ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของเรา เคยสังเกตหรือไม่ว่า
นั่นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ก่อเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Myofascial pain syndrome , De quervain disease เป็นต้น
ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักกับ De quervain disease กันค่ะ
De quervain disease หรือ โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อนิ้วมืออักเสบ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากเส้นเอ็นนิ้วหัวแม่มือ
ใกล้กับตรงบริเวณข้อมืออักเสบ ทำให้เกิดการบวมและการหนาตัวของเส้นเอ็น ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้
มักพบในคนที่ต้องใช้นิ้วหัวแม่มือบ่อยๆในท่ากางออกทางด้านข้างและกระดกขึ้น หรือ อาจพบว่าเคยมีการบาดเจ็บในตำแหน่งนี้มาก่อน
พบมากในช่วงอายุ 30 - 50 ปี ผู้หญิงพบบ่อยกว่าผู้ชายประมาณ 3 - 5 เท่า
อาการของโรค
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดและบวมบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ โดยไม่มีประวัติอุบัติเหตุนำมาก่อน และจะปวดมากขึ้น
เมื่อมีการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือเต็มที่ บิดเสื้อผ้า ยกขันน้ำ กวาดพื้น เป็นต้น
ในผู้ป่วยบางรายอาจคลำได้ก้อน บริเวณข้อมือด้วย
แนวทางรักษาโรค
ในทางกายภาพบำบัดจะมีจุดประสงค์ของการรักษาเพื่อลดการอักเสบและอาการปวด โดยให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยง
หรือลดการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือในท่า กางนิ้วออกหรือ กระดกนิ้วขึ้น ถ้าปวดมากอาจต้องใส่เฝือกชั่วคราว
หรือ hand support และประคบด้วยความร้อน หรือ ใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ในการลดปวด
ส่วนการรักษาทางการแพทย์ แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาลดปวดลดการอักเสบ หากมีอาการปวดมากๆ
อาจจะต้องฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ ซึ่งไม่ควรฉีดซ้ำเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน ในกรณีที่ฉีดยาสเตียรอยด์แล้วอาการปวดไม่ทุเลา
แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วใช้มีดกรีดแยกเยื่อหุ้มเอ็นที่บีบรัดเส้นเอ็นอยู่ให้แยกจากกัน
ซึ่งอาจจะมีผลแทรกซ้อนซึ่งพบได้หลังผ่าตัด เช่น มีอาการเจ็บอยู่บ้างจากพังผืดที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัด
มีโอกาสเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงผิวหนังได้ เป็นต้น
บทความโดย
ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อนิ้วมืออักเสบ
นั่นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ก่อเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Myofascial pain syndrome , De quervain disease เป็นต้น
ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักกับ De quervain disease กันค่ะ
De quervain disease หรือ โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อนิ้วมืออักเสบ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากเส้นเอ็นนิ้วหัวแม่มือ
ใกล้กับตรงบริเวณข้อมืออักเสบ ทำให้เกิดการบวมและการหนาตัวของเส้นเอ็น ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้
มักพบในคนที่ต้องใช้นิ้วหัวแม่มือบ่อยๆในท่ากางออกทางด้านข้างและกระดกขึ้น หรือ อาจพบว่าเคยมีการบาดเจ็บในตำแหน่งนี้มาก่อน
พบมากในช่วงอายุ 30 - 50 ปี ผู้หญิงพบบ่อยกว่าผู้ชายประมาณ 3 - 5 เท่า
อาการของโรค
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดและบวมบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ โดยไม่มีประวัติอุบัติเหตุนำมาก่อน และจะปวดมากขึ้น
เมื่อมีการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือเต็มที่ บิดเสื้อผ้า ยกขันน้ำ กวาดพื้น เป็นต้น
ในผู้ป่วยบางรายอาจคลำได้ก้อน บริเวณข้อมือด้วย
แนวทางรักษาโรค
ในทางกายภาพบำบัดจะมีจุดประสงค์ของการรักษาเพื่อลดการอักเสบและอาการปวด โดยให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยง
หรือลดการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือในท่า กางนิ้วออกหรือ กระดกนิ้วขึ้น ถ้าปวดมากอาจต้องใส่เฝือกชั่วคราว
หรือ hand support และประคบด้วยความร้อน หรือ ใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ในการลดปวด
ส่วนการรักษาทางการแพทย์ แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาลดปวดลดการอักเสบ หากมีอาการปวดมากๆ
อาจจะต้องฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ ซึ่งไม่ควรฉีดซ้ำเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน ในกรณีที่ฉีดยาสเตียรอยด์แล้วอาการปวดไม่ทุเลา
แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วใช้มีดกรีดแยกเยื่อหุ้มเอ็นที่บีบรัดเส้นเอ็นอยู่ให้แยกจากกัน
ซึ่งอาจจะมีผลแทรกซ้อนซึ่งพบได้หลังผ่าตัด เช่น มีอาการเจ็บอยู่บ้างจากพังผืดที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัด
มีโอกาสเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงผิวหนังได้ เป็นต้น
บทความโดย
ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด