ก่อนอ่าน: เราไปสอบตอนปี 2564 และเขียนบทความไว้นานแล้วแต่ลืมโพสต์ลงค่ะ
วันนี้เราจะมาเล่าประสบการณ์ที่ได้ไปสอบข้อเขียนทุนระดับปริญญาโทสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศของธนาคารกรุงเทพ ทุกๆปีทางธนาคารจะมอบทุนการศึกษาให้แก่บุคคลภายนอกและพนักงานเพื่อศึกษาต่อป.โทต่างประเทศ หรือป.โทในประเทศไทย (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ) เพื่อนๆสามารถสมัครทุนได้ช่วงเดือนม.ค.-เม.ย.ของทุกปีได้ที่
เว็บไซต์ทุนธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารจะกำหนดสาขาวิชาเรียนที่จะให้ทุนไว้ หากต้องการไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ ส่วนใหญ่แล้วจะให้ทุนสาขาวิชาทางด้าน IT เช่น Software Engineering, Data Science, Machine Learning, Business Analytics, Artificial Intelligence หากศึกษาต่อในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นหลักสูตร MBA, Finance, Marketing, Entrepreneurship รายละเอียดล่าสุดของปี 2564 ดูได้
ที่นี่
เราได้รับการตอบรับจาก
มหาวิทยาลัยที่สิงคโปร์ ในสาขา Data Science ตอนม.ค.ก็เลยลองสมัครทุนดู หลังจากที่สมัครทุนผ่านฟอร์มของธนาคารไปเมื่อเดือนเม.ย. ก็ได้รับการติดต่อให้เข้าไปสอบข้อเขียนในเดือนพ.ค. ซึ่งหลังจากที่ธนาคารติดต่อมา เราต้องส่งเอกสารผ่านทางอีเมลเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเราได้ที่เรียนแล้ว เช่น ใบตอบรับจากมหาวิทยาลัย, CV, Transcript, ผลสอบภาษาหรือ GMAR/GRE, รายวิชาหลักสูตรที่จะไปเรียน และ Letter of recommendation จากอาจารย์หรือว่าหัวหน้างาน เป็นต้น เอกสารเหล่านี้เป็นเอกสารที่ไม่ต้องเตรียมการเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นเอกสารที่เราได้เคยเตรียมไว้ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อยื่นสมัครมหาวิทยาลัยไปก่อนหน้านี้แล้ว
=== สอบอะไรบ้าง? ===
เจ้าหน้าที่แจ้งว่าการสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 4 รอบ ได้แก่
1. สอบข้อเขียน (ซึ่งจะกล่าวละเอียดต่อจากนี้)
2. สอบสัมภาษณ์เบื้องต้น (เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทางธนาคารจึงจัดเป็นสัมภาษณ์ออนไลน์แทนตัวต่อตัว)
3. สอบสัมภาษณ์กับคณะกรรมนักเรียนทุน
4. สอบสัมภาษณ์กับผู้จัดการใหญ่
ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ค.-ก.ค. เพื่อให้เสร็จทันนักเรียนบินไปเรียนตอนเดือนส.ค.-ก.ย. หลังจากได้ยิน เราก็แอบตกใจนิดๆเพราะ Timeline กระชั้นชิดมาก ถ้าจะต้องไปเรียนที่ UK ซึ่งเปิดเทอมตอนปลายก.ย.ก็ถือว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมดี แต่หลักสูตรเราที่สิงคโปร์เริ่มเรียนต้นเดือนส.ค.เลยและต้องบินไปกักตัวอีก 21 วันก่อนหน้านั้นอีก… //จริงๆไม่น่าจะติดเข้าไปถึงสอบ 3 หรอก ฮ่าๆ
=== วันสอบเตรียมอะไรไปบ้าง? ===
เตรียมเครื่องเขียนไปปกติเหมือนตอนสอบมัธยม และนาฬิกาข้อมือ เพราะในห้องสอบไม่มีนาฬิกาหน้าห้องหรือเวลาแสดงบน Projector เราไม่ได้เอานาฬิกาไปเลยทำข้อสอบไม่ทัน หากใครต้องขับรถไปสอบสามารถแจ้งเลขทะเบียนรถกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องทุนก่อนวันสอบได้
=== สอบข้อเขียน ===
สอบเต็มวันตั้งแต่ 9.00–15.00 (พักทานอาหารกลางวัน 1 ชม.) โดยที่ข้อสอบชุดแรกคือ Aptitude Test เป็นแบบตัวเลือก ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. บุคลิกภาพ ประมาณ 40 ข้อ
2. ปฏิภาณการขาย ประมาณ 30 ข้อ
3. ความถนัดปัญญา ประมาณ 110 ข้อ
รวมทั้งหมดเป็นประมาณ 180 ข้อ และต้องทำให้เสร็จภายใน 1.45 ชั่วโมง เฉลี่ยแล้วให้เวลาข้อละ 1.7 นาที ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่ค่อนข้าง Challenge ระดับหนึ่งเลยเพราะมีคณิตศาสตร์โผล่มาหลายข้อในส่วนความถนัดปัญญา
- บุคลิกภาพ เป็นรูปแบบข้อสอบที่เราไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต โจทย์แต่ละข้อมีประโยคอธิบายสถานการณ์ 4 อย่าง และให้เราเลือกตอบว่า ใน 4 อย่างนี้อันไหนตรงจริตกับตัวเรามากที่สุดอันดับหนึ่ง, รองลงมาอันดับสอง และรองลงมาอันดับสาม ข้อสอบส่วนนี้ไม่ได้ใช้การคิดคำนวณมากเท่าไหร่ เป็นการใช้ทักษะการอ่านภาษาไทยให้เร็ว และชิงตอบข้อที่ตรงกับบุคลิกของตัวเอง
- ปฏิภาณการขาย เป็นรูปแบบข้อสอบอีกชนิดที่เราไม่เคยเจอมาก่อน และรู้สึกว่าเลือกคำตอบให้ถูกใจโจทย์ยากมาก ตัวอย่างโจทย์ก็เช่น หากเจอลูกค้าทำท่าไม่สนใจสินค้าเรา เราจะพูดอย่างไรให้ลูกค้ากลับมาสนใจสินค้าได้… โจทย์จริงไม่ได้ง่ายแบบนี้นะ สถานการณ์ยากกว่านี้หลายเท่า ในแต่ละข้อจะมีคำพูด 4 แบบมาให้เลือก เราก็ต้องเลือกดูว่าคำพูดไหนควรพูดมากที่สุด และคำพูดไหนไม่ควรพูดมากที่สุด ข้อสอบส่วนนี้ควรมีประสบการณ์ด้านการขายหรือดีลกับลูกค้ามาก่อนถึงจะพอรับมือไหว สำหรับสาย IT อย่างเราที่วันๆก๊อกแก๊กอยู่กับหน้าคอมคงต้องขอบายกับชุดนี้ ไม่ใช่ทางจริงๆ T_T
- ความถนัดทางปัญญา ประกอบด้วยข้อสอบหลายรูปแบบ เช่น คณิต บวก ลบ คูณ หาร, การหากำไรและขาดทุน, หา Pattern ของภาพหรือตัวอักษร, โจทย์ปัญหาเชาวน์ เป็นต้น ในส่วนนี้มีจำนวน 110 ข้อ เราทำได้แค่ประมาณ 80 ข้อ นอกนั้นกาดิ่ง ทำไม่ทัน แต่พอออกจากห้องสอบมาถามคนอื่นเขาก็ทำทันกันนะ (หัวเราะทั้งน้ำตา) หากใครอยากจะฝึกฝนโจทย์คณิตเราแนะนำว่าให้ไปทวนหลัก
BODMAS และข้อสอบสสวท.คณิต ป.6 เพราะช่วงที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสไปสอนเด็กๆเลยเห็นว่าโจทย์หลายข้อคล้ายกันมาก สำหรับข้อสอบส่วนนี้มันยากตรงที่ต้อง Manage เวลาให้ดี ฝึกคิดเลขให้ไว
=== อุปสรรคของการทำข้อสอบข้อเขียน ===
เราไม่ได้ทำการสอบถามเพื่อนๆ รุ่นพี่ที่รู้จัก หรือหาข้อมูลว่ามีใครเคยไปสอบทุนธนาคารกรุงเทพบ้าง และข้อสอบเป็นประมาณไหน เลยเดาว่าไหนๆสอบทุนไปต่างประเทศข้อสอบคงเป็นภาษาอังกฤษ แต่พอเปิดข้อสอบมาทุก Part ยกเว้น English Test คือภาษาไทยหมด อ๊าาาาาาาาาา อนาคตดับตั้งแต่ตอนเก้าโมงเช้า
อุปสรรคของเราคือเราไม่สามารถอ่านข้อความภาษาไทยยาวๆแบบทางการและเชื่อมโยงข้อความในหัวได้อย่างรวดเร็วเหมือนสมัยเด็กๆที่ต้องสอบพวก GAT เชื่อมโยงอะ เนื่องจากช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมาเราแทบไม่ได้อ่านบทความยาวมากๆหรือหนังสือภาษาไทยจำนวนหน้าหนาๆ ยาวสุดที่อ่านก็คือพวกโพสต์ Drama Addict ในเฟสบุ๊ค เราชินกับการติดตามข่าวจาก BBC, AsianNews หรือพวก Research Study ภาษาอังกฤษเสียมากกว่า และช่วงที่เตรียมตัวเรียนก็จะต้องอ่าน Articles ภาษาอังกฤษเยอะมากซึ่ง Structure การลำดับความคิดของภาษาอังกฤษกับไทยไม่เหมือนกัน แม้แต่คำว่า ปฏิภาณ ยังแปลไม่ได้เลยว่าคืออะไร เพิ่งมาถามความหมายจากเพื่อนหลักจากกลับบ้านมาแล้ว
เราจึงอยากแนะนำเพื่อนๆที่จะไปสอบทุนป.โทต่างประเทศของธนาคารว่าให้เตรียมตัวทั้งภาษาไทย (เตรียมเยอะๆเลย) และภาษาอังกฤษไปด้วย ความยากและกำกวมของภาษาในข้อสอบคล้ายๆกับการทำ Personality Test ในเว็บไซต์ต่างๆที่ถูกแปลเป็นภาษาไทย
บางคนคงสงสัยว่าถ้าเราอ่านและวิเคราะห์ช้าจริง แล้วมาเขียนบทความยาวๆใน Medium ได้อย่างไร… บทความเราแต่ละอันไม่ได้ใช้เวลาเขียนภายในวันเดียวแต่ใช้เวลามากกว่าสัปดาห์ในการกลั่นกรองลำดับความคิด เขียนแล้วก็ลบเขียนใหม่ วนไปไม่จบไม่สิ้นซะที
=== สอบสัมภาษณ์รอบแรก ===
หลักจากสอบข้อเขียนไปไม่วันทางเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องทุนก็โทรมานัดวันและเวลาสัมภาษณ์ออนไลน์ ในการสัมภาษณ์มีเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องทุนและผู้สัมภาษณ์ที่เป็นระดับผู้จัดการอีกหนึ่งคน เนื่องจากเราเรียนทาง Computer Science ผู้สัมภาษณ์จึงมาจากแผนก IT
ในการสัมภาษณ์แบ่งเป็นสองช่วงคือช่วงสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษและภาษาไทย ในส่วนของภาษาอังกฤษจะเป็นการแนะนำตัวเองว่าเป็นใครมาจากไหน จบอะไรมา เคยทำงานประเภทไหน และทำไมถึงตัดสินใจเรียนต่อในด้านนี้ หลังจากสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษเสร็จก็จะเปลี่ยนมาคุยเป็นภาษาไทยซึ่งจะเป็นการที่เราถามผู้สัมภาษณ์เกี่ยวกับระบบ IT ที่มีในธนาคารกรุงเทพและเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรากำลังจะไปเรียนในอนาคต ซึ่งข้อมูลที่เราถามเป็นข้อมูลที่เราศึกษามาระดับหนึ่งแล้วสิ่งเหล่านี้มีใช้ในธุรกิจการเงินทั่วๆไป ซึ่งผู้สัมภาษณ์ก็จะเล่าให้ฟังว่าทางเขามีอะไรให้ทำบ้าง นอกจากนี้เราก็ถามเกี่ยวกับโอกาสในการก้าวหน้าของอาชีพในสายงานนี้อีกด้วย
