คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
... ในบรรดา "สัตว์เทพทั้งสี่" (四象/Four Symbols) ตามคติของจีนประกอบด้วย "ชิงหลง" (青龍), "หงส์แดง" (朱雀), "พยัคฆ์ขาว" (白虎) และ "เต่าดำ" (玄武) ซึ่ง"เสือขาว"ถูกยกย่องเป็นราชาแห่งสรรพสัตว์และใช้เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุโลหะ, ฤดูใบไม้ร่วง, ช่วงเวลาพลบค่ำ, สีขาวในทฤษฎีปัญจธาตุ(五行) ฯลฯ และเป็นผู้ปกป้องประจำทิศตะวันตกของสวรรค์ ส่วน"ชิงหลง"คือหนึ่งในสัตว์เทพชนิดที่มีลักษณะคล้ายงู, มี 4 ขา, มีหัวคล้ายม้า อูฐ วัว หรือจระเข้, มี 4 กรงเล็บ(หลงยศชั้นสูงสุดจะมี 5 กรงเล็บ) และจะมีเขาคล้ายกวางเมื่ออายุครบ 500 ปี จุดที่ชิงหลงแตกต่างจากหลงชนิดอื่นคือเกล็ดสีฟ้าเหมือนท้องฟ้า(Azure)หรือสีเขียวแกมน้ำเงิน ชิงหลงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุไม้, ฤดูใบไม้ผลิ, ช่วงเวลารุ่งเช้า, สีเขียว ฯลฯและเป็นผู้ปกป้องประจำทิศตะวันออกของสวรรค์ เมื่อคติดังกล่าวถูกนำมาเชื่อมโยงกับศาสตร์ฮวงจุ้ย(風水) ในกรณีที่เราอยู่ภายในตัวอาคารแล้วหันหน้าไปทางประตูเข้าออกหลัก ตำแหน่งพยัคฆ์ขาวของอาคารบ้านเรือนจึงอยู่"ด้านขวา" และตำแหน่งมังกรเขียวหรือชิงหลงคือ"ด้านซ้าย" อนึ่งความเข้าใจว่า "เสือคุ้มครองบนบก มังกรคุ้มครองในทะเล" อาจมีที่มาจากความเชื่อเฉพาะถิ่น กล่าวคือเสือโคร่งในคติของจีนถูกยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ป่ามาแต่เดิม ขณะเดียวกันก็มีตำนานของชาวจีนทางใต้เกี่ยวกับ"เทพเจ้ามังกรเขียว"ว่าเป็นผู้ปกป้องแหล่งน้ำทุกแห่ง อาทิ บ่อน้ำ, คลอง, แม่น้ำ และมหาสมุทร เป็นต้น อีกทั้งยังดลบันดาลความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาลตลอดปี
ขณะที่ "มอม" เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เพิ่งปรากฏในวัฒนธรรมล้านนาในช่วงเวลาไม่เกิน 200 ปี หลังการเคลื่อนย้ายเข้ามาของช่างฝีมือชาวไทใหญ่, ไทลื้อ, ไทเขิน และไทยองจากรัฐฉานและสิบสิงปันนา แต่ไม่ปรากฏในวัฒนธรรมล้านช้างเท่าไรนัก "มอม"ถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจือง นิทานเกี่ยวกับเสาอินทขีล และตำนานพุทธเถรวาทของล้านนา มีลักษณะที่เป็นการผสมผสานระหว่างสัตว์หลากชนิด เช่น สุนัข แมว ตุ๊กแก กิ่งก่า ลิง เสือ ฯลฯ, มีแขนยาว, ลำตัวยาวยืดคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน และมีใบหู เป็นต้น อาจแตกต่างกันออกไปตามฝีมือช่างแกะสลัก ทางลาวกับอีสานจะเรียกว่า "สิงห์มอม" ปรากฏอยู่บนรอยสักของผู้สูงอายุบางคนเท่านั้น ตามตำนานระบุว่าเป็นพาหนะของ"เทพปัชชุนนะ"บริวารของพระพิรุณผู้ดูแลเมฆและฝน หรือเป็นร่างจำแลงของเทพปัชชุนนะเองในบางสำนวน ที่ลงมาทำภารกิจช่วยมนุษย์แต่ไม่สามารถกลับสวรรค์ได้เพราะความลำพอง จึงต้องอุทิศตนช่วยเหลือมนุษย์และยืนเฝ้าบริเวณทางเข้าโบสถ์วิหาร ทั้งนี้"มอม"มีพื้นฐานมาจาก "ชี" (獅) หรือสิงห์ผู้พิทักษ์ ในตำนานพุทธมหายานของจีนซึ่งมีต้นแบบมาจากสิงโตบนหัวเสาอโศก(सिंहचतुर्मुख स्तम्भशीर्ष/Lion Capital of Ashoka) ชีเป็นสัญลักษณ์ของการปกปักษ์รักษาจึงมักปรากฏเป็นรูปปั้นหินหน้าทางเข้าอาคารต่างๆ อีกทั้งยังถูกระบุให้เป็นพาหนะของพระโพธิสัตว์มัญชุศรี(文殊,เหวินซู) จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของพระโพธิสัตว์องค์ดังกล่าวด้วย
