ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดรับฟังความเห็นต่อแนวคิดของธนาคารแห่งประเทศไทยในหัวข้อ "ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน" ซึ่งจะมีอยู่หลายเรื่องด้วยกันเป็นเสมือนแผนที่นำทางที่คอยบอกหลักการและทิศทางของภาคการเงินไทยในอนาคต รวมทั้งสิ่งที่ ธปท. ตั้งใจจะดำเนินการต่อไป
ในเอกสารจะมีอธิบายถึงแนวคิดในเรื่องต่างๆ และช่องเปิดรับความคิดเห็นในประเด็นหัวข้อต่างๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งขึ้นมา โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยวันที่ 24 กุมภาพันธ์จะมีงานสัมมนาเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย วันที่ 28 กุมภาพันธ์เป็นวันสุดท้ายที่เปิดรับความคิดเห็น หรือจะส่งความคิดเห็นไปที่ finlandscape@bot.or.th ก็ได้
หน้าเวปของเรื่องนี้
https://www.bot.or.th/landscape/
ส่วนเอกสารรับฟังความคิดเห็นเข้าไปอ่านได้ที่
https://www.bot.or.th/landscape/paper/overview/
จะขอยกหัวข้อมาให้ดูว่ามีเรื่องอะไรบ้างและเอาประเด็นรับฟังความคิดเห็นมาให้ดูว่ามีถามเรื่องอะไรบ้าง
- บทนำ : เขียนถึงความเป็นมาของนโยบายและการแสดงความคิดเห็น
- บทสรุปผู้บริหาร : แนวคิดโดยรวมของนโยบายนี้
1. ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะกระทบเศรษฐกิจและภาคการเงินไทยในระยะข้างหน้า
2. สร้างนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล
Open Competition - เปิดให้จัดตั้ง virtual bank, ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ที่ไม่รวมสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์, ขยายให้ non-bank FIs ทำธุรกิจได้หลากหลายขึ้นและเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
ธปท. จะออกร่างหลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้ง virtual bank เพื่อรับฟังความเห็นในช่วงครึ่งแรกของปี 2565
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในเรื่อง เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้เล่นเดิม มีแนวคิดให้สถาบันการเงินมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการประกอบธุรกิจ เพื่อให้สามารถแข่งขัน พัฒนานวัตกรรม และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทางการเงินได้ดีขึ้น เช่น ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจ FinTech ที่ไม่รวมสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (กลุ่มธุรกิจฯ) จากเดิมกำหนดเพดานไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 3 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่งเสริมบทบาท Non-Bank FIs และ SFIs
ส่งเสริมบทบาทของผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
- ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของ Non-Bank FIs
- สนับสนุนให้ SFIs ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แนวทางอื่นๆ
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Open Infrastructure - เปิดกว้างให้ผู้ให้บริการกลุ่มต่าง ๆ เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินด้วยต้นทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรม และผลักดันให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญของประเทศและนำมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
มีแนวคิดในการจัดตั้ง Payment Council , หน่วยงานบริหารจัดการการพัฒนาบริการชำระเงินของประเทศ (Payment Scheme)
ลดการใช้เงินสดลง กำหนดนโยบายเพื่อลดการใช้เงินสดด้วยอัตราเร่งเป็น 2 เท่าภายใน 3 ปี และลดการใช้เช็คกระดาษให้เหลือไม่ถึงร้อยละ 50 ของปริมาณการใช้ในปัจจุบันภายใน 5 ปี
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รองรับกระบวนการและบริการทางการเงินดิจิทัล
- พัฒนากระบวนการดิจิทัลสำหรับภาคธุรกิจแบบ end-to-end ยกระดับการทำธุรกิจให้เป็นดิจิทัลแบบครบวงจร (end-to-end) เชื่อมโยงข้อมูลทางธุรกิจ การชำระเงิน และภาษีเป็นกระบวนการอัตโนมัติ (straight-through processing)
- พัฒนาสกุลเงินดิจิทัลในระดับประชาชน พัฒนาและทดสอบการออกสกุลเงินดิจิทัลในระดับประชาชน (Retail CBDC) โดยคาดว่าจะเริ่มทดสอบการใช้งานในวงจำกัด (pilot test) ประมาณปลายปี 2565
- พัฒนามาตรฐานกลางและการเชื่อมโยง ผลักดันโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่จำเป็นและพัฒนามาตรฐานกลางและการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานกลางที่สำคัญอันได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (digital ID) ที่สามารถเชื่อมต่อระหว่าง platform (interoperability) , การใช้ลายมือชื่อดิจิทัล (digital signature)
- ส่งเสริมความรู้และทักษะทางการเงินดิจิทัล และสนับสนุนให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชนในวงกว้างใช้บริการชำระเงินดิจิทัลเป็นทางเลือกหลักแทนการใช้เงินสดและเช็ค
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกลไกการค้ำประกันเครดิต
จัดตั้ง General Credit Guarantee Facility (GCGF) เพื่อช่วยให้ธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ในแต่ละช่วงของวงจรธุรกิจและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในภาวะวิกฤตสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น รวมถึงสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ (infrastructure finance)
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Open Data - เปิดกว้างให้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลผ่านการผลักดันกลไกเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการ
- ส่งเสริมนโยบาย Open Banking
ผลักดันให้มีแนวนโยบาย Open Banking ที่เอื้อให้เจ้าของข้อมูลสามารถส่งข้อมูลของตนให้แก่ผู้ให้บริการต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและมีต้นทุนที่เหมาะสม ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกใช้หรือย้ายบริการ
- เชื่อมต่อและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลระดับจุลภาค
สนับสนุนการเชื่อมต่อและนำฐานข้อมูลระดับจุลภาค (micro-level data) ที่ปัจจุบันถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจายไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และการพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. สนับสนุนเศรษฐกิจเปลี่ยนผ่านได้อย่างยั่งยืน
- รับมือความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
จำกัดนิยามกิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียว, กำหนดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้สถาบันการเงินแสดงความมุ่งมั่นและดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล, ส่งเสริมบริการและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, สร้างโครงสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม, ส่งเสริมความรู้และบุคลากร
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- ครัวเรือนปรับตัวได้ ผลักดันให้ภาคการเงินมีส่วนช่วยให้ครัวเรือนที่ยังไม่พร้อมสามารถปรับตัวเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัลได้อย่างราบรื่นและช่วยให้ครัวเรือนที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวสามารถจัดการหนี้สินและไปต่อได้อย่างยั่งยืน
- ยกระดับความรู้ทางการเงิน พัฒนาและปรับปรุงแหล่งข้อมูลความรู้ทางการเงินและการเงินดิจิทัลที่เข้าถึงได้ง่าย, ให้ผู้ให้บริการทางการเงินมีบทบาทในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้บริการทางการเงินมีพฤติกรรมทางการเงินที่ดี เช่น จูงใจให้มีการออมเผื่อเกษียณ หรือชำระหนี้ก่อนหรือตามกำหนด
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- ส่งเสริมการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ
- ผลักดันการแก้หนี้แบบครบวงจร
- จัดเก็บข้อมูลภาระหนี้ครัวเรือน
4. กำกับดูแลยืดหยุ่นเท่าทันความเสี่ยงรูปแบบใหม่
- เพิ่มความยืดหยุ่นและลดภาระการกำกับดูแล
- มีกรอบการกำกับตามหลักการสำคัญและความเสี่ยง
- ทบทวนกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรค จะมีกระบวนการรับฟังความเห็นและหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติในช่วงครึ่งแรกของปี 2565
- มีกลไกเลิกประกอบกิจการ มีกลไกให้ผู้ให้บริการทางการเงินที่ประสบปัญหาและไม่สามารถปรับตัวได้ เลิกประกอบกิจการโดยไม่ทำให้ระบบการเงินหยุดชะงัก หรือไม่ส่งผลลุกลามไปยังระบบเศรษฐกิจการเงิน ผู้ฝากเงิน และผู้บริโภคในวงกว้าง
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- กำกับให้เท่าทันความเสี่ยงในโลกใหม่
- ไม่ต้องการเห็นการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าแทนเงินบาท
เนื่องจากหากถูกนำมาใช้ในวัตถุประสงค์นี้อย่างแพร่หลายจะก่อให้เกิดหน่วยวัดมูลค่า (unit of account) นอกเหนือจากสกุลเงินบาท ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงและส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจการเงินในหลายมิติ ได้แก่ ต้นทุนและความปลอดภัยของผู้ใช้หรือรับชำระสินทรัพย์ดิจิทัล, เสถียรภาพระบบการชำระเงิน, เสถียรภาพการเงินและความสามารถในการดูแลภาวะการเงินในประเทศ
อย่างไรก็ตาม สำหรับบริการและระบบเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงินและการต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน ธปท. จะพิจารณาแนวทางการกำกับดูแลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการและป้องกันความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบการชำระเงิน
สถาบันการเงินหรือกลุ่มธุรกิจฯ ที่ต้องการนำเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (เช่น blockchain) ที่จะต้องมีการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ ที่ต้องการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถมาหารือ ธปท. ได้เป็นรายกรณี
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- กำกับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์
กำกับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (กลุ่มธุรกิจฯ) ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจฯ ที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและขยายไปสู่ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีและช่องทางดิจิทัลที่สามารถเชื่อมต่อหรือต่อยอดไปยังบริการทางการเงินได้ เช่น FinTech หรือ e-commerce platform ที่เชื่อมโยงกับบริการทางการเงิน
- กำกับ Non-Bank FIs ที่มีนัยสำคัญ
- กำกับผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อย
- กำกับดูแลด้านเทคโนโลยี
5. ความสำเร็จจากการดำเนินการปรับภูมิทัศน์ภาคการเงิน
- สร้างนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล
- สนับสนุนเศรษฐกิจเปลี่ยนผ่านได้อย่างยั่งยืน
- กำกับดูแลยืดหยุ่นเท่าทันความเสี่ยงรูปแบบใหม่
ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดรับความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องต่าง ๆ เช่น virtual bank
ในเอกสารจะมีอธิบายถึงแนวคิดในเรื่องต่างๆ และช่องเปิดรับความคิดเห็นในประเด็นหัวข้อต่างๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งขึ้นมา โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยวันที่ 24 กุมภาพันธ์จะมีงานสัมมนาเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย วันที่ 28 กุมภาพันธ์เป็นวันสุดท้ายที่เปิดรับความคิดเห็น หรือจะส่งความคิดเห็นไปที่ finlandscape@bot.or.th ก็ได้
หน้าเวปของเรื่องนี้ https://www.bot.or.th/landscape/
ส่วนเอกสารรับฟังความคิดเห็นเข้าไปอ่านได้ที่ https://www.bot.or.th/landscape/paper/overview/
จะขอยกหัวข้อมาให้ดูว่ามีเรื่องอะไรบ้างและเอาประเด็นรับฟังความคิดเห็นมาให้ดูว่ามีถามเรื่องอะไรบ้าง
- บทนำ : เขียนถึงความเป็นมาของนโยบายและการแสดงความคิดเห็น
- บทสรุปผู้บริหาร : แนวคิดโดยรวมของนโยบายนี้
1. ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะกระทบเศรษฐกิจและภาคการเงินไทยในระยะข้างหน้า
2. สร้างนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล
Open Competition - เปิดให้จัดตั้ง virtual bank, ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ที่ไม่รวมสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์, ขยายให้ non-bank FIs ทำธุรกิจได้หลากหลายขึ้นและเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
ธปท. จะออกร่างหลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้ง virtual bank เพื่อรับฟังความเห็นในช่วงครึ่งแรกของปี 2565
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในเรื่อง เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้เล่นเดิม มีแนวคิดให้สถาบันการเงินมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการประกอบธุรกิจ เพื่อให้สามารถแข่งขัน พัฒนานวัตกรรม และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทางการเงินได้ดีขึ้น เช่น ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจ FinTech ที่ไม่รวมสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (กลุ่มธุรกิจฯ) จากเดิมกำหนดเพดานไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 3 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่งเสริมบทบาท Non-Bank FIs และ SFIs
ส่งเสริมบทบาทของผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
- ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของ Non-Bank FIs
- สนับสนุนให้ SFIs ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แนวทางอื่นๆ
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Open Infrastructure - เปิดกว้างให้ผู้ให้บริการกลุ่มต่าง ๆ เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินด้วยต้นทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรม และผลักดันให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญของประเทศและนำมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
มีแนวคิดในการจัดตั้ง Payment Council , หน่วยงานบริหารจัดการการพัฒนาบริการชำระเงินของประเทศ (Payment Scheme)
ลดการใช้เงินสดลง กำหนดนโยบายเพื่อลดการใช้เงินสดด้วยอัตราเร่งเป็น 2 เท่าภายใน 3 ปี และลดการใช้เช็คกระดาษให้เหลือไม่ถึงร้อยละ 50 ของปริมาณการใช้ในปัจจุบันภายใน 5 ปี
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รองรับกระบวนการและบริการทางการเงินดิจิทัล
- พัฒนากระบวนการดิจิทัลสำหรับภาคธุรกิจแบบ end-to-end ยกระดับการทำธุรกิจให้เป็นดิจิทัลแบบครบวงจร (end-to-end) เชื่อมโยงข้อมูลทางธุรกิจ การชำระเงิน และภาษีเป็นกระบวนการอัตโนมัติ (straight-through processing)
- พัฒนาสกุลเงินดิจิทัลในระดับประชาชน พัฒนาและทดสอบการออกสกุลเงินดิจิทัลในระดับประชาชน (Retail CBDC) โดยคาดว่าจะเริ่มทดสอบการใช้งานในวงจำกัด (pilot test) ประมาณปลายปี 2565
- พัฒนามาตรฐานกลางและการเชื่อมโยง ผลักดันโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่จำเป็นและพัฒนามาตรฐานกลางและการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานกลางที่สำคัญอันได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (digital ID) ที่สามารถเชื่อมต่อระหว่าง platform (interoperability) , การใช้ลายมือชื่อดิจิทัล (digital signature)
- ส่งเสริมความรู้และทักษะทางการเงินดิจิทัล และสนับสนุนให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชนในวงกว้างใช้บริการชำระเงินดิจิทัลเป็นทางเลือกหลักแทนการใช้เงินสดและเช็ค
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกลไกการค้ำประกันเครดิต
จัดตั้ง General Credit Guarantee Facility (GCGF) เพื่อช่วยให้ธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ในแต่ละช่วงของวงจรธุรกิจและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในภาวะวิกฤตสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น รวมถึงสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ (infrastructure finance)
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Open Data - เปิดกว้างให้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลผ่านการผลักดันกลไกเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการ
- ส่งเสริมนโยบาย Open Banking
ผลักดันให้มีแนวนโยบาย Open Banking ที่เอื้อให้เจ้าของข้อมูลสามารถส่งข้อมูลของตนให้แก่ผู้ให้บริการต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและมีต้นทุนที่เหมาะสม ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกใช้หรือย้ายบริการ
- เชื่อมต่อและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลระดับจุลภาค
สนับสนุนการเชื่อมต่อและนำฐานข้อมูลระดับจุลภาค (micro-level data) ที่ปัจจุบันถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจายไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และการพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. สนับสนุนเศรษฐกิจเปลี่ยนผ่านได้อย่างยั่งยืน
- รับมือความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
จำกัดนิยามกิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียว, กำหนดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้สถาบันการเงินแสดงความมุ่งมั่นและดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล, ส่งเสริมบริการและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, สร้างโครงสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม, ส่งเสริมความรู้และบุคลากร
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- ครัวเรือนปรับตัวได้ ผลักดันให้ภาคการเงินมีส่วนช่วยให้ครัวเรือนที่ยังไม่พร้อมสามารถปรับตัวเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัลได้อย่างราบรื่นและช่วยให้ครัวเรือนที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวสามารถจัดการหนี้สินและไปต่อได้อย่างยั่งยืน
- ยกระดับความรู้ทางการเงิน พัฒนาและปรับปรุงแหล่งข้อมูลความรู้ทางการเงินและการเงินดิจิทัลที่เข้าถึงได้ง่าย, ให้ผู้ให้บริการทางการเงินมีบทบาทในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้บริการทางการเงินมีพฤติกรรมทางการเงินที่ดี เช่น จูงใจให้มีการออมเผื่อเกษียณ หรือชำระหนี้ก่อนหรือตามกำหนด
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- ส่งเสริมการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ
- ผลักดันการแก้หนี้แบบครบวงจร
- จัดเก็บข้อมูลภาระหนี้ครัวเรือน
4. กำกับดูแลยืดหยุ่นเท่าทันความเสี่ยงรูปแบบใหม่
- เพิ่มความยืดหยุ่นและลดภาระการกำกับดูแล
- มีกรอบการกำกับตามหลักการสำคัญและความเสี่ยง
- ทบทวนกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรค จะมีกระบวนการรับฟังความเห็นและหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติในช่วงครึ่งแรกของปี 2565
- มีกลไกเลิกประกอบกิจการ มีกลไกให้ผู้ให้บริการทางการเงินที่ประสบปัญหาและไม่สามารถปรับตัวได้ เลิกประกอบกิจการโดยไม่ทำให้ระบบการเงินหยุดชะงัก หรือไม่ส่งผลลุกลามไปยังระบบเศรษฐกิจการเงิน ผู้ฝากเงิน และผู้บริโภคในวงกว้าง
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- กำกับให้เท่าทันความเสี่ยงในโลกใหม่
- ไม่ต้องการเห็นการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าแทนเงินบาท
เนื่องจากหากถูกนำมาใช้ในวัตถุประสงค์นี้อย่างแพร่หลายจะก่อให้เกิดหน่วยวัดมูลค่า (unit of account) นอกเหนือจากสกุลเงินบาท ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงและส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจการเงินในหลายมิติ ได้แก่ ต้นทุนและความปลอดภัยของผู้ใช้หรือรับชำระสินทรัพย์ดิจิทัล, เสถียรภาพระบบการชำระเงิน, เสถียรภาพการเงินและความสามารถในการดูแลภาวะการเงินในประเทศ
อย่างไรก็ตาม สำหรับบริการและระบบเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงินและการต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน ธปท. จะพิจารณาแนวทางการกำกับดูแลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการและป้องกันความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบการชำระเงิน
สถาบันการเงินหรือกลุ่มธุรกิจฯ ที่ต้องการนำเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (เช่น blockchain) ที่จะต้องมีการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ ที่ต้องการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถมาหารือ ธปท. ได้เป็นรายกรณี
ประเด็นรับฟังความคิดเห็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- กำกับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์
กำกับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (กลุ่มธุรกิจฯ) ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจฯ ที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและขยายไปสู่ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีและช่องทางดิจิทัลที่สามารถเชื่อมต่อหรือต่อยอดไปยังบริการทางการเงินได้ เช่น FinTech หรือ e-commerce platform ที่เชื่อมโยงกับบริการทางการเงิน
- กำกับ Non-Bank FIs ที่มีนัยสำคัญ
- กำกับผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อย
- กำกับดูแลด้านเทคโนโลยี
5. ความสำเร็จจากการดำเนินการปรับภูมิทัศน์ภาคการเงิน
- สร้างนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล
- สนับสนุนเศรษฐกิจเปลี่ยนผ่านได้อย่างยั่งยืน
- กำกับดูแลยืดหยุ่นเท่าทันความเสี่ยงรูปแบบใหม่