ก่อนโดนสัมภาษณ์รอบแรกเราเตรียมศึกษาว่าสายงานด้าน Data Science และ Machine Learning ที่กำลังจะไปเรียนสามารถนำมาใช้ใน Financial Business ได้อย่างไรบ้าง เช่น Fraud Detection, Process Automation เป็นต้น จริงๆสายที่เราจะไปเรียนมันทำได้ครอบจักรวาลมาก ตั้งแต่ทำนายการเกิดโรคมะเร็งในผู้ป่วย ยันสร้าง Siri มาคุยกับคน แต่เนื่องจากทุนที่เรากำลังสมัครเป็นทุนจากบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการเงินเป็นหลัก ดังนั้นการเตรียมตัวให้เข้าใจเนื้อหาที่เจาะจงเฉพาะเลยจึงสำคัญมาก
นอกจากนี้ทางผู้สัมภาษณ์ยังถามว่าเรารู้จักผลิตภัณฑ์อะไรของธนาคารบ้าง บอกตามตรงว่าเราไม่ได้ใช้ธุรกรรมธนาคารกรุงเทพเป็นหลัก ใช้อย่างเดียวคือดูหุ้นของหลักทรัพย์บัวหลวง ตอนตอบเลยบอกไปแค่หลักทรัพย์บัวหลวงอย่างเดียว ซึ่งทางผู้สัมภาษณ์ก็แนะนำมาว่าให้กลับไปศึกษาผลิตภัณฑ์ของทางธนาคารจากในเว็บไซต์ทางการ เช่น ผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัย โดนนั้นคิดในใจว่าพลาดแล้วววว น่าจะไม่ผ่านไปต่อสัมภาษณ์รอบถัดๆไปเนื่องจากไม่ได้ศึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ของเขามา
=== ผลการสัมภาษณ์ ===
ผ่านการสัมภาษณ์รอบแรกค่า แต่อย่าเพิ่งดีใจไปเนื่องจากการสัมภาษณ์มีถึงสามรอบด้วยกัน และรอบถัดๆไปก็จะเป็นการสัมภาษณ์กับผู้จัดการที่ระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
อ่านต่อในความคิดเห็นด้านล่างค่ะ
บรรยากาศธนาคารกรุงเทพสาขาพระราม 3 ตึกใหญ่สวยงาม เห็นวิวแม่น้ำ ไปยืนตากลม ได้ฟิลดีมากเลย
รีวิวสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ทุนระดับปริญญาโท ธนาคารกรุงเทพ
วันนี้เราจะมาเล่าประสบการณ์ที่ได้ไปสอบข้อเขียนทุนระดับปริญญาโทสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศของธนาคารกรุงเทพ ทุกๆปีทางธนาคารจะมอบทุนการศึกษาให้แก่บุคคลภายนอกและพนักงานเพื่อศึกษาต่อป.โทต่างประเทศ หรือป.โทในประเทศไทย (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ) เพื่อนๆสามารถสมัครทุนได้ช่วงเดือนม.ค.-เม.ย.ของทุกปีได้ที่ เว็บไซต์ทุนธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารจะกำหนดสาขาวิชาเรียนที่จะให้ทุนไว้ หากต้องการไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ ส่วนใหญ่แล้วจะให้ทุนสาขาวิชาทางด้าน IT เช่น Software Engineering, Data Science, Machine Learning, Business Analytics, Artificial Intelligence หากศึกษาต่อในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นหลักสูตร MBA, Finance, Marketing, Entrepreneurship รายละเอียดล่าสุดของปี 2564 ดูได้ ที่นี่
เราได้รับการตอบรับจาก มหาวิทยาลัยที่สิงคโปร์ ในสาขา Data Science ตอนม.ค.ก็เลยลองสมัครทุนดู หลังจากที่สมัครทุนผ่านฟอร์มของธนาคารไปเมื่อเดือนเม.ย. ก็ได้รับการติดต่อให้เข้าไปสอบข้อเขียนในเดือนพ.ค. ซึ่งหลังจากที่ธนาคารติดต่อมา เราต้องส่งเอกสารผ่านทางอีเมลเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเราได้ที่เรียนแล้ว เช่น ใบตอบรับจากมหาวิทยาลัย, CV, Transcript, ผลสอบภาษาหรือ GMAR/GRE, รายวิชาหลักสูตรที่จะไปเรียน และ Letter of recommendation จากอาจารย์หรือว่าหัวหน้างาน เป็นต้น เอกสารเหล่านี้เป็นเอกสารที่ไม่ต้องเตรียมการเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นเอกสารที่เราได้เคยเตรียมไว้ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อยื่นสมัครมหาวิทยาลัยไปก่อนหน้านี้แล้ว
=== สอบอะไรบ้าง? ===
เจ้าหน้าที่แจ้งว่าการสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 4 รอบ ได้แก่
1. สอบข้อเขียน (ซึ่งจะกล่าวละเอียดต่อจากนี้)
2. สอบสัมภาษณ์เบื้องต้น (เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทางธนาคารจึงจัดเป็นสัมภาษณ์ออนไลน์แทนตัวต่อตัว)
3. สอบสัมภาษณ์กับคณะกรรมนักเรียนทุน
4. สอบสัมภาษณ์กับผู้จัดการใหญ่
ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ค.-ก.ค. เพื่อให้เสร็จทันนักเรียนบินไปเรียนตอนเดือนส.ค.-ก.ย. หลังจากได้ยิน เราก็แอบตกใจนิดๆเพราะ Timeline กระชั้นชิดมาก ถ้าจะต้องไปเรียนที่ UK ซึ่งเปิดเทอมตอนปลายก.ย.ก็ถือว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมดี แต่หลักสูตรเราที่สิงคโปร์เริ่มเรียนต้นเดือนส.ค.เลยและต้องบินไปกักตัวอีก 21 วันก่อนหน้านั้นอีก… //จริงๆไม่น่าจะติดเข้าไปถึงสอบ 3 หรอก ฮ่าๆ
=== วันสอบเตรียมอะไรไปบ้าง? ===
เตรียมเครื่องเขียนไปปกติเหมือนตอนสอบมัธยม และนาฬิกาข้อมือ เพราะในห้องสอบไม่มีนาฬิกาหน้าห้องหรือเวลาแสดงบน Projector เราไม่ได้เอานาฬิกาไปเลยทำข้อสอบไม่ทัน หากใครต้องขับรถไปสอบสามารถแจ้งเลขทะเบียนรถกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องทุนก่อนวันสอบได้
=== สอบข้อเขียน ===
สอบเต็มวันตั้งแต่ 9.00–15.00 (พักทานอาหารกลางวัน 1 ชม.) โดยที่ข้อสอบชุดแรกคือ Aptitude Test เป็นแบบตัวเลือก ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. บุคลิกภาพ ประมาณ 40 ข้อ
2. ปฏิภาณการขาย ประมาณ 30 ข้อ
3. ความถนัดปัญญา ประมาณ 110 ข้อ
รวมทั้งหมดเป็นประมาณ 180 ข้อ และต้องทำให้เสร็จภายใน 1.45 ชั่วโมง เฉลี่ยแล้วให้เวลาข้อละ 1.7 นาที ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่ค่อนข้าง Challenge ระดับหนึ่งเลยเพราะมีคณิตศาสตร์โผล่มาหลายข้อในส่วนความถนัดปัญญา
- บุคลิกภาพ เป็นรูปแบบข้อสอบที่เราไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต โจทย์แต่ละข้อมีประโยคอธิบายสถานการณ์ 4 อย่าง และให้เราเลือกตอบว่า ใน 4 อย่างนี้อันไหนตรงจริตกับตัวเรามากที่สุดอันดับหนึ่ง, รองลงมาอันดับสอง และรองลงมาอันดับสาม ข้อสอบส่วนนี้ไม่ได้ใช้การคิดคำนวณมากเท่าไหร่ เป็นการใช้ทักษะการอ่านภาษาไทยให้เร็ว และชิงตอบข้อที่ตรงกับบุคลิกของตัวเอง
- ปฏิภาณการขาย เป็นรูปแบบข้อสอบอีกชนิดที่เราไม่เคยเจอมาก่อน และรู้สึกว่าเลือกคำตอบให้ถูกใจโจทย์ยากมาก ตัวอย่างโจทย์ก็เช่น หากเจอลูกค้าทำท่าไม่สนใจสินค้าเรา เราจะพูดอย่างไรให้ลูกค้ากลับมาสนใจสินค้าได้… โจทย์จริงไม่ได้ง่ายแบบนี้นะ สถานการณ์ยากกว่านี้หลายเท่า ในแต่ละข้อจะมีคำพูด 4 แบบมาให้เลือก เราก็ต้องเลือกดูว่าคำพูดไหนควรพูดมากที่สุด และคำพูดไหนไม่ควรพูดมากที่สุด ข้อสอบส่วนนี้ควรมีประสบการณ์ด้านการขายหรือดีลกับลูกค้ามาก่อนถึงจะพอรับมือไหว สำหรับสาย IT อย่างเราที่วันๆก๊อกแก๊กอยู่กับหน้าคอมคงต้องขอบายกับชุดนี้ ไม่ใช่ทางจริงๆ T_T
- ความถนัดทางปัญญา ประกอบด้วยข้อสอบหลายรูปแบบ เช่น คณิต บวก ลบ คูณ หาร, การหากำไรและขาดทุน, หา Pattern ของภาพหรือตัวอักษร, โจทย์ปัญหาเชาวน์ เป็นต้น ในส่วนนี้มีจำนวน 110 ข้อ เราทำได้แค่ประมาณ 80 ข้อ นอกนั้นกาดิ่ง ทำไม่ทัน แต่พอออกจากห้องสอบมาถามคนอื่นเขาก็ทำทันกันนะ (หัวเราะทั้งน้ำตา) หากใครอยากจะฝึกฝนโจทย์คณิตเราแนะนำว่าให้ไปทวนหลัก BODMAS และข้อสอบสสวท.คณิต ป.6 เพราะช่วงที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสไปสอนเด็กๆเลยเห็นว่าโจทย์หลายข้อคล้ายกันมาก สำหรับข้อสอบส่วนนี้มันยากตรงที่ต้อง Manage เวลาให้ดี ฝึกคิดเลขให้ไว
=== อุปสรรคของการทำข้อสอบข้อเขียน ===
เราไม่ได้ทำการสอบถามเพื่อนๆ รุ่นพี่ที่รู้จัก หรือหาข้อมูลว่ามีใครเคยไปสอบทุนธนาคารกรุงเทพบ้าง และข้อสอบเป็นประมาณไหน เลยเดาว่าไหนๆสอบทุนไปต่างประเทศข้อสอบคงเป็นภาษาอังกฤษ แต่พอเปิดข้อสอบมาทุก Part ยกเว้น English Test คือภาษาไทยหมด อ๊าาาาาาาาาา อนาคตดับตั้งแต่ตอนเก้าโมงเช้า
อุปสรรคของเราคือเราไม่สามารถอ่านข้อความภาษาไทยยาวๆแบบทางการและเชื่อมโยงข้อความในหัวได้อย่างรวดเร็วเหมือนสมัยเด็กๆที่ต้องสอบพวก GAT เชื่อมโยงอะ เนื่องจากช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมาเราแทบไม่ได้อ่านบทความยาวมากๆหรือหนังสือภาษาไทยจำนวนหน้าหนาๆ ยาวสุดที่อ่านก็คือพวกโพสต์ Drama Addict ในเฟสบุ๊ค เราชินกับการติดตามข่าวจาก BBC, AsianNews หรือพวก Research Study ภาษาอังกฤษเสียมากกว่า และช่วงที่เตรียมตัวเรียนก็จะต้องอ่าน Articles ภาษาอังกฤษเยอะมากซึ่ง Structure การลำดับความคิดของภาษาอังกฤษกับไทยไม่เหมือนกัน แม้แต่คำว่า ปฏิภาณ ยังแปลไม่ได้เลยว่าคืออะไร เพิ่งมาถามความหมายจากเพื่อนหลักจากกลับบ้านมาแล้ว
เราจึงอยากแนะนำเพื่อนๆที่จะไปสอบทุนป.โทต่างประเทศของธนาคารว่าให้เตรียมตัวทั้งภาษาไทย (เตรียมเยอะๆเลย) และภาษาอังกฤษไปด้วย ความยากและกำกวมของภาษาในข้อสอบคล้ายๆกับการทำ Personality Test ในเว็บไซต์ต่างๆที่ถูกแปลเป็นภาษาไทย
บางคนคงสงสัยว่าถ้าเราอ่านและวิเคราะห์ช้าจริง แล้วมาเขียนบทความยาวๆใน Medium ได้อย่างไร… บทความเราแต่ละอันไม่ได้ใช้เวลาเขียนภายในวันเดียวแต่ใช้เวลามากกว่าสัปดาห์ในการกลั่นกรองลำดับความคิด เขียนแล้วก็ลบเขียนใหม่ วนไปไม่จบไม่สิ้นซะที
