สารานุกรมปืนตอนที่ 1200 GD-OTS RM-277 NGSW-R/AR

"ขอขอบคุณเพจ GUN in The World เเอดมิน Gtd.77 อย่างสูงครับ"

https://www.facebook.com/catwarriorandroyalthaiarmyman/

เขียนใหม่ทั้งหมดไม่ได้แปลจาก TFB



RM-277 AR

RM-277 เป็นปืนเล็กยาวที่ส่งเข้าประเมินผลในโครงการ NGSW-R เเละ AR โดยกองทัพบกสหรัฐ ในการค้นหาระบบอาวุธประจำกายในหมู่รบของกองทัพบกสหรัฐในยุคหน้า ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัท General Dynamics Ordnance and Tactical System (GD-OTS) Beretta เเละ True Velocity ซึ่ง RM-277 เเละ RM-277 AR (Automatic Rifle) สามารถผ่านการทดสอบเเละประเมินผลจนไปถึงรอบสุดท้าย ร่วมกับอีก 2 บริษัท ได้เเก่ Sig Sauer เเละ Textron System ซึ่งกำลังจะได้ข้อสรุปในปลายปี 2022 นี้ ซึ่งเลื่อนออกไปจากเดิมที่จะสรุปผลในไตรมาสเเรกของปี 2022

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

RM-277 เป็นระบบปืนเล็กยาวทรง Bullpup ซึ่งจะทำให้มีความยาวลำกล้องเท่าเดิม เเต่ความยาวตัวปืนลดลง เมื่อเทียบกับปืนทรงปกติ ออกแบบมาใช้งานกับกระสุนหน้าตัด 6.8 มม. ตามข้อกำหนดของโครงการ NGSW-R/AR ซึ่งมีบ. True Velocity ช่วยเหลือในการออกเเบบเเละผลิตกระสุนออกมาเป็น .277 TVCM (6.8x51 mm) ซึ่งมีพื้นฐานจานท้ายปลอกกระสุนมาจาก 7.62x51 mm NATO ทำให้สามารถนำไปใช้งานกับปืนที่ใช้กระสุน 7.62x51 mm NATO ได้ เพียงเเค่เปลี่ยนชุดลำกล้องเท่านั้น โดยชื่อ RM-277 มาจากขนาดกระสุน .277 นิ้วนั่นเอง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



กระสุน .277 TVCM หรือ 6.8x51 mm
 

RM-277 ทำงานด้วยระบบเเก๊สดันต่อลูกสูบเเบบช่วงชักสั้น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งจะทำเป็นจอกมารับเเก๊สที่ส่งมาจากรูเเก๊ส เเล้วส่งต่อเเรงไปยังชุดโครงนำลูกเลื่อนที่ทำก้านยื่นขึ้นมารับเเรงต่อจากจอกที่ถูกเเก๊สดันออกมา ผสานกับระบบ Impulse Average ที่จะเป็นการผลักทั้งชุดลำกล้องเเละชุดโครงนำลูกเลื่อนถอยหลัง โดยใช้เเรงดันในชุดปลอกยั้งเเรงถอย ที่จะช่วยให้เเรงสะท้อนถอยหลังในระหว่างการยิงลดลงไป ใช้การหมุนตัวขัดกลอนกับท้ายรังเพลิง ด้านบนเหนือเเนวชุดโครงนำลูกเลื่อนจะใช้ชุดเเหนบ 2 ชุด ซ้ายขวา เเละมีชุดรับเเรงสะท้อนถอยหลังที่คอยซับเเรงในระหว่างชุดลูกเลื่อนถอยมาสุดระยะ



