รอบประจำเดือน ที่ถือว่าปกติอยู่ คือเคลื่อนเข้าหรือออกไม่เกิน 7 วัน หรืออยู่ในช่วง 21-35 วัน ในแต่ละช่วงอายุ ลักษณะประจำเดือนอาจแตกต่างกันได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเมื่อ 3 ปีก่อน ประจำเดือนมาทุก 25 วัน แต่ตอนนี้มาช้าลง เป็นทุก 35 วัน ถ้ายังมาสม่ำเสมอ ไม่มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน
“ถือว่าปกติ” อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอย่างแรกเมื่อประจำเดือนไม่มาตามปกติ ก็คือ
“เรามีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์รึเปล่า” ในวัยที่มีประจำเดือน หากมีเพศสัมพันธ์ก็อาจตั้งครรภ์ได้
(ต้องอย่าลืมว่าการคุมกำเนิด ไม่ว่าวิธีใดก็ไม่ได้คุมได้ 100%) ดังนั้นจึงควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อน หากไม่ตั้งครรภ์ ถึงจะไปพิจารณาสาเหตุอื่น ๆ
- สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของประจำเดือนไม่มาก็คือภาวะฮอร์โมนที่ไม่ปกติ เป็นได้ตั้งแต่สาเหตุง่าย ๆ เช่น มีภาวะเครียด ออกกำลังกายหักโหม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว พักผ่อนไม่เพียงพอ มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือการได้รับฮอร์โมนมาก่อนหน้านี้ เช่น การใช้ยาคุมฉุกเฉิน หรือการกินยาคุมต่อเนื่องนานๆประจำเดือนอาจมาน้อยลงได้ การฉีดยาคุม ก็จะทำให้ไม่มีประจำเดือนได้
- ภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยก็คือ ภาวะการไม่ตกไข่เรื้อรัง (Anovulation) ซึ่งพบได้ใน PCOS หรือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ มักจะมาด้วยอาการประจำเดือนไม่มา สิวขึ้น หน้ามัน ขนดก
ดังนั้น หากประจำเดือนมาไม่ตรงรอบหรือมีอาการสงสัยอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนมากระปริบกระปรอย ปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ แนะนำมาพบแพทย์สูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจวินิฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดจะดีที่สุด
ข้อมูลโดย
พญ. จุฑาธิป พูนศรัทธา สูติ-นรีเวชวิทยา การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
ประจำเดือนเคลื่อน อันตรายหรือเปล่า ?
- สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของประจำเดือนไม่มาก็คือภาวะฮอร์โมนที่ไม่ปกติ เป็นได้ตั้งแต่สาเหตุง่าย ๆ เช่น มีภาวะเครียด ออกกำลังกายหักโหม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว พักผ่อนไม่เพียงพอ มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือการได้รับฮอร์โมนมาก่อนหน้านี้ เช่น การใช้ยาคุมฉุกเฉิน หรือการกินยาคุมต่อเนื่องนานๆประจำเดือนอาจมาน้อยลงได้ การฉีดยาคุม ก็จะทำให้ไม่มีประจำเดือนได้
- ภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยก็คือ ภาวะการไม่ตกไข่เรื้อรัง (Anovulation) ซึ่งพบได้ใน PCOS หรือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ มักจะมาด้วยอาการประจำเดือนไม่มา สิวขึ้น หน้ามัน ขนดก
ดังนั้น หากประจำเดือนมาไม่ตรงรอบหรือมีอาการสงสัยอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนมากระปริบกระปรอย ปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ แนะนำมาพบแพทย์สูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจวินิฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดจะดีที่สุด
ข้อมูลโดย พญ. จุฑาธิป พูนศรัทธา สูติ-นรีเวชวิทยา การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช