นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อวันศุกร์ (21 ม.ค.) เพื่อยื่นคำร้องให้สอบสวนพรรคพลังประชารัฐ จากการลงมติขับไล่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 21 คน ที่มี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส. จ.พะเยา เขต 1 รวมอยู่ด้วยนั้น ให้ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค เมื่อช่วงที่ผ่านมาของสัปดาห์เดียวกัน
เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยรายนี้ ให้ความเห็นว่า การขับไล่ดังกล่าวมีประเด็นที่สร้างความน่าสงสัย 4 ข้อ ดังนี้
1. การอ้างว่า ส.ส. กลุ่มดังกล่าวเสนอให้ปรับโครงสร้างของพรรคนั้นผิดข้อบังคับของพรรคจุดใดจึงต้องขับไล่ออกจากพรรค
2. คณะกรรมการบริหารพรรคและ ส.ส. ที่มาร่วมลงมติขับไล่ดังกล่าว มีจำนวนครบองค์ประชุมหรือไม่
3. การขับไล่ดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ เพราะไม่พบว่ามีการตั้งคณะกรรมการมาสอบสวน ส.ส. กลุ่มนี้
4. ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ที่ถูกขับออกไปนั้น จะพ้นสภาพหรือไม่
มติการขับไล่ ส.ส. กลุ่มดังกล่าว ที่มี ร.อ.ธรรมนัส รวมอยู่ด้วยนั้น ให้ออกจากพรรคพลังประชารัฐ เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งซ่อม ที่ จ.ชุมพร และ จ.สงขลา เมื่อวันอาทิตย์ (16 ม.ค.)
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอีกพรรคหนึ่ง ชนะการเลือกตั้งทั้ง 2 เขตเลือกตั้งดังกล่าว ส่งผลให้ ร.อ.ธรรมนัส ที่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐหาเสียงใน 2 พื้นที่นี้ตกเป็นเป้าโจมตีว่าต้องรับผิดชอบต่อผลการเลือกตั้งหรือไม่
ที่ผ่านมา กลุ่ม ส.ส. ที่นำโดย ร.อ.ธรรมนัส ถูกจับตามองว่ามีความเห็นไม่ตรงกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จนมีกระแสข่าวเมื่อช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อช่วงต้นเดือน ก.ย. 2564 ว่า ส.ส. กลุ่มนี้อาจลงมติไม่สนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งต่อไป ก่อน ร.อ.ธรรมนัส ปฏิเสธกระแสข่าวดังกล่าว
ความขัดแย้งดังกล่าวดูเหมือนรุนแรงขึ้น จากการที่ ร.อ.ธรรมนัส แถลงลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา
https://www.sanook.com/news/8506182/
ศรีสุวรรณบุก กกต. ยื่นสอบสวนพลังประชารัฐ ปมขับแก๊งธรรมนัสพ้นพรรค
เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยรายนี้ ให้ความเห็นว่า การขับไล่ดังกล่าวมีประเด็นที่สร้างความน่าสงสัย 4 ข้อ ดังนี้
1. การอ้างว่า ส.ส. กลุ่มดังกล่าวเสนอให้ปรับโครงสร้างของพรรคนั้นผิดข้อบังคับของพรรคจุดใดจึงต้องขับไล่ออกจากพรรค
2. คณะกรรมการบริหารพรรคและ ส.ส. ที่มาร่วมลงมติขับไล่ดังกล่าว มีจำนวนครบองค์ประชุมหรือไม่
3. การขับไล่ดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ เพราะไม่พบว่ามีการตั้งคณะกรรมการมาสอบสวน ส.ส. กลุ่มนี้
4. ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ที่ถูกขับออกไปนั้น จะพ้นสภาพหรือไม่
มติการขับไล่ ส.ส. กลุ่มดังกล่าว ที่มี ร.อ.ธรรมนัส รวมอยู่ด้วยนั้น ให้ออกจากพรรคพลังประชารัฐ เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งซ่อม ที่ จ.ชุมพร และ จ.สงขลา เมื่อวันอาทิตย์ (16 ม.ค.)
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอีกพรรคหนึ่ง ชนะการเลือกตั้งทั้ง 2 เขตเลือกตั้งดังกล่าว ส่งผลให้ ร.อ.ธรรมนัส ที่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐหาเสียงใน 2 พื้นที่นี้ตกเป็นเป้าโจมตีว่าต้องรับผิดชอบต่อผลการเลือกตั้งหรือไม่
ที่ผ่านมา กลุ่ม ส.ส. ที่นำโดย ร.อ.ธรรมนัส ถูกจับตามองว่ามีความเห็นไม่ตรงกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จนมีกระแสข่าวเมื่อช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อช่วงต้นเดือน ก.ย. 2564 ว่า ส.ส. กลุ่มนี้อาจลงมติไม่สนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งต่อไป ก่อน ร.อ.ธรรมนัส ปฏิเสธกระแสข่าวดังกล่าว
ความขัดแย้งดังกล่าวดูเหมือนรุนแรงขึ้น จากการที่ ร.อ.ธรรมนัส แถลงลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา
https://www.sanook.com/news/8506182/