การที่คนทำงานในกองถ่าย ถามหามาตรฐานความปลอดภัยในกองถ่าย
เพราะไม่อยากมีที่ทำงานในกองถ่ายตั้งแต่เช้าจรดเย็นยันมืด
อยากให้มีมาตรฐานวิชาชีพไม่ต่างจากอาชีพอื่น มีกม.แรงงานคุ้มครองชัดเจน
วันที่ 8 ตุลาคม 2513 มิตร ชัยบัญชา ได้เสียชีวิตจากการพลัดตกจากบันไดเฮลิคอปเตอร์
ขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง ที่หาดดงตาล จ.ชลบุรี
การเสียชีวิตที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะทำงานหนักไม่ได้พักผ่อน นำไปสู่อุบัติเหตุเสียชีวิต
ซึ่งชีวิตของคนทำงานในกองถ่ายแบบนี้ต้องนำมาศึกษาเรียนรู้
ก้อง ฤทธิ์ดี รองผู้อำนวยการ หอภาพยนตร์ กล่าวในงานเสวนา ‘ราคาชีวิตของคนกอง’
วันที่10 มีนาคม 2564 ณ โรงหนังช้างแดง หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
ยุวดี ไทยหิรัญ ผู้จัดละคร บริษัท ยูม่า 99 ที่ทำงานในวงการบันเทิงมากว่า 50 ปี เล่าถึงการทำงานในอดีต
พี่ทำงานกองถ่ายมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2506 เรื่องแรก แพนน้อย ของดอกดิน กัญญามาลย์ หนังไทยยุค 16 ม.ม. ต่อด้วยยุค 35 ม.ม.
และละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน สมัยนั้นใครทำงานกองไหนก็อยู่กองนั้น พี่มีหน้าที่ดูแลเตรียมของ เดือนหนึ่งมี 4-5 คิว
อย่างมิตร ชัยบัญชา วันหนึ่งรับงาน 2-3 เรื่อง เช้าถึงเย็น หัวค่ำถึงสองยาม มาตรฐานความปลอดภัยในพ.ศ.นั้นก็ไม่ดี
นักแสดงส่วนมากจะเล่นเอง ไม่มีสแตนด์อิน ปืนที่ยิง บางทีก็ใช้กระสุนจริง
มิตรรับงานเยอะ เพราะสายหนังบอกว่า ถ้าไม่ได้นักแสดงหลักก็ขายไม่ได้
ในกองถ่ายมี 15 คน พอมาถึงยุค 35ม.ม. มีเรื่องเสียงเข้ามา คนในกองก็เพิ่มเป็น 20-25 คน
โมไนย ธาราศักดิ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ เล่าว่า
ผมเรียนศิลปะ เริ่มต้นทำงานในกองตั้งแต่การทำ Props ในกองถ่ายอัครเศรณีโปรดักชั่น แล้วไปทำละครเวที
ทำหนังเรื่องดอกฟ้าในมือมาร ทำโลเคชั่นเรื่องขวัญเรียม เรื่องกองทัพน้ำค้าง
แล้วมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับกับหม่อมน้อย (ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล)
ท่านมุ้ย (ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)
มีทำหนังต่างประเทศบ้าง
ปกติกองถ่ายหนัง 1 คิว 12 ชั่วโมง ถ่าย 6 โมงเย็นถึง 6 โมงเช้า หรือ 6 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน
ทีมงานเหมาทั้งเรื่อง ได้เงินมาก้อนหนึ่งก็แบ่งกัน เฉลี่ยถ่ายหนังเรื่องหนึ่งประมาณ 30 คิว
มีบ้างถ่ายติดต่อกันเช้าถึงมืด ถ้าเป็นมาตรฐานสากลต้องพัก 12 ชั่วโมง ถึงจะนัดทีมงานเรียกขึ้นรถไปทำงานต่อได้
เป็นกฎของ SAG (The Screen Actors Guild : SAG) ที่ American Labor Union และกองถ่ายทั่วโลกปฏิบัติกัน
ถ้าใช้แรงงานเด็กต้องมีครูมาประกบ เด็กสามารถทำงานได้กี่ชั่วโมง ต้องพักเรียนหนังสือแล้วกลับมาถ่ายทำใหม่
เพราะเชื่อว่าคนต้องมีเวลาพักอย่างเพียงพอ ตามหลักการแพทย์
การนอนน้อยจะทำให้มีปัญหาต่างๆ ตามมา
ชาติชาย เกษนัส ผู้กำกับ ตัวแทนจากสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทย เล่าว่า
มีครั้งหนึ่งผมยอมถ่าย 24 ชั่วโมง เพราะงบหมด ค่าอุปกรณ์ถ่ายทำแพงมาก
ผมทำงานจนหลับคามอนิเตอร์เลย พอเกิน 8 ชั่วโมงก็ถ่ายทำต่อแบบไม่มี Creative Thinking เหลือแล้ว
พอเกิน 12 ชั่วโมง แรงในการทำงานมันจะตก ต่อให้จ่ายค่าแรงไปก็ไม่คุ้ม
บางทีถ่ายครบ แต่ไปถึงห้องตัด จะมีรายละเอียดที่ไม่ทันสังเกต
ความล้าทำให้มองอะไรไม่ชัด ตัดสินใจไม่เร็ว สุดท้ายก็ต้องโยนทิ้งทั้งหมด
บางทีต้องรอทีมงาน เพราะเขาเพิ่งเลิกจากกองโน้นมาต่อกองเรา ใช้เวลาถ่ายทำจนไม่เหลือเวลาพักผ่อน
ผมไม่ให้ทีมงานรับงานนอกเลย อยากให้เขามีเวลาพักผ่อน ไปอ่านหนังสือไปศึกษาแล้วกลับมารีเฟรซ
มีบางคนทำงานหนักในห้องตัดต่อจนตายเพราะหัวใจล้มเหลว ร่างกายไม่ไหวมันก็ไป
มาตรฐานการทำงาน
นอกจากความปลอดภัยในชีวิต มาตรฐานการทำงานก็ต้องใส่ใจ ชาติชาย เข้าสู่วงการภาพยนตร์ไทยในช่วงยุคทองปี 2546
ตอนนั้นไปถ่าย Behind The Screen เรื่องไอ้ฟัก ตีสามเราต้องขึ้นรถตู้ไปกองถ่ายให้ทันตอนหกโมงเช้า เลิกกองหกโมงเย็น
ถ้ามีคิวกลางคืนก็ถ่ายต่อถึงเที่ยงคืน
ตอนไปดูBehind The Screen ของกองถ่ายซีรีส์เกาหลี อย่างเรื่อง Itaewon Class
เกาหลีเป็นชาติเดียวที่มีสเกลการทำงานแบบกองถ่ายฮอลลีวูด
แม้กระทั่งซีนอินทีเรียในบ้านเล็กๆ เขาก็จัดแสงด้วยโคมไฟ 18 Kw
เขาไปไกลแล้ว แต่เรายังอยู่ตรงนี้
ผมเคยจ้างทีมงานมาช่วย บางคนยังโหลดไฟล์ไม่เป็น ผมต้องไปสอนเขา
และทุกปีจะมีหนังที่ไม่ได้ฉาย 100 กว่าเรื่อง เพราะเคลียร์บัญชีไม่ได้ นายทุนไม่ให้งบทำต่อ
ส่วน ยุวดี มองในเรื่องคุณภาพคนไทยที่ทำงานด้านนี้ จะต่างจากชาวต่างชาติที่ยิ่งแก่ยิ่งเก่ง
คนในพ.ศ.นี้ คาดหวังในตัวเงินมากกว่าตัวงาน นอกจากแรงกายแล้วก็ต้องมีแรงใจ มีสติปัญญา
มีความร่วมสมัยมาขายด้วย ถ้าเรารวมตัวกันเป็นสหภาพ ทำมาตรฐานออกมา
หากใครเข้ามาทำงานด้านนี้ ก็ต้องมีการอบรม มีความสามารถ มีจริยธรรม ไม่ว่าหนังหรือละคร
จะทำอย่างไรให้บุคลากรอาชีพนี้ มีคุณภาพอย่างน้อย 80 %
นอกจากความเห็นของยุวดี ทางด้าน โมไนย กล่าวว่า
คนทำงานด้านโปรดักชั่น คุณภาพการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ
ปัจจุบันกองถ่ายทำยุคใหม่ ทำงาน 6-8 วันเสร็จด้วยงบประมาณน้อยๆ
เห็นเนื้องานแล้วไม่แปลกใจ เพราะไม่มีงานที่ดีจากเงินที่น้อยและเวลาที่น้อยได้
ถ้าเราอยากได้สวัสดิการ เราต้องพัฒนาศักยภาพทีมงานก่อน
เพราะเวลาคนจะเรียกใช้ ก็ต้องดูคุณลักษณะ
ทางออกของปัญหา
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยหรือมาตรฐานการทำงาน
ภควัต สุพรรณขันธ์ นายกสมาคมวิชาชีพภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย (FDCA) บอกว่า เขาได้ริเริ่มลองทำแล้ว
เรื่องมาตรฐานวิชาชีพของแต่ละตำแหน่ง สมาคมฯเราได้เริ่มทำเฟสแรกไปแล้ว
มีแผนกกล้อง, ไฟ, Grip, เสียง กำหนดมาตรฐานแต่ละตำแหน่งว่า ถ้าคุณจะเข้ามาอยู่ในตำแหน่งนี้
ต้องเริ่มมาตั้งแต่เป็น video man หรือผู้ช่วยสองของแผนกกล้อง พัฒนาเรื่อยมาจนเป็นช่างภาพ
มาตรฐานนี้ถูกกำหนดและประกาศเรียบร้อย แต่ไม่สามารถบังคับใช้ทางกฎหมายได้ ซึ่งแปลกมากในประเทศไทย
ภาพยนตร์ต่างประเทศ ดูแลโดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
ส่วนหนังไทย, ละครไทย, ทีวีไทย ดูแลโดยกระทรวงวัฒนธรรม
ทำไมไม่เป็นองค์กรเดียวกัน ไม่มีเอกภาพในการบริหาร
เรื่องมาตรฐานความปลอดภัย รัฐไม่สนใจเรื่องนี้
ในอนาคตคนทำหนัง ทำซีรีส์ ทำละคร จะเป็นคนกลุ่มเดียว
ศักยภาพและความรู้ต้องได้มาตรฐานเดียวกัน ต่อให้ฉายทางยูทูบ ก็ต้องมีชั้นเชิงในการเล่าเรื่อง มีฉาก มีเสื้อผ้า เหมือนกัน
เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว มีช่างภาพคนหนึ่งเสียชีวิต เราได้เชิญตัวแทนประกันชีวิต 2-3 รายมาคุยเรื่องทำประกันกองถ่าย
ผลสรุปว่าทางประกันไม่กล้ารับ เพราะว่าพวกคุณยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานเลย
อย่างอาชีพอื่นที่เขารับทำประกัน เพราะมีมาตรฐานความปลอดภัยในอาชีพ กำหนดเป็นกฎหมาย แต่อาชีพนี้ไม่มี
มาตรฐานความปลอดภัยไม่ได้ช่วยแค่ทีมงาน แต่ยังรับรองหนังที่ทำได้ว่า
ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ำ หรือดาราก็เสี่ยงน้อยลง สามารถทำงานมีคุณภาพมากขึ้น
ถ้าเรารวมกันได้ ก็จะไปขอภาครัฐให้รับรองเป็นมาตรฐาน ซึ่งทั่วโลกใช้มาตรฐานเดียวกันหมด
ภาพยนตร์ไทยยังไร้ทิศทาง
เมื่อ 10 ปีก่อนหนังไทยมีชื่อเสียงมาก อย่างองค์บาก แต่ตอนนี้เรากำลังจะสูญเสียองค์ความรู้
และคนเก่งส่วนหนึ่งไปให้กับประเทศเพื่อนบ้าน อุตสาหกรรมภาพยนตร์อินโดนีเซียโตขึ้นทุกวัน
ช่วงหลังๆ หนังไทยหลายเรื่องถ่ายเป็น Head Shot หมดเลย ไม่มี Shot ดีไซน์ หรือการเคลื่อนกล้องแล้ว
เป็นการเอาวิดีโอใหญ่ๆ มาฉายโรง มาตรฐานการทำงานต่ำลง
ตอนผมเข้ามา เจนเนอเรชั่นก่อนหน้านี้ ทำไว้ดีมาก อย่างน้อยผมก็ต้องทำให้เท่ากัน
แต่ถ้าช่วงนี้ดรอปลง ช่วงต่อไปเราก็จะสูญเสีย ที่เราทำได้คือรวมกัน ออกกติการ่วมกัน
เราต้องเริ่มเลย ชาติชาย แสดงความคิดเห็น
ส่วนภควัต บอกว่า ต้องมีกติกาที่ถูกต้อง ไม่ต้องมีใครมาบังคับ ไม่ต้องให้คนจากสหภาพมาปิดกอง
เพราะทำมาตรฐานความปลอดภัยไม่ได้ คนในกองต้องช่วยกัน เพราะถ้ากองถูกปิดก็กระทบต่อรายได้และอาชีพ
เป็นจิตสำนึกส่วนบุคคล คนในอาชีพนี้ต้องเริ่มก่อน อย่าไปเรียกร้องอะไรกับใคร เริ่มจากตัวเองง่ายที่สุด
ขณะที่วงการภาพยนตร์ของประเทศเพื่อนบ้านกำลังรุดหน้าขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้าเราไม่ทำอะไร ก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
เป็นประเทศโลกที่สามในอุตสาหกรรมนี้ในที่สุด
ระบบหนังไทยดั้งเดิม คือการกำหนดคิวแบบ Day Night
โดยมีข้อตกลงกันที่ว่า ในหนึ่งรอบวัน 24 ชั่วโมง เราแบ่งเป็น 3 ก้อน
เป็นกลางวัน กลางคืนก่อนเที่ยงคืน และกลางคืนหลังเที่ยงคืน คือในหนึ่งวันเต็มจะมี 3 คิวนั่นเอง
คิวที่ 1 คือ Day เริ่มตั้งแต่ 06.00 จนถึง 18.00 รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง
คิวที่ 2 คือ Night1 เริ่มตั้งแต่ 18.00 จนถึง 00.00 รวม 6 ชั่วโมง
คิวที่ 3 คือ Night2 เริ่มตั้งแต่ 00.00 จนถึง 06.00 รวม 6 ชั่วโมง
เวลาถ่ายหนังกันสมัยนั้น เราจะถ่ายแบบกลางวันก็กลางวัน กลางคืนก็กลางคืน แบ่งชัดเจน
หากเป็นหนังผีถ่ายกลางคืนตลอด และถ่ายทั้งคืน จะคิดเป็น 2 คิว คือ การจ่ายค่าแรง 2 คิวนั่นเอง
หากถ่ายเกินคิวขึ้นมาจะมีการจ่ายค่าแรงล่วงเวลา(OT)
ถ้าเป็นหนังเมืองนอกจะคิดง่าย เพราะเขาคิดเรทค่าแรงเป็นชั่วโมงอยู่แล้ว
ปกติหากเกินมา 10 นาทีอาจจะไม่คิดเพิ่มก็ต่างกันแต่ละเจ้า
แต่ถ้าเป็นสากลเลยจริงๆ
เวลาเริ่ม คือ เท้าถึงกอง
เวลาเลิก คือ ไม่มีใครอยู่ที่นั่นแล้ว
ดังนั้นการเลิกกองจริงๆควรให้เสร็จสิ้นก่อนหน้าเวลาหมดคิวครึ่งชั่วโมง
การถ่ายMV หรือถ่ายโฆษณาตอนนั้นก็จะใช้ระบบเดียวกัน
แต่พอตอนไปถ่ายละครกลับมีระบบที่ต่างออกไป
กองถ่ายละครบางกองไม่ได้นัด 06.00 แต่เริ่ม 08.00 ทำงานจนถึง22.00 ยิงยาวรวม14ชม.
แต่ถ้าเป็น All Night คิดตั้งแต่ 18.00-06.00 ซึ่งเจอ All Night น้อยมากนะ ส่วนใหญ่เริ่มหกโมงเลิกสี่ทุ่มตลอด
เหตุที่ต้องเป็นอย่างนี้คือ ละครการทำงานด้านภาพไม่ได้ละเอียดเท่าหนัง บันทึกด้วยกล้องหลายตัว
ตัดสดในรถ OB วันนึงจะเก็บได้จำนวนฉากที่เยอะมาก และการกำหนดคิวลามไปถึงกลางคืน
เพื่อให้การทำงานได้มีสัดส่วนฉากกลางคืนบ้างในการถ่ายแต่ละคิว(เพราะละครหลายเรื่องตอนนั้นก็ถ่ายไปออนแอร์ไป)
การกำหนดสัดส่วนแบบนี้ทำให้ยืดหยุ่นขึ้นในการถ่ายทำ
ละครมักทำงานแบบกำหนดคิวเป็นตารางชัดเจนเช่น ถ่ายทุกพุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
ทีมงานจะกำหนดตารางชะตาชีวิตตัวเองได้ง่ายขึ้น
ส่วนหนังชุดหรือซีรีส์ หลักการถ่ายทำใช้วิธีเล่าเรื่องด้วยภาพแบบหนัง
แปลว่ามีการถ่ายแบบหนัง ใช้ภาพในการเล่าเรื่อง ส่วนใหญ่จะถ่ายด้วยกล้องสองตัวเพื่อย่นเวลา
เพราะจะถ่ายแบบหนังคือกล้องเดี่ยวไปเลยอาจไม่ทัน และเนื่องด้วยความละเอียดทางภาพที่มากขึ้น
ทำให้ซีรีส์ใช้ถ่ายเวลามากขึ้น
1คิว 16 ชม.จึงถือกำเนิดขึ้นมา
เริ่ม 06.00 จบที่ 22.00 เหมือนกับละคร เอาจริงจะเหนื่อยกว่าเพราะเลิก 22.00 ของบ้านเรา
คือสั่งคัท คัทสุดท้าย ดังนั้นจึงมีเวลาเก็บของเพิ่มเติมไป กว่าจะได้กลับห้าทุ่ม
นั่งรถกลับบ้านอีก เอาเป็นว่าได้นอนกันอย่างเร็ว ตี1 พอตี5 ล้อหมุนอีกแล้ว
นี่จึงเป็นการจัดคิวที่เป็นปัญหา เพราะค่าตัวเวลาเหมาคิวแล้วหลายคนได้ไม่ต่างกับตอนเป็นเหมา 12 หรือ 14 ชม.
แต่เวลาพักผ่อนน้อยลงมาก ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานในวันรุ่งขึ้น
และซีรีส์ดันมีกำหนดคิวต่อสัปดาห์คล้ายกับละคร คือถ่ายติดๆกันหลายๆวัน
การกำหนดคิวแบบนี้เลยมีกระแสบ่นๆออกมาจากคนทำงานกันประมาณนึง
แบบสุดท้าย 06.00-00.00 รวม 18 ชั่วโมง คือ 1 คิว = 18 ชั่วโมง เวลาพักผ่อนยิ่งน้อย ค่าตัวเท่าเดิม
เมื่อคิวถ่ายทำต่อเนื่อง16ชม.ทำร้ายคนในกองถ่าย มาตรฐาน"กองถ่ายไทย" ขอแบบเดียวกับฮอลลีวู้ดได้ไหม
เพราะไม่อยากมีที่ทำงานในกองถ่ายตั้งแต่เช้าจรดเย็นยันมืด
อยากให้มีมาตรฐานวิชาชีพไม่ต่างจากอาชีพอื่น มีกม.แรงงานคุ้มครองชัดเจน
วันที่ 8 ตุลาคม 2513 มิตร ชัยบัญชา ได้เสียชีวิตจากการพลัดตกจากบันไดเฮลิคอปเตอร์
ขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง ที่หาดดงตาล จ.ชลบุรี
การเสียชีวิตที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะทำงานหนักไม่ได้พักผ่อน นำไปสู่อุบัติเหตุเสียชีวิต
ซึ่งชีวิตของคนทำงานในกองถ่ายแบบนี้ต้องนำมาศึกษาเรียนรู้
ก้อง ฤทธิ์ดี รองผู้อำนวยการ หอภาพยนตร์ กล่าวในงานเสวนา ‘ราคาชีวิตของคนกอง’
วันที่10 มีนาคม 2564 ณ โรงหนังช้างแดง หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
ยุวดี ไทยหิรัญ ผู้จัดละคร บริษัท ยูม่า 99 ที่ทำงานในวงการบันเทิงมากว่า 50 ปี เล่าถึงการทำงานในอดีต
พี่ทำงานกองถ่ายมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2506 เรื่องแรก แพนน้อย ของดอกดิน กัญญามาลย์ หนังไทยยุค 16 ม.ม. ต่อด้วยยุค 35 ม.ม.
และละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน สมัยนั้นใครทำงานกองไหนก็อยู่กองนั้น พี่มีหน้าที่ดูแลเตรียมของ เดือนหนึ่งมี 4-5 คิว
อย่างมิตร ชัยบัญชา วันหนึ่งรับงาน 2-3 เรื่อง เช้าถึงเย็น หัวค่ำถึงสองยาม มาตรฐานความปลอดภัยในพ.ศ.นั้นก็ไม่ดี
นักแสดงส่วนมากจะเล่นเอง ไม่มีสแตนด์อิน ปืนที่ยิง บางทีก็ใช้กระสุนจริง
มิตรรับงานเยอะ เพราะสายหนังบอกว่า ถ้าไม่ได้นักแสดงหลักก็ขายไม่ได้
ในกองถ่ายมี 15 คน พอมาถึงยุค 35ม.ม. มีเรื่องเสียงเข้ามา คนในกองก็เพิ่มเป็น 20-25 คน
โมไนย ธาราศักดิ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ เล่าว่า
ผมเรียนศิลปะ เริ่มต้นทำงานในกองตั้งแต่การทำ Props ในกองถ่ายอัครเศรณีโปรดักชั่น แล้วไปทำละครเวที
ทำหนังเรื่องดอกฟ้าในมือมาร ทำโลเคชั่นเรื่องขวัญเรียม เรื่องกองทัพน้ำค้าง
แล้วมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับกับหม่อมน้อย (ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล)
ท่านมุ้ย (ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)
มีทำหนังต่างประเทศบ้าง
ปกติกองถ่ายหนัง 1 คิว 12 ชั่วโมง ถ่าย 6 โมงเย็นถึง 6 โมงเช้า หรือ 6 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน
ทีมงานเหมาทั้งเรื่อง ได้เงินมาก้อนหนึ่งก็แบ่งกัน เฉลี่ยถ่ายหนังเรื่องหนึ่งประมาณ 30 คิว
มีบ้างถ่ายติดต่อกันเช้าถึงมืด ถ้าเป็นมาตรฐานสากลต้องพัก 12 ชั่วโมง ถึงจะนัดทีมงานเรียกขึ้นรถไปทำงานต่อได้
เป็นกฎของ SAG (The Screen Actors Guild : SAG) ที่ American Labor Union และกองถ่ายทั่วโลกปฏิบัติกัน
ถ้าใช้แรงงานเด็กต้องมีครูมาประกบ เด็กสามารถทำงานได้กี่ชั่วโมง ต้องพักเรียนหนังสือแล้วกลับมาถ่ายทำใหม่
เพราะเชื่อว่าคนต้องมีเวลาพักอย่างเพียงพอ ตามหลักการแพทย์
การนอนน้อยจะทำให้มีปัญหาต่างๆ ตามมา
ชาติชาย เกษนัส ผู้กำกับ ตัวแทนจากสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทย เล่าว่า
มีครั้งหนึ่งผมยอมถ่าย 24 ชั่วโมง เพราะงบหมด ค่าอุปกรณ์ถ่ายทำแพงมาก
ผมทำงานจนหลับคามอนิเตอร์เลย พอเกิน 8 ชั่วโมงก็ถ่ายทำต่อแบบไม่มี Creative Thinking เหลือแล้ว
พอเกิน 12 ชั่วโมง แรงในการทำงานมันจะตก ต่อให้จ่ายค่าแรงไปก็ไม่คุ้ม
บางทีถ่ายครบ แต่ไปถึงห้องตัด จะมีรายละเอียดที่ไม่ทันสังเกต
ความล้าทำให้มองอะไรไม่ชัด ตัดสินใจไม่เร็ว สุดท้ายก็ต้องโยนทิ้งทั้งหมด
บางทีต้องรอทีมงาน เพราะเขาเพิ่งเลิกจากกองโน้นมาต่อกองเรา ใช้เวลาถ่ายทำจนไม่เหลือเวลาพักผ่อน
ผมไม่ให้ทีมงานรับงานนอกเลย อยากให้เขามีเวลาพักผ่อน ไปอ่านหนังสือไปศึกษาแล้วกลับมารีเฟรซ
มีบางคนทำงานหนักในห้องตัดต่อจนตายเพราะหัวใจล้มเหลว ร่างกายไม่ไหวมันก็ไป
มาตรฐานการทำงาน
นอกจากความปลอดภัยในชีวิต มาตรฐานการทำงานก็ต้องใส่ใจ ชาติชาย เข้าสู่วงการภาพยนตร์ไทยในช่วงยุคทองปี 2546
ตอนนั้นไปถ่าย Behind The Screen เรื่องไอ้ฟัก ตีสามเราต้องขึ้นรถตู้ไปกองถ่ายให้ทันตอนหกโมงเช้า เลิกกองหกโมงเย็น
ถ้ามีคิวกลางคืนก็ถ่ายต่อถึงเที่ยงคืน
ตอนไปดูBehind The Screen ของกองถ่ายซีรีส์เกาหลี อย่างเรื่อง Itaewon Class
เกาหลีเป็นชาติเดียวที่มีสเกลการทำงานแบบกองถ่ายฮอลลีวูด
แม้กระทั่งซีนอินทีเรียในบ้านเล็กๆ เขาก็จัดแสงด้วยโคมไฟ 18 Kw
เขาไปไกลแล้ว แต่เรายังอยู่ตรงนี้
ผมเคยจ้างทีมงานมาช่วย บางคนยังโหลดไฟล์ไม่เป็น ผมต้องไปสอนเขา
และทุกปีจะมีหนังที่ไม่ได้ฉาย 100 กว่าเรื่อง เพราะเคลียร์บัญชีไม่ได้ นายทุนไม่ให้งบทำต่อ
ส่วน ยุวดี มองในเรื่องคุณภาพคนไทยที่ทำงานด้านนี้ จะต่างจากชาวต่างชาติที่ยิ่งแก่ยิ่งเก่ง
คนในพ.ศ.นี้ คาดหวังในตัวเงินมากกว่าตัวงาน นอกจากแรงกายแล้วก็ต้องมีแรงใจ มีสติปัญญา
มีความร่วมสมัยมาขายด้วย ถ้าเรารวมตัวกันเป็นสหภาพ ทำมาตรฐานออกมา
หากใครเข้ามาทำงานด้านนี้ ก็ต้องมีการอบรม มีความสามารถ มีจริยธรรม ไม่ว่าหนังหรือละคร
จะทำอย่างไรให้บุคลากรอาชีพนี้ มีคุณภาพอย่างน้อย 80 %
นอกจากความเห็นของยุวดี ทางด้าน โมไนย กล่าวว่า
คนทำงานด้านโปรดักชั่น คุณภาพการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ
ปัจจุบันกองถ่ายทำยุคใหม่ ทำงาน 6-8 วันเสร็จด้วยงบประมาณน้อยๆ
เห็นเนื้องานแล้วไม่แปลกใจ เพราะไม่มีงานที่ดีจากเงินที่น้อยและเวลาที่น้อยได้
ถ้าเราอยากได้สวัสดิการ เราต้องพัฒนาศักยภาพทีมงานก่อน
เพราะเวลาคนจะเรียกใช้ ก็ต้องดูคุณลักษณะ
ทางออกของปัญหา
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยหรือมาตรฐานการทำงาน
ภควัต สุพรรณขันธ์ นายกสมาคมวิชาชีพภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย (FDCA) บอกว่า เขาได้ริเริ่มลองทำแล้ว
