ปกติเเล้วคนทั่วไปจะไม่รู้รายได้ของคนอื่นเพราะคนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเเชร์ข้อมูลเรื่องการเงินกันเพราะมันเป็นเรื่องส่วนตัวเเต่พวกนักกีฬาดังๆ อย่างนักบาส NBA นี่จะซ่อนตัวเลขค่าเหนื่อยจากสาธารณชนได้ยากเพราะเเค่ google ชื่อพวกเขาในคอมเเป๊บเดียวก็รู้หมดเเล้วว่าปีนึงได้ค่าจ้างกี่ล้าน
นอกจากรายได้จากการเล่นบาสเเล้ว เงินที่พวกเขาทํานอกสนามก็ถือว่าเป็นรายได้เสริมที่สําคัญเเต่คนนอกจะเข้าไม่ถึงข้อมูลพวกนี้เลยไม่รู้ว่าพวกเขาทําเงินนอกสนามได้เท่าไหร่ยกเว้นเเต่ว่าถ้าเอเยนต์ของพวกเขาออกมาเปิดเผยตัวเลขผ่านสื่อเอง LeBron James มีสัญญา endorsement กับ Nike เเบบตลอดชีพสูงถึงหลักพันล้านเหรียญ James Harden ก็มีสัญญา 12 ปี/$300 ล้านกับ Adidas ส่วนของคนอื่นๆ นี่ไม่ค่อยมีข่าวรั่วออกมา
สัญญา endorsement ของผู้เล่นใน NBA จะมีมูลค่ากินขาดผู้เล่นจากกีฬา major league อื่นๆ มาก อย่าง LeBron นี่นอกจากสัญญาของ Nike เเล้วเขาก็ยังมีรายได้จากสินค้าอื่นๆ มากถึงปีละ $52 ล้านซึ่งสูงกว่านักเบสบอลดังๆ รวมกัน 10 คน ปกติเเล้วเวลาเด็กวัยรุ่นจะลง NBA draft พวกเขาก็ต้องจ้างเอเยนต์ก่อนซึ่งเด็กพวกนี้มักจะไม่ค่อยมีเงิน เอเยนต์เลยต้องออกบัตรเครดิตเเบบจํากัดวงเงินให้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึก pre-draft หรือค่าเดินทางเเล้วค่อยผ่อนจ่ายคืนหลังจากที่เข้าลีกมาเเละจะมีการช่วยเด็กพวกนี้หารายได้พิเศษเสริมด้วย สัญญา endorsement อันเเรกๆ มักจะมีมูลค่าน้อยเเต่ก็ยังพอถูไถเอามาใช้เเก้ขัดชั่วคราวได้
Panini เป็นบริษัทนึงที่ขาย trading cards ที่มีลายเซ็นนักกีฬาเพื่อช่วยหารายได้ให้กับเด็กที่เตรียมลง NBA draft โดยพวกเขาจะเสนอเงินค่าจ้างให้กับเด็กเหล่านี้ในอัตรา sliding scale เช่น:
ตัวเต็งดราฟต์เบอร์ 1 จะได้ลายเซ็นละ $20 รวม 7,500 การด์ก็จะนับเป็นเงิน $150,000 ซึ่งถือว่าเป็นงานง่ายๆ เเค่สละเวลามาเซ็นชื่อไม่กี่ชั่วโมงก็ได้เงินเเล้วเเต่ถ้าผู้เล่นคนนั้นมีเเววว่าจะ undrafted ก็อาจจะได้เงินค่าจ้างเเค่ $1 ต่อ 1 การด์ซึ่งพอผู้เล่นพวกนี้เข้าลีกเเละเริ่มดัง บริษัท Panini ถึงค่อยเอาการด์พวกนี้มาวางขายในราคาเเพงเเบบถอนทุนคืน
