะทำให้ควบคุมอยาก จากข้อมูลพบว่า ขณะนี้ผู้ติดเชื้อจะอยู่ในวัย 18 ขึ้นไป  ซึ่งพบมากในกลุ่มเด็กเล็ก วัยทำงาน  และเพื่อเป็นการลดจำนวนผู้ติดเชื้อ ลดการแพร่ระบาดลงให้อยู่ในจุดที่สามารถควบคุมได้  สธ. ขอให้ประชาชนช่วยกันป้องกันตัวเอง เพราะโควิดสามาถติดต่อได้ง่ายในบางรายมีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลย เมื่อเดินทางไปพบปะผู้อื่นก็จะส่งให้มีการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัง  ดังนั้นหากมีความเสี่ยงขอให้กักตัวเอง มาตรการในการควบคุมโรคยังมีความสำคัญ  ดังนั้น สธ. จึงมีความจำเป็นต้องยกระดับการเตือนภัยโควิดเป็นระดับ 4  ทั่วประเทศ     โดยมีมาตรการดังนี้....🧑‍💻👩‍💻👨‍💻

📌งดเข้าสถานที่เสี่ยง
📌งดทานอาหารร่วมกัน ดื่มสุราในร้าน
📌เลี่ยงไปซื้อของที่มีคนจำนวนมาก เช่น ตลาด ห้าง
📌เลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นนอกบ้าน
📌งดร่วมกิจกรรม กลุ่มตามเกณฑ์ต่างๆ
📌มาตรการทำงานที่บ้านให้ได้ร้อยละ 50-80
📌ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดหากจำเป็นใช้รถยนต์ส่วนตัว
📌เลี่ยงไปต่างประเทศ
📌หากเข้าประเทศต้องปรับตัวในสถานที่กักกัน
  
👉ระดับเตือนภัยป้องกันโควิด19 ของประเทศไทย จะมีทั้งหมด 5 ระดับ คือ 
❗ระดับ 1 ใช้ชีวิตได้ปกติ แบบ COVID-19 Free Setting ประชาชนสามารถ โดยสารขนส่งสาธารณะได้ การเดินทางเข้าประเทศโดยปกติ  
 
❗ระดับ 2 เร่งเฝ้าระวัง คัดกรอง เลี่ยงกิจกรรมรวมกลุ่ม 1,000 คนขึ้นไป  งดเข้าสถานบันเทิง เลี่ยงเข้าสถานที่ปิด/แออัด เลี่ยงร่วมกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มจำนวนมาก เลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท
 
❗ระดับ 3 จำกัดการรวมกลุ่ม ทำงานจากที่บ้าน 20 – 50% เลี่ยงกิจกรรมรวมกลุ่ม 200 คนขึ้นไป เลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท งดไปต่างประเทศ 
 
❗ระดับ 4 ปิดสถานที่เสี่ยง ทำงานจากที่บ้าน 50 – 80% งดไปรับประทานร่วมกัน  งดดื่มสุราในร้าน งดเข้าสถานที่เสี่ยงทุกประเภท เลี่ยงเข้าใกล้ผู้อื่นนอกบ้าน คัดกรองก่อนเดินทาง  ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศ
 
❗ระดับ 5 จำกัดการเดินทางและกิจกรรมต่างๆ ทุกคนงดออกนอกบ้าน หากจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิต เช่น ตรวจ รักษา ซื้ออาหาร ของใช้ งดรวมกลุ่มมากกว่า 5 คน งดใกล้ชิดกันในบ้าน  รวมถึงเคอร์ฟิว ซึ่งจะมีการกำหนดมาตตรการตามระดับเตือนภัยทั้ง 5 ระดับด้วย
  
สถานการณ์เตียงว่างสำหรับรองรับผู้ติดเชื้อโควิด 
-จำนวนเตียงทั่วประเทศ 173,736 เตียง 
-อัตราการครองเตียง  85,389 เตียง 
-อัตราเตียงว่าง         88,347  เตียง 
 
เตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยอาการหนัก 
-จำนวนเตียงทั้งหมด 2,160  เตียง 
-อัตราการครองเตียง 383 เตียง 
-อัตราเตียงว่าง    1,777 เตียง 
 
