(Text and Audio)
มหาสติปัฏฐานสูตร
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งความทุกข์กายและความทุกข์ใจ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดีและความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดีและความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดีและความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดีและความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ ฯ
มหาสติปฏฺฐานสุตฺตํ
[๒๗๓] เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา กุรูสุ วิหรติ กมฺมาสทมฺมํ นาม กุรูนํ นิคโม ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุง ฯ ภควา เอตทโวจ
{๒๗๓.๑} เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺสอธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ กตเม จตฺตาโร ฯ
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี
สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเกอภิชฺฌาโทมนสฺสํ ฯ
อุทฺเทสวารกถา นิฏฺฐิตา ฯ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ ภาษาบาลี อักษรไทย
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ สุตฺต. ที. มหาวคฺโค
1. ในคัมภีร์เนตติปกรณ์ แสดงว่า ในการเจริญสติภาวนานี้ ที่ทรงแบ่งไว้ เป็น กายเวทนาจิตธรรม นี้ เพราะเหตุว่า การเจริญกายานุปัสสนานั้น สัปปายะกับ คนที่เป็นตัณหาจริต อ่อนปัญญา เวทนานุปัสสนา เหมาะกับคนตัณหาจริต มีปัญญากล้า นี้ชุดหนึ่ง จิตตานุปัสสนาเป็นที่สบายกับคนทิฏฐิจริต ปัญญาด้อย ธัมมานุปัสสนา สำหรับคนทิฏฐิจริต ปัญญากล้า
2. อดีตพระเทพสังวรญาณ (สงวน จิตฺตรกฺโข) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม สอนว่า กายปรากฏพิจารณากาย เป็นต้น
3. ในหนังสือนวโกวาท แสดงว่า การเจริญมหาสติปัฏฐานนี้ โดยมนสิการทำไว้ในใจว่า กายเป็นต้น ว่า ไม่ใช่สัตว์บุคคลเราเขา คือ เห็น กาย เป็นต้น โดยความเป็นของว่างเปล่าจากกิเลสตัณหาอุปาทาน พิจารณาเห็นกายก็สักว่ากายเป็นต้น ฉะนั้น อีกนัยหนึ่งก็ เห็นความเกิด ความดับ หรือ ทั้งสอง ในกาย เป็นต้น
อุทเทส แห่ง มหาสติฯ
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งความทุกข์กายและความทุกข์ใจ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดีและความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดีและความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดีและความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดีและความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ ฯ
{๒๗๓.๑} เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺสอธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ กตเม จตฺตาโร ฯ
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี
สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเกอภิชฺฌาโทมนสฺสํ ฯ
2. อดีตพระเทพสังวรญาณ (สงวน จิตฺตรกฺโข) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม สอนว่า กายปรากฏพิจารณากาย เป็นต้น
3. ในหนังสือนวโกวาท แสดงว่า การเจริญมหาสติปัฏฐานนี้ โดยมนสิการทำไว้ในใจว่า กายเป็นต้น ว่า ไม่ใช่สัตว์บุคคลเราเขา คือ เห็น กาย เป็นต้น โดยความเป็นของว่างเปล่าจากกิเลสตัณหาอุปาทาน พิจารณาเห็นกายก็สักว่ากายเป็นต้น ฉะนั้น อีกนัยหนึ่งก็ เห็นความเกิด ความดับ หรือ ทั้งสอง ในกาย เป็นต้น