บริษัทต่างๆ จะพยายามจีบผู้เล่นให้มาทํา endorsement กับพวกเขาตั้งเเต่ก่อนลงดราฟต์หรือเข้าลีกมาใหม่ๆ เพราะค่าใช้จ่ายมันจะถูกกว่ามาจีบตอนเป็นสตาร์ดัง อย่างสัญญารองเท้าของ Harden ที่ 13 ปี/$200 ล้านนี่ถือว่าถูกมาก Adidas โชคดีที่เซ็นกับเขาตั้งเเต่ก่อนเป็นซุปเปอร์สตาร์เลยไม่ต้องจ่ายหนักมาก ผู้เล่นบางคนอย่าง Damian Lillard เคยมีบริษัทหลายๆ เเห่งอยากจ้างมาตั้งเเต่ก่อนงานดราฟต์เเล้วเเต่ Lillard ไม่เอาเเละเลือกรอลงใน summer league ก่อนเเละได้รางวัล MVP ไป เขาถึงค่อยเลือกเซ็น endorsement ซึ่งมันทําให้เขาได้รับเงินมากขึ้นด้วยเเต่ก็ไม่ทุกคนที่สามารถใช้วิธีนี้ได้เพราะถ้าโชว์ฟอร์มได้ไม่ดีก็เงินหายหมด
เเบรนด์รองเท้าดังๆ อย่าง Jordan นี่จะได้เปรียบเเบรนด์อื่นมากเพราะนักบาสทั่วไปอยากเป็น presenter ให้กับเเบรนด์นี้ถึงเเม้ว่าจะได้เงินค่าจ้างไม่มากเท่ากับเเบรนด์อื่นก็ตาม Jimmy Butler เคยยอมลดค่า endorsement ลง 75% เพื่อออกจาก Adidas มาเซ็นกับที่นี่เเละ Kawhi Leonard ก็เคยยอมรับเรทเเค่ $500,000
ผู้เล่นตัวสํารองที่ไม่ได้ดังมากก็มีโอกาสได้รับ endorsement เช่นกันเเต่อาจได้รับในรูปเเบบของสินค้ามาใช้ฟรีๆ เช่นรองเท้าบาสรวมถึงพวก gift card ที่สามารถเอามาใช้ซื้อของในเเบรนด์นั้นได้
(Credit: Hoophype)
🏀 ว่าด้วยเรื่องรายได้นอกสนามบาส
นอกจากรายได้จากการเล่นบาสเเล้ว เงินที่พวกเขาทํานอกสนามก็ถือว่าเป็นรายได้เสริมที่สําคัญเเต่คนนอกจะเข้าไม่ถึงข้อมูลพวกนี้เลยไม่รู้ว่าพวกเขาทําเงินนอกสนามได้เท่าไหร่ยกเว้นเเต่ว่าถ้าเอเยนต์ของพวกเขาออกมาเปิดเผยตัวเลขผ่านสื่อเอง LeBron James มีสัญญา endorsement กับ Nike เเบบตลอดชีพสูงถึงหลักพันล้านเหรียญ James Harden ก็มีสัญญา 12 ปี/$300 ล้านกับ Adidas ส่วนของคนอื่นๆ นี่ไม่ค่อยมีข่าวรั่วออกมา
สัญญา endorsement ของผู้เล่นใน NBA จะมีมูลค่ากินขาดผู้เล่นจากกีฬา major league อื่นๆ มาก อย่าง LeBron นี่นอกจากสัญญาของ Nike เเล้วเขาก็ยังมีรายได้จากสินค้าอื่นๆ มากถึงปีละ $52 ล้านซึ่งสูงกว่านักเบสบอลดังๆ รวมกัน 10 คน ปกติเเล้วเวลาเด็กวัยรุ่นจะลง NBA draft พวกเขาก็ต้องจ้างเอเยนต์ก่อนซึ่งเด็กพวกนี้มักจะไม่ค่อยมีเงิน เอเยนต์เลยต้องออกบัตรเครดิตเเบบจํากัดวงเงินให้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึก pre-draft หรือค่าเดินทางเเล้วค่อยผ่อนจ่ายคืนหลังจากที่เข้าลีกมาเเละจะมีการช่วยเด็กพวกนี้หารายได้พิเศษเสริมด้วย สัญญา endorsement อันเเรกๆ มักจะมีมูลค่าน้อยเเต่ก็ยังพอถูไถเอามาใช้เเก้ขัดชั่วคราวได้
