“สำเนียง ส่อภาษา กริยา ส่อสกุล”
เรื่องน้ำเสียงของคนพูดกับคำพังเพยนี้ แม้จะมีส่วนถูกไปทางค่อนข้างมาก ก็มิได้หมายความว่านิสัยใจตอคนพูดจะเป็นไปในทางเดียวกับเสียงที่เขาเปล่งออกมา บางคนพูดจากระโชก โฮกฮาก แต่ใจดีเหลือล้น บางคนพูดจาหวานหู มิรู้หาย ใจคอกลับทมิฬหินชาติ หรือเป็นจำพวกคนปากหวานก้นเปรี้ยว ประมาณนั้น
แต่ถ้าเอามาเทียบเคียงกับหลัก นิรุกติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภูมิ-ประวัติศาสตร์ และ ภาษาศาสตร์ แล้ว สำเนียงพูดจะบอกได้อย่างค่อนข้างชัดเจนว่า เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นสำเนียงของคนชนชาติแถบไหน ภาคพื้นใด
อย่างพวกเรา คนเอเซียผิวสีดินหม้อใหม่บ้าง ผิวสีเหลืองบ้าง ตาดำ ผมดำ ได้ยินเสียงคนพูดถึงจะไม่เห็นหน้าก็จะบอกได้เลยว่า เสียงคนที่พูดอยู่นั้นเป็น “ฝรั่งอั้งม้อ”
จะฝรั่งชาติไหน เยอรมัน เยอรเผือก อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา ก็ไม่รู้ละ แต่รู้ว่าเป็นฝรั่ง . . . แหงม . . . แหงม . .(อันนี้สำหรับพื้นหูคนธรรมดาทั่วๆไปที่ไม่ค่อยได้ยินฝรั่งพูดและพูดฝรั่งไม่เป็น แต่คนเอเซียคนเดียวกันนี้ละหากได้ยิน แขกมลายู ไทย ญี่ปุ่น จีน พูดโดยไม่เห็นหน้าคนพูด ก็จะพอจะบอกได้ว่า เป็น แขก ญี่ปุ่น จีน หรือ ไทย ลาว
เสียงสาวๆญี่ปุ่น สำเนียงนุ๊งนิ๊งๆ น่ารัก ช้าๆ เบาๆ ขาวๆ ( . . . 5 5 5 ขาวๆ นี่ไม่เกี่ยวกัน...) เสียงสาวจีนก็เพราะนะ แต่ต้องแยกออกเป็นภาคๆ ว่ามาจากแผ่นดินส่วนใดของจีน เท่าที่ฟังๆ เสียงสาวจีนกลางนี่เพราะดี . . . อิ๊ เอ้อ ซัน เซ้อะ . . . หนึ่ง สอง สาม สี่ . . . หรือ เสี่ยวจิว (แต้จิ๋ว) เจ็ก น่อ ซา สี่ .... กั้วะไอ๊ดู่ ดู่ไอ๊กั่วะโบ่ ?. . .
ส่วนสาวไทยนั้น ต้องยกให้ สาวจาวเหนือละเจ๊า เสียงเย็นหวาน ชื่นใจ เมื่อเทียบกับสาวปักษ์ใต้บ้านเรา ...แม๊. . . . มันต่างกันจริงๆ แต่ตาคมนี่ยังไงก็สู้สาวคนสวยชาวใต้ไม่ได้หรอกจริงมั๊ย ? ก็เลือกกันเอาเองว่า ชอบสาวเสียงหวานเย็นหรือสาวตาคม เมื่อตอนไปเที่ยวลาว ประทับใจสุดๆ ไม่ว่า ผู้บ่าว ผู้สาว เวลาเขาทักทายเราเมื่อเจอกัน หรือจะกล่าวคำอำลา กับคำว่า “สบายดี” เสียงไม่สั้นๆ ห้วนๆ เหมือนกับคำพูด “สวัสดี” ของเรา เวลาพูดเขาจะออกเสียงตรงตัว “สะ” สั้นๆ แล้วทอดน้ำเสียงลากยาว ว ว ว ว ว ว . . . ตรงพยางค์ “บาย” และ “ดี” ฟังแล้ว . . . ชื่นจั๊ย . . . ชื่นใจ . . . เพราะคำว่า “สบายดี” นั้น ได้เปรียบในการเปล่งเสียงขึ้นต้นเบาๆให้อารมณ์แบบตัวเขบ็จชั้นเดียวของโน้ตดนตรี คือพยางค์ “สะ” สั้นๆ ซึ่งเป็นคำตาย ตามด้วยพยางค์ “บาย” “ดี” ที่ลากพยางค์เสียงยาวๆ ได้ ในชุดของ แม่กา แม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกว
กลับมาฟัง คำว่า “สวัสดี” โดนคำตายเข้าไปสองพยางค์ “สะ” กับ หวัด” ทำให้ไม่อาจลากเสียงยาวๆแบบคำว่า “สบายดี” ที่มีคำเป็นลากยาวต่อท้ายถึงสองพยางค์ ไม่เชื่อก็ลองดูสิครับ ออกเสียง “สะ” สั้นๆ แล้วพยายามลากให้พยางค์ “หวัด” ยาวๆ เพื่อประสานกับ “ดี” ยาวๆ ฟังแล้ว. . . กระด๊าก กระดาก จั๊กจี้รูหู . . .
พูดถึงเรื่องเสียงพูด ต้องคุยถึงเสียงดนตรีบ้าง
ผลที่ได้จากทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า ร่วมกับท่วงทำนองการตั้ง Key “บันไดเสียง” นี่ก็บอกถึงชาติถึงตระกูล เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงภาษาได้อย่างชัดเจนที่สุด เสียงและเครื่องดนตรีของชาวมงโกลจะแผดเร้า สะท้านสะเทือน ฉ่าง ๆ ๆ ๆ ครึกครื้น ก็ขึ้นกับพื้นที่สภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยของชาวมงโกลเป็นทุ่งกว้าง โล่ง จะมาใช้เครื่องงดนตรีนิ่มๆ เบาๆ ร้องเพลงเสียงเย็นๆ เนิบๆ คลื่นเสียงเพลงมันจะถูกดูดซับหายไปกับความเวิ้งว้างของท้องทุ่งหญ้าและความเวิ้งว้างของทะเลทรายไปหมด แบบเดียวกับการยิงแสงจากแฟลชออโต้ถ่ายภาพบุคคลซึ่งยืนไกลออกไปสักหน่อยในพื้นที่นอกอาคารโล่งๆ แสงแฟลชมันจะถูกดูดกลืนหายไปกับฉากหลังโล่งนั่น ต้องชดเชยแสงแฟลชให้ปล่อยออกมามากขึ้น เครื่องดนตรีและบทเพลงพื้นเมืองของชาวอาทิตยย์อุทัย ฟังเย็นๆ สะท้อนลึกๆเข้าไปในอารมณ์ เพราะบันไดเสียงอยู่ในกลุ่มของไมเนอร์ เมื่อหูคนไทยหรือคนฝรั่งซึ่งเคยชินกับบันไดเสียงเมเจอร์ได้ยิน ก็จะรู้สึกสะดุด แปลกหู แต่ต้องไม่ใช่เพลงญี่ปุ่นสมัยใหม่ วงสตริง วงแจ๊ส นะ
เวลาไปไหนมาไหน ขับรถไกลๆ ผมจะพกซีดีของโปรดไปด้วยห้าหกแผ่น อย่างชุด “คีทาโร” ที่มีอยู่สามอัลบั้มนี่สุดยอดเลย ฟังเท่าไรก็ไม่เบื่อ บางทีนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ต้องใช้สมาธิในการคิดงานมากๆ จะเปิดเพลงคีทาโร คลอไปด้วยทำงานไปด้วย สมาธิจะดีขึ้น เพลงที่ชอบมากๆ ก็ “Matsuri” กับ “Earth born” แผ่นอื่นๆจะเป็นเพลงประเภท สล้อ ซอ ซึง ทางล้านนา แคน โปงลาง ของหมู่เฮา ตะ ละ แลน แตแล้นน น น น . . . แตร่แลน . . . ปี่พาทย์ เดี่ยวระนาดเอก แล้วก็ ฮะแอ้ม ! สุนทราภรณ์ . . .
ที่จริงเพลงแจ๊สก็ชอบ ยิ่งถ้าเป็นโซโล่ด้วยแซกโซโฟน เปิดวอลุ่มดังๆ เน้นไลน์แทรคเบสสักหน่อย ปรับเสียงสูงสักนิด ตอนขับรถไต่เขา ถนนหักศอก คดโค้ง วิวทิวทัศศน์สวยๆประกอบกันชวนให้ “เชนเกียร์” กันสนุกมือ ให้อารมณ์อย่างกับดูภาพยนตร์จอกว้างเสียงสเตอริโอรอบทิศทาง !
ส่วนเพลงไทยสากลอื่นๆ ยุคเดี๋ยวนี้ ไม่เกรงใจกันเลยถ้าจะบอกความจริงในความรู้สึกส่วนตัวว่า ทั้งนักร้อง วงดนตรีสมัยนี้เล่นกันเหมือนลิงเมาหล้า โป๊ง ฉึ่งๆ ได้รสชาดแบบจั้งค์ฟู้ด หรือจำใจต้องกินข้าวมันไก่ตามฟาสต์ฟู้ดห้างสรรพสินค้า ยัดๆ ใส่ๆ เข้าไป รสชาด ความสุนทรีความเป็นศิลปะเหือดหาย
เอางี้ก็แล้วกัน ! ลองนึกถึงเพลงไทยสากลสมัยใหม่ที่คิดว่าน่าจะไพเราะ น่าประทับใจของปีกลายได้ไหม ว่ามีเพลงอะไรบ้าง ?
... จำได้ป่า ว ว ว ? ...
แต่ละเพลงมัน ง๊องแง๊งๆ สักแต่ว่าเอาการตลาด เอาการโปรโมทเข้ามาทำ ไม่ได้ขึ้นชั้นติดชาร์ตเหมือนเพลงไทยสากลสมัยก่อนที่ต้องดีด้วยตัวมันเอง
เรื่องของเพลงและดนตรี อารมณ์ที่สอดใส่ให้สวยงามอยู่ตรงไหน ?
ชนิดของเครื่องเล่น ดีด สี ตี เป่า เพลงเดียวกันแต่ใช้เครื่องดนตรีต่างประเภท นี่ก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างของการสร้างอารมณ์ มาถึงยุคการฟังจากแผ่นออดิโด นี่ยิ่งชัดเจน เพลงจากเครื่องเสียงสุดยอดๆเป็นเครื่องเล่นดิจิตอลเอาไปเทียบกับเพลงจากแผ่นเสียง โอ๊ย ย ย ย. . . ฟัง “ฉ่ำ” ผิดหูกันเลยเชียวละ ไม่ใช่ว่าเครื่องเสียงดิจิตอลให้เพลงไม่เพราะ แต่อารมณ์...อารมณ์หูที่ฟังมันต่างกันจริงๆ
ครูนคร ถนอมทรัพย์ พูดกับผมว่า
“นี่นะ มังกร ครูฟังยังไง แผ่นออดิโอ ซีดี ยังไงก็สู้ฟังจากแผ่นเสียงไม่ได้ แค่เทปคาสเซ็ทก็ยังดีซะกว่า”
อารมณ์ของเพลง ยังมาจากการเล่นบันไดเสียง การเล่นตัวโน้ต สั้น ยาว เสลอ หยุด เบา หนัก ฯลฯ
ตอนที่เรียนชั้นมัธยมเป็นมือกลองตะละแล๊กแต็กชึ่ง “วงดุริยางค์”ที่เดี๋ยวนี้เรียกกันว่า “วงโยธวาทิต” เพลงที่ชอบมากคือ “มาร์ชชิ่งจอเจียร์” ซึ่งคนไทยสมัยโบราณ (กลางยุครัตนโกสินทร์) เอามาแปลงใส่เนื้อร้องเป็น “คุณหลวงๆ อยู่กระทรวงมหาดไทย” จากจังหวะตอนต้นของท่อนที่กระแทกกระทั้นตามมาด้วยท่อนแยก เบาๆ นิ่มๆ มือกลองนี่ต้องค่อยๆ ประจงลงไม้กลองแผ่วๆ ให้เข้ากับอารมณ์เพลงตามที่ผู้ควบคุมวงให้สัญญาณมือ
อารมณ์เพลง ยังมาจาก ท่วงทำนอง เมโลดี เนื้อร้อง และลักษณะเสียง บาริโทน โซปราโน ฯลฯ ของนักร้อง
... แหะ ๆ . . . . . และ แบคกราวนด์ของคนฟังด้วยครับ !
แล้วหากพูดถึงการถ่ายภาพ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ “อารมณ์เสียง” มั๊ย ?
เกี่ยวสิครับ ท่าน ! ภาพถ่ายนอกจากจะสวยงามเพราะองค์ประกอบ เรื่องราว ฯลฯ สิ่งที่สำคัญมากๆ เรียกว่ามากที่สุดคือ “อารมณ์แสง”
ภาพถ่ายหากมีการให้แสงที่สวยงาม เล่นกับปริมาณแสง จังหวะแสง ชนิดของแสง มันก็เหมือนกับเนื้อร้องและตัวโน้ต ตัวกลม ตัวดำ ตัวขาว เขบ็จ ตัวหยุด เสลอ ที่ถูกจัดวางมาอย่างดีแล้วบนสเกลและบาร์ของบทเพลง ซึ่งจะไพเราะเพราะพริ้ง ให้อารมณ์หลากหลาย ก็ขึ้นอยู่กับเสียง น้ำเสียง ของนักร้อง ชนิดของเครื่องดนตรี และจังหวะลีลาที่เสียงถ่ายทอดออกมา
คนที่เล่นดนตรี เขามักจะพูดกันถึงเรื่อง แสง สี ในบทเพลงนั้นๆ นั่นละเป็นความหมายเดียวกันกับสิ่งต่างๆที่เราใส่ลงในภาพถ่าย ซึ่งกว่าจะพิมพ์มาถึงบรรทัดนี้โดยเล่าเรื่องอารมณ์ของเสียงเพลงปูเรื่องมาก่อน ก็เพื่อให้ได้เห็นภาพรวมของงานศิลปะแขนงต่างๆว่าที่แท้จริงมันเป็นเนื้อเดียวกัน หากว่าทำสมาธิฟังเพลงและมองให้เห็นความงามที่มีสีสันอยู่ในเพลงแต่ละเพลง มันจะช่วยให้เรามีอารมณ์ มีจินตนาการ ความละเอียดอ่อน ในการจัดวางท่วงทำนอง ลีลาขององค์ประกอบต่างๆที่อยู่ในภาพมากขึ้น
อย่าทำให้ภาพถ่ายของคุณ เป็นหนังใบ้ หรือหนังเงียบ มีแต่เรื่องราวที่วิ่งผ่านไปแต่ละเฟรมของ 25 เฟรมใน PAL หรือ 29.9 เฟรมใน NTSC แล้วก็ผ่านเลยไปแบบแห้งๆ ไม่สนุกเลยใช่ไหมครับ ? ดูภาพยนตร์ให้สนุกต้องมีเสียงประกอบด้วย
จังหวะหยุดเงียบบางตอนในภาพยนตร์ ก็คือเสียง มันคือ “เสียงเงียบ” ในภาพถ่ายก็มีเสียงเงียบ พื้นที่ดำสนิทนั่นอย่างไรล่ะในความมืดไม่มีอะไร มันก็คือไม่มีอะไร ไม่มีเสียง
ภาพถ่ายบางภาพต้องมีส่วนมืดมากๆ สักหน่อย เหมือนกับภาพยนตร์บางตอนที่นำสายตาเราไปวางไว้ในฉากมืดๆ นานๆ เพื่อให้ลุ้นระทึก และสงสัยว่าในความมืดนั้น มันมีอะไร ?
ยังอีกเรื่องหนึ่งที่ขอขมวดปมไว้ตอนท้ายของบทความชิ้นนี้ นั่นคือ เรื่องของ Font / รูปแบบของตัวอักษร และ การจัดวางหน้าสิ่งพิมพ์
เรื่องของการจัดหน้าสิ่งพิมพ์ ก็เหมือนกับการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ลงในเฟรมภาพถ่าย ในหน้าหนึ่งๆ หรือหน้าเปิดคู่กัน มันมีการถ่วงน้ำหนัก มีน้ำหนัก (คล้ายๆ การวางจุดเด่นในภาพถ่าย) มีเรื่องของ ชนิดเส้น และ อุณหภูมิสี บางคนที่จัดวางหน้าสิ่งพิมพ์สวยๆ เขาจะทำให้มันเหมือนกับว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนกระดาษแผ่นนั้น ไม่ใช่แค่ตัวหนังสือและภาพถ่ายประกอบที่มีลักษณะ “นิ่งๆ” บางคนจัดหน้าทำอาร์ตเวิร์คน่ารักๆ เหมือนกับเราถ่ายภาพสาวน้องคิขุอาโนเนะ กราฟิคอาร์ตบางคนจัดหน้าสิ่งพิมพ์ให้สี เส้น องค์ประกอบ หนักแน่น เหมือนกับถ่ายภาพเขาทราย กาแลกซี่
แต่จะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงมากๆ คือ กำลังทำอาร์ตเวิร์คสิ่งพิมพ์เนื้อหา รูปแบบใด มันคงดูแปลกๆ พิลึก หากจะจัดหน้าสิ่งพิมพ์ นิตยสาร สำหรับกลุ่มผู้หญิง ซึ่งมีเนื้อหาการเย็บปักถักร้อย ทำอาหาร เสริมสวย แต่จัดหน้าให้ความรู้สึก “ปึ้กปั้ก” มันคงไม่ผิดอะไรกับจับเอา “น้องเชียร์” ทิฆัมพร แต่งชุดห้าวๆ ล่ำๆ
หรือทำหนังสือผู้ชาย รถยนต์โฟร์วีลด์ แต่จัดหน้าสิ่งพิมพ์อ่อนหวาน ยังกับถ่ายภาพ เขาทราย กาแลกซี่ ในชุดทูพีชของ วาโก้
. . . . มันคงแปลกดี นะ ฮ้า า า า า า า . . . . !! 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5
อืมม์ . . . แต่ถ้าจะทำ เพราะมีจุดประสงค์ที่แน่วแน่อย่างใดอย่างหนึ่ง นี่ต้องยกเว้น
แล้วเรื่องของ Font ล่ะ ?
การจัดหน้าสิ่งพิมพ์ ก็เช่นเดียวกันกับ อย่าทำให้ภาพถ่ายเป็น “หนังเงียบ” ต้องทำให้คนอ่านไม่รู้สึกว่า “แค่อ่านตัวหนังสือ” เพื่อเอาใจความจะต้องทำให้เสมือนหนึ่งว่า สิ่งพิมพ์ชิ้นนั้น มีชีวิตจิตใจ มีวิญาณ
และ ..เป็นสิ่งพิมพ์ที่ ... “พูดได้ !”
Font นี่ละช่วยได้มาก Font แต่ละตัวมันเหมมือนกำลังพูดอะไรออกมา ชนิดลักษณะของ Type หรือที่เรียกว่า Font แต่ละตัวนั้น มันคล้ายๆกับ “น้ำเสียง” ในอารมณ์ต่างๆ ทั้งตะโกน กึกก้อง อ่อนหวาน ขี้เล่น ฯลฯ
ตัวหนังสือที่เป็นหัวข้อ พาดหัว หรือชื่อของแมกกาซีน หนังสือพิมพ์ ต้องมีเอกลักษณ์ที่แสดงออกถึงตัวตนอย่างชัดเจน เป็นหนังสือหมัดๆ มวยๆ กลับใช้ตัว Fonts ทำหัวหนังสือหน้าปกสไตล์พลิ้วๆ หรือเป็นหนังสือเกี่ยวกับอสังหา ธุรกิจ เศรษฐกิจ หากใช้ Fonts ตัวอ่อนโยนมันก็ลดพลังลงไปในตัวมันเอง
ดูตัวอย่าง หัวหนังสือพิมพืไทยรัฐจึงดูทรงพลัง มีอำนาจ ดูใหญ่ วางเทียบบนแผงหนังสือพิมพ์ด้วยกันข่มหนังสือพิมพ์อื่นๆ จ๋อย
ในหน้าสิ่งพิมพ์ที่มีแต่ตัวหนังสือ...“แบบเดียว” เท่ากันเป็นพื ด ด ด ด ด ด . . . . .ไปหมดทั้งหน้า มันเหมือนกับฟังวิทยากรหรืออาจารย์ที่บรรยายหน้าชั้น พูดด้วย “น้ำเสียง” สำเนียงเดียวกัน ตั้งแต่คาบแรก จนคาบที่ห้า คาบสุดท้าย สามชั่วโมงเต็มๆ
มันน่าเบื่อ ชวนหลับ ใช่หรือเปล่า ?
ทำไมไม่ใช้ Font ที่แตกต่างออกไปบ้าง เพื่อให้คนอ่านรู้สึกว่า “กำลังพูดคุย” โต้ตอบกับสิ่งพิมพ์ ซึ่งส่งสำเนียง น้ำเสียง อารมณ์ต่างๆผ่านลักษณะรูปแบบของ Font ?
แต่...แต่อย่าเชียวนะ ! อย่าได้ใช้อารมณ์อันหลากหลายประเดประดังใส่ Font...มันจะเละ!
อารมณ์ศิลป์
เรื่องน้ำเสียงของคนพูดกับคำพังเพยนี้ แม้จะมีส่วนถูกไปทางค่อนข้างมาก ก็มิได้หมายความว่านิสัยใจตอคนพูดจะเป็นไปในทางเดียวกับเสียงที่เขาเปล่งออกมา บางคนพูดจากระโชก โฮกฮาก แต่ใจดีเหลือล้น บางคนพูดจาหวานหู มิรู้หาย ใจคอกลับทมิฬหินชาติ หรือเป็นจำพวกคนปากหวานก้นเปรี้ยว ประมาณนั้น
แต่ถ้าเอามาเทียบเคียงกับหลัก นิรุกติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภูมิ-ประวัติศาสตร์ และ ภาษาศาสตร์ แล้ว สำเนียงพูดจะบอกได้อย่างค่อนข้างชัดเจนว่า เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นสำเนียงของคนชนชาติแถบไหน ภาคพื้นใด
อย่างพวกเรา คนเอเซียผิวสีดินหม้อใหม่บ้าง ผิวสีเหลืองบ้าง ตาดำ ผมดำ ได้ยินเสียงคนพูดถึงจะไม่เห็นหน้าก็จะบอกได้เลยว่า เสียงคนที่พูดอยู่นั้นเป็น “ฝรั่งอั้งม้อ”
จะฝรั่งชาติไหน เยอรมัน เยอรเผือก อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา ก็ไม่รู้ละ แต่รู้ว่าเป็นฝรั่ง . . . แหงม . . . แหงม . .(อันนี้สำหรับพื้นหูคนธรรมดาทั่วๆไปที่ไม่ค่อยได้ยินฝรั่งพูดและพูดฝรั่งไม่เป็น แต่คนเอเซียคนเดียวกันนี้ละหากได้ยิน แขกมลายู ไทย ญี่ปุ่น จีน พูดโดยไม่เห็นหน้าคนพูด ก็จะพอจะบอกได้ว่า เป็น แขก ญี่ปุ่น จีน หรือ ไทย ลาว
เสียงสาวๆญี่ปุ่น สำเนียงนุ๊งนิ๊งๆ น่ารัก ช้าๆ เบาๆ ขาวๆ ( . . . 5 5 5 ขาวๆ นี่ไม่เกี่ยวกัน...) เสียงสาวจีนก็เพราะนะ แต่ต้องแยกออกเป็นภาคๆ ว่ามาจากแผ่นดินส่วนใดของจีน เท่าที่ฟังๆ เสียงสาวจีนกลางนี่เพราะดี . . . อิ๊ เอ้อ ซัน เซ้อะ . . . หนึ่ง สอง สาม สี่ . . . หรือ เสี่ยวจิว (แต้จิ๋ว) เจ็ก น่อ ซา สี่ .... กั้วะไอ๊ดู่ ดู่ไอ๊กั่วะโบ่ ?. . .
ส่วนสาวไทยนั้น ต้องยกให้ สาวจาวเหนือละเจ๊า เสียงเย็นหวาน ชื่นใจ เมื่อเทียบกับสาวปักษ์ใต้บ้านเรา ...แม๊. . . . มันต่างกันจริงๆ แต่ตาคมนี่ยังไงก็สู้สาวคนสวยชาวใต้ไม่ได้หรอกจริงมั๊ย ? ก็เลือกกันเอาเองว่า ชอบสาวเสียงหวานเย็นหรือสาวตาคม เมื่อตอนไปเที่ยวลาว ประทับใจสุดๆ ไม่ว่า ผู้บ่าว ผู้สาว เวลาเขาทักทายเราเมื่อเจอกัน หรือจะกล่าวคำอำลา กับคำว่า “สบายดี” เสียงไม่สั้นๆ ห้วนๆ เหมือนกับคำพูด “สวัสดี” ของเรา เวลาพูดเขาจะออกเสียงตรงตัว “สะ” สั้นๆ แล้วทอดน้ำเสียงลากยาว ว ว ว ว ว ว . . . ตรงพยางค์ “บาย” และ “ดี” ฟังแล้ว . . . ชื่นจั๊ย . . . ชื่นใจ . . . เพราะคำว่า “สบายดี” นั้น ได้เปรียบในการเปล่งเสียงขึ้นต้นเบาๆให้อารมณ์แบบตัวเขบ็จชั้นเดียวของโน้ตดนตรี คือพยางค์ “สะ” สั้นๆ ซึ่งเป็นคำตาย ตามด้วยพยางค์ “บาย” “ดี” ที่ลากพยางค์เสียงยาวๆ ได้ ในชุดของ แม่กา แม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกว
กลับมาฟัง คำว่า “สวัสดี” โดนคำตายเข้าไปสองพยางค์ “สะ” กับ หวัด” ทำให้ไม่อาจลากเสียงยาวๆแบบคำว่า “สบายดี” ที่มีคำเป็นลากยาวต่อท้ายถึงสองพยางค์ ไม่เชื่อก็ลองดูสิครับ ออกเสียง “สะ” สั้นๆ แล้วพยายามลากให้พยางค์ “หวัด” ยาวๆ เพื่อประสานกับ “ดี” ยาวๆ ฟังแล้ว. . . กระด๊าก กระดาก จั๊กจี้รูหู . . .