ส่วน "ลวง" หรือ "พญาลวง" คือสัตว์เทพในวัฒนธรรมล้านนาและล้านช้าง มีลักษณะที่เป็นการผสมผสานของสรรพสัตว์ต่างๆกล่าวคือ มีหัวคล้ายวัว, มีเขาเหมือนกวาง, มีงวงกับงาเหมือนช้าง, มีลำตัวเป็นงู, มีเกล็ดเหมือนปลา, มีปีกเหมือนนก และมีเท้าเหมือนเหยี่ยว เป็นต้น อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับการดลบันดาลฝนเช่นเดียวกับมอม ซึ่งวลี "ลวงเหล้นฝ้า" เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ฟ้าแลบของชาวล้านนา "ลวง" มีพื้นฐานมาจาก "มกร" (मकर, มะกะระ)ในปกรณัมฮินดู โดยคำว่า "มกร" เป็นรากศัพท์ของคำว่า "มังกร" แปลตรงตัวว่า "ผู้สำรอก" ในภาษาสันสกฤต มกรมีร่างกายส่วนหัวเป็นสัตว์บก เช่น กวางและช้าง เป็นต้น ส่วนลำตัวเป็นสัตว์น้ำหรือครึ่งบกครึ่งน้ำ อาทิ งู, ปลา, แมวน้ำ ฯลฯ บางครั้งมีหางเหมือนนกยูงหรือมีหางเป็นช่อดอกไม้ ในปัจจุบันมักถูกพรรณนาว่ามีร่างกายแบบจระเข้หรือตัวเงินตัวทอง มกรเป็นพาหนะของพระแม่คงคา, พระแม่นัมมทาเทวี, พระพิรุณ และเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในคัมภีร์ฤคเวทระบุว่าช้างเป็นสัตว์ที่ให้"น้ำ"หรือความอุดมสมบูรณ์มาก่อนงูใหญ่ ดังนั้นมกรและลวงจึงมีลักษณะของช้างประกอบอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามคำว่า "ลวง" ในที่นี้มีรากศัพท์มาจาก "หลง" (隆) หรือสัตว์เทพของจีนที่ได้อธิบายไว้ แต่ในภาษาจีนยุคกลาง(Middle Chinese/漢語)ที่ใช้กันในช่วงคริสต์ศวรรษที่ 5-12 จะออกเสียงว่า /lɨoŋ/ คล้ายกับ "หลวง" ครับ ...
ขณะที่ "มอม" เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เพิ่งปรากฏในวัฒนธรรมล้านนาในช่วงเวลาไม่เกิน 200 ปี หลังการเคลื่อนย้ายเข้ามาของช่างฝีมือชาวไทใหญ่, ไทลื้อ, ไทเขิน และไทยองจากรัฐฉานและสิบสิงปันนา แต่ไม่ปรากฏในวัฒนธรรมล้านช้างเท่าไรนัก "มอม"ถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจือง นิทานเกี่ยวกับเสาอินทขีล และตำนานพุทธเถรวาทของล้านนา มีลักษณะที่เป็นการผสมผสานระหว่างสัตว์หลากชนิด เช่น สุนัข แมว ตุ๊กแก กิ่งก่า ลิง เสือ ฯลฯ, มีแขนยาว, ลำตัวยาวยืดคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน และมีใบหู เป็นต้น อาจแตกต่างกันออกไปตามฝีมือช่างแกะสลัก ทางลาวกับอีสานจะเรียกว่า "สิงห์มอม" ปรากฏอยู่บนรอยสักของผู้สูงอายุบางคนเท่านั้น ตามตำนานระบุว่าเป็นพาหนะของ"เทพปัชชุนนะ"บริวารของพระพิรุณผู้ดูแลเมฆและฝน หรือเป็นร่างจำแลงของเทพปัชชุนนะเองในบางสำนวน ที่ลงมาทำภารกิจช่วยมนุษย์แต่ไม่สามารถกลับสวรรค์ได้เพราะความลำพอง จึงต้องอุทิศตนช่วยเหลือมนุษย์และยืนเฝ้าบริเวณทางเข้าโบสถ์วิหาร ทั้งนี้"มอม"มีพื้นฐานมาจาก "ชี" (獅) หรือสิงห์ผู้พิทักษ์ ในตำนานพุทธมหายานของจีนซึ่งมีต้นแบบมาจากสิงโตบนหัวเสาอโศก(सिंहचतुर्मुख स्तम्भशीर्ष/Lion Capital of Ashoka) ชีเป็นสัญลักษณ์ของการปกปักษ์รักษาจึงมักปรากฏเป็นรูปปั้นหินหน้าทางเข้าอาคารต่างๆ อีกทั้งยังถูกระบุให้เป็นพาหนะของพระโพธิสัตว์มัญชุศรี(文殊,เหวินซู) จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของพระโพธิสัตว์องค์ดังกล่าวด้วย
ส่วน "ลวง" หรือ "พญาลวง" คือสัตว์เทพในวัฒนธรรมล้านนาและล้านช้าง มีลักษณะที่เป็นการผสมผสานของสรรพสัตว์ต่างๆกล่าวคือ มีหัวคล้ายวัว, มีเขาเหมือนกวาง, มีงวงกับงาเหมือนช้าง, มีลำตัวเป็นงู, มีเกล็ดเหมือนปลา, มีปีกเหมือนนก และมีเท้าเหมือนเหยี่ยว เป็นต้น อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับการดลบันดาลฝนเช่นเดียวกับมอม ซึ่งวลี "ลวงเหล้นฝ้า" เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ฟ้าแลบของชาวล้านนา "ลวง" มีพื้นฐานมาจาก "มกร" (मकर, มะกะระ)ในปกรณัมฮินดู โดยคำว่า "มกร" เป็นรากศัพท์ของคำว่า "มังกร" แปลตรงตัวว่า "ผู้สำรอก" ในภาษาสันสกฤต มกรมีร่างกายส่วนหัวเป็นสัตว์บก เช่น กวางและช้าง เป็นต้น ส่วนลำตัวเป็นสัตว์น้ำหรือครึ่งบกครึ่งน้ำ อาทิ งู, ปลา, แมวน้ำ ฯลฯ บางครั้งมีหางเหมือนนกยูงหรือมีหางเป็นช่อดอกไม้ ในปัจจุบันมักถูกพรรณนาว่ามีร่างกายแบบจระเข้หรือตัวเงินตัวทอง มกรเป็นพาหนะของพระแม่คงคา, พระแม่นัมมทาเทวี, พระพิรุณ และเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในคัมภีร์ฤคเวทระบุว่าช้างเป็นสัตว์ที่ให้"น้ำ"หรือความอุดมสมบูรณ์มาก่อนงูใหญ่ ดังนั้นมกรและลวงจึงมีลักษณะของช้างประกอบอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามคำว่า "ลวง" ในที่นี้มีรากศัพท์มาจาก "หลง" (隆) หรือสัตว์เทพของจีนที่ได้อธิบายไว้ แต่ในภาษาจีนยุคกลาง(Middle Chinese/漢語)ที่ใช้กันในช่วงคริสต์ศวรรษที่ 5-12 จะออกเสียงว่า /lɨoŋ/ คล้ายกับ "หลวง" ครับ ...
แสดงความคิดเห็น
ตัวมอม ตัวลวง นอกจากไทลื้อแล้ว มีในไท - ลาว เผ่าอื่นอีกไหมคะ แล้วเทียบคติจีน คือ ขวาพยัคฆ์ขาว ซ้ายมังกรเขียว ใช่หรือไม่
ทีนี้มาดูตัวมอม ที่ปั้นเหมือนแมวหรือตุ๊กแก บ้างก็ว่า สมัยก่อนภาคเหนือก็มีแห่นางแมว แต่จะเป็นตัวมอมไม้แกะสลัก พอคติแพร่ไปทางอีสาน เลยเปลี่ยนเป็นแมวจริงแทน (อันนี้เดี๊ยนอาจจำผิดนะคะ ต้องขออภัยล่วงหน้า)
ความแมวของตัวมอมนี่เลยทำให้เดี๊ยนสงสัยว่า ถ้าเช่นนั้นก็เทียบกับคติจีนเลยได้หรือไม่ ซึ่งเรื่อง ขวาพยัคฆ์ขาว ซ้ายมังกรเขียว ก็เห็นเพื่อนสมาชิกท่านนึงตอบไว้ให้ แต่เดี๊ยนลืมแล้ว ประมาณว่าเสือคุ้มครองบนบก มังกรคุ้มครองในทะเล หรืออย่างไรนี่แหละค่ะ
ตอนเดี๊ยนยังไม่รู้จักตัวมอม ตัวลวง เลยนึกว่ามาจากคำว่า มอมเมา กับ หลอกลวง เลยต้องเอามาไว้ในวัด ปรากฏว่าเป็นคติเชิงบวกอยู่ เลยสงสัยว่ามีเฉพาะในไทเผ่าลื้อ หรือมีในไท - ลาวเผ่าอื่น ๆ ด้วยคะ วัดหรือศาสนสถานที่ประดับด้วยตัวมอมและตัวลวง นี่
(ไม่รู้จะแท็กไปโต๊ะไหนบ้างดีน่ะค่ะ น่าแท็กไปหลายโต๊ะเลย)