Panini เป็นบริษัทนึงที่ขาย trading cards ที่มีลายเซ็นนักกีฬาเพื่อช่วยหารายได้ให้กับเด็กที่เตรียมลง NBA draft โดยพวกเขาจะเสนอเงินค่าจ้างให้กับเด็กเหล่านี้ในอัตรา sliding scale เช่น:
ตัวเต็งดราฟต์เบอร์ 1 จะได้ลายเซ็นละ $20 รวม 7,500 การด์ก็จะนับเป็นเงิน $150,000 ซึ่งถือว่าเป็นงานง่ายๆ เเค่สละเวลามาเซ็นชื่อไม่กี่ชั่วโมงก็ได้เงินเเล้วเเต่ถ้าผู้เล่นคนนั้นมีเเววว่าจะ undrafted ก็อาจจะได้เงินค่าจ้างเเค่ $1 ต่อ 1 การด์ซึ่งพอผู้เล่นพวกนี้เข้าลีกเเละเริ่มดัง บริษัท Panini ถึงค่อยเอาการด์พวกนี้มาวางขายในราคาเเพงเเบบถอนทุนคืน
บริษัทต่างๆ จะพยายามจีบผู้เล่นให้มาทํา endorsement กับพวกเขาตั้งเเต่ก่อนลงดราฟต์หรือเข้าลีกมาใหม่ๆ เพราะค่าใช้จ่ายมันจะถูกกว่ามาจีบตอนเป็นสตาร์ดัง อย่างสัญญารองเท้าของ Harden ที่ 13 ปี/$200 ล้านนี่ถือว่าถูกมาก Adidas โชคดีที่เซ็นกับเขาตั้งเเต่ก่อนเป็นซุปเปอร์สตาร์เลยไม่ต้องจ่ายหนักมาก ผู้เล่นบางคนอย่าง Damian Lillard เคยมีบริษัทหลายๆ เเห่งอยากจ้างมาตั้งเเต่ก่อนงานดราฟต์เเล้วเเต่ Lillard ไม่เอาเเละเลือกรอลงใน summer league ก่อนเเละได้รางวัล MVP ไป เขาถึงค่อยเลือกเซ็น endorsement ซึ่งมันทําให้เขาได้รับเงินมากขึ้นด้วยเเต่ก็ไม่ทุกคนที่สามารถใช้วิธีนี้ได้เพราะถ้าโชว์ฟอร์มได้ไม่ดีก็เงินหายหมด
เเบรนด์รองเท้าดังๆ อย่าง Jordan นี่จะได้เปรียบเเบรนด์อื่นมากเพราะนักบาสทั่วไปอยากเป็น presenter ให้กับเเบรนด์นี้ถึงเเม้ว่าจะได้เงินค่าจ้างไม่มากเท่ากับเเบรนด์อื่นก็ตาม Jimmy Butler เคยยอมลดค่า endorsement ลง 75% เพื่อออกจาก Adidas มาเซ็นกับที่นี่เเละ Kawhi Leonard ก็เคยยอมรับเรทเเค่ $500,000
ผู้เล่นตัวสํารองที่ไม่ได้ดังมากก็มีโอกาสได้รับ endorsement เช่นกันเเต่อาจได้รับในรูปเเบบของสินค้ามาใช้ฟรีๆ เช่นรองเท้าบาสรวมถึงพวก gift card ที่สามารถเอามาใช้ซื้อของในเเบรนด์นั้นได้
(Credit: Hoophype)