การใช้ปืนลูกกรดฝึกซ้อมแทนปืนชนวนกลาง ช่วยประหยัดค่ากระสุนได้มาก ในระยะหลังที่มีการแข่งขันรณยุทธ์สามปืน คือปืนพก, ปืนลูกซอง และไรเฟิลจู่โจม
ปืนลูกกรดกึ่งอัตโนมัติ ที่ทำรูปทรงเลียนแบบปืนสงคราม มีเข้ามาขายบ้านเรานานกว่าห้าสิบปี เจ้าเก่าที่รู้จักกันดีคือ “เออร์ม่า” (Erma) ของเยอรมัน เลียนแบบปืนทหารอเมริกันยุคสงครามโลกครั้งที่สอง คือ เอ็มวันคาร์บีน (M1 Carbine อังกฤษออกเสียง คาร์ไบน์) ถัดมาเป็น อาร์มีแจเกอร์ (Armi Jager) จากอิตาลี ทำเลียนแบบปืน เอ็ม 16 (M16) ของยุคสงครามเวียดนาม ปืนรุ่นนี้ นักศึกษาวิชาทหารช่วงประมาณปี พ.ศ. 2520 จะคุ้นเคยดี เพราะใช้ฝึกแทนปืน ปลยบ.88 ที่ใช้กระสุน .30-06 ชนวนกลาง
การใช้ปืนลูกกรดฝึกซ้อมแทนปืนชนวนกลาง ช่วยประหยัดค่ากระสุนได้มาก ในระยะหลังที่มีการแข่งขันรณยุทธ์สามปืน คือปืนพก, ปืนลูกซอง และไรเฟิลจู่โจม ทำให้ลูกกรดที่ทำตัวปืนเลียนแบบไรเฟิลจู่โจมได้รับความนิยมมากขึ้น มีทั้งที่ออกแบบเฉพาะส่วนลำกล้องและชุดลูกเลื่อน ให้สามารถเปลี่ยนใส่กับช่วงล่างของปืนชนวนกลาง, ออกแบบใหม่หมดทั้งกระบอก, หรือปรับเปลี่ยนพานท้ายรางปืนให้ลูกกรดใช้งานเดิมมาเป็นแบบรณยุทธ์ ไม่ต้องออกแบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งวิธีที่สามนี้มีข้อดี คือปืนผ่านการทดสอบใช้งานจริงมาแล้ว ทำงานไว้ใจได้
ปืนยาวลูกกรดแบบกึ่งอัตโนมัติของ ซีแซด แต่เดิมมีโมเดล 511 ขนาด .22 ธรรมดา (.22 LR) และ 611 ขนาด .22 แม็กนั่ม (.22 WMR) ขายอยู่จนถึงปี 2010 จึงออกรุ่นใหม่โมเดล 512 มาแทนทั้ง 511 และ 611 อาศัยหลักการโมดุลล่าร์ โครงเดียวสามารถ ปรับใช้กับกระสุน .22 ธรรมดาและแม็กนั่มได้ โดยเปลี่ยนลำกล้อง, เพิ่มน้ำหนักถ่วงลูกเลื่อน กับปรับช่องรับแม็กกาซีน จากลูกกรดซ้อมยิงประหยัดค่ากระสุน เลื่อนชั้นขึ้นไปใช้ลูกกรดแม็กนั่ม ที่แรงกว่าหลายเท่าตัว โดยลูกกรดแม็กนั่มให้พลังงานที่ปากลำกล้อง 324 ฟุต-ปอนด์ เทียบกับลูกกรดธรรมดา 104 ฟุต-ปอนด์ หรือมองในอีกแง่หนึ่ง ลูกแม็กนั่มที่ระยะ 100 หลา แรงเท่าลูกกรดธรรมดาที่ระยะ 5 หลา
ในการปรับโมเดล 512 จากปืนใช้งานพานท้ายไม้ธรรมดา ให้เป็นปืนแทคติคอล ซีแซดใช้ชุดแต่งของ ATI (Advanced Technology International) ใส่ชิ้นส่วนพื้นฐานห้าชิ้น คือด้ามจับแบบปืนพก, พานท้ายปรับได้หกระดับ, ชุดปิดหน้าโครงรับกระโจมมือ, กระโจมมืออัลลอยหุ้มลำกล้อง, และรางพิคาทินนียาวตลอดจากท้ายห้องลูกเลื่อนถึงปลายกระโจมด้านหน้า ทั้งหมดเป็นสีดำด้าน ตัวกระโจมมีจุดให้ติดรางพิคาทินนีเพิ่มได้อีกห้าจุด สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มได้ตามต้องการ ศูนย์เล็งเลือกใช้ได้ทั้งแบบศูนย์เหล็ก, ศูนย์กล้อง และศูนย์เลเซอร์
การทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ เมื่อเสียบซองกระสุนที่บรรจุกระสุนพร้อมเข้าตัวปืนแล้ว ดึงลูกเลื่อนปล่อยให้ดีดกลับเพื่อป้อนกระสุนเข้ารังเพลิง เหนี่ยวไกแต่ละครั้งกระสุนลั่นหนึ่งนัด ปืนทำงานสลัดปลอกป้อนนัดใหม่ให้ยิงต่อไปได้ ยิงหมดนัดสุดท้ายลูกเลื่อนไม่เปิดค้าง ถ้ามีกระเดื่องค้างลูกเลื่อนอยู่ด้านหน้าโกร่งไก และห้ามไกเป็นแบบสลักขวางอยู่หลังโกร่งไก ผลักมาทางซ้ายพร้อมยิง ผลักกลับไปด้านขวาเข้าห้ามไก น้ำหนักไก 4.5 ปอนด์ จัดว่าดีมากสำหรับปืนระบบกึ่งอัตโนมัติ
ซองกระสุนของ 512 แท็คติคอล ขนาด .22LR เป็นแบบโค้ง จุ 25 นัด ส่วนขนาด .22 แม็กนั่มจุ 10 นัด ถ้านอนยิงหรือพาดยิงซองกระสุนที่ยาวมากอาจค้ำพื้น สามารถเปลี่ยนใช้ซองกระสุนสั้นกว่าของปืนลูกเลื่อน 452 หรือ 455 ได้.
https://d.dailynews.co.th/article/383677/
.....................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 1162 ลูกกรดแทคติคอล CZ 512 Tactical
ปืนลูกกรดกึ่งอัตโนมัติ ที่ทำรูปทรงเลียนแบบปืนสงคราม มีเข้ามาขายบ้านเรานานกว่าห้าสิบปี เจ้าเก่าที่รู้จักกันดีคือ “เออร์ม่า” (Erma) ของเยอรมัน เลียนแบบปืนทหารอเมริกันยุคสงครามโลกครั้งที่สอง คือ เอ็มวันคาร์บีน (M1 Carbine อังกฤษออกเสียง คาร์ไบน์) ถัดมาเป็น อาร์มีแจเกอร์ (Armi Jager) จากอิตาลี ทำเลียนแบบปืน เอ็ม 16 (M16) ของยุคสงครามเวียดนาม ปืนรุ่นนี้ นักศึกษาวิชาทหารช่วงประมาณปี พ.ศ. 2520 จะคุ้นเคยดี เพราะใช้ฝึกแทนปืน ปลยบ.88 ที่ใช้กระสุน .30-06 ชนวนกลาง
การใช้ปืนลูกกรดฝึกซ้อมแทนปืนชนวนกลาง ช่วยประหยัดค่ากระสุนได้มาก ในระยะหลังที่มีการแข่งขันรณยุทธ์สามปืน คือปืนพก, ปืนลูกซอง และไรเฟิลจู่โจม ทำให้ลูกกรดที่ทำตัวปืนเลียนแบบไรเฟิลจู่โจมได้รับความนิยมมากขึ้น มีทั้งที่ออกแบบเฉพาะส่วนลำกล้องและชุดลูกเลื่อน ให้สามารถเปลี่ยนใส่กับช่วงล่างของปืนชนวนกลาง, ออกแบบใหม่หมดทั้งกระบอก, หรือปรับเปลี่ยนพานท้ายรางปืนให้ลูกกรดใช้งานเดิมมาเป็นแบบรณยุทธ์ ไม่ต้องออกแบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งวิธีที่สามนี้มีข้อดี คือปืนผ่านการทดสอบใช้งานจริงมาแล้ว ทำงานไว้ใจได้
