การมาของหน่วยความจำแรม DDR5 เป็นอีกเทคโนโลยีใหม่ในสายของคอมพิวเตอร์ สำหรับใครที่จะกำลังประกอบพีซี DIY ในปี 2022 ซึ่งนอกจากมีความสดใหม่ ยังเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความแรง เพื่อการเล่นเกมและทำงานที่ล้ำกว่า
โดยล่าสุด Kingston ได้นำเสนอหน่วยความจำแรม Kingston FURY Beast DDR5 ที่ออกแบบมาพร้อมคุณสมบัติการทำงานที่เหนือกว่า เช่น เสถียรภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้น ผ่านการปรับตั้งค่าในระดับสูงสุด ฉะนั้นแล้วในการประกอบพีซีเราต้องไม่พลาดใช้แรม DDR5 เพื่ออัพเกรดประสิทธิภาพให้สูงสุด พร้อมสำหรับการทำงานและเล่นเกมในยุคใหม่อย่างแท้จริง
แน่นอนว่าหน่วยความจำแรมแรงๆ สเปคดีๆ มักจะมีไฟ RGB มีฮีทซิงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งหลายคนหลายท่านเองก็ไม่ได้ชื่นชอบนัก เพราะไม่ได้เน้นโชว์เคส ไม่ได้เน้นแสงสีฉูดฉาด แต่แค่ต้องการแรมที่มีสเปคดีๆ ความเสถียรภาพสูง ระบายความร้อนได้ไร้กังวล อีกทั้งยังรองรับการ Overclock เร่งประสิทธิภาพได้ พร้อมความเรียบหรูแต่ดูดีลงตัวอย่าง Kingston FURY Beast DDR5 ที่ผมจะมาแนะนำในกระทู้นี้
มาที่ของจริงที่เราได้รับมารีวิว เห็นได้ถึงบรรจุภัณฑ์ Kingston FURY Beast DDR5 มาในกล่องเรียบๆ โชว์ตัวแรมอย่างชัดเจน พร้อมสเปคครบครัน โชว์สเปคแรมที่เลือกซื้อชัดเจนตามสไตล์ของแบรนด์ Kingston ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งรุ่นที่ผมได้นำมารีวิวสำหรับการทดสอบเป็นแบบ 32GB (16GB x2) ที่ความเร็วบัส 5200MHz
สำหรับผู้ใช้ที่ชื่นชอบการประกอบพีซีในแบบคลาสสิก เรียบง่าย พร้อมกับรูปลักษณ์และการดีไซน์ที่ตอบโจทย์ ไม่เหมือนใคร Kingston FURY Beast DDR5 มาพร้อมดีไซน์เรียบง่ายโทนสีดำดูเท่สุดๆ และการกระจายความร้อนที่ดีเยี่ยม โดยมีจำหน่ายในความเร็วสูงสุดที่ 6,000MHz
นอกจากนั้น Kingston FURY Beast DDR5 ยังได้รับมาตรฐาน Intel XMP3.0 (eXtreme Memory Profile 3.0) และ AMD RAMP (Ryzen Accelerated Memory Profile) ผู้ใช้งานสามารถโอเวอร์คล็อกได้อย่างง่ายดายและมีความเสถียร รวมทั้งมีการรับประกันตลอดอายุการใช้งานอีกด้วย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานไปอีกขั้นในการประกอบพีซียุคใหม่ ทั้งสะดวกรวดเร็วและได้ความมั่นใจ
สเปคเครื่องที่ใช้ในการทดสอบ
RAM : Kingston FURY Beast DDR5 5200 MHz 32GB (16GB x 2)
CPU : Intel Core i9-12900K Processor
GPU : AORUS GeForce RTX 3060 (12GB GDDR6)
M/B : MSI MS Z690 Tomahawk Wi-Fi
STORAGE : Kingston FURY Renegade SSD 2TB
PSU : Deepcool DQ850-M-V2L - 850W 80 PLUS GOLD
สเปคแรม Kingston FURY Beast DDR5 32GB
ความจุ : แถวเดียว 16GB, เป็นชุด 2 แถว 32GB
ความถี่ : 4800MHz, 5200MHz, 5600MHz, 6000MHz
ค่าหน่วงเวลา : CL38, CL40
แรงดันไฟฟ้า : 1.1V, 1.25V, 1.35V
อุณหภูมิการทำงาน : 0°C ถึง 85°C
ขนาด : 133.35 x 34.9 x 6.62 มม.
รูปแบบการติดตั้งประกอบลงไปร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ก็ดูลงตัว ไม่ว่าจะเป็นชิปประมวลผล การ์ดจอแยก เมนบอร์ดสีดำ และอื่นๆ รวมทั้งพัดลมด้านหน้าและพัดลมระบายความร้อนด้านหลัง ที่มีไฟ RGB ซึ่งถ้าหากเลือกเปิดไฟ RGB ก็ดูสวยงามดี หรือจะปิดไฟก็ดูเรียบๆ ในโทนสีดำ ช่วยเพิ่มความดุดันเรียบง่ายและลงตัวแบบแน่นๆ หน่อยในเคส
เปิดเครื่องครั้งแรกเข้า BIOS ก็เห็นสเปคและค่าสเปคแรมครบพร้อมเปิด XMP ได้เลย
สเปคที่เรานำมาทดสอบรีวิวกระทู้นี้เป็นชิปประมวลผล i9-12900K พร้อมเมนบอร์ดจาก MSI รุ่น MAG Z690 TOMAHAWK WIFI
เมนบอร์ดจาก MSI รุ่น MAG Z690 TOMAHAWK WIFI มีคุณสมบัติเด่น เช่น รองรับโปรเซสเซอร์ Intel ® Core™, Pentium ® Gold และ Celeron ®เจนเนอเรชั่น 12 สำหรับซ็อกเก็ต LGA 1700 และสามารถรองรับหน่วยความจำ DDR5 สูงสุด 6400(OC) MHz
โดยเพื่อนๆ สามารถตามไปดูข้อมูลสเปกแบบละเอียดได้ที่
https://www.msi.com/Motherboard/MAG-Z690-TOMAHAWK-WIFI
ในส่วนของการดูผ่านทางซอฟต์แวร์ของหน่วยความจำแรม Kingston FURY Beast DDR5 รูปแบบการติดตั้งที่สล็อต 2 และ 4 กับสเปคแรมที่ความเร็วบัส 4800 MHz ซึ่งเป็นความเร็วเริ่มต้น และสามารถไปถึงความเร็วที่ 5200 MHz ได้ด้วยการตั้งค่า XMP
มีการ์ดจอแยกตัวแรงรุ่นยอดนิยมสุดๆ อย่าง AORUS GeForce RTX 3060 มีแรมภายใน 12GB GDDR6 สถาปัตยกรรม Ampere โดยเป็น RTX เจเนอเรชั่นที่ 2 ที่ต้องบอกว่าประสิทธิภาพลงตัวกับฮาร์ดแวร์โดยรวม เน้นใช้งานกับ Desktop PC ที่เน้นเกมหรืองาน 3 มิติ พร้อมรองรับ Ray Tracing ช่วยเพิ่มคุณภาพการแสดงแสงเงาให้แม้แต่เกมระดับ AAA และฟีเจอร์อื่นอีกมากมาย โดยยังสามารถปรับกราฟิกได้ถึง Ultra ให้ภาพสวยงาม ไหลลื่น สมจริงกว่าที่เคยมีมา กับความละเอียดที่เป็น Quad HD เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว
ทดสอบฮาร์ดแวร์ที่เก็บข้อมูลอย่าง Kingston FURY Renegade SSD เป็นมาตรฐาน SSD M.2 NVMe PCIe Gen 4 ก็ทำคะแนนผลการทดสอบออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าประทับใจมากๆ บนขนาดความจุ 2TB (2000GB) ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับที่เก็บข้อมูล SSD M.2 SATA 3 รวมไปถึง SSD M.2 NVMe PCIe Gen 3 แล้วละก็ จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ราวๆ 7042 MB/s และเขียนที่ 6677 MB/s ความเร็วถือว่าทำได้ดีเยี่ยมยอด สมกับเป็นมาตรฐานที่เก็บข้อมูล SSD M.2 ที่ใช้งานควบคู่กับไปหน่วยความจำแรมยุคใหม่จริงๆ
ทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 7787 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเกม, งานตกแต่งรูปภาพ รวมถึงงานตัดต่อวิดีโอ
คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (Frame rate) จากทั้ง 4 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยมากกว่า PC DIY สเปคปีก่อนๆ ที่คล้ายกันแต่ใช้แรมเป็น DDR4 ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดี
ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง FarCry 6 / Resident Evil Village / SCUM / PUBG ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 2560 x 1440 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ที่ต้องบอกว่าภาพก็สวยจนน่าประทับใจ เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุด ให้ภาพสวยงาม ส่งผลให้ค่าเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 70 - 120 ขึ้นไป
ส่วนเกมออนไลน์กินสเปกน้อยลงมาอย่าง PUBG ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมดให้ด้วยเช่นกัน กับละเอียด Native เหมือนกัน ก็สามารถเล่นให้ลื่นไหลได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น
แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทเฉลี่ยก็สูงเพียงพอในการเล่นเกม ซึ่งถ้าใครต้องการเล่นให้ลื่นไหลกว่านี้แนะนำให้ปรับกราฟิกลงมากลางๆ หน่อยก็สามารถทำได้ หรือจะลดความละเอียดในเกมลงมาเป็น 1920 x 1080 พิกเซล ก็ทำได้
ส่วนการทำงานแบบมืออาชีพ สาย Content Creator ก็ตอบสนองได้เป็นอย่างดี ผ่านทางโปรแกรม Adobe Photoshop Lightroom ทั้งในการประมวลผลต่างๆ แบบเวลาจริง เพื่อการตกแต่งภาพ การสลับไฟล์ภาพขนาดหใญ่ไปมา หรือแม้แต่การสลับโปรแกรมไปมา ที่ปกติแล้วแรมจะทำหน้าที่หลักในการสำรองข้อมูล ก็ทำได้ดีเยี่ยมแบบไร้รอยต่อ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้การ Export ไฟล์ ก็มีความรวดเร็วอย่างที่สุดด้วย อย่างที่เหลือเฟือในการใช้งานจริงมากๆ
ปิดท้ายการทดสอบส่วนของอุณหภูมิแรมทั้ง 2 แถว รวมไปถึง SSD โดยรวมถือว่าสามารถที่จะทำได้ดีขณะที่เราเล่นเกมทดสอบรวมไปถึงประมวลผลต่างๆ เป็นเวลานาน อุณหภูมิภายในดูจากโปรแกรม Hardware Monitor เผยถึงหน่วยความจำแรม โดยมีความร้อนสูงสุดคือ 47.8 องศาเซลเซียส ส่วน SSD ร้อนที่สุดที่ 43 องศาเซลเซียสเท่านั้น
จากการเล่นเกมยาวๆ หลายเกมต่อเนื่อง ก็ไม่มีปัญหาหน่วงหรือกระตุกแต่อย่างใด เรียกได้ว่าเป็นแรมและ SSD ของ Kingston รุ่นใหม่ที่จัดการความร้อนได้ดีเยี่ยมทีเดียว
[BR] ทดสอบใช้งานประกอบพีซี DIY เน้นเล่นเกม ทำงานมืออาชีพ ยุคใหม่ด้วย Kingston FURY Beast DDR5 จะน่าซื้อแค่ไหน ไปดูกัน
การมาของหน่วยความจำแรม DDR5 เป็นอีกเทคโนโลยีใหม่ในสายของคอมพิวเตอร์ สำหรับใครที่จะกำลังประกอบพีซี DIY ในปี 2022 ซึ่งนอกจากมีความสดใหม่ ยังเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความแรง เพื่อการเล่นเกมและทำงานที่ล้ำกว่า
