เกี่ยวกับคานล่างบันได



จากภาพ เวลาสร้างบ้านเเละทำบันไดชั้น 1 ขึ้นชั้น 2 ตำเเหน่งเลข 2 คือคานล่างบันได เราไม่ใส่เเละปล่อยโล่งได้มั๊ย

เฉพาะด้านหน้าตรงเลข 2 นะครับ ส่วนด้านข้างด้านหลังใส่คานหมด สามารถเอาตีนบันไดจากชั้นล่างเเละจะขึ้นไปชั้นบน

ฝากเเค่พื้นตำเเหน่งเลข 1 อย่างเดียว โดยที่ไม่มีคานเลข 2 นี่ ปกติทำได้มั๊ยครับ

ประมาณว่าเสริมเหล็กเอา ตอนนี้เห็นบางผู้รับเหมา บอกว่าทำบันไดไม่มีคานล่างด้านหน้า (ตรงเลข 2)

บอกว่าสามารถทำเเบบนี้ได้ มั่นคงเเข็งเเรงเหมือนกัน จริงเท็จเเค่ไหนครับ (ภาพตัวอย่างจากเน็ตนะครับ)
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
บันไดตามรูปของ จขกท. เป็นบันไดชนิดตรงประเภทหักมุม  รูปแบบหักมุม 90 องศา 2 ครั้งต่อเนื่องในระนาบเดียวกัน ซึ่งก็คือชานพัก(Landing) แบ่งบันไดออกเป็น 2 ช่วง  
  บันไดมีชื่อว่า  Half-turn or Dog-leg or Narrow -U Staircase  มีชื่อทางไทยว่า บันไดแบบพับกลับหรือหักกลับ  
  ตามรูปใช้วัสดุ ค.ส.ล.
  จุดที่ถามคือชานพัก
  สามารถออกแบบ คำนวณให้ไม่มีคานใต้ชานพักด้านหน้า-ด้านข้างและเสาได้  แต่ยังคงคานด้านหลัง(ขอบนอก)ไว้  หรือไม่มีคานด้านหลังเลยก็ได้ เรียกบันไดชานพักลอย  
  ทั้งหมดต้องให้สถาปนิก ประสานงานกับวิศวกรในการออกแบบ คำนวณ ทั้งรูปลักษณ์และระบบโครงสร้างการรับแรงและน้ำหนักของบันได

   เหตุผลคร่าวๆที่มีหรือไม่มีคานที่ชานพัก เพราะ
   -สมัยก่อน บันไดมักทำจากไม้ทั้งหลัง ชานพักจึงต้องมีคานรับแม่บันไดทั้ง 2 ช่วง  เมื่อมีการใช้ ค.ส.ล. จึงยังชินกับแบบจากไม้ อีกทั้งวัสดุ ส่วนประกอบยังเอื้อให้ทำแบบนั้น   ดูได้จากบันไดบ้านจัดสรรส่วนใหญ่สมัย 30 ปี  บันได 2 ช่วงเป็นไม้ ชานพักมักเป็นไม้ หรือที่พัฒนาขึ้น จะเป็นชานพักที่มีคาน ค.ส.ล. รอบชานพัก มีเสารับหรือเป็นคารยื่น ใช้ตงตัว T หงาย ปูด้วยอิฐบล๊อก แล้วเทปูนทับบน ปิดผิวไม้เป็นชานพัก
     บันไดที่มีเสารับและคานรอบชานพัก ก็ยังมีมาถึงปัจจุบัน แต่เป็น  ค.ส.ล.  ทั้งหลัง และเนื่องจากบันไดมักถูกออกแบบอยู่ในกรอบผนัง 3 ด้าน ใต้บันไดจึงมักตีปิดเป็นห้องเก็บของ
   -ในปัจจุบัน วิทยาการการออกแบบคำนวณ และวัสดุที่ใช้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้น  อีกทั้งบ้านเริ่มมีการให้บันไดอยู่ในที่โล่งมากขึ้น ไม่ต้องการปิดทึบ และโชว์บันไดมากขึ้น(เป็นการแสดงฐานะอย่างหนึ่ง) การมีเสาและคาน จึงดูเทอะทะล้าสมัย
   -การก่อสร้างอาคาร บ้าน ที่หลายชั้นมากขึ้น ในการที่มีช่องและปล่องบันไดตรงกัน อาจมีช่วงบันไดต่างกัน ต้องการความโปร่งโล่งใต้ชานพักของชั้น และไม่ติดระยะดิ่งบันได

   ฯลฯ

   แก้ไขเพิ่มข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่