พูดถึงเรื่องเสียงพูด ต้องคุยถึงเสียงดนตรีบ้าง
ผลที่ได้จากทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า ร่วมกับท่วงทำนองการตั้ง Key “บันไดเสียง” นี่ก็บอกถึงชาติถึงตระกูล เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงภาษาได้อย่างชัดเจนที่สุด เสียงและเครื่องดนตรีของชาวมงโกลจะแผดเร้า สะท้านสะเทือน ฉ่าง ๆ ๆ ๆ ครึกครื้น ก็ขึ้นกับพื้นที่สภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยของชาวมงโกลเป็นทุ่งกว้าง โล่ง จะมาใช้เครื่องงดนตรีนิ่มๆ เบาๆ ร้องเพลงเสียงเย็นๆ เนิบๆ คลื่นเสียงเพลงมันจะถูกดูดซับหายไปกับความเวิ้งว้างของท้องทุ่งหญ้าและความเวิ้งว้างของทะเลทรายไปหมด แบบเดียวกับการยิงแสงจากแฟลชออโต้ถ่ายภาพบุคคลซึ่งยืนไกลออกไปสักหน่อยในพื้นที่นอกอาคารโล่งๆ แสงแฟลชมันจะถูกดูดกลืนหายไปกับฉากหลังโล่งนั่น ต้องชดเชยแสงแฟลชให้ปล่อยออกมามากขึ้น เครื่องดนตรีและบทเพลงพื้นเมืองของชาวอาทิตยย์อุทัย ฟังเย็นๆ สะท้อนลึกๆเข้าไปในอารมณ์ เพราะบันไดเสียงอยู่ในกลุ่มของไมเนอร์ เมื่อหูคนไทยหรือคนฝรั่งซึ่งเคยชินกับบันไดเสียงเมเจอร์ได้ยิน ก็จะรู้สึกสะดุด แปลกหู แต่ต้องไม่ใช่เพลงญี่ปุ่นสมัยใหม่ วงสตริง วงแจ๊ส นะ
เวลาไปไหนมาไหน ขับรถไกลๆ ผมจะพกซีดีของโปรดไปด้วยห้าหกแผ่น อย่างชุด “คีทาโร” ที่มีอยู่สามอัลบั้มนี่สุดยอดเลย ฟังเท่าไรก็ไม่เบื่อ บางทีนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ต้องใช้สมาธิในการคิดงานมากๆ จะเปิดเพลงคีทาโร คลอไปด้วยทำงานไปด้วย สมาธิจะดีขึ้น เพลงที่ชอบมากๆ ก็ “Matsuri” กับ “Earth born” แผ่นอื่นๆจะเป็นเพลงประเภท สล้อ ซอ ซึง ทางล้านนา แคน โปงลาง ของหมู่เฮา ตะ ละ แลน แตแล้นน น น น . . . แตร่แลน . . . ปี่พาทย์ เดี่ยวระนาดเอก แล้วก็ ฮะแอ้ม ! สุนทราภรณ์ . . .
ที่จริงเพลงแจ๊สก็ชอบ ยิ่งถ้าเป็นโซโล่ด้วยแซกโซโฟน เปิดวอลุ่มดังๆ เน้นไลน์แทรคเบสสักหน่อย ปรับเสียงสูงสักนิด ตอนขับรถไต่เขา ถนนหักศอก คดโค้ง วิวทิวทัศศน์สวยๆประกอบกันชวนให้ “เชนเกียร์” กันสนุกมือ ให้อารมณ์อย่างกับดูภาพยนตร์จอกว้างเสียงสเตอริโอรอบทิศทาง !
ส่วนเพลงไทยสากลอื่นๆ ยุคเดี๋ยวนี้ ไม่เกรงใจกันเลยถ้าจะบอกความจริงในความรู้สึกส่วนตัวว่า ทั้งนักร้อง วงดนตรีสมัยนี้เล่นกันเหมือนลิงเมาหล้า โป๊ง ฉึ่งๆ ได้รสชาดแบบจั้งค์ฟู้ด หรือจำใจต้องกินข้าวมันไก่ตามฟาสต์ฟู้ดห้างสรรพสินค้า ยัดๆ ใส่ๆ เข้าไป รสชาด ความสุนทรีความเป็นศิลปะเหือดหาย
เอางี้ก็แล้วกัน ! ลองนึกถึงเพลงไทยสากลสมัยใหม่ที่คิดว่าน่าจะไพเราะ น่าประทับใจของปีกลายได้ไหม ว่ามีเพลงอะไรบ้าง ?
... จำได้ป่า ว ว ว ? ...
แต่ละเพลงมัน ง๊องแง๊งๆ สักแต่ว่าเอาการตลาด เอาการโปรโมทเข้ามาทำ ไม่ได้ขึ้นชั้นติดชาร์ตเหมือนเพลงไทยสากลสมัยก่อนที่ต้องดีด้วยตัวมันเอง
เรื่องของเพลงและดนตรี อารมณ์ที่สอดใส่ให้สวยงามอยู่ตรงไหน ?
ชนิดของเครื่องเล่น ดีด สี ตี เป่า เพลงเดียวกันแต่ใช้เครื่องดนตรีต่างประเภท นี่ก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างของการสร้างอารมณ์ มาถึงยุคการฟังจากแผ่นออดิโด นี่ยิ่งชัดเจน เพลงจากเครื่องเสียงสุดยอดๆเป็นเครื่องเล่นดิจิตอลเอาไปเทียบกับเพลงจากแผ่นเสียง โอ๊ย ย ย ย. . . ฟัง “ฉ่ำ” ผิดหูกันเลยเชียวละ ไม่ใช่ว่าเครื่องเสียงดิจิตอลให้เพลงไม่เพราะ แต่อารมณ์...อารมณ์หูที่ฟังมันต่างกันจริงๆ
ครูนคร ถนอมทรัพย์ พูดกับผมว่า
“นี่นะ มังกร ครูฟังยังไง แผ่นออดิโอ ซีดี ยังไงก็สู้ฟังจากแผ่นเสียงไม่ได้ แค่เทปคาสเซ็ทก็ยังดีซะกว่า”
อารมณ์ของเพลง ยังมาจากการเล่นบันไดเสียง การเล่นตัวโน้ต สั้น ยาว เสลอ หยุด เบา หนัก ฯลฯ
ตอนที่เรียนชั้นมัธยมเป็นมือกลองตะละแล๊กแต็กชึ่ง “วงดุริยางค์”ที่เดี๋ยวนี้เรียกกันว่า “วงโยธวาทิต” เพลงที่ชอบมากคือ “มาร์ชชิ่งจอเจียร์” ซึ่งคนไทยสมัยโบราณ (กลางยุครัตนโกสินทร์) เอามาแปลงใส่เนื้อร้องเป็น “คุณหลวงๆ อยู่กระทรวงมหาดไทย” จากจังหวะตอนต้นของท่อนที่กระแทกกระทั้นตามมาด้วยท่อนแยก เบาๆ นิ่มๆ มือกลองนี่ต้องค่อยๆ ประจงลงไม้กลองแผ่วๆ ให้เข้ากับอารมณ์เพลงตามที่ผู้ควบคุมวงให้สัญญาณมือ
อารมณ์เพลง ยังมาจาก ท่วงทำนอง เมโลดี เนื้อร้อง และลักษณะเสียง บาริโทน โซปราโน ฯลฯ ของนักร้อง
... แหะ ๆ . . . . . และ แบคกราวนด์ของคนฟังด้วยครับ !
แล้วหากพูดถึงการถ่ายภาพ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ “อารมณ์เสียง” มั๊ย ?
เกี่ยวสิครับ ท่าน ! ภาพถ่ายนอกจากจะสวยงามเพราะองค์ประกอบ เรื่องราว ฯลฯ สิ่งที่สำคัญมากๆ เรียกว่ามากที่สุดคือ “อารมณ์แสง”
ภาพถ่ายหากมีการให้แสงที่สวยงาม เล่นกับปริมาณแสง จังหวะแสง ชนิดของแสง มันก็เหมือนกับเนื้อร้องและตัวโน้ต ตัวกลม ตัวดำ ตัวขาว เขบ็จ ตัวหยุด เสลอ ที่ถูกจัดวางมาอย่างดีแล้วบนสเกลและบาร์ของบทเพลง ซึ่งจะไพเราะเพราะพริ้ง ให้อารมณ์หลากหลาย ก็ขึ้นอยู่กับเสียง น้ำเสียง ของนักร้อง ชนิดของเครื่องดนตรี และจังหวะลีลาที่เสียงถ่ายทอดออกมา
คนที่เล่นดนตรี เขามักจะพูดกันถึงเรื่อง แสง สี ในบทเพลงนั้นๆ นั่นละเป็นความหมายเดียวกันกับสิ่งต่างๆที่เราใส่ลงในภาพถ่าย ซึ่งกว่าจะพิมพ์มาถึงบรรทัดนี้โดยเล่าเรื่องอารมณ์ของเสียงเพลงปูเรื่องมาก่อน ก็เพื่อให้ได้เห็นภาพรวมของงานศิลปะแขนงต่างๆว่าที่แท้จริงมันเป็นเนื้อเดียวกัน หากว่าทำสมาธิฟังเพลงและมองให้เห็นความงามที่มีสีสันอยู่ในเพลงแต่ละเพลง มันจะช่วยให้เรามีอารมณ์ มีจินตนาการ ความละเอียดอ่อน ในการจัดวางท่วงทำนอง ลีลาขององค์ประกอบต่างๆที่อยู่ในภาพมากขึ้น
อย่าทำให้ภาพถ่ายของคุณ เป็นหนังใบ้ หรือหนังเงียบ มีแต่เรื่องราวที่วิ่งผ่านไปแต่ละเฟรมของ 25 เฟรมใน PAL หรือ 29.9 เฟรมใน NTSC แล้วก็ผ่านเลยไปแบบแห้งๆ ไม่สนุกเลยใช่ไหมครับ ? ดูภาพยนตร์ให้สนุกต้องมีเสียงประกอบด้วย
จังหวะหยุดเงียบบางตอนในภาพยนตร์ ก็คือเสียง มันคือ “เสียงเงียบ” ในภาพถ่ายก็มีเสียงเงียบ พื้นที่ดำสนิทนั่นอย่างไรล่ะในความมืดไม่มีอะไร มันก็คือไม่มีอะไร ไม่มีเสียง
ภาพถ่ายบางภาพต้องมีส่วนมืดมากๆ สักหน่อย เหมือนกับภาพยนตร์บางตอนที่นำสายตาเราไปวางไว้ในฉากมืดๆ นานๆ เพื่อให้ลุ้นระทึก และสงสัยว่าในความมืดนั้น มันมีอะไร ?