โดยล่าสุด Kingston ได้นำเสนอหน่วยความจำแรม Kingston FURY Beast DDR5 ที่ออกแบบมาพร้อมคุณสมบัติการทำงานที่เหนือกว่า เช่น เสถียรภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้น ผ่านการปรับตั้งค่าในระดับสูงสุด ฉะนั้นแล้วในการประกอบพีซีเราต้องไม่พลาดใช้แรม DDR5 เพื่ออัพเกรดประสิทธิภาพให้สูงสุด พร้อมสำหรับการทำงานและเล่นเกมในยุคใหม่อย่างแท้จริง
แน่นอนว่าหน่วยความจำแรมแรงๆ สเปคดีๆ มักจะมีไฟ RGB มีฮีทซิงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งหลายคนหลายท่านเองก็ไม่ได้ชื่นชอบนัก เพราะไม่ได้เน้นโชว์เคส ไม่ได้เน้นแสงสีฉูดฉาด แต่แค่ต้องการแรมที่มีสเปคดีๆ ความเสถียรภาพสูง ระบายความร้อนได้ไร้กังวล อีกทั้งยังรองรับการ Overclock เร่งประสิทธิภาพได้ พร้อมความเรียบหรูแต่ดูดีลงตัวอย่าง Kingston FURY Beast DDR5 ที่ผมจะมาแนะนำในกระทู้นี้
มาที่ของจริงที่เราได้รับมารีวิว เห็นได้ถึงบรรจุภัณฑ์ Kingston FURY Beast DDR5 มาในกล่องเรียบๆ โชว์ตัวแรมอย่างชัดเจน พร้อมสเปคครบครัน โชว์สเปคแรมที่เลือกซื้อชัดเจนตามสไตล์ของแบรนด์ Kingston ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งรุ่นที่ผมได้นำมารีวิวสำหรับการทดสอบเป็นแบบ 32GB (16GB x2) ที่ความเร็วบัส 5200MHz
สำหรับผู้ใช้ที่ชื่นชอบการประกอบพีซีในแบบคลาสสิก เรียบง่าย พร้อมกับรูปลักษณ์และการดีไซน์ที่ตอบโจทย์ ไม่เหมือนใคร Kingston FURY Beast DDR5 มาพร้อมดีไซน์เรียบง่ายโทนสีดำดูเท่สุดๆ และการกระจายความร้อนที่ดีเยี่ยม โดยมีจำหน่ายในความเร็วสูงสุดที่ 6,000MHz
นอกจากนั้น Kingston FURY Beast DDR5 ยังได้รับมาตรฐาน Intel XMP3.0 (eXtreme Memory Profile 3.0) และ AMD RAMP (Ryzen Accelerated Memory Profile) ผู้ใช้งานสามารถโอเวอร์คล็อกได้อย่างง่ายดายและมีความเสถียร รวมทั้งมีการรับประกันตลอดอายุการใช้งานอีกด้วย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานไปอีกขั้นในการประกอบพีซียุคใหม่ ทั้งสะดวกรวดเร็วและได้ความมั่นใจ
สเปคเครื่องที่ใช้ในการทดสอบ
RAM : Kingston FURY Beast DDR5 5200 MHz 32GB (16GB x 2)
CPU : Intel Core i9-12900K Processor
GPU : AORUS GeForce RTX 3060 (12GB GDDR6)
M/B : MSI MS Z690 Tomahawk Wi-Fi
STORAGE : Kingston FURY Renegade SSD 2TB
PSU : Deepcool DQ850-M-V2L - 850W 80 PLUS GOLD
สเปคแรม Kingston FURY Beast DDR5 32GB
ความจุ : แถวเดียว 16GB, เป็นชุด 2 แถว 32GB
ความถี่ : 4800MHz, 5200MHz, 5600MHz, 6000MHz
ค่าหน่วงเวลา : CL38, CL40
แรงดันไฟฟ้า : 1.1V, 1.25V, 1.35V
อุณหภูมิการทำงาน : 0°C ถึง 85°C
ขนาด : 133.35 x 34.9 x 6.62 มม.
รูปแบบการติดตั้งประกอบลงไปร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ก็ดูลงตัว ไม่ว่าจะเป็นชิปประมวลผล การ์ดจอแยก เมนบอร์ดสีดำ และอื่นๆ รวมทั้งพัดลมด้านหน้าและพัดลมระบายความร้อนด้านหลัง ที่มีไฟ RGB ซึ่งถ้าหากเลือกเปิดไฟ RGB ก็ดูสวยงามดี หรือจะปิดไฟก็ดูเรียบๆ ในโทนสีดำ ช่วยเพิ่มความดุดันเรียบง่ายและลงตัวแบบแน่นๆ หน่อยในเคส
เปิดเครื่องครั้งแรกเข้า BIOS ก็เห็นสเปคและค่าสเปคแรมครบพร้อมเปิด XMP ได้เลย
สเปคที่เรานำมาทดสอบรีวิวกระทู้นี้เป็นชิปประมวลผล i9-12900K พร้อมเมนบอร์ดจาก MSI รุ่น MAG Z690 TOMAHAWK WIFI
เมนบอร์ดจาก MSI รุ่น MAG Z690 TOMAHAWK WIFI มีคุณสมบัติเด่น เช่น รองรับโปรเซสเซอร์ Intel ® Core™, Pentium ® Gold และ Celeron ®เจนเนอเรชั่น 12 สำหรับซ็อกเก็ต LGA 1700 และสามารถรองรับหน่วยความจำ DDR5 สูงสุด 6400(OC) MHz
โดยเพื่อนๆ สามารถตามไปดูข้อมูลสเปกแบบละเอียดได้ที่ https://www.msi.com/Motherboard/MAG-Z690-TOMAHAWK-WIFI
ในส่วนของการดูผ่านทางซอฟต์แวร์ของหน่วยความจำแรม Kingston FURY Beast DDR5 รูปแบบการติดตั้งที่สล็อต 2 และ 4 กับสเปคแรมที่ความเร็วบัส 4800 MHz ซึ่งเป็นความเร็วเริ่มต้น และสามารถไปถึงความเร็วที่ 5200 MHz ได้ด้วยการตั้งค่า XMP
มีการ์ดจอแยกตัวแรงรุ่นยอดนิยมสุดๆ อย่าง AORUS GeForce RTX 3060 มีแรมภายใน 12GB GDDR6 สถาปัตยกรรม Ampere โดยเป็น RTX เจเนอเรชั่นที่ 2 ที่ต้องบอกว่าประสิทธิภาพลงตัวกับฮาร์ดแวร์โดยรวม เน้นใช้งานกับ Desktop PC ที่เน้นเกมหรืองาน 3 มิติ พร้อมรองรับ Ray Tracing ช่วยเพิ่มคุณภาพการแสดงแสงเงาให้แม้แต่เกมระดับ AAA และฟีเจอร์อื่นอีกมากมาย โดยยังสามารถปรับกราฟิกได้ถึง Ultra ให้ภาพสวยงาม ไหลลื่น สมจริงกว่าที่เคยมีมา กับความละเอียดที่เป็น Quad HD เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว
ทดสอบฮาร์ดแวร์ที่เก็บข้อมูลอย่าง Kingston FURY Renegade SSD เป็นมาตรฐาน SSD M.2 NVMe PCIe Gen 4 ก็ทำคะแนนผลการทดสอบออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าประทับใจมากๆ บนขนาดความจุ 2TB (2000GB) ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับที่เก็บข้อมูล SSD M.2 SATA 3 รวมไปถึง SSD M.2 NVMe PCIe Gen 3 แล้วละก็ จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ราวๆ 7042 MB/s และเขียนที่ 6677 MB/s ความเร็วถือว่าทำได้ดีเยี่ยมยอด สมกับเป็นมาตรฐานที่เก็บข้อมูล SSD M.2 ที่ใช้งานควบคู่กับไปหน่วยความจำแรมยุคใหม่จริงๆ
ทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 7787 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเกม, งานตกแต่งรูปภาพ รวมถึงงานตัดต่อวิดีโอ
คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (Frame rate) จากทั้ง 4 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยมากกว่า PC DIY สเปคปีก่อนๆ ที่คล้ายกันแต่ใช้แรมเป็น DDR4 ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดี
ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง FarCry 6 / Resident Evil Village / SCUM / PUBG ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 2560 x 1440 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ที่ต้องบอกว่าภาพก็สวยจนน่าประทับใจ เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุด ให้ภาพสวยงาม ส่งผลให้ค่าเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 70 - 120 ขึ้นไป
ส่วนเกมออนไลน์กินสเปกน้อยลงมาอย่าง PUBG ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมดให้ด้วยเช่นกัน กับละเอียด Native เหมือนกัน ก็สามารถเล่นให้ลื่นไหลได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น
แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทเฉลี่ยก็สูงเพียงพอในการเล่นเกม ซึ่งถ้าใครต้องการเล่นให้ลื่นไหลกว่านี้แนะนำให้ปรับกราฟิกลงมากลางๆ หน่อยก็สามารถทำได้ หรือจะลดความละเอียดในเกมลงมาเป็น 1920 x 1080 พิกเซล ก็ทำได้
ส่วนการทำงานแบบมืออาชีพ สาย Content Creator ก็ตอบสนองได้เป็นอย่างดี ผ่านทางโปรแกรม Adobe Photoshop Lightroom ทั้งในการประมวลผลต่างๆ แบบเวลาจริง เพื่อการตกแต่งภาพ การสลับไฟล์ภาพขนาดหใญ่ไปมา หรือแม้แต่การสลับโปรแกรมไปมา ที่ปกติแล้วแรมจะทำหน้าที่หลักในการสำรองข้อมูล ก็ทำได้ดีเยี่ยมแบบไร้รอยต่อ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้การ Export ไฟล์ ก็มีความรวดเร็วอย่างที่สุดด้วย อย่างที่เหลือเฟือในการใช้งานจริงมากๆ
ปิดท้ายการทดสอบส่วนของอุณหภูมิแรมทั้ง 2 แถว รวมไปถึง SSD โดยรวมถือว่าสามารถที่จะทำได้ดีขณะที่เราเล่นเกมทดสอบรวมไปถึงประมวลผลต่างๆ เป็นเวลานาน อุณหภูมิภายในดูจากโปรแกรม Hardware Monitor เผยถึงหน่วยความจำแรม โดยมีความร้อนสูงสุดคือ 47.8 องศาเซลเซียส ส่วน SSD ร้อนที่สุดที่ 43 องศาเซลเซียสเท่านั้น
จากการเล่นเกมยาวๆ หลายเกมต่อเนื่อง ก็ไม่มีปัญหาหน่วงหรือกระตุกแต่อย่างใด เรียกได้ว่าเป็นแรมและ SSD ของ Kingston รุ่นใหม่ที่จัดการความร้อนได้ดีเยี่ยมทีเดียว
BR - Business Review : กระทู้นี้เป็นกระทู้รีวิวจากผู้สนับสนุน