เรื่องมาตรฐานวิชาชีพของแต่ละตำแหน่ง สมาคมฯเราได้เริ่มทำเฟสแรกไปแล้ว
มีแผนกกล้อง, ไฟ, Grip, เสียง กำหนดมาตรฐานแต่ละตำแหน่งว่า ถ้าคุณจะเข้ามาอยู่ในตำแหน่งนี้
ต้องเริ่มมาตั้งแต่เป็น video man หรือผู้ช่วยสองของแผนกกล้อง พัฒนาเรื่อยมาจนเป็นช่างภาพ
มาตรฐานนี้ถูกกำหนดและประกาศเรียบร้อย แต่ไม่สามารถบังคับใช้ทางกฎหมายได้ ซึ่งแปลกมากในประเทศไทย
ภาพยนตร์ต่างประเทศ ดูแลโดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
ส่วนหนังไทย, ละครไทย, ทีวีไทย ดูแลโดยกระทรวงวัฒนธรรม
ทำไมไม่เป็นองค์กรเดียวกัน ไม่มีเอกภาพในการบริหาร
เรื่องมาตรฐานความปลอดภัย รัฐไม่สนใจเรื่องนี้
ในอนาคตคนทำหนัง ทำซีรีส์ ทำละคร จะเป็นคนกลุ่มเดียว
ศักยภาพและความรู้ต้องได้มาตรฐานเดียวกัน ต่อให้ฉายทางยูทูบ ก็ต้องมีชั้นเชิงในการเล่าเรื่อง มีฉาก มีเสื้อผ้า เหมือนกัน
เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว มีช่างภาพคนหนึ่งเสียชีวิต เราได้เชิญตัวแทนประกันชีวิต 2-3 รายมาคุยเรื่องทำประกันกองถ่าย
ผลสรุปว่าทางประกันไม่กล้ารับ เพราะว่าพวกคุณยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานเลย
อย่างอาชีพอื่นที่เขารับทำประกัน เพราะมีมาตรฐานความปลอดภัยในอาชีพ กำหนดเป็นกฎหมาย แต่อาชีพนี้ไม่มี
มาตรฐานความปลอดภัยไม่ได้ช่วยแค่ทีมงาน แต่ยังรับรองหนังที่ทำได้ว่า
ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ำ หรือดาราก็เสี่ยงน้อยลง สามารถทำงานมีคุณภาพมากขึ้น
ถ้าเรารวมกันได้ ก็จะไปขอภาครัฐให้รับรองเป็นมาตรฐาน ซึ่งทั่วโลกใช้มาตรฐานเดียวกันหมด
ภาพยนตร์ไทยยังไร้ทิศทาง
เมื่อ 10 ปีก่อนหนังไทยมีชื่อเสียงมาก อย่างองค์บาก แต่ตอนนี้เรากำลังจะสูญเสียองค์ความรู้
และคนเก่งส่วนหนึ่งไปให้กับประเทศเพื่อนบ้าน อุตสาหกรรมภาพยนตร์อินโดนีเซียโตขึ้นทุกวัน
ช่วงหลังๆ หนังไทยหลายเรื่องถ่ายเป็น Head Shot หมดเลย ไม่มี Shot ดีไซน์ หรือการเคลื่อนกล้องแล้ว
เป็นการเอาวิดีโอใหญ่ๆ มาฉายโรง มาตรฐานการทำงานต่ำลง
ตอนผมเข้ามา เจนเนอเรชั่นก่อนหน้านี้ ทำไว้ดีมาก อย่างน้อยผมก็ต้องทำให้เท่ากัน
แต่ถ้าช่วงนี้ดรอปลง ช่วงต่อไปเราก็จะสูญเสีย ที่เราทำได้คือรวมกัน ออกกติการ่วมกัน
เราต้องเริ่มเลย ชาติชาย แสดงความคิดเห็น
ส่วนภควัต บอกว่า ต้องมีกติกาที่ถูกต้อง ไม่ต้องมีใครมาบังคับ ไม่ต้องให้คนจากสหภาพมาปิดกอง
เพราะทำมาตรฐานความปลอดภัยไม่ได้ คนในกองต้องช่วยกัน เพราะถ้ากองถูกปิดก็กระทบต่อรายได้และอาชีพ
เป็นจิตสำนึกส่วนบุคคล คนในอาชีพนี้ต้องเริ่มก่อน อย่าไปเรียกร้องอะไรกับใคร เริ่มจากตัวเองง่ายที่สุด
ขณะที่วงการภาพยนตร์ของประเทศเพื่อนบ้านกำลังรุดหน้าขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้าเราไม่ทำอะไร ก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
เป็นประเทศโลกที่สามในอุตสาหกรรมนี้ในที่สุด
ระบบหนังไทยดั้งเดิม คือการกำหนดคิวแบบ Day Night
โดยมีข้อตกลงกันที่ว่า ในหนึ่งรอบวัน 24 ชั่วโมง เราแบ่งเป็น 3 ก้อน
เป็นกลางวัน กลางคืนก่อนเที่ยงคืน และกลางคืนหลังเที่ยงคืน คือในหนึ่งวันเต็มจะมี 3 คิวนั่นเอง
คิวที่ 1 คือ Day เริ่มตั้งแต่ 06.00 จนถึง 18.00 รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง
คิวที่ 2 คือ Night1 เริ่มตั้งแต่ 18.00 จนถึง 00.00 รวม 6 ชั่วโมง
คิวที่ 3 คือ Night2 เริ่มตั้งแต่ 00.00 จนถึง 06.00 รวม 6 ชั่วโมง
เวลาถ่ายหนังกันสมัยนั้น เราจะถ่ายแบบกลางวันก็กลางวัน กลางคืนก็กลางคืน แบ่งชัดเจน
หากเป็นหนังผีถ่ายกลางคืนตลอด และถ่ายทั้งคืน จะคิดเป็น 2 คิว คือ การจ่ายค่าแรง 2 คิวนั่นเอง
หากถ่ายเกินคิวขึ้นมาจะมีการจ่ายค่าแรงล่วงเวลา(OT)
ถ้าเป็นหนังเมืองนอกจะคิดง่าย เพราะเขาคิดเรทค่าแรงเป็นชั่วโมงอยู่แล้ว
ปกติหากเกินมา 10 นาทีอาจจะไม่คิดเพิ่มก็ต่างกันแต่ละเจ้า
แต่ถ้าเป็นสากลเลยจริงๆ
เวลาเริ่ม คือ เท้าถึงกอง
เวลาเลิก คือ ไม่มีใครอยู่ที่นั่นแล้ว
ดังนั้นการเลิกกองจริงๆควรให้เสร็จสิ้นก่อนหน้าเวลาหมดคิวครึ่งชั่วโมง
การถ่ายMV หรือถ่ายโฆษณาตอนนั้นก็จะใช้ระบบเดียวกัน
แต่พอตอนไปถ่ายละครกลับมีระบบที่ต่างออกไป
กองถ่ายละครบางกองไม่ได้นัด 06.00 แต่เริ่ม 08.00 ทำงานจนถึง22.00 ยิงยาวรวม14ชม.
แต่ถ้าเป็น All Night คิดตั้งแต่ 18.00-06.00 ซึ่งเจอ All Night น้อยมากนะ ส่วนใหญ่เริ่มหกโมงเลิกสี่ทุ่มตลอด
เหตุที่ต้องเป็นอย่างนี้คือ ละครการทำงานด้านภาพไม่ได้ละเอียดเท่าหนัง บันทึกด้วยกล้องหลายตัว
ตัดสดในรถ OB วันนึงจะเก็บได้จำนวนฉากที่เยอะมาก และการกำหนดคิวลามไปถึงกลางคืน
เพื่อให้การทำงานได้มีสัดส่วนฉากกลางคืนบ้างในการถ่ายแต่ละคิว(เพราะละครหลายเรื่องตอนนั้นก็ถ่ายไปออนแอร์ไป)
การกำหนดสัดส่วนแบบนี้ทำให้ยืดหยุ่นขึ้นในการถ่ายทำ
ละครมักทำงานแบบกำหนดคิวเป็นตารางชัดเจนเช่น ถ่ายทุกพุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
ทีมงานจะกำหนดตารางชะตาชีวิตตัวเองได้ง่ายขึ้น
ส่วนหนังชุดหรือซีรีส์ หลักการถ่ายทำใช้วิธีเล่าเรื่องด้วยภาพแบบหนัง
แปลว่ามีการถ่ายแบบหนัง ใช้ภาพในการเล่าเรื่อง ส่วนใหญ่จะถ่ายด้วยกล้องสองตัวเพื่อย่นเวลา
เพราะจะถ่ายแบบหนังคือกล้องเดี่ยวไปเลยอาจไม่ทัน และเนื่องด้วยความละเอียดทางภาพที่มากขึ้น
ทำให้ซีรีส์ใช้ถ่ายเวลามากขึ้น 1คิว 16 ชม.จึงถือกำเนิดขึ้นมา
เริ่ม 06.00 จบที่ 22.00 เหมือนกับละคร เอาจริงจะเหนื่อยกว่าเพราะเลิก 22.00 ของบ้านเรา
คือสั่งคัท คัทสุดท้าย ดังนั้นจึงมีเวลาเก็บของเพิ่มเติมไป กว่าจะได้กลับห้าทุ่ม
นั่งรถกลับบ้านอีก เอาเป็นว่าได้นอนกันอย่างเร็ว ตี1 พอตี5 ล้อหมุนอีกแล้ว
นี่จึงเป็นการจัดคิวที่เป็นปัญหา เพราะค่าตัวเวลาเหมาคิวแล้วหลายคนได้ไม่ต่างกับตอนเป็นเหมา 12 หรือ 14 ชม.
แต่เวลาพักผ่อนน้อยลงมาก ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานในวันรุ่งขึ้น
และซีรีส์ดันมีกำหนดคิวต่อสัปดาห์คล้ายกับละคร คือถ่ายติดๆกันหลายๆวัน
การกำหนดคิวแบบนี้เลยมีกระแสบ่นๆออกมาจากคนทำงานกันประมาณนึง
แบบสุดท้าย 06.00-00.00 รวม 18 ชั่วโมง คือ 1 คิว = 18 ชั่วโมง เวลาพักผ่อนยิ่งน้อย ค่าตัวเท่าเดิม