สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
มีเอกสารบันทึกของฝรั่งเศสแต่เหตุผลจริงๆ นั้นน่าจะเพราะเกรงจะขัดแย้งกับอังกฤษเพราะอังกฤษก็คงหวังผลประโยชน์เหมือนกัน อังกฤษมีผลประโยชน์ในไทยก็น่าจะเพราะการถ่วงดุลผลประโยชน์ของชาติตะวันตกในไทย ที่อื่นๆ ในโลกไม่เห็นจะต้องมีรัฐกันชนดินแดนของเจ้าอาณานิคมก็ชนติดกันทั้งนั้น
และพื้นที่กันชนของฝรั่งเศสกับอังกฤษตกลงกันก็แค่ราวๆ ภาคกลางของไทย เหนือสุดก็น่าจะราวๆ นครสวรรค์ ตะวันออกก็ราวๆ ชลบุรี นอกนั้นล้านนา, พื้นที่ทางอีสาน, ภาคใต้ ใครอยากได้ก็พยายามเอาไป
ส่วนเรื่องราวหลังจากนั้นคนฝรั่งเศสรู้สึกยังไงกับการที่ไม่สามารถยึดไทยได้ก็น่าจะเห็นได้ในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ว่าพอใจหรือเปล่ากับที่การไทยไม่ถูกยึดครองก็มีเขียนในหนังสือพิมพ์ La Matin ฉบับวันที่ 18 June 1907 อันนี้ลิงค์หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น > https://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k568365j
มีคนแปลเนื้อหาตรงที่เขียนถึงตรงหัวข้อ Un vrai Roi (กษัตริย์ที่แท้จริง) ไว้ว่า
นักการเมืองยุโรปคุยกันนักหนาว่ารู้จักคิงจุฬาลงกรณ์เป็นอย่างดี บางคนรู้ลึกขนาดว่า พระองค์มีชายาถึง ๘๐๐ คน บางคนก็ว่าพระองค์จะอภิเษกกับพระขนิษฐาเท่านั้น แต่ทว่า คนอังกฤษกับคนฝรั่งเศสก็ยื้อแย่งประเทศของพระองค์อย่างไม่เป็นผลเท่าไหร่ และก็ยังไม่มีใครฮุบประเทศนี้ได้จริงๆ จังๆ เสียทีขนาดส่งเรือรบเข้าไปถึงกลางใจเมืองหลวง แต่ด้วยกลการเมืองที่เดอะคิงใช้หลอกล่อพวกเรา เรือรบเหล่านั้นก็ต้องถอยทัพออกมาหมดพร้อมกับเงิน (ค่าไถ่) ที่พระองค์มอบให้เราเพียงหยิบมือ ช่างเป็นเรื่องประหลาดและเหลือเชื่อ แทนที่เราจะตั้งหน้ารบกันจริงๆ เรากลับต้องตั้งต้นคืนดีกันเพราะเราได้แค่เขมรไว้มาครอบครอง ฝรั่งเศสก็กลายเป็นเพื่อนบ้านของสยามไปโดยปริยาย
เราได้สมบัติจากนครวัดมาไว้เชยชมมากมายแล้วก็จริง แต่ก็ยังเอื้อมไปไม่ถึงตัวนครวัดที่เป็นต้นตอของสมบัติเหล่านั้น ทำให้เราดูคล้ายกับแมลงหวี่ยุ่งๆ ที่คอยสร้างความรำคาญให้วัว แต่ก็ทำอะไรวัวไม่ได้ และ แล้วฝรั่งเศสก็สูญเสียจันทบุรีไป ทุกครั้งที่มีการลงนามในกระดาษเราก็จะพูดว่ามันเป็นชัยชนะทางการทูตร่ำไป แต่ที่แท้แล้วเราไม่เคยชนะอะไรเลย ฝรั่งเศสต้องสูญเสียเงินเท่าไหร่เพื่อแลกกับผืนแผ่นดินที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอันเหล่านั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) เราทุ่มเงินหลายล้านฟรังก์เพื่อพัฒนาท่าเรือเมืองตราด ที่ทดแทนจันทบุรีมาได้ โดยที่เราวาดฝันไว้ว่ามันจะกลายเป็นเมืองท่า Le Havre อันยิ่งใหญ่ แต่แล้วมันก็กลายเป็นภาพลวงตาทั้งเพ ดูตามแผนที่มันช่างเป็นทำเลสุดวิเศษ แต่ที่จริงต้องใช้เวลาเดินเท้าเป็นวันๆกว่าจะเข้าไปถึงมัน
ผู้ชนะที่แท้จริงน่าจะเป็นเดอะคิง พระองค์สามารถทำให้เราถอยออกไปได้แบบถอนรากถอนโคน การสิ้นสุดอำนาจของฝรั่งเศสในดินแดนของพระองค์ไม่ใช่เหตุบังเอิญ พระองค์รายล้อมไปด้วยพันธมิตรที่ไม่น้อยหน้าใครในยุโรป คือปรินซ์วัลเดอมาร์ ผู้มีพระชายาเป็นเจ้าหญิงชาวฝรั่งเศส คือปรินเซสมารี ปรินซ์วัลเดอมาร์ เป็นพระเชษฐาของจักรพรรดินีมารียา ฟีโยโดรอฟนา ของรัสเซีย ทำให้เดาได้ไม่ยากนักว่าใครคือผู้ปกป้องราชอาณาจักรเล็กๆนี้ มันเป็นความกดดันสำหรับฝรั่งเศสในการทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งถึงแม้ฝรั่งเศสจะเดินหน้าไปก่อน แต่แท้ที่จริงกลับเป็นเดนมาร์กที่แซงหน้าเราขึ้นไปเห็นได้ชัดจากผลประโยชน์ของชาวเดนมาร์กจำนวนมหาศาลที่ฝังรากอยู่ได้อย่างมั่นคง ในธุรกิจเหมืองแร่ การเดินเรือ สัมปทานรถรางไฟฟ้า และอื่นๆในขณะที่มีชาวฝรั่งเศสเพียง ๑ คน รับราชการอยู่ในราชสำนักสยาม สยามก็ว่าจ้าง ๘๗ อังกฤษ, ๕๐ เยอรมัน, ๓๘ เดนมาร์ก, ๘ เบลเยียม, ๗ อิตาเลียน และที่เหลือเป็นชาวญี่ปุ่น อย่างนี้หรือที่เรียกเราชัยชนะทางการเมืองของฝรั่งเศส?
ขณะนี้ฝรั่งเศสกำลังถอยหลังมาอยู่ที่จุดศูนย์ เราได้แต่ความเกลียดชังในขณะที่ชาวเดนมาร์กได้หน้า พวกเราหมดสิ้นแล้วในสยาม ถ้าจะมีอะไรเหลืออยู่คงเป็นเจ้าหญิงมารี ออเล-อง เท่านั้นที่จะช่วยผลักดันทางอ้อมให้สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นจริงขึ้นมา การที่จะได้เขมรส่วนในกลับมาเป็นของเราเท่ากับเรียกขวัญกำลังใจทั้งหมดที่ฝรั่งเศสทุ่มเทลงไปในเขมรคืนมาด้วย
คิงจุฬาลงกรณ์ได้ทรงกระทำทุกอย่างเพื่อปกป้องประชาชนของพระองค์ การยอมเสียสละแผ่นดินเขมรที่เหลืออยู่ ๔๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และประชากร ๒๘๐,๐๐๐ คน ทำให้พระองค์เป็นผู้มีสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียวในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอันกว้างใหญ่ มิสเตอร์ปิชอง และ มิสเตอร์ดูตัสตาร์ อธิบายว่ามันอาจจะเป็นภารกิจขั้นตอนสุดท้ายที่เราทำได้ แต่ความสำเร็จก็อาจจะไม่เกิดขึ้น ถ้าเจ้าหญิงมารีจะไม่ใช้อิทธิพลของเธอกับพระเจ้ากรุงสยาม ผลที่สุด สยามก็พบเสถียรภาพทางการเมืองซึ่งเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของชาวสยาม คิงจุฬาลงกรณ์ที่จะกลับมาเยือนยุโรปอีกครั้งกำลังเสด็จมาในนามของผู้นำที่เป็นเอกราชจริงๆ
และพื้นที่กันชนของฝรั่งเศสกับอังกฤษตกลงกันก็แค่ราวๆ ภาคกลางของไทย เหนือสุดก็น่าจะราวๆ นครสวรรค์ ตะวันออกก็ราวๆ ชลบุรี นอกนั้นล้านนา, พื้นที่ทางอีสาน, ภาคใต้ ใครอยากได้ก็พยายามเอาไป
ส่วนเรื่องราวหลังจากนั้นคนฝรั่งเศสรู้สึกยังไงกับการที่ไม่สามารถยึดไทยได้ก็น่าจะเห็นได้ในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ว่าพอใจหรือเปล่ากับที่การไทยไม่ถูกยึดครองก็มีเขียนในหนังสือพิมพ์ La Matin ฉบับวันที่ 18 June 1907 อันนี้ลิงค์หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น > https://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k568365j
มีคนแปลเนื้อหาตรงที่เขียนถึงตรงหัวข้อ Un vrai Roi (กษัตริย์ที่แท้จริง) ไว้ว่า
นักการเมืองยุโรปคุยกันนักหนาว่ารู้จักคิงจุฬาลงกรณ์เป็นอย่างดี บางคนรู้ลึกขนาดว่า พระองค์มีชายาถึง ๘๐๐ คน บางคนก็ว่าพระองค์จะอภิเษกกับพระขนิษฐาเท่านั้น แต่ทว่า คนอังกฤษกับคนฝรั่งเศสก็ยื้อแย่งประเทศของพระองค์อย่างไม่เป็นผลเท่าไหร่ และก็ยังไม่มีใครฮุบประเทศนี้ได้จริงๆ จังๆ เสียทีขนาดส่งเรือรบเข้าไปถึงกลางใจเมืองหลวง แต่ด้วยกลการเมืองที่เดอะคิงใช้หลอกล่อพวกเรา เรือรบเหล่านั้นก็ต้องถอยทัพออกมาหมดพร้อมกับเงิน (ค่าไถ่) ที่พระองค์มอบให้เราเพียงหยิบมือ ช่างเป็นเรื่องประหลาดและเหลือเชื่อ แทนที่เราจะตั้งหน้ารบกันจริงๆ เรากลับต้องตั้งต้นคืนดีกันเพราะเราได้แค่เขมรไว้มาครอบครอง ฝรั่งเศสก็กลายเป็นเพื่อนบ้านของสยามไปโดยปริยาย
เราได้สมบัติจากนครวัดมาไว้เชยชมมากมายแล้วก็จริง แต่ก็ยังเอื้อมไปไม่ถึงตัวนครวัดที่เป็นต้นตอของสมบัติเหล่านั้น ทำให้เราดูคล้ายกับแมลงหวี่ยุ่งๆ ที่คอยสร้างความรำคาญให้วัว แต่ก็ทำอะไรวัวไม่ได้ และ แล้วฝรั่งเศสก็สูญเสียจันทบุรีไป ทุกครั้งที่มีการลงนามในกระดาษเราก็จะพูดว่ามันเป็นชัยชนะทางการทูตร่ำไป แต่ที่แท้แล้วเราไม่เคยชนะอะไรเลย ฝรั่งเศสต้องสูญเสียเงินเท่าไหร่เพื่อแลกกับผืนแผ่นดินที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอันเหล่านั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) เราทุ่มเงินหลายล้านฟรังก์เพื่อพัฒนาท่าเรือเมืองตราด ที่ทดแทนจันทบุรีมาได้ โดยที่เราวาดฝันไว้ว่ามันจะกลายเป็นเมืองท่า Le Havre อันยิ่งใหญ่ แต่แล้วมันก็กลายเป็นภาพลวงตาทั้งเพ ดูตามแผนที่มันช่างเป็นทำเลสุดวิเศษ แต่ที่จริงต้องใช้เวลาเดินเท้าเป็นวันๆกว่าจะเข้าไปถึงมัน
