ข่าวจากเว็ป TAF นะครับ
Philipp Doert ผู้ช่วยทูตทหารของสหพันธรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย กล่าวกับหนังสือพิมพ์บางกอกโพส เกี่ยวกับประเทศที่เยอรมนียังไม่ออกใบอนุญาตส่งออกหรือ Export License ของเครื่องยนต์ #MTU ที่จะตัดตั้งกับเรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือไทยที่กำลังต่ออยู่ในจีนว่า ทางการจีนไม่ได้ประสานหรือสอบถามมาทางเยอรมนีก่อนที่จะเสนอเครื่องยนต์ MTU ในฐานะส่วนหนึ่งของเรือดำน้ำของจีนจนกระทั่งลงนามในสัญญาระหว่างไทยและจีนไปก่อนแล้ว
ผู้ช่วยทูตทหารฯกล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีนี้ไม่ได้เป็นการไม่ออก Export License ให้กับประเทศไทยในฐานะผู้ใช้ปลายทาง แต่เป็นการไม่ออก Export License ให้กับกองทัพจีนหรืออุตสาหกรรมป้องกันประเทศของจีน
TAF มีความเห็นว่า
แม้ว่าเรือดำน้ำชั้น Song และ Yuan จะเป็นเรือดำน้ำของจีน แต่จีนเลือกใช้เครื่องยนต์ MTU ของเยอรมนีที่มีประสิทธิภาพสูงในการติดตั้งกับเรือดำน้ำที่จีนต่อใช้งานเอง ซึ่งเมื่อจีนต้องการส่งออกเรือดำน้ำ จึงเลือกเสนอเครื่องยนต์ MTU เพื่อติดตั้งกับทั้ง S20 และ S26T ของกองทัพเรือปากีสถานและไทยตามลำดับ ในฐานะที่เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกับที่ติดตั้งในกองทัพเรือจีน
แต่ตามคำอธิบายของผู้ช่วยทูตทหารเยอรมนีก็คือ จีนนำเสนอเรือดำน้ำให้กับไทยและลงนามสัญญาโดยยังไม่ได้สอบถามทางเยอรมนีก่อน
ดังนั้นการปฏิเสธ Export License ในครั้งนี้จึงไม่ใช่การปฏิเสธไม่ส่งออกให้ไทย แต่เป็นการปฏิเสธที่จะไม่ส่งออกให้กับจีนเพื่อนำไปขายต่อในฐานะส่วนหนึ่งของเรือดำน้ำที่ขายให้กับต่างประเทศ
ข่าวปัญหาเครื่องยนต์ MTU บนเรือดำน้ำ S26T นี้ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกจากนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย และ TAF ได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวในกองทัพเรือว่าเป็นเรื่องจริง และกำลังดำเนินการเจรจาเพื่อหาทางแก้ปัญหาอยู่ ซึ่งคำกล่าวของผู้ช่วยทูตทหารเยอรมนีก็เป็นการยืนยันอีกครั้งว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจริง
แม้กองทัพเรือจะยืนยันว่าจะไม่มีการอุ้มซัพพลายเออร์และจะรักษาผลประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ แต่ในสถานการณ์นี้เหมือนถูกบังคับกลาย ๆ ว่าทางออกที่กองทัพเรืออาจต้องเลือกคือการเปลี่ยนยี่ห้อของเครื่องยนต์ดีเซลบนเรือดำน้ำเป็นยี่ห้ออื่นที่สามารถส่งมอบให้กับจีนเพื่อมาติดตั้งขายให้ไทยได้ ซึ่งถ้ากองทัพเรือเลือกเปลี่ยนยี่ห้อของเครื่องยนต์จริง ๆ ก็จำเป็นจะต้องมีการแก้สัญญาเพื่อเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ยี่ห้ออื่น โดยอาจต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับแก้สัญญาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล
ปัญหานี้เคยเกิดขึ้นกับการจัดหายานเกราะ BTR-3E1 ของกองทัพบกไทยจากประเทศยูเครน ที่มีปัญหาเยอรมนีไม่ออก Export License ให้กับยูเครนเพื่อจัดซื้อเครื่องยนต์ยี่ห้อ Deutz เพื่อติดตั้งกับยานเกราะของไทย จนเกิดปัญหาล่าช้าและสุดท้ายกองทัพบกยอมแก้ไขสัญญาเพื่อเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ Mercedes-Benz แทน
ในอีกด้านหนึ่งเพื่อแก้ปัญหานี้ มีข่าวว่าทางการจีนได้เสนอเรือดำน้ำชั้น Song มือสองจำนวนสองลำให้กับกองทัพเรือไทยพิจารณา ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นการเสนอให้ฟรีหรือเสนอขาย ซึ่งอาจจะเป็นการทดแทนหรือเพิ่มเติมกับเรือดำน้ำ S26T ในกรณีที่จีนไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากับกองทัพเรือไทยได้
https://thaiarmedforce.com/2022/02/08/german-embassy-clarify-the-mtu-export-license-issue-on-s26t/
อ่านข่าวและอย่าพึงไปโจมตีกองทัพเรือนะครับ เพราะ เรื่องนี้จีนผิดเต็มๆที่นำเสนอขายเรือดำน้ำโดยที่ยังไม่ได้ไปขอ อนุญาติจากทางเยอรมันก่อน แต่เคสนี้ยิ่งตอกย้ำดราม่า เรื่องเรือดำน้ำที่จีนที่มีมาทุกปีตั้งแต่ตกลงซื้อ สรุปคือ ต้องรอดู ทางกองทัพเรือจะแถลงยังไง หรือจะเงียบต่อไป
https://www.bangkokpost.com/opinion/postbag/2260495/embassy-clarifies?fbclid=IwAR2S7N0ulBHe_rb76qDhTLBsARYxFI-gcy2tLVzpOfQXNM44QsEixouZbZI
วิบากกรรมเรือดำน้ำไทย สถานทูตเยอรมนีเผยจีนไม่ได้ประสานมาขออนุญาตส่งออกเครื่องยนต์ก่อนขายเรือดำน้ำ S26T ให้ไทย
Philipp Doert ผู้ช่วยทูตทหารของสหพันธรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย กล่าวกับหนังสือพิมพ์บางกอกโพส เกี่ยวกับประเทศที่เยอรมนียังไม่ออกใบอนุญาตส่งออกหรือ Export License ของเครื่องยนต์ #MTU ที่จะตัดตั้งกับเรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือไทยที่กำลังต่ออยู่ในจีนว่า ทางการจีนไม่ได้ประสานหรือสอบถามมาทางเยอรมนีก่อนที่จะเสนอเครื่องยนต์ MTU ในฐานะส่วนหนึ่งของเรือดำน้ำของจีนจนกระทั่งลงนามในสัญญาระหว่างไทยและจีนไปก่อนแล้ว
ผู้ช่วยทูตทหารฯกล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีนี้ไม่ได้เป็นการไม่ออก Export License ให้กับประเทศไทยในฐานะผู้ใช้ปลายทาง แต่เป็นการไม่ออก Export License ให้กับกองทัพจีนหรืออุตสาหกรรมป้องกันประเทศของจีน
TAF มีความเห็นว่า
แม้ว่าเรือดำน้ำชั้น Song และ Yuan จะเป็นเรือดำน้ำของจีน แต่จีนเลือกใช้เครื่องยนต์ MTU ของเยอรมนีที่มีประสิทธิภาพสูงในการติดตั้งกับเรือดำน้ำที่จีนต่อใช้งานเอง ซึ่งเมื่อจีนต้องการส่งออกเรือดำน้ำ จึงเลือกเสนอเครื่องยนต์ MTU เพื่อติดตั้งกับทั้ง S20 และ S26T ของกองทัพเรือปากีสถานและไทยตามลำดับ ในฐานะที่เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกับที่ติดตั้งในกองทัพเรือจีน
แต่ตามคำอธิบายของผู้ช่วยทูตทหารเยอรมนีก็คือ จีนนำเสนอเรือดำน้ำให้กับไทยและลงนามสัญญาโดยยังไม่ได้สอบถามทางเยอรมนีก่อน
ดังนั้นการปฏิเสธ Export License ในครั้งนี้จึงไม่ใช่การปฏิเสธไม่ส่งออกให้ไทย แต่เป็นการปฏิเสธที่จะไม่ส่งออกให้กับจีนเพื่อนำไปขายต่อในฐานะส่วนหนึ่งของเรือดำน้ำที่ขายให้กับต่างประเทศ
ข่าวปัญหาเครื่องยนต์ MTU บนเรือดำน้ำ S26T นี้ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกจากนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย และ TAF ได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวในกองทัพเรือว่าเป็นเรื่องจริง และกำลังดำเนินการเจรจาเพื่อหาทางแก้ปัญหาอยู่ ซึ่งคำกล่าวของผู้ช่วยทูตทหารเยอรมนีก็เป็นการยืนยันอีกครั้งว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจริง
แม้กองทัพเรือจะยืนยันว่าจะไม่มีการอุ้มซัพพลายเออร์และจะรักษาผลประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ แต่ในสถานการณ์นี้เหมือนถูกบังคับกลาย ๆ ว่าทางออกที่กองทัพเรืออาจต้องเลือกคือการเปลี่ยนยี่ห้อของเครื่องยนต์ดีเซลบนเรือดำน้ำเป็นยี่ห้ออื่นที่สามารถส่งมอบให้กับจีนเพื่อมาติดตั้งขายให้ไทยได้ ซึ่งถ้ากองทัพเรือเลือกเปลี่ยนยี่ห้อของเครื่องยนต์จริง ๆ ก็จำเป็นจะต้องมีการแก้สัญญาเพื่อเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ยี่ห้ออื่น โดยอาจต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับแก้สัญญาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล
ปัญหานี้เคยเกิดขึ้นกับการจัดหายานเกราะ BTR-3E1 ของกองทัพบกไทยจากประเทศยูเครน ที่มีปัญหาเยอรมนีไม่ออก Export License ให้กับยูเครนเพื่อจัดซื้อเครื่องยนต์ยี่ห้อ Deutz เพื่อติดตั้งกับยานเกราะของไทย จนเกิดปัญหาล่าช้าและสุดท้ายกองทัพบกยอมแก้ไขสัญญาเพื่อเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ Mercedes-Benz แทน
ในอีกด้านหนึ่งเพื่อแก้ปัญหานี้ มีข่าวว่าทางการจีนได้เสนอเรือดำน้ำชั้น Song มือสองจำนวนสองลำให้กับกองทัพเรือไทยพิจารณา ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นการเสนอให้ฟรีหรือเสนอขาย ซึ่งอาจจะเป็นการทดแทนหรือเพิ่มเติมกับเรือดำน้ำ S26T ในกรณีที่จีนไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากับกองทัพเรือไทยได้
https://thaiarmedforce.com/2022/02/08/german-embassy-clarify-the-mtu-export-license-issue-on-s26t/
อ่านข่าวและอย่าพึงไปโจมตีกองทัพเรือนะครับ เพราะ เรื่องนี้จีนผิดเต็มๆที่นำเสนอขายเรือดำน้ำโดยที่ยังไม่ได้ไปขอ อนุญาติจากทางเยอรมันก่อน แต่เคสนี้ยิ่งตอกย้ำดราม่า เรื่องเรือดำน้ำที่จีนที่มีมาทุกปีตั้งแต่ตกลงซื้อ สรุปคือ ต้องรอดู ทางกองทัพเรือจะแถลงยังไง หรือจะเงียบต่อไป
https://www.bangkokpost.com/opinion/postbag/2260495/embassy-clarifies?fbclid=IwAR2S7N0ulBHe_rb76qDhTLBsARYxFI-gcy2tLVzpOfQXNM44QsEixouZbZI