ยังอีกเรื่องหนึ่งที่ขอขมวดปมไว้ตอนท้ายของบทความชิ้นนี้ นั่นคือ เรื่องของ Font / รูปแบบของตัวอักษร และ การจัดวางหน้าสิ่งพิมพ์
เรื่องของการจัดหน้าสิ่งพิมพ์ ก็เหมือนกับการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ลงในเฟรมภาพถ่าย ในหน้าหนึ่งๆ หรือหน้าเปิดคู่กัน มันมีการถ่วงน้ำหนัก มีน้ำหนัก (คล้ายๆ การวางจุดเด่นในภาพถ่าย) มีเรื่องของ ชนิดเส้น และ อุณหภูมิสี บางคนที่จัดวางหน้าสิ่งพิมพ์สวยๆ เขาจะทำให้มันเหมือนกับว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนกระดาษแผ่นนั้น ไม่ใช่แค่ตัวหนังสือและภาพถ่ายประกอบที่มีลักษณะ “นิ่งๆ” บางคนจัดหน้าทำอาร์ตเวิร์คน่ารักๆ เหมือนกับเราถ่ายภาพสาวน้องคิขุอาโนเนะ กราฟิคอาร์ตบางคนจัดหน้าสิ่งพิมพ์ให้สี เส้น องค์ประกอบ หนักแน่น เหมือนกับถ่ายภาพเขาทราย กาแลกซี่
แต่จะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงมากๆ คือ กำลังทำอาร์ตเวิร์คสิ่งพิมพ์เนื้อหา รูปแบบใด มันคงดูแปลกๆ พิลึก หากจะจัดหน้าสิ่งพิมพ์ นิตยสาร สำหรับกลุ่มผู้หญิง ซึ่งมีเนื้อหาการเย็บปักถักร้อย ทำอาหาร เสริมสวย แต่จัดหน้าให้ความรู้สึก “ปึ้กปั้ก” มันคงไม่ผิดอะไรกับจับเอา “น้องเชียร์” ทิฆัมพร แต่งชุดห้าวๆ ล่ำๆ
หรือทำหนังสือผู้ชาย รถยนต์โฟร์วีลด์ แต่จัดหน้าสิ่งพิมพ์อ่อนหวาน ยังกับถ่ายภาพ เขาทราย กาแลกซี่ ในชุดทูพีชของ วาโก้
. . . . มันคงแปลกดี นะ ฮ้า า า า า า า . . . . !! 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5
อืมม์ . . . แต่ถ้าจะทำ เพราะมีจุดประสงค์ที่แน่วแน่อย่างใดอย่างหนึ่ง นี่ต้องยกเว้น
แล้วเรื่องของ Font ล่ะ ?
การจัดหน้าสิ่งพิมพ์ ก็เช่นเดียวกันกับ อย่าทำให้ภาพถ่ายเป็น “หนังเงียบ” ต้องทำให้คนอ่านไม่รู้สึกว่า “แค่อ่านตัวหนังสือ” เพื่อเอาใจความจะต้องทำให้เสมือนหนึ่งว่า สิ่งพิมพ์ชิ้นนั้น มีชีวิตจิตใจ มีวิญาณ
และ ..เป็นสิ่งพิมพ์ที่ ... “พูดได้ !”
Font นี่ละช่วยได้มาก Font แต่ละตัวมันเหมมือนกำลังพูดอะไรออกมา ชนิดลักษณะของ Type หรือที่เรียกว่า Font แต่ละตัวนั้น มันคล้ายๆกับ “น้ำเสียง” ในอารมณ์ต่างๆ ทั้งตะโกน กึกก้อง อ่อนหวาน ขี้เล่น ฯลฯ
ตัวหนังสือที่เป็นหัวข้อ พาดหัว หรือชื่อของแมกกาซีน หนังสือพิมพ์ ต้องมีเอกลักษณ์ที่แสดงออกถึงตัวตนอย่างชัดเจน เป็นหนังสือหมัดๆ มวยๆ กลับใช้ตัว Fonts ทำหัวหนังสือหน้าปกสไตล์พลิ้วๆ หรือเป็นหนังสือเกี่ยวกับอสังหา ธุรกิจ เศรษฐกิจ หากใช้ Fonts ตัวอ่อนโยนมันก็ลดพลังลงไปในตัวมันเอง
ดูตัวอย่าง หัวหนังสือพิมพืไทยรัฐจึงดูทรงพลัง มีอำนาจ ดูใหญ่ วางเทียบบนแผงหนังสือพิมพ์ด้วยกันข่มหนังสือพิมพ์อื่นๆ จ๋อย
ในหน้าสิ่งพิมพ์ที่มีแต่ตัวหนังสือ...“แบบเดียว” เท่ากันเป็นพื ด ด ด ด ด ด . . . . .ไปหมดทั้งหน้า มันเหมือนกับฟังวิทยากรหรืออาจารย์ที่บรรยายหน้าชั้น พูดด้วย “น้ำเสียง” สำเนียงเดียวกัน ตั้งแต่คาบแรก จนคาบที่ห้า คาบสุดท้าย สามชั่วโมงเต็มๆ
มันน่าเบื่อ ชวนหลับ ใช่หรือเปล่า ?
ทำไมไม่ใช้ Font ที่แตกต่างออกไปบ้าง เพื่อให้คนอ่านรู้สึกว่า “กำลังพูดคุย” โต้ตอบกับสิ่งพิมพ์ ซึ่งส่งสำเนียง น้ำเสียง อารมณ์ต่างๆผ่านลักษณะรูปแบบของ Font ?
แต่...แต่อย่าเชียวนะ ! อย่าได้ใช้อารมณ์อันหลากหลายประเดประดังใส่ Font...มันจะเละ!