ปืนยาวลูกกรดแบบกึ่งอัตโนมัติของ ซีแซด แต่เดิมมีโมเดล 511 ขนาด .22 ธรรมดา (.22 LR) และ 611 ขนาด .22 แม็กนั่ม (.22 WMR) ขายอยู่จนถึงปี 2010 จึงออกรุ่นใหม่โมเดล 512 มาแทนทั้ง 511 และ 611 อาศัยหลักการโมดุลล่าร์ โครงเดียวสามารถ ปรับใช้กับกระสุน .22 ธรรมดาและแม็กนั่มได้ โดยเปลี่ยนลำกล้อง, เพิ่มน้ำหนักถ่วงลูกเลื่อน กับปรับช่องรับแม็กกาซีน จากลูกกรดซ้อมยิงประหยัดค่ากระสุน เลื่อนชั้นขึ้นไปใช้ลูกกรดแม็กนั่ม ที่แรงกว่าหลายเท่าตัว โดยลูกกรดแม็กนั่มให้พลังงานที่ปากลำกล้อง 324 ฟุต-ปอนด์ เทียบกับลูกกรดธรรมดา 104 ฟุต-ปอนด์ หรือมองในอีกแง่หนึ่ง ลูกแม็กนั่มที่ระยะ 100 หลา แรงเท่าลูกกรดธรรมดาที่ระยะ 5 หลา
ในการปรับโมเดล 512 จากปืนใช้งานพานท้ายไม้ธรรมดา ให้เป็นปืนแทคติคอล ซีแซดใช้ชุดแต่งของ ATI (Advanced Technology International) ใส่ชิ้นส่วนพื้นฐานห้าชิ้น คือด้ามจับแบบปืนพก, พานท้ายปรับได้หกระดับ, ชุดปิดหน้าโครงรับกระโจมมือ, กระโจมมืออัลลอยหุ้มลำกล้อง, และรางพิคาทินนียาวตลอดจากท้ายห้องลูกเลื่อนถึงปลายกระโจมด้านหน้า ทั้งหมดเป็นสีดำด้าน ตัวกระโจมมีจุดให้ติดรางพิคาทินนีเพิ่มได้อีกห้าจุด สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มได้ตามต้องการ ศูนย์เล็งเลือกใช้ได้ทั้งแบบศูนย์เหล็ก, ศูนย์กล้อง และศูนย์เลเซอร์
การทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ เมื่อเสียบซองกระสุนที่บรรจุกระสุนพร้อมเข้าตัวปืนแล้ว ดึงลูกเลื่อนปล่อยให้ดีดกลับเพื่อป้อนกระสุนเข้ารังเพลิง เหนี่ยวไกแต่ละครั้งกระสุนลั่นหนึ่งนัด ปืนทำงานสลัดปลอกป้อนนัดใหม่ให้ยิงต่อไปได้ ยิงหมดนัดสุดท้ายลูกเลื่อนไม่เปิดค้าง ถ้ามีกระเดื่องค้างลูกเลื่อนอยู่ด้านหน้าโกร่งไก และห้ามไกเป็นแบบสลักขวางอยู่หลังโกร่งไก ผลักมาทางซ้ายพร้อมยิง ผลักกลับไปด้านขวาเข้าห้ามไก น้ำหนักไก 4.5 ปอนด์ จัดว่าดีมากสำหรับปืนระบบกึ่งอัตโนมัติ
ซองกระสุนของ 512 แท็คติคอล ขนาด .22LR เป็นแบบโค้ง จุ 25 นัด ส่วนขนาด .22 แม็กนั่มจุ 10 นัด ถ้านอนยิงหรือพาดยิงซองกระสุนที่ยาวมากอาจค้ำพื้น สามารถเปลี่ยนใช้ซองกระสุนสั้นกว่าของปืนลูกเลื่อน 452 หรือ 455 ได้.
https://d.dailynews.co.th/article/383677/
.....................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช