ชาวพุทธและผู้คนจำนวนไม่น้อยมักจะมองภาพพระพุทธเจ้าเป็นจอมศาสดาผู้ทรงฤทธานุภาพเหนือมนุษย์ พร้อมด้วยลักษณะอันวิเศษเกินบรรยาย เปล่งรัศมีประกาย สามารถควบคุมดินฟ้าอากาศหรือทำให้คนศรัทธาได้เพียงเห็นรูปลักษณะ และบริหารจัดการคณะสงฆ์พร้อมพุทธบริษัทอย่างราบรื่นไปตามลำดับ ตั้งแต่เริ่มประกาศพระศาสนาไปจนปรินิพพาน
ภาพที่ปรากฏในพระคัมภีร์ดั้งเดิม เช่น พระวินัยปิฎก และพระสูตรในนิกายทั้งห้าแห่งฝ่ายบาลีและอาคมะทั้งสี่แห่งปิฎกจีน สำแดงรูปพระพุทธเจ้าในฐานะบุคคลประวัติศาสตร์ แตกต่างอย่างมากจากสามัญสำนึกของชาวพุทธ ซึ่งมักมองผ่านพระพุทธรูปและภาพวาดต่างๆ ที่จำลองต่อเนื่องกันมาหลายยุคสมัย โดยสะท้อนถึงความเป็นมนุษย์ที่มีเคยมีชีวิตจริง ซึ่งน้อยนักที่แง่มุมนี้จะถูกนำมาพูดถึง
พระพุทธเจ้าในคัมภีร์รุ่นเก่านั้นปรากฏพระองค์เป็นสมณะรูปหนึ่ง เฉกเช่นเดียวกับนักบวชที่มีหลากหลายในยุคสมัยนั้น เนื้อความต่างๆ ระบุชัดเจนว่าทรงมีศีรษะโล้นเปล่าเช่นเดียวกับภิกษุสาวกของพระองค์ และหลายครั้งที่คนอื่นไม่อาจแยกแยะพระองค์ออกจากภิกษุสาวกได้ สองเท้าเปลือยเปล่าสัมผัสฝุ่นผงของพื้นดินโคลนเหยียบย่ำบิณฑบาตเพื่อดำรงชีพและเดินจาริกไปยังภูมิภาคต่างๆ ทรงรักที่จะทำกิจต่างๆ ด้วยตนเอง ทรงเข้าถึงผู้คนทุกกลุ่มรวมทั้งมิตรต่างศาสนาอย่างเป็นกันเอง แม้จะมีผู้ติดตามจำนวนมากที่ต้องการพบปะสนทนา แต่ก็ทรงรักความสงบสงัดวิเวกลำพัง ในความเป็นมนุษย์ก็ทรงมีปัญหาด้านสุขภาพ (นัยว่ามีเหตุมาจากการทรมานร่างกายอย่างหนักปางตายเมื่อครั้งยังหนุ่ม) ซึ่งต้องพึ่งพาการรักษาของแพทย์ควบคู่ไปกับการเยียวยาด้วยอำนาจจิตแห่งสมาธิ มีความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยที่ต้องพักผ่อน และพึงใจกับความเงียบสงบแห่งป่ามากกว่าเสียงอึกทึกคราคร่ำของหมู่บ้าน เมืองหลวง และผู้คนจำนวนมาก
จากชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งแสวงหาความหมายของชีวิตและทดลองผ่านวิธีการมากมายของสำนักลัทธิต่างๆ แต่ก็ไม่เห็นว่าเป็นทาง ในที่สุดก็ได้ค้นพบด้วยตนเองซึ่งวิถีเพื่อเข้าใจธรรมชาติแห่งกายและใจที่นำไปสู่ความเป็นอิสระจากทุกข์และปัญหาในชีวิต จนได้นามว่า "ผู้ตื่น" หรือ "พุทธะ" (Buddha) วิถีอันทั้งเรียบง่ายตรงไปตรงมาแต่ก็ลึกซึ้งสุขุมอย่างยิ่งจนเห็นว่ายากเกินกว่าจะอธิบายให้ผู้อื่น แต่ด้วยเล็งเห็นความสามารถที่แฝงอยู่ภายในเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกัน จึงออกเดินทางเพื่อแบ่งปันสิ่งอันได้ค้นพบ ว่าด้วยสภาพตามธรรมชาติและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมเพื่อความไม่ถูกผูกมัดในทุกข์และเป็นอิสระ เรียกกันทั่วไปว่า "ธรรมะ" (Dharma)
กลุ่มผู้ฝึกปฏิบัติตามเพิ่มจำนวนตามลำดับอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน "สังฆะ" (Sangha) ผู้มีวิถีชีวิตแห่งความเป็นอิสระ กลุ่มคนผู้ดำเนินชีวิตตามทางนี้อย่างจริงจังได้เป็นแบบอย่างสร้างแรงบันดาลใจให้คนร่วมสมัยดำเนินตาม เป็นส่วนทำให้ "ธรรมะ" หรือคำสอนจากการค้นพบของพุทธะแพร่ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วงเวลายาวนานนับ 45 ปีที่ออกแบ่งปันความเข้าใจนี้ก็ทำให้คำสอนได้รับการพัฒนาจนครอบคลุมอย่างรอบด้านในชีวิตอันหลากหลายของมนุษย์
การจัดการองค์กรควบคู่ไปกับงานเผยแผ่เป็นสิ่งท้าทาย เพราะนอกจากผู้คนที่ศรัทธาและผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนอย่างเต็มที่ ยังต้องประสบปัญหามากมายที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก กล่าวคือพฤติกรรมจากนิสัยและพื้นเพที่แตกต่างหลากหลายในสังฆะเองเมื่อมาอยู่ร่วมกัน กับความไม่พอใจ การต่อต้าน การริษยาจ้องทำลายล้างและโจมตีโดยผู้ที่ถือความเชื่ออื่นหรือขั้วอำนาจทางการเมือง แต่เราพบว่าพระพุทธะสามารถผ่านมาได้เสมอ มิใช่ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์เหนือมนุษย์ แต่ด้วยปัญญาและเมตตาอย่างยิ่งใหญ่ของมนุษย์ผู้หนึ่ง ประกอบกับความสงบนิ่งแจ่มใสและความมีสาระที่แท้จริงโดยปราศจากความกลัว จึงได้ทรงถูกยกย่องเป็น ผู้นำและเป็นครูชั้นเลิศของโลก
ในความเป็นจริง พุทธะแสดงตนในฐานะ "เพื่อน" (กัลยาณมิตร) สำหรับชาวโลก มากกว่าจะเป็นผู้นำใดๆ ที่เพียงแต่แนะนำให้เพื่อนได้ค้นพบสิ่งที่มีอยู่ในตนเอง และด้วยเหตุนั้นจึงทรงร่วมลงทำกิจวัตรต่างๆ ในแบบเดียวกับภิกษุสาวกอื่นๆ โดยแทบไม่มีอะไรพิเศษยิ่งกว่า ทรงวางรูปแบบให้สงฆ์ดูแลกันและกันเช่นเดียวกับที่ดูแลพระองค์ ทรงใกล้ชิดกับเหล่าภิกษุและฆราวาสเพื่อสอดส่องดูความเป็นไปและดูแลอย่างทั่วถึง
คำสอนเปี่ยมด้วยเมตตาเอื้อเฟื้อและให้โอกาสสำหรับผู้ผิดพลาดเสมอ แม้จะมีทั้งท่าทีที่อ่อนโยนและแข็งแรง แต่ก็ทรงปรารถนาให้มีความเป็นอิสระและการแปรเปลี่ยนที่ทำออกมาจากใจมากกว่าการบังคับ ไม่ได้ทำตัวเป็นนักกฎหมายเพื่อบัญญัติข้อห้ามต่างๆ แต่ทรงให้สังฆะได้เรียนรู้จากความผิดพลาดและผลกระทบในชีวิตจริงจนเห็นชัดแล้วจึงกำหนดให้เป็นวินัย (ดั่งเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน มิใช่อำนาจสั่งการของบุคคล) ทว่า พร้อมกันนั้นก็ทรงเปี่ยมด้วยความเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว เท่าทันลักษณะของสังคมรอบข้าง และยืดหยุ่นปรับตัวตามบริบท (ตราบที่ยังรักษาหลักการไว้ได้) เป็นท่าทีที่อิสระและมีเหตุผล มิใช่ท่าทียืนกรานอย่างแข็งกร้าวยึดถือเอารูปแบบเป็นสัจจะสูงสุด
พุทธะทรงยกธรรมหรือหลักการดำเนินในชีวิตเป็นใหญ่และทรงถอยไปอยู่เบื้องหลังเสมอ โดยมิให้ติดกับตัวบุคคลใดๆ แม้แต่ตัวพระองค์เอง สำหรับผู้ที่รักในตัวพระองค์เพราะได้สัมผัสถึง "ธรรมอันมีชีวิต" ก็ทรงให้ยึดธรรมนั้นเองเป็นตัวแทนเพื่อให้ธรรมนั้นแลมีชีวิตในตัวผู้นั้นต่อไป ในที่สุดก็ทรงถือว่าพระองค์ไม่ได้เป็นผู้บริหารปกครองอะไรทั้งนั้น แต่สังฆะดำเนินไปด้วยหลักธรรมของผู้ปฏิบัติที่เป็นสมาชิกแต่ละบุคคลนั้นเอง
จุดเริ่มต้นของ "พระพุทธเจ้า" กับการค้นพบที่เป็นการพัฒนาทางจิตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่คราวได้นั่งใต้ร่มเงาไม้โพธิ์ การออกเดินทางเพื่อสั่งสอนและสื่อสารต่อโลก พร้อมคำสอนหรือ "ธรรมะ" ที่ถือเป็นตัวแทนต่อไป ยังคงเป็นที่ประทับใจของผู้คนจากหลากหลายพื้นเพรากเหง้า และได้รับการสืบทอดต่อเนื่องไปในทั่วโลก จนปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นวัฒนธรรม เชื้อชาติ และภาษาที่แตกต่างเสมอมา ด้วยเป็นภูมิปัญญาอันมาจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะมิติภายใน ความเท่าทันแรงจูงใจเบื้องหลังพฤติกรรมต่างๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจของปัจเจกบุคคล เพื่อชีวิตที่สงบสุข ขยายครอบคลุมไปถึงการปฏิบัติตนที่เหมาะสมในแง่มุมอันหลากหลายของสังคม
ภาพของพุทธะ—ผู้เป็นครู (ศาสดา) ได้ถูกเพิ่มเติมสีสันเพื่อสร้างความเชื่อและศรัทธา เพื่อให้ผู้คนได้เห็นแบบอย่างและมีแรงใจให้หันมาสู่ธรรมที่อยู่ในจิตของตนนั้น หรืออาจกลายไปเพื่อความมั่งคั่งและผลประโยชน์ขององค์กร ภาพของบุคคลในประวัติศาสตร์ถูกแทนที่ด้วยบุคคลในตำนาน ชีวิตจริงในธรรมชาติของมนุษย์ถูกแทนที่ด้วยปาฏิหาริย์ แม้ยังเหลือหลักฐานในชั้นคัมภีร์และโบราณคดีอยู่มากมายพอให้สืบทราบได้ แต่เราจะอาจรู้แน่ชัดจริงแท้ที่สุดละหรือว่า พุทธะนั้นคือใคร? หรืออะไร?
ภาพในใจที่เรามีต่อพระพุทธะเป็นเพียงสิ่งสะท้อนจากประสบการณ์อันจำกัดที่ได้รับรู้ของเราแต่ละคน ดังนั้นจงเปิดใจให้กว้าง เพราะพุทธะในใจของแต่ละคนย่อมไม่มีความตรงกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในตำนาน บุคคลในประวัติศาสตร์ หรือเพียงสภาวะที่ไร้บุคคล
... "ความเป็นพุทธะ" ที่แท้ ที่ตลอดชีวิตของท่านได้สื่อสารกับเรานั่นอาจเป็นความเข้าใจต่อธรรมชาติของตนเอง คือพุทธะที่อยู่ในทุกคน ในธรรมชาติ และในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลายของชีวิต
__________________________
ภาพจำลอง - พระพุทธะในฐานะสมณะในรูปแบบของภิกษุรูปหนึ่งในอินเดียโบราณ "สมณะโคตมะ" ผู้มีศีรษะโกนเกลี้ยงไร้ผม ดูสงบเคร่งขรึมและอ่อนโยน พร้อมมีลักษณะสมบุกสมบันด้วยการฉันมื้อเดียว และการเดินท่องจาริกในป่าเขาและผ่านบ้านเมืองยาวไกล
(หมายเหตุ: เราไม่อาจทันเห็นและรู้ใบหน้าของพระพุทธเจ้าได้ แต่ก็พอจำลองจากลักษณะแบบคุรุของชาวอินเดีย มีข้อสันนิษฐานว่าพระศากยมุนีมีเชื้อสายของชาวศกะ-ซีเธียน ซึ่งเป็นเผ่าอิราเนียนตะวันออก แต่ก็คงมีเค้าโครงทางกายภาพที่ใกล้เคียงกัน)
ภาพวาดในจินตภาพของศิลปินไม่ปรากฏนาม อาจไม่เหมือนใบหน้าที่แท้ของพระพุทธองค์ แต่ก็เป็นการจำลองที่ดู realistic และสมความเป็นจริงมากที่สุด ในฐานะภิกษุรูปหนึ่งในขบวนการสมณะของอินเดียสมัยนั้น ศีรษะโล้นและครองจีวรอย่างเรียบง่าย สีหน้าและแววตาแฝงด้วยความสงบสำรวม ลุ่มลึก และอ่อนโยน
(หลายท่านอาจมีข้อสงสัยเรื่องหนวดเครา ส่วนตัวมองว่าชาวอินเดียและฝรั่งนั้นมีหนวดเครางอกไวและคงไม่ได้โกนเกลี้ยงทุกวัน ตามพระวินัยก็ไม่อนุญาตให้ไว้ยาวเกินสองนิ้วหรือตกแต่ง แต่นี่คงเป็นสภาพตามธรรมชาติในระยะเวลาไม่กี่วัน)
ผู้เขียน:ตถนาทรรศก์ ꪵꪫ꪿ꪙꪼꪄꪨ꫁ꪱ*
ภาพจำพระพุทธะ
ภาพที่ปรากฏในพระคัมภีร์ดั้งเดิม เช่น พระวินัยปิฎก และพระสูตรในนิกายทั้งห้าแห่งฝ่ายบาลีและอาคมะทั้งสี่แห่งปิฎกจีน สำแดงรูปพระพุทธเจ้าในฐานะบุคคลประวัติศาสตร์ แตกต่างอย่างมากจากสามัญสำนึกของชาวพุทธ ซึ่งมักมองผ่านพระพุทธรูปและภาพวาดต่างๆ ที่จำลองต่อเนื่องกันมาหลายยุคสมัย โดยสะท้อนถึงความเป็นมนุษย์ที่มีเคยมีชีวิตจริง ซึ่งน้อยนักที่แง่มุมนี้จะถูกนำมาพูดถึง
พระพุทธเจ้าในคัมภีร์รุ่นเก่านั้นปรากฏพระองค์เป็นสมณะรูปหนึ่ง เฉกเช่นเดียวกับนักบวชที่มีหลากหลายในยุคสมัยนั้น เนื้อความต่างๆ ระบุชัดเจนว่าทรงมีศีรษะโล้นเปล่าเช่นเดียวกับภิกษุสาวกของพระองค์ และหลายครั้งที่คนอื่นไม่อาจแยกแยะพระองค์ออกจากภิกษุสาวกได้ สองเท้าเปลือยเปล่าสัมผัสฝุ่นผงของพื้นดินโคลนเหยียบย่ำบิณฑบาตเพื่อดำรงชีพและเดินจาริกไปยังภูมิภาคต่างๆ ทรงรักที่จะทำกิจต่างๆ ด้วยตนเอง ทรงเข้าถึงผู้คนทุกกลุ่มรวมทั้งมิตรต่างศาสนาอย่างเป็นกันเอง แม้จะมีผู้ติดตามจำนวนมากที่ต้องการพบปะสนทนา แต่ก็ทรงรักความสงบสงัดวิเวกลำพัง ในความเป็นมนุษย์ก็ทรงมีปัญหาด้านสุขภาพ (นัยว่ามีเหตุมาจากการทรมานร่างกายอย่างหนักปางตายเมื่อครั้งยังหนุ่ม) ซึ่งต้องพึ่งพาการรักษาของแพทย์ควบคู่ไปกับการเยียวยาด้วยอำนาจจิตแห่งสมาธิ มีความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยที่ต้องพักผ่อน และพึงใจกับความเงียบสงบแห่งป่ามากกว่าเสียงอึกทึกคราคร่ำของหมู่บ้าน เมืองหลวง และผู้คนจำนวนมาก
จากชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งแสวงหาความหมายของชีวิตและทดลองผ่านวิธีการมากมายของสำนักลัทธิต่างๆ แต่ก็ไม่เห็นว่าเป็นทาง ในที่สุดก็ได้ค้นพบด้วยตนเองซึ่งวิถีเพื่อเข้าใจธรรมชาติแห่งกายและใจที่นำไปสู่ความเป็นอิสระจากทุกข์และปัญหาในชีวิต จนได้นามว่า "ผู้ตื่น" หรือ "พุทธะ" (Buddha) วิถีอันทั้งเรียบง่ายตรงไปตรงมาแต่ก็ลึกซึ้งสุขุมอย่างยิ่งจนเห็นว่ายากเกินกว่าจะอธิบายให้ผู้อื่น แต่ด้วยเล็งเห็นความสามารถที่แฝงอยู่ภายในเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกัน จึงออกเดินทางเพื่อแบ่งปันสิ่งอันได้ค้นพบ ว่าด้วยสภาพตามธรรมชาติและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมเพื่อความไม่ถูกผูกมัดในทุกข์และเป็นอิสระ เรียกกันทั่วไปว่า "ธรรมะ" (Dharma)
กลุ่มผู้ฝึกปฏิบัติตามเพิ่มจำนวนตามลำดับอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน "สังฆะ" (Sangha) ผู้มีวิถีชีวิตแห่งความเป็นอิสระ กลุ่มคนผู้ดำเนินชีวิตตามทางนี้อย่างจริงจังได้เป็นแบบอย่างสร้างแรงบันดาลใจให้คนร่วมสมัยดำเนินตาม เป็นส่วนทำให้ "ธรรมะ" หรือคำสอนจากการค้นพบของพุทธะแพร่ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วงเวลายาวนานนับ 45 ปีที่ออกแบ่งปันความเข้าใจนี้ก็ทำให้คำสอนได้รับการพัฒนาจนครอบคลุมอย่างรอบด้านในชีวิตอันหลากหลายของมนุษย์
การจัดการองค์กรควบคู่ไปกับงานเผยแผ่เป็นสิ่งท้าทาย เพราะนอกจากผู้คนที่ศรัทธาและผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนอย่างเต็มที่ ยังต้องประสบปัญหามากมายที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก กล่าวคือพฤติกรรมจากนิสัยและพื้นเพที่แตกต่างหลากหลายในสังฆะเองเมื่อมาอยู่ร่วมกัน กับความไม่พอใจ การต่อต้าน การริษยาจ้องทำลายล้างและโจมตีโดยผู้ที่ถือความเชื่ออื่นหรือขั้วอำนาจทางการเมือง แต่เราพบว่าพระพุทธะสามารถผ่านมาได้เสมอ มิใช่ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์เหนือมนุษย์ แต่ด้วยปัญญาและเมตตาอย่างยิ่งใหญ่ของมนุษย์ผู้หนึ่ง ประกอบกับความสงบนิ่งแจ่มใสและความมีสาระที่แท้จริงโดยปราศจากความกลัว จึงได้ทรงถูกยกย่องเป็น ผู้นำและเป็นครูชั้นเลิศของโลก
ในความเป็นจริง พุทธะแสดงตนในฐานะ "เพื่อน" (กัลยาณมิตร) สำหรับชาวโลก มากกว่าจะเป็นผู้นำใดๆ ที่เพียงแต่แนะนำให้เพื่อนได้ค้นพบสิ่งที่มีอยู่ในตนเอง และด้วยเหตุนั้นจึงทรงร่วมลงทำกิจวัตรต่างๆ ในแบบเดียวกับภิกษุสาวกอื่นๆ โดยแทบไม่มีอะไรพิเศษยิ่งกว่า ทรงวางรูปแบบให้สงฆ์ดูแลกันและกันเช่นเดียวกับที่ดูแลพระองค์ ทรงใกล้ชิดกับเหล่าภิกษุและฆราวาสเพื่อสอดส่องดูความเป็นไปและดูแลอย่างทั่วถึง
คำสอนเปี่ยมด้วยเมตตาเอื้อเฟื้อและให้โอกาสสำหรับผู้ผิดพลาดเสมอ แม้จะมีทั้งท่าทีที่อ่อนโยนและแข็งแรง แต่ก็ทรงปรารถนาให้มีความเป็นอิสระและการแปรเปลี่ยนที่ทำออกมาจากใจมากกว่าการบังคับ ไม่ได้ทำตัวเป็นนักกฎหมายเพื่อบัญญัติข้อห้ามต่างๆ แต่ทรงให้สังฆะได้เรียนรู้จากความผิดพลาดและผลกระทบในชีวิตจริงจนเห็นชัดแล้วจึงกำหนดให้เป็นวินัย (ดั่งเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน มิใช่อำนาจสั่งการของบุคคล) ทว่า พร้อมกันนั้นก็ทรงเปี่ยมด้วยความเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว เท่าทันลักษณะของสังคมรอบข้าง และยืดหยุ่นปรับตัวตามบริบท (ตราบที่ยังรักษาหลักการไว้ได้) เป็นท่าทีที่อิสระและมีเหตุผล มิใช่ท่าทียืนกรานอย่างแข็งกร้าวยึดถือเอารูปแบบเป็นสัจจะสูงสุด
พุทธะทรงยกธรรมหรือหลักการดำเนินในชีวิตเป็นใหญ่และทรงถอยไปอยู่เบื้องหลังเสมอ โดยมิให้ติดกับตัวบุคคลใดๆ แม้แต่ตัวพระองค์เอง สำหรับผู้ที่รักในตัวพระองค์เพราะได้สัมผัสถึง "ธรรมอันมีชีวิต" ก็ทรงให้ยึดธรรมนั้นเองเป็นตัวแทนเพื่อให้ธรรมนั้นแลมีชีวิตในตัวผู้นั้นต่อไป ในที่สุดก็ทรงถือว่าพระองค์ไม่ได้เป็นผู้บริหารปกครองอะไรทั้งนั้น แต่สังฆะดำเนินไปด้วยหลักธรรมของผู้ปฏิบัติที่เป็นสมาชิกแต่ละบุคคลนั้นเอง
จุดเริ่มต้นของ "พระพุทธเจ้า" กับการค้นพบที่เป็นการพัฒนาทางจิตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่คราวได้นั่งใต้ร่มเงาไม้โพธิ์ การออกเดินทางเพื่อสั่งสอนและสื่อสารต่อโลก พร้อมคำสอนหรือ "ธรรมะ" ที่ถือเป็นตัวแทนต่อไป ยังคงเป็นที่ประทับใจของผู้คนจากหลากหลายพื้นเพรากเหง้า และได้รับการสืบทอดต่อเนื่องไปในทั่วโลก จนปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นวัฒนธรรม เชื้อชาติ และภาษาที่แตกต่างเสมอมา ด้วยเป็นภูมิปัญญาอันมาจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะมิติภายใน ความเท่าทันแรงจูงใจเบื้องหลังพฤติกรรมต่างๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจของปัจเจกบุคคล เพื่อชีวิตที่สงบสุข ขยายครอบคลุมไปถึงการปฏิบัติตนที่เหมาะสมในแง่มุมอันหลากหลายของสังคม
ภาพของพุทธะ—ผู้เป็นครู (ศาสดา) ได้ถูกเพิ่มเติมสีสันเพื่อสร้างความเชื่อและศรัทธา เพื่อให้ผู้คนได้เห็นแบบอย่างและมีแรงใจให้หันมาสู่ธรรมที่อยู่ในจิตของตนนั้น หรืออาจกลายไปเพื่อความมั่งคั่งและผลประโยชน์ขององค์กร ภาพของบุคคลในประวัติศาสตร์ถูกแทนที่ด้วยบุคคลในตำนาน ชีวิตจริงในธรรมชาติของมนุษย์ถูกแทนที่ด้วยปาฏิหาริย์ แม้ยังเหลือหลักฐานในชั้นคัมภีร์และโบราณคดีอยู่มากมายพอให้สืบทราบได้ แต่เราจะอาจรู้แน่ชัดจริงแท้ที่สุดละหรือว่า พุทธะนั้นคือใคร? หรืออะไร?
ภาพในใจที่เรามีต่อพระพุทธะเป็นเพียงสิ่งสะท้อนจากประสบการณ์อันจำกัดที่ได้รับรู้ของเราแต่ละคน ดังนั้นจงเปิดใจให้กว้าง เพราะพุทธะในใจของแต่ละคนย่อมไม่มีความตรงกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในตำนาน บุคคลในประวัติศาสตร์ หรือเพียงสภาวะที่ไร้บุคคล
... "ความเป็นพุทธะ" ที่แท้ ที่ตลอดชีวิตของท่านได้สื่อสารกับเรานั่นอาจเป็นความเข้าใจต่อธรรมชาติของตนเอง คือพุทธะที่อยู่ในทุกคน ในธรรมชาติ และในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลายของชีวิต
__________________________
ภาพจำลอง - พระพุทธะในฐานะสมณะในรูปแบบของภิกษุรูปหนึ่งในอินเดียโบราณ "สมณะโคตมะ" ผู้มีศีรษะโกนเกลี้ยงไร้ผม ดูสงบเคร่งขรึมและอ่อนโยน พร้อมมีลักษณะสมบุกสมบันด้วยการฉันมื้อเดียว และการเดินท่องจาริกในป่าเขาและผ่านบ้านเมืองยาวไกล
(หมายเหตุ: เราไม่อาจทันเห็นและรู้ใบหน้าของพระพุทธเจ้าได้ แต่ก็พอจำลองจากลักษณะแบบคุรุของชาวอินเดีย มีข้อสันนิษฐานว่าพระศากยมุนีมีเชื้อสายของชาวศกะ-ซีเธียน ซึ่งเป็นเผ่าอิราเนียนตะวันออก แต่ก็คงมีเค้าโครงทางกายภาพที่ใกล้เคียงกัน)
ภาพวาดในจินตภาพของศิลปินไม่ปรากฏนาม อาจไม่เหมือนใบหน้าที่แท้ของพระพุทธองค์ แต่ก็เป็นการจำลองที่ดู realistic และสมความเป็นจริงมากที่สุด ในฐานะภิกษุรูปหนึ่งในขบวนการสมณะของอินเดียสมัยนั้น ศีรษะโล้นและครองจีวรอย่างเรียบง่าย สีหน้าและแววตาแฝงด้วยความสงบสำรวม ลุ่มลึก และอ่อนโยน
(หลายท่านอาจมีข้อสงสัยเรื่องหนวดเครา ส่วนตัวมองว่าชาวอินเดียและฝรั่งนั้นมีหนวดเครางอกไวและคงไม่ได้โกนเกลี้ยงทุกวัน ตามพระวินัยก็ไม่อนุญาตให้ไว้ยาวเกินสองนิ้วหรือตกแต่ง แต่นี่คงเป็นสภาพตามธรรมชาติในระยะเวลาไม่กี่วัน)
ผู้เขียน:ตถนาทรรศก์ ꪵꪫ꪿ꪙꪼꪄꪨ꫁ꪱ*