ระบบกลไกภายใน


 
https://twitter.com/xmszeon/status/1490667863727878146



https://twitter.com/EvstPalaiologos/status/1490628221825597442

โครงปืนส่วนบนขึ้นรูปชิ้นเดียว ชุดคันรั้งทำไว้ทั้งสองด้านพับเก็บเหนือเเนวลำกล้อง ด้านบนมาพร้อมกับชุดรางติดกล้องเล็งพร้อมเเถบจ่ายไฟเลี้ยงชุดกล้องเล็งในโครงการ NGSW-FC พร้อมชุดแบตเตอร์รี่ที่ออกเเบบมาเป็นส่วนรองเเก้ม ติดตั้งศูนย์เล็งสำรองเเบบเฉียงด้านข้าง ช่องคัดปลอกออกเเบบให้มีการคัดปลอกออกไปทางด้านหน้าทำมุมประมาณ 1-2 นาฬิกา ส่วนด้านข้างใช้การติดอุปกรณ์เสริมเเบบ M-LOK โครงปืนส่วนล่างขึ้นรูปชิ้นเดียว ทำคันบังคับการยิงไว้ทั้งสองด้าน สามารถปรับได้ทั้งห้ามไก ทีละนัด เเละอัตโนมัติ ซึ่ง ปุ่มปลดซองด้านหน้าไกปืนเช่นเดียวกับตระกูล AR-15 เเละปุ่มปลดการค้างลูกเลื่อน บริเวณเหนือด้ามปืน ชุดด้ามปืนสามารถใช้งานร่วมกับปืนตระกูล AR-15 ทั่วไปได้ ด้านล่างส่วนหน้าทำระบบติดอุปกรณ์เเบบ M-LOK ในรุ่น AR จะมีชุดขาทรายติดตั้งที่ด้านหน้าโครงปืน สามารถพับเก็บที่ใต้โครงปืนได้ ปลายลำกล้องติดตั้งชุดปลอกยั้งเเรงถอยขนาดใหญ่



องค์ประกอบของโครงปืน
 


RM-277 AR
 
คุณลักษณะตัวปืน
ชื่อ RM-277 
ออกเเบบโดย GD-OTS ,Beretta เเละ True Velocity 
ขนาดกระสุน .277 TVCM (6.8x51 mm)
ระบบ Short Stroke Gas Piston/Recoil Mitigation,Rotating Bolt
อัตราเร็วการยิง ประมาณ 750 นัด/นาที
ความยาวลำกล้อง 19 นิ้ว
ความยาวโดยรวม 30 นิ้ว
น้ำหนัก ปืนเปล่าประมาณ 3-4 กก.
ความจุซองกระสุน 20-30 นัด

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ในงาน SHOTSHOW 2022 ทาง True Velocity ร่วมกับ Beretta USA ได้เปิดตัว RM-277 สำหรับตลาดพลเรือน ซึ่งทำให้เราเห็นข้อมูลใหม่ๆ เช่นระบบการทำงานของตัวปืนจริงนั่นเอง ซึงผลในโครงการ NGSW-R เเละ AR จะเป็นเเบบไหนต้องคอยติดตามข่าวต่อไป จะสามารถหักปากกาเซียน โดยการเป็นปืนเเบบ Bullpup ที่จะมาเเทนปืนเเบบปกติสวนกระเเสโลกได้ไหม ก็ต้องติดตามช่วงปลายปีซึ่งเป็นการสรุปผลเเละประกาศผู้ชนะในโครงการ NGSW-R เเละ AR นั่นเอง
 
บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลเเละอาศัยคามรู้ในสมัยเรียนมาเรียบเรียงเป็นบทความให้อ่านกัน หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ Ghosttando 77
 
ที่มาของข้อมูล
https://www.tvammo.com/
https://twitter.com/xmszeon
https://www.thefirearmblog.com/blog/2019/10/15/general-dynamics-next-generation-squad-weapon-the-rm277/
https://www.beretta.com/en-us/beretta-ngsw/



สวัสดีครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  อาวุธยุทโธปกรณ์ อาวุธปืน เทคโนโลยี สหรัฐอเมริกา
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่