เตียงสำหรับผู้ป่วยระดับ 2.2 (Oxygen high flow) 
-จำนวนเตียงทั้งหมด  5,612 เตียง 
-อัตราการครองเตียง   673  เตียง 
-อัตราเตียงว่าง          4,939  เตียง 
 
เตียงผู้ป่วยระดับ 2.1 (Oxygen low flow) 
-จำนวนเตียงทั้งหมด        23,910  เตียง 
-อัตราการครองเตียง        4,679  เตียง 
-อัตราเตียงว่าง                19,231  เตียง  
 
เตียงรองรับผู้ป่วยระดับ 1 (กลุ่มที่ไม่ใช้อ็อกซิเจน)
 
-จำนวนเตียงทั้งหมด         142,054  เตียง 
-อัตราการครองเตียง          79,654  เตียง 
-อัตราเตียงว่าง                  62,400 เตียง  

https://www.komchadluek.net/covid-19/506174

นานาเรียนติดตามข่าวโควิดเพื่อดูแลตัวเองป้องกันการติดเชื้อ

........เพี้ยนแข็งแรง

....❤❤
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15

รพ.เด็ก เผย พบเด็กติดโควิด เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 แต่ความรุนแรงของโรคไม่มาก เตียงเด็กใน กทม.และปริมณฑลค่อนข้างแน่น ครองเตียงไปแล้วร้อยละ 80

นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยเด็กในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ว่า ภาพรวมเด็กติดเชื้อโควิด -19 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 30 จากผู้ติดเชื้อทั้งหมด แต่ความรุนแรงของโรคโควิดในเด็กไม่มาก มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 3 ที่มีอาการเปลี่ยนแปลงไปสู่สีเหลืองหรือสีแดง ส่วนใหญ่ที่มีอาการรุนแรงมักเป็นกลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคสมอง ขณะที่ร้อยละ 50 ของเด็กที่ป่วยโควิด-19 ไม่มีอาการ

สถานการณ์เตียงเด็กภาพรวมใน กทม.และปริมณฑลค่อนข้างหนาแน่น ครองเตียงไปแล้วร้อยละ 80 จึงนำนโยบายการรักษาตัวที่บ้าน (HI) มาใช้ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไปและไม่มีอาการ ยืนยัน เด็กที่ติดเชื้อโควิดจะเข้ารับการรักษาตัวที่บ้านได้ ต้องผ่านการคัดกรองว่า มีไข้ไม่สูง ไม่มีโรคประจำตัวที่รุนแรง เด็กไม่ซึม รับประทานอาหารได้ และมีพ่อแม่พร้อมให้การดูแล ส่วนเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ติดเชื้อโควิด ขอให้มาตรวจทำการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน พร้อมย้ำว่าแนวทางการรักษาโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในเด็ก รักษาตามอาการคล้ายไข้หวัด ส่วนใหญ่มีอาการ 5 วัน และดีขึ้น แต่ต้องรักษาตามอาการ 10-14 วัน หากมีอาการก็จะจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์สูตรน้ำให้รับประทาน

เมื่อนำเด็กติดเชื้อโควิด-19 เข้าระบบการรักษาตัวที่บ้าน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะติดตามอาการผ่านช่องทางออนไลน์หรือโทรสอบถามอาการจากผู้ปกครองวันละ 1-2 ครั้ง ให้พ่อแม่ถ่ายวิดีโออาการของลูกให้แพทย์ดูวันละ 1 ครั้ง พร้อมมีการวัดไข้ วัดระดับออกซิเจนในเลือดจากปลายนิ้ว โดยพยาบาล 1 คนรับผิดชอบเด็ก 20-30 คน ทั้งนี้ จากการรักษาเด็กติดเชื้อโควิดที่ผ่านมากว่า 1,000 คนพบว่ามีอาการรุนแรง 1-2 % เท่านั้น

สำหรับสถานการณ์เตียงเฉพาะของโรงพยาบาลเด็ก ขณะนี้ค่อนข้างหนาแน่น ซึ่งโรงพยาบาลเด็กจะรับเด็กติดเชื้อโควิดรักษาในโรงพยาบาล เน้นกลุ่มสีเหลืองและสีแดง และมีอายุน้อยกว่า 5 ปีเป็นหลัก
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/313480027481008


