อยากทราบว่า ทำไมคนบางกลุ่มหรือสื่อบางสำนักถึงมีมุมมองเกี่ยวกับประเทศไทยที่แย่กว่าความเป็นจริง คือเท่าที่ติดตามมา (หลายท่านก็อาจสังเกตเห็นอย่างเดียวกัน) คือบางกลุ่มนำเสนอจนอาจเรียกได้ว่าพยายามจะให้ประเทศไทยดูแย่ให้ได้ ยกตัวอย่างเช่นคำพูดที่ว่า "โลกทิ้งไทยแล้ว" "เคยเท่าญี่ปุ่นตอนนี้เขานำไปไกลแล้ว" "ประเทศอื่นแซงไปแล้ว" "เขามองข้ามไปแล้ว" "ใกล้เป็นอย่างเวเนซุเอลาแล้ว" ฯลฯ ที่ไม่ดีนักคือสื่อ หรือแม้แต่นักธุรกิจ นักวิชาการที่คร่ำหวอดในวงการนี้ ควรจะรู้อะไรมากที่สุด เข้าใจมากที่สุด และควรอธิบายให้คนเข้าใจอย่างถูกต้อง ก็ยังมีส่วนที่ตอกย้ำหรือส่งเสริมให้ความเข้าใจผิดที่แย่กว่าความเป็นจริงเหล่านี้ยังคงอยู่ และยังส่งต่อไปถึงชาวต่างชาติ ซึ่งจำนวนมากก็ไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับไทยมากนัก (ขนาดประเทศใหญ่ๆในเอเชียอย่างจีนหรือญี่ปุ่นที่ข้อมูลมากกว่าไทยก็ยังมีคนเข้าใจผิดเลย) พอมาพูดกับคนไทยบางกลุ่มก็เชื่อว่าชาวต่างชาติเขาคิดแบบนั้นจริงๆ เป็นความเข้าใจผิดหมุนเวียนไป
ความเข้าใจผิดเหล่านี้มีหลายท่านอธิบายไปแล้วในหลายกระทู้ จึงขออธิบายคร่าวๆดังนี้
1.แม้สยามและญี่ปุ่นเปิดประเทศพร้อมกัน แต่ญี่ปุ่นนั้นมีพื้นฐานที่ดีกว่าเลยไปได้ไกลกว่า
2.ฐานทางเศรษฐกิจของไทยและเวเนซุเอลานั้นต่างกัน จึงเทียบกันได้ยาก
3.ไทยไม่ได้เป็นประเทศค่าแรงต่ำแบบยุค 80s อีกแล้ว จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีการย้ายฐานการผลิต ที่จริงก็มีโรงงานใหม่ๆเปิดขึ้น เป็นเทคโนโลยีระดับที่สูงขึ้น ไทยเองก็เริ่มพัฒนาทุนของตัวเองเช่นกัน เพราะจะอิงนักลงทุนตลอดไปไม่ได้
4.ปัจจุบันไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลาง ไม่ได้รายได้ต่ำ รายได้มาจากทั้งอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว เกษตรกรรม ไม่ได้มาจากท่องเที่ยวหรือเกษตรกรรมมากอย่างที่หลายคนเข้าใจ
5.หลายประเทศที่ว่าไทยโดนแซง ความเป็นจริงไทยไม่เคยแซงประเทศเหล่านั้น อาจนำบางช่วง ปัจจุบันไทยเริ่มตามทันประเทศเหล่านั้นบ้างแล้ว
อีกข้อหนึ่งอันนี้ขออนุญาตครับ เห็นสำนักข่าวหนึ่งพูดทำนองว่าบทบาทไทยน้อยลงในอาเซียน เวทีเอเปคของไทยอาจได้รับความสนใจน้อยกว่า G20 ของอินโดนีเซียในปี 2022 ที่อินโดนีเซียกำลังเด่นในกรณีพม่า ความเป็นจริงคือทั้งไทยและอินโดนีเซียนั้นเป็นสองในห้าชาติผู้ก่อตั้งอาเซียน ช่วงที่นายพลซูฮาร์โตมีอำนาจ อินโดนีเซียค่อนข้างมีบทบาทเด่นในอาเซียน ไทยมามีบทบาทเด่นในอาเซียนช่วงยุค 90s ช่วงที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาอินโดนีเซียบทบาทลดลงช่วงยุค 2000s หลังยุคซูฮาร์โต ไทยมีบทบาทมาเรื่อยๆแม้จะมีช่วงตกหล่นบ้าง แต่ก็มีบทบาทมาตลอด โดยเฉพาะช่วงที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการอาเซียน คือบทบาทเด่นขึ้นสลับกันไปมาเป็นเรื่องปกติมาก ส่วนเรื่องเวทีนั้น ความจริงคือช่วงหลังเอเปคอาจไม่ได้เป็นจุดสนใจเท่ากับเวทีอื่นๆในภูมิภาค ทว่าก็ยังเป็นอีกเวทีที่คนไทยควรภูมิใจ ส่วนกรณีพม่านั้น ประเทศในอาเซียนที่อยู่ในแถบหมู่เกาะ หรือประเทศอื่นๆในโลกที่ไม่ได้มีพรมแดนติดกับพม่าพันกว่ากิโลเมตรย่อมแสดงท่าทีได้มากกว่า ในทางลึกไทยย่อมพยายามทำอะไรหลายๆอย่างเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายอยู่แล้วเพราะกระทบกับไทยโดยตรง แต่ไม่กระโตกกระตากเพราะเสี่ยงอันตรายกว่า เคยมีเหมือนกันที่ไทยแสดงออกค่อนข้างมาก คือในยุค 90s ผลคือยุคนั้นเป็นยุคที่ไทยกับพม่ามีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด มีปะทะกันที่พรมแดนบ่อยครั้ง ไม่แน่การแสดงออกของไทยอาจเหมาะสมกว่า
คหสต. การจะมีมุมมองเป็นเข่นไรนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนจะมีได้ แลัหบายๆอย่างในไทยอย่างความเหลื่อมล้ำ การกระจายรายได้ อาชญากรรม ความสะอาด คุณภาพประชากร ฯลฯ นั้นมีอยู่จริงและจำเป็นที่จะต้องแก้ไข ทว่าก็ไม่ควรมองว่าไทยแย่ทั้งหมด เพราะมันเกินจริง แน่นอนความจริงนั้นมีเพียงหนึ่งเดียว แต่ก็มีหบายด้านหลายมุม การทองแบะรู้จักเมืองไทยอย่างรอบด้าน ส่งเสริมสิ่งที่ดีอยู่แล้ว พัฒนาสิ่งที่ยังบกพร่องไปพร้อมๆกันน่าจะดีกว่า
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
หมายเหตุ: กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น
ทำไมคนบางกลุ่มถึงมีมุมมองเกี่ยวกับประเทศไทยที่แย่กว่าความเป็นจริง
ความเข้าใจผิดเหล่านี้มีหลายท่านอธิบายไปแล้วในหลายกระทู้ จึงขออธิบายคร่าวๆดังนี้
1.แม้สยามและญี่ปุ่นเปิดประเทศพร้อมกัน แต่ญี่ปุ่นนั้นมีพื้นฐานที่ดีกว่าเลยไปได้ไกลกว่า
2.ฐานทางเศรษฐกิจของไทยและเวเนซุเอลานั้นต่างกัน จึงเทียบกันได้ยาก
3.ไทยไม่ได้เป็นประเทศค่าแรงต่ำแบบยุค 80s อีกแล้ว จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีการย้ายฐานการผลิต ที่จริงก็มีโรงงานใหม่ๆเปิดขึ้น เป็นเทคโนโลยีระดับที่สูงขึ้น ไทยเองก็เริ่มพัฒนาทุนของตัวเองเช่นกัน เพราะจะอิงนักลงทุนตลอดไปไม่ได้
4.ปัจจุบันไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลาง ไม่ได้รายได้ต่ำ รายได้มาจากทั้งอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว เกษตรกรรม ไม่ได้มาจากท่องเที่ยวหรือเกษตรกรรมมากอย่างที่หลายคนเข้าใจ
5.หลายประเทศที่ว่าไทยโดนแซง ความเป็นจริงไทยไม่เคยแซงประเทศเหล่านั้น อาจนำบางช่วง ปัจจุบันไทยเริ่มตามทันประเทศเหล่านั้นบ้างแล้ว
อีกข้อหนึ่งอันนี้ขออนุญาตครับ เห็นสำนักข่าวหนึ่งพูดทำนองว่าบทบาทไทยน้อยลงในอาเซียน เวทีเอเปคของไทยอาจได้รับความสนใจน้อยกว่า G20 ของอินโดนีเซียในปี 2022 ที่อินโดนีเซียกำลังเด่นในกรณีพม่า ความเป็นจริงคือทั้งไทยและอินโดนีเซียนั้นเป็นสองในห้าชาติผู้ก่อตั้งอาเซียน ช่วงที่นายพลซูฮาร์โตมีอำนาจ อินโดนีเซียค่อนข้างมีบทบาทเด่นในอาเซียน ไทยมามีบทบาทเด่นในอาเซียนช่วงยุค 90s ช่วงที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาอินโดนีเซียบทบาทลดลงช่วงยุค 2000s หลังยุคซูฮาร์โต ไทยมีบทบาทมาเรื่อยๆแม้จะมีช่วงตกหล่นบ้าง แต่ก็มีบทบาทมาตลอด โดยเฉพาะช่วงที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการอาเซียน คือบทบาทเด่นขึ้นสลับกันไปมาเป็นเรื่องปกติมาก ส่วนเรื่องเวทีนั้น ความจริงคือช่วงหลังเอเปคอาจไม่ได้เป็นจุดสนใจเท่ากับเวทีอื่นๆในภูมิภาค ทว่าก็ยังเป็นอีกเวทีที่คนไทยควรภูมิใจ ส่วนกรณีพม่านั้น ประเทศในอาเซียนที่อยู่ในแถบหมู่เกาะ หรือประเทศอื่นๆในโลกที่ไม่ได้มีพรมแดนติดกับพม่าพันกว่ากิโลเมตรย่อมแสดงท่าทีได้มากกว่า ในทางลึกไทยย่อมพยายามทำอะไรหลายๆอย่างเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายอยู่แล้วเพราะกระทบกับไทยโดยตรง แต่ไม่กระโตกกระตากเพราะเสี่ยงอันตรายกว่า เคยมีเหมือนกันที่ไทยแสดงออกค่อนข้างมาก คือในยุค 90s ผลคือยุคนั้นเป็นยุคที่ไทยกับพม่ามีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด มีปะทะกันที่พรมแดนบ่อยครั้ง ไม่แน่การแสดงออกของไทยอาจเหมาะสมกว่า
คหสต. การจะมีมุมมองเป็นเข่นไรนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนจะมีได้ แลัหบายๆอย่างในไทยอย่างความเหลื่อมล้ำ การกระจายรายได้ อาชญากรรม ความสะอาด คุณภาพประชากร ฯลฯ นั้นมีอยู่จริงและจำเป็นที่จะต้องแก้ไข ทว่าก็ไม่ควรมองว่าไทยแย่ทั้งหมด เพราะมันเกินจริง แน่นอนความจริงนั้นมีเพียงหนึ่งเดียว แต่ก็มีหบายด้านหลายมุม การทองแบะรู้จักเมืองไทยอย่างรอบด้าน ส่งเสริมสิ่งที่ดีอยู่แล้ว พัฒนาสิ่งที่ยังบกพร่องไปพร้อมๆกันน่าจะดีกว่า
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
หมายเหตุ: กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น