ผู้ชนะที่แท้จริงน่าจะเป็นเดอะคิง พระองค์สามารถทำให้เราถอยออกไปได้แบบถอนรากถอนโคน การสิ้นสุดอำนาจของฝรั่งเศสในดินแดนของพระองค์ไม่ใช่เหตุบังเอิญ พระองค์รายล้อมไปด้วยพันธมิตรที่ไม่น้อยหน้าใครในยุโรป คือปรินซ์วัลเดอมาร์ ผู้มีพระชายาเป็นเจ้าหญิงชาวฝรั่งเศส คือปรินเซสมารี ปรินซ์วัลเดอมาร์ เป็นพระเชษฐาของจักรพรรดินีมารียา ฟีโยโดรอฟนา ของรัสเซีย ทำให้เดาได้ไม่ยากนักว่าใครคือผู้ปกป้องราชอาณาจักรเล็กๆนี้ มันเป็นความกดดันสำหรับฝรั่งเศสในการทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งถึงแม้ฝรั่งเศสจะเดินหน้าไปก่อน แต่แท้ที่จริงกลับเป็นเดนมาร์กที่แซงหน้าเราขึ้นไปเห็นได้ชัดจากผลประโยชน์ของชาวเดนมาร์กจำนวนมหาศาลที่ฝังรากอยู่ได้อย่างมั่นคง ในธุรกิจเหมืองแร่ การเดินเรือ สัมปทานรถรางไฟฟ้า และอื่นๆในขณะที่มีชาวฝรั่งเศสเพียง ๑ คน รับราชการอยู่ในราชสำนักสยาม สยามก็ว่าจ้าง ๘๗ อังกฤษ, ๕๐ เยอรมัน, ๓๘ เดนมาร์ก, ๘ เบลเยียม, ๗ อิตาเลียน และที่เหลือเป็นชาวญี่ปุ่น อย่างนี้หรือที่เรียกเราชัยชนะทางการเมืองของฝรั่งเศส?
ขณะนี้ฝรั่งเศสกำลังถอยหลังมาอยู่ที่จุดศูนย์ เราได้แต่ความเกลียดชังในขณะที่ชาวเดนมาร์กได้หน้า พวกเราหมดสิ้นแล้วในสยาม ถ้าจะมีอะไรเหลืออยู่คงเป็นเจ้าหญิงมารี ออเล-อง เท่านั้นที่จะช่วยผลักดันทางอ้อมให้สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นจริงขึ้นมา การที่จะได้เขมรส่วนในกลับมาเป็นของเราเท่ากับเรียกขวัญกำลังใจทั้งหมดที่ฝรั่งเศสทุ่มเทลงไปในเขมรคืนมาด้วย
คิงจุฬาลงกรณ์ได้ทรงกระทำทุกอย่างเพื่อปกป้องประชาชนของพระองค์ การยอมเสียสละแผ่นดินเขมรที่เหลืออยู่ ๔๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และประชากร ๒๘๐,๐๐๐ คน ทำให้พระองค์เป็นผู้มีสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียวในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอันกว้างใหญ่ มิสเตอร์ปิชอง และ มิสเตอร์ดูตัสตาร์ อธิบายว่ามันอาจจะเป็นภารกิจขั้นตอนสุดท้ายที่เราทำได้ แต่ความสำเร็จก็อาจจะไม่เกิดขึ้น ถ้าเจ้าหญิงมารีจะไม่ใช้อิทธิพลของเธอกับพระเจ้ากรุงสยาม ผลที่สุด สยามก็พบเสถียรภาพทางการเมืองซึ่งเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของชาวสยาม คิงจุฬาลงกรณ์ที่จะกลับมาเยือนยุโรปอีกครั้งกำลังเสด็จมาในนามของผู้นำที่เป็นเอกราชจริงๆ
แสดงความคิดเห็น
ไทยไม่เป็นเมืองขึ้นตะวันตกเพราะเป็นรัฐกันชน