กรมอนามัย เตือน นักท่องเที่ยว!! เข้มป้องกันตนเองขั้นสูงสุด เลี่ยงสถานที่แออัด ลดเสี่ยงโควิด-19

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยว ปฏิบัติตามหลัก UP (Universal Prevention)  พร้อมย้ำช่วยกันลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ และทิ้งลงถังอย่างถูกต้อง

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกรณีการนำเสนอข่าว จำนวนนักท่องเที่ยวที่มีการแออัดในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของไทย ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ซึ่งจากผลการสำรวจอนามัยโพล เรื่องการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคในสถานที่ท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 4-18 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า สิ่งที่นักท่องเที่ยวทำได้มากที่สุดคือ สวมหน้ากากตลอดเวลา ร้อยละ 98 รองลงมาคือ ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่และน้ำ หรือแอลกอฮอล์ ร้อยละ 95 ทางด้านสถานที่ท่องเที่ยว ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 โดยกำหนดจุดเข้า-ออก และวัดอุณหภูมิก่อนเข้ามากที่สุด ร้อยละ 83 รองลงมาคือ มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ ร้อยละ 62 และมีการกำกับการสวมหน้ากากตลอดเวลา ร้อยละ 61 ตามลำดับ แต่ก็ยังพบมีความเสี่ยงในสถานที่ท่องเที่ยว โดยพบมากที่สุดคือ นักท่องเที่ยวหนาแน่นและแออัด ไม่เว้นระยะห่าง ร้อยละ 64 รองลงมาคือ มีคนไม่สวมหน้ากาก หรือสวมไม่ถูกต้อง ร้อยละ 46 และ ห้องน้ำ ห้องส้วม ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น ร้อยละ 34 ตามลำดับ

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ประชาชนที่เดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ยังคงต้องปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด และคุมเข้มตนเองขั้นสูงสุดตามหลัก UP (Universal Prevention) ด้วยการเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร สวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้าใส่ให้แนบสนิทกับใบหน้า ปิดทั้งจมูกและปากตลอดเวลา หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของร่วมกันกับผู้อื่น ให้หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าที่สวมใส่อยู่  รวมทั้งใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ หากมีความเสี่ยง ให้แยกตัวจากผู้อื่น และตรวจหาเชื้อเบื้องต้นด้วย ATK หากตรวจแล้วไม่พบเชื้อ ให้ตรวจซ้ำ หลังจากตรวจครั้งแรก 3 - 5 วัน หรือเมื่อมีอาการ

“นอกจากนี้ ขอความร่วมมือประชาชนและนักท่องเที่ยวใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยการช่วยกันลดปริมาณขยะ รวมทั้งไม่นำสิ่งของที่ก่อให้เกิดขยะเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยว เช่น ไม่ใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ลดการใช้ถุงพลาสติก เปลี่ยนมาใช้ภาชนะที่ใช้ซ้ำได้ หรือย่อยสลายง่าย หรือทำจากวัสดุธรรมชาติ หากนำเข้าไปในสถานที่ท่องเที่ยว ให้เก็บคืนออกมาให้มากที่สุด เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง เป็นต้น รวมทั้งขอให้แยกประเภทขยะ ทิ้งขยะลงถัง หรือในภาชนะที่จัดไว้ให้ถูกต้องด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

กรมอนามัย / 21 กุมภาพันธ์ 2565
https://www.facebook.com/NBT2HDTV/posts/7350032411681072


สธ.เผย 1 สัปดาห์!! อัตราติดเชื้อโควิดประเทศไทยเพิ่มขึ้น ย้ำทุกจังหวัดยังคงเตือนภัยโควิดระดับ 4 งดไปสถานที่เสี่ยง งดรวมตัวสังสรรค์ เน้นทำงานที่บ้าน เลี่ยงเดินทางข้ามจังหวัด ช่วยลดการผติดเชื้อ ส่วนเตียงรองรับยังมีเพียงพอ

วันนี้ (21 ก.พ.65)นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา แถลงสถานการณ์โควิด 19 เตือนภัยระดับ 4 ทั่วประเทศ และสถานการณ์เตียง

นพ.ธงชัยกล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และคาดว่ายังมีแนวโน้มสูงต่อเนื่องในช่วง 1-2 สัปดาห์จากนี้ จึงต้องช่วยกันชะลอการติดเชื้อ ซึ่งที่ผ่านมาได้แจ้งเตือนภัยโควิดระดับ 4 มีคำแนะนำ คือ งดไปสถานที่เสี่ยง งดการรวมกลุ่มสังสรรค์ เน้นทำงานที่บ้าน และชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ถ้าไม่จำเป็น แต่ขณะนี้ประชาชนอาจรู้สึกว่าโรคมีความรุนแรงน้อยลง ทำให้ใช้ชีวิตผ่อนคลายมากขึ้น จึงต้องขอย้ำทุกจังหวัดทั่วประเทศให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ และมีมาตราการเคร่งครัด ซึ่งจะช่วยควบคุมป้องกันโรค ชะลอการระบาดได้ เพราะแม้ความรุนแรงของโอมิครอนจะต่ำกว่าเดลตาเกือบ 10 เท่า แต่หากมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยเฉพาะวัยรุ่น วัยทำงานที่มีการรวมกลุ่มสังสรรค์ ดื่มสุรา อาจติดเชื้อและนำไปแพร่ลงสู่ครอบครัว ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวที่บ้าน ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อรุนแรงและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นได้

ผู้ติดเชื้อมากกว่า 90% มีอาการเล็กน้อย/ไม่มีอาการ อาจทำให้ไม่ระวังตัวเอง ดังนั้น ถ้ามีอาการเล็กน้อยให้ตรวจ ATK เมื่อผลเป็นบวกให้กักตนเองและประสาน 1330 หรือหากมีความเสี่ยง ให้กักตัวเองและตรวจ ATK เป็นประจำเช่นกัน ทั้งนี้ หากเป็นผู้ติดเชื้อและแพทย์วินิจฉัยว่า เป็นกลุ่มอาการสีเขียว ขอความร่วมมือรับการรักษาตัวที่บ้าน( Home Isolation) ได้ ให้ทำตามที่แพทย์แนะนำ จะทำให้มีเตียงรองรับผู้ที่มีอาการต้องใช้เตียงได้เพียงพอ นอกจากนี้ ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ทั้งใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่าง ไม่ไปไปสถานที่แออัด งดการรวมกลุ่มรับประทานอาหาร สังสรรค์ และเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามกำหนด จะช่วยป้องกันการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ ส่วนสถานประกอบการต่างๆ ให้เข้มมาตรการ COVID Free Setting

นพ.ณัฐพงศ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทั้งประเทศมีเตียง 1.7 แสนเตียงทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน อัตราครองเตียง 49% เพียงพอรองรับผู้ป่วยโควิดทุกเขตสุขภาพ สำหรับ 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด อัตราครองเตียงยังไม่เกิน 50% เช่นกัน ส่วน กทม.และปริมณฑล มีเตียง 5.5 หมื่นเตียง ใช้เตียงแล้ว 2.6 หมื่นเตียง โดยเป็นกลุ่มสีเขียว 2.4 หมื่นราย จึงยังมีเพียงพอรองรับ อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ติดเชื้อกลุ่มอาการสีเขียวเข้าระบบการรักษาตัวที่บ้าน home isolation ซึ่ง ในกทม.สามารถรับใหม่ได้วันละ 5,540 ราย และยังมี Community isolation รวมอีก 5 พันเตียงรองรับ

"ประชาชนที่สงสัยติดเชื้อ หากมีอาการหนักให้โทร 1669 หากไปตรวจที่โรงพยาบาลผลเป็นบวก จะได้รับบริการตามระดับอาการ หากตรวจด้วยตนเองและมีผลบวก ให้โทร 1330 ซึ่ง สปสช.เพิ่มถึง 1 พันคู่สาย และยังมีระบบไลน์และเว็บไซต์ สปสช. ให้บันทึกข้อมูลในการติดต่อกลับเพื่อประเมินอาการ โดยหากไม่มีอาการจะส่งเข้าระบบ HI/CI ซึ่งผู้ที่ตรวจ ATK เป็นบวกแล้วไม่จำเป็นต้องตรวจยืนยัน RT-PCR ซ้ำ ก็สามารถเข้าระบบบริการภาครัฐและเครือข่ายเอกชนที่ร่วมมือได้ทุกแห่ง" นพ.ณัฐพงศ์กล่าว

ด้าน นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ขณะนี้สายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดทั่วโลกมี 2 สายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 และ BA.2 ซึ่ง BA.2 มีความรุนแรงใกล้เคียงกับ BA.1 แต่มีข้อมูลเพิ่มว่าจะติดเชื้อและแพร่เร็วกว่า BA.1 ประมาณ 1.4 เท่า และประเทศไทยเริ่มมี BA.2 เพิ่มขึ้นประมาณ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์แล้ว และประเทศไทยการติดเชื้อยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งลักษณะคลัสเตอร์และสัมผัสใกล้ชิดในครอบครัวและชุมชน ซึ่งการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นทำให้มีโอกาสเข้าสู่กลุ่มเสี่ยง ทำให้ปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ หรืออาจเสียชีวิตเพิ่มขึ้นตามมาได้ โดยวันนี้มีรายงานเสียชีวิต 32 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยและมีโรคเรื้อรัง และ 60% ยังไม่ฉีดวัคซีน ส่วนที่เหลือไม่ได้ฉีดบูสเตอร์ จึงต้องรณรงค์ให้กลุ่ม 608 รับการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น เพื่อลดการป่วยหนักและเสียชีวิต

สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมาช่วงวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์ 2565 มีการติดเชื้อเฉลี่ย 108,625 ราย เป็นคนไทย 96% ส่วนใหญ่ติดเชื้อจากสถานที่เสี่ยง มีลักษณะเป็นคลัสเตอร์ ทั้งโรงเรียน ตลาด แคมป์ก่อสร้าง โรงงานและสถานประกอบการ ร้านอาหาร ประมาณ 54% และสัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงในครอบครัว 44% พบว่าไม่มีอาการป่วย 53% มีอาการป่วย 46% อาการสำคัญที่พบ คือ เจ็บคอ ไอ หรือมีไข้ต่ำๆ ดังนั้น หากมีอาการเจ็บคอ ไอ ควรตรวจ ATK ทันที ส่วนกลุ่มอายุเด็ก 0-9 ปี และ 10-19 ปีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน

"รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จังหวัดต่างๆ เกือบทั่วประเทศมีอัตราการติดเชื้อมากกว่า 100 คนต่อแสนประชากร และเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนใหญ่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ ทั้งอายุต่ำกว่า 18 ปี อายุ 18-59 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม จากการรวมกลุ่มกิจกรรม รับประทานอาหาร และสัมผัสใกล้ชิดมากๆ ทำให้การกระจายโรคเพิ่มต่อเนื่อง จึงต้องย้ำเรื่องการแจ้งเตือนภัยระดับ 4" นพ.จักรรัฐกล่าว

ข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข (21 ก.พ. 2565)
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/7352066368144343


เช็กเลย 4 ข้อปฏิบัติ การใช้ชุดตรวจ ATK ในนักเรียน กรณีจำเป็น

1. มีความเสี่ยง : อยู่ในกลุ่มคนรวมกันจำนวนมาก พื้นที่แออัด
2. มีอาการแสดง : ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก
3. สัมผัสผู้ติดเชื้อ (เสี่ยงสูง : High risk contact)
4. เฝ้าระวังคัดกรอง : ตามมาตรการ Sandbox Safety Zone in School สำหรับโรงเรียนประจำ

หมายเหตุ
1. นักเรียน ครู บุคลากร ประเมินความเสี่ยงตนเอง ผ่าน TST
2. กรณีจำเป็นต้องตรวจ ATK เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ใช้วิธีตรวจทางน้ำลาย

Cr. กรมอนามัย / 21 ก.พ. 2565
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/7350450641639249
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่