สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
1. ถ้าเป็นระบบสายไฟแรงสูง พื้นที่ใต้ฟุตบาต ของประเทศไทย ไม่พอวางบ่อ เพราะขนาดบ่อต้องมีความกว้าง 2-3 เมตร งานก่อสร้างต้องลงมาสร้างที่ถนน ปิดถนนทีละ 1.5-2 เลน ทำงานได้เฉพาะช่วงกลางคืนเพราะไม่งั้นรถติดหนัก กลางวันก็เอาฝาปูนมาปิดไว้ (วิ่งผ่านที ถ้าเบรคไม่ทันไส้แทบแตก) งานก็ทำได้ไม่เร็วนัก
2. เงินลงทุน เอาสายไฟลงใต้ดิน ราคาเปรียบเทียบกับการตั้งเสาเดินสายอากาศ ราคาเอาสายไฟลงใต้ดินแพงกว่า 10 เท่า ++ ขึ้นไป หรือคิดง่ายๆ ว่า เงินเอาสายไฟลงดิน 10 กม. เอาไปสร้างสายไฟแบบปกติได้ 100 กม.++ จึงทำให้พื้นที่ ที่ถูกกำหนดให้เอาสายไฟลงดินในแต่ละปีถูกจำกัดด้วยวงเงินเหมือนกัน
3. โครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าที่ใช้ทุกวันนี้ กำหนดโดยนโยบายของกระทรวงพลังงาน บังคับใช้ผ่านคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่เป็นผู้กำหนดราคาค่าไฟ และค่า FT ในขณะที่งบประมาณการลงุทนของการไฟฟ้า ไม่ได้ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดิน ไม่ได้ใช้เงินจากภาษี แต่ใช้เงินจากเงินรายได้ของตัวเอง + เงินกู้ ซึ่งรายได้จากค่าไฟก็พอให้การไฟฟ้าเลี้ยงตัวเองและจ่ายหนี้เงินกู้ได้ โดยไม่ต้องไปของบจากรัฐบาล ซึ่งที่มันพอก็เพราะโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าทุกวันนี้ เงินลงทุน ทุกบาท ทุกสตางค์ ของการไฟฟ้า จะถูกผลักเข้าไปคำนวณในโครงสร้างค่าไฟ ถ้าลงทุนสูงไป ค่าไฟก็จะแพงขึ้น ซึ่งแน่นอนครับ การขึ้นราคาค่าไฟ มันเป็นเรื่องที่เดือดร้อน และไม่เป็นผลดีในทางการเมืองสำหรับฝั่งรัฐบาลเช่นเดียวกัน ดังนั้น ภาคนโยบายก็ล้วนแล้วแต่พยายาม รักษาระดับค่าไฟไม่ให้แพงขึ้น หรือถ้าขึ้นก็ให้น้อยที่สุด เมื่อมารวมกับปัจจัยตามข้อ 2 มันก็เลยสะท้อนกลับมาที่แผนการลงทุนเอาสายไฟลงดิน มันก็โดนจำกัดจำเขี่ย ด้วยทั้งเรื่องเงินลงทุน กับ การรักษาระดับราคาค่าไฟ นั่นแหละครับ
4. ส่วนเรื่องพวกสายสื่อสาร พวกนี้ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่มากนักหรอกครับ ถ้าการไฟฟ้าที่เป็นเจ้าของเสายืนยันว่าจะเอาเสาออก พวกนี้ก็ต้องยอมหมดนั่นแหละ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่เป็นปัญหาจะเป็นตอนที่การไฟฟ้า จะเอาเสาออก แล้วพวกสายสื่อสาร ไม่ยอมมาเอาสายออกตามนัดเพราะตัวเองยังเดินระบบเสร็จไม่ทันซะมากกว่า ก็อาจจะทำให้งานช้าบ้าง แต่ไม่ถึงกับทำให้หลักการใหญ่ๆ มันเดินไม่ได้ครับ
2. เงินลงทุน เอาสายไฟลงใต้ดิน ราคาเปรียบเทียบกับการตั้งเสาเดินสายอากาศ ราคาเอาสายไฟลงใต้ดินแพงกว่า 10 เท่า ++ ขึ้นไป หรือคิดง่ายๆ ว่า เงินเอาสายไฟลงดิน 10 กม. เอาไปสร้างสายไฟแบบปกติได้ 100 กม.++ จึงทำให้พื้นที่ ที่ถูกกำหนดให้เอาสายไฟลงดินในแต่ละปีถูกจำกัดด้วยวงเงินเหมือนกัน
3. โครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าที่ใช้ทุกวันนี้ กำหนดโดยนโยบายของกระทรวงพลังงาน บังคับใช้ผ่านคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่เป็นผู้กำหนดราคาค่าไฟ และค่า FT ในขณะที่งบประมาณการลงุทนของการไฟฟ้า ไม่ได้ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดิน ไม่ได้ใช้เงินจากภาษี แต่ใช้เงินจากเงินรายได้ของตัวเอง + เงินกู้ ซึ่งรายได้จากค่าไฟก็พอให้การไฟฟ้าเลี้ยงตัวเองและจ่ายหนี้เงินกู้ได้ โดยไม่ต้องไปของบจากรัฐบาล ซึ่งที่มันพอก็เพราะโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าทุกวันนี้ เงินลงทุน ทุกบาท ทุกสตางค์ ของการไฟฟ้า จะถูกผลักเข้าไปคำนวณในโครงสร้างค่าไฟ ถ้าลงทุนสูงไป ค่าไฟก็จะแพงขึ้น ซึ่งแน่นอนครับ การขึ้นราคาค่าไฟ มันเป็นเรื่องที่เดือดร้อน และไม่เป็นผลดีในทางการเมืองสำหรับฝั่งรัฐบาลเช่นเดียวกัน ดังนั้น ภาคนโยบายก็ล้วนแล้วแต่พยายาม รักษาระดับค่าไฟไม่ให้แพงขึ้น หรือถ้าขึ้นก็ให้น้อยที่สุด เมื่อมารวมกับปัจจัยตามข้อ 2 มันก็เลยสะท้อนกลับมาที่แผนการลงทุนเอาสายไฟลงดิน มันก็โดนจำกัดจำเขี่ย ด้วยทั้งเรื่องเงินลงทุน กับ การรักษาระดับราคาค่าไฟ นั่นแหละครับ
4. ส่วนเรื่องพวกสายสื่อสาร พวกนี้ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่มากนักหรอกครับ ถ้าการไฟฟ้าที่เป็นเจ้าของเสายืนยันว่าจะเอาเสาออก พวกนี้ก็ต้องยอมหมดนั่นแหละ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่เป็นปัญหาจะเป็นตอนที่การไฟฟ้า จะเอาเสาออก แล้วพวกสายสื่อสาร ไม่ยอมมาเอาสายออกตามนัดเพราะตัวเองยังเดินระบบเสร็จไม่ทันซะมากกว่า ก็อาจจะทำให้งานช้าบ้าง แต่ไม่ถึงกับทำให้หลักการใหญ่ๆ มันเดินไม่ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ปัญหาหลักคือเงินครับ แม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วก็เอาลงดินได้แค่ส่วนที่อยู่ในเมือง นอกเมืองก็ต้องปักเสาเดินสายไปเหมือนเดิมเพราะลงทุนหมดไม่ไหว (ยกเว้นประเทศเล็ก)
อีกประเด็นคือเรื่องอำนาจรับผิดชอบที่ทับซ้อนกัน ถ้าอยากให้จัดการได้เร็วๆต้องให้มีผู้นำที่มีอำนาจครอบคลุมทั้งหมดมาสั่งครับ แบบกรณีมาตรา 44 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีนั่นแหละถึงจะเหมาะกับประเทศไทย
อีกประเด็นคือเรื่องอำนาจรับผิดชอบที่ทับซ้อนกัน ถ้าอยากให้จัดการได้เร็วๆต้องให้มีผู้นำที่มีอำนาจครอบคลุมทั้งหมดมาสั่งครับ แบบกรณีมาตรา 44 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีนั่นแหละถึงจะเหมาะกับประเทศไทย
แสดงความคิดเห็น
การเอาสายไฟฟ้า และสายโทรศัพท์ลงดินนี่มันติดที่อะไรเหรอครับ ทำไมดำเนินการได้ช้าจัง
เสาไฟฟ้าเป็นอีก 1 อุปสรรคในการเดินครับ
ผมเห็นโครงการเอาสายลงดิน มีมานานมากแล้ว อยากรู้ว่าตอนนี้ติดที่อะไรครับ หรือรัฐบาลม่ติด ไปติดที่พวกบริษัทมือถือไม่ยอมเอาลงครับ
รบกวนสอบถามผู้รู้ครับ
ขอบคุณครับ