=== สอบสัมภาษณ์รอบแรก ===
หลักจากสอบข้อเขียนไปไม่วันทางเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องทุนก็โทรมานัดวันและเวลาสัมภาษณ์ออนไลน์ ในการสัมภาษณ์มีเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องทุนและผู้สัมภาษณ์ที่เป็นระดับผู้จัดการอีกหนึ่งคน เนื่องจากเราเรียนทาง Computer Science ผู้สัมภาษณ์จึงมาจากแผนก IT
ในการสัมภาษณ์แบ่งเป็นสองช่วงคือช่วงสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษและภาษาไทย ในส่วนของภาษาอังกฤษจะเป็นการแนะนำตัวเองว่าเป็นใครมาจากไหน จบอะไรมา เคยทำงานประเภทไหน และทำไมถึงตัดสินใจเรียนต่อในด้านนี้ หลังจากสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษเสร็จก็จะเปลี่ยนมาคุยเป็นภาษาไทยซึ่งจะเป็นการที่เราถามผู้สัมภาษณ์เกี่ยวกับระบบ IT ที่มีในธนาคารกรุงเทพและเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรากำลังจะไปเรียนในอนาคต ซึ่งข้อมูลที่เราถามเป็นข้อมูลที่เราศึกษามาระดับหนึ่งแล้วสิ่งเหล่านี้มีใช้ในธุรกิจการเงินทั่วๆไป ซึ่งผู้สัมภาษณ์ก็จะเล่าให้ฟังว่าทางเขามีอะไรให้ทำบ้าง นอกจากนี้เราก็ถามเกี่ยวกับโอกาสในการก้าวหน้าของอาชีพในสายงานนี้อีกด้วย
ก่อนโดนสัมภาษณ์รอบแรกเราเตรียมศึกษาว่าสายงานด้าน Data Science และ Machine Learning ที่กำลังจะไปเรียนสามารถนำมาใช้ใน Financial Business ได้อย่างไรบ้าง เช่น Fraud Detection, Process Automation เป็นต้น จริงๆสายที่เราจะไปเรียนมันทำได้ครอบจักรวาลมาก ตั้งแต่ทำนายการเกิดโรคมะเร็งในผู้ป่วย ยันสร้าง Siri มาคุยกับคน แต่เนื่องจากทุนที่เรากำลังสมัครเป็นทุนจากบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการเงินเป็นหลัก ดังนั้นการเตรียมตัวให้เข้าใจเนื้อหาที่เจาะจงเฉพาะเลยจึงสำคัญมาก
นอกจากนี้ทางผู้สัมภาษณ์ยังถามว่าเรารู้จักผลิตภัณฑ์อะไรของธนาคารบ้าง บอกตามตรงว่าเราไม่ได้ใช้ธุรกรรมธนาคารกรุงเทพเป็นหลัก ใช้อย่างเดียวคือดูหุ้นของหลักทรัพย์บัวหลวง ตอนตอบเลยบอกไปแค่หลักทรัพย์บัวหลวงอย่างเดียว ซึ่งทางผู้สัมภาษณ์ก็แนะนำมาว่าให้กลับไปศึกษาผลิตภัณฑ์ของทางธนาคารจากในเว็บไซต์ทางการ เช่น ผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัย โดนนั้นคิดในใจว่าพลาดแล้วววว น่าจะไม่ผ่านไปต่อสัมภาษณ์รอบถัดๆไปเนื่องจากไม่ได้ศึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ของเขามา
=== ผลการสัมภาษณ์ ===
ผ่านการสัมภาษณ์รอบแรกค่า แต่อย่าเพิ่งดีใจไปเนื่องจากการสัมภาษณ์มีถึงสามรอบด้วยกัน และรอบถัดๆไปก็จะเป็นการสัมภาษณ์กับผู้จัดการที่ระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
อ่านต่อในความคิดเห็นด้านล่างค่ะ
บรรยากาศธนาคารกรุงเทพสาขาพระราม 3 ตึกใหญ่สวยงาม เห็นวิวแม่น้ำ ไปยืนตากลม ได้